วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

เครื่องพิมพ์ดีดกระเป๋าหิ้ว ของเก่าสะสม / ประวัติเครื่องพิมพ์ดีด

 




วันนี้เป็นสาวออฟฟิศ ใช้เครื่องพิมพ์ดีดสักวันนะคะ ..
รุ่นนี้เป็นเครื่องพิมพ์ดีด Marathon แบบกระเป๋าหิ้ว ่ภาษาไทย ขนาดกระทัดรัดไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป ตอนซื้อมาใหม่ๆ จะเป็นสีนวลๆ แต่ตอนนี้กลายเป็นสีเหลือแล้วค่ะ สีก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่สภาพทั่วไปก็ยังคงใช้งานได้อยู่นะคะ เพียงแต่ต้องหาผ้าหมึกมาเปลี่ยนใหม่ ผ้าหมึกที่มีอยู่นี้สีจางจนแทบมองไม่เห็นแล้วค่ะ ..

ไหนๆ ก็พูดถึงเครื่องพิมพ์ดีแล้ว 
เราไปฟังประวัติความเป็นมากันหน่อยนะคะ ..

เครื่องพิมพ์ดีดเครื่องแรกเป็นแบบภาษาอังกฤษจดทะเบียนสิทธิบัตรเมื่อปีพ.ศ.2257 ณประเทศอังกฤษโดยวิศวกรชื่อเฮนรี่มิลโดยใช้ชื่อว่า Writing Machine 

ต่อจากนั้นนายวิลเลี่ยมออสตินเบิทชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เครื่องเขียนหนังสือใช้ชื่อว่า Typographer เครื่องมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมทำด้วยไม้ทั้งสิ้น


พ.ศ. 2376  ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องเขียนหนังสือสำหรับคนตาบอด เครื่องนี้ประกอบด้วยที่รวมของแป้นอักษรเมื่อเคาะลงไปบนแป้นอักษรจะดีดก้านอักษรตีไปที่จุดศูนย์กลาง

พ.ศ.2416 มีการผลิตเครื่องพิมพ์ดีดแบบมาตรฐานออกสู่ตลาดในสหรัฐอเมริกา มีหลายต่อหลายยี่ห้อ มีเครื่องพิมพ์ดีดที่ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายเพียง 4-5 ยี่ห้อคือรอยัลเรมิงตันไอบีเอ็มสมิธโคโรน่าและอันเดอร์วูด

ส่วนในยุโรปมีนักประดิษฐ์ทำเครื่องพิมพ์ดีดออกจำหน่ายหลายยี่ห้อเช่นกัน ในเยอรมันนีมีโอลิมเปียแอดเลอร์ออบติม่านอิตาลีมีโอลิวิตตี้ในฮอลแลนด์มีเฮร์เมสเป็นต้น

ในประเทศไทย
นายเอดวินแมคฟาร์แลนด์เลขานุการส่วนพระองค์ของสมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงธรรมการเดินทางไปสหรัฐอเมริกามีแนวความคิดที่จะดัดแปลงเครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษเป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย ต้องใช้เครื่องพิมพ์ดีดที่มีแป้นอักษรมากกว่าชนิดอื่นในที่สุดก็เลือกได้ยี่ห้อสมิทฟรีเมียร์
เมื่อพ.ศ 2438 นายเอดวินแมคฟาร์แลนด์ก็ถึงแก่กรรมแต่ในขณะที่ป่วยอยู่ได้มอบหมายให้หมอยอร์ชบีแมคฟาร์แลนด์ (พระอาจวิทยาคม) น้องชายหาวิธีแก้ไขปรับปรุงและแพร่เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยให้กว้างขวางต่อไปพระอาจวิทยาคม ๆ มีประชาชนและข้าราชการที่ไปทำฟันได้พบเห็นและได้รับคำแนะนำจำนวนมากต่อมาหน่วยราชการต่างก็สั่งซื้อจำนวนมากโดยท่านได้สั่งให้โรงงานสมิทฟรีเมียร์ในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตและส่งมาถึงเมืองไทยรุ่นแรกพศ. 2440


ต่อมาในปีพ.ศ 2467 พระอาจวิทยาคมได้ปรึกษาและทำการค้นคว้ากับพนักงานบริษัท 2 คนคือนายสวัสดิ์มากประยูรและนายสุวรรณประเสริฐ (กิมเฮง) เกษมณีโดยนายสวัสดิ์มากประยูรเป็นวิศวกรออกแบบประดิษฐ์ตัวอักษรนายสุวรรณประเสริฐ (กิมเฮง) ทำหน้าที่ฝ่ายวิชาการใช้เวลา 7 ปีก็วางแป้นอักษรใหม่สำเร็จและเห็นว่าเหมาะสมที่สุดในพศ. 2474 สามารถพิมพ์ได้ถนัดที่สุดและรวดเร็วที่สุดให้ชื่อว่าแบบ “เกษมณี” และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

ต่อมาได้มีผู้วิจัยพบว่าเครื่องพิมพ์ดีดแบบเกษมณียังมีข้อบกพร่องและคิดวางแป้นอักษรใหม่ใช้ชื่อว่าและสภาวิจัยแห่งชาติตรวจสอบแล้วเห็นว่าเครื่องพิมพ์ดีดแบบปัตตะโชติ “ปัตตะโชติ” 258% ในระหว่างปีพ.ศ 2508-2516 ทำให้วงการใช้เครื่องพิมพ์ดีดเกิดความสับสนคณะรัฐมนตรีลงมติให้หน่วยราชการที่ได้รับงบประมาณค่าเครื่องพิมพ์ดีดจัดซื้อเครื่องพิมพ์ดีดไทยแบบปัตตะโชติหลังวันที่ 16 ตุลาคม 2516





 

แป้นพิมพ์เกษมณี


แป้นพิมพ์ปัตตะโชติ

จะสังเกตุเห็นว่าแป้นพิมพ์ไม่มี  ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) คงเนื่องมาจจากก้านอักษรมีไม่พอกับจำนวนสระพยัญชนะและวรรณยุกต์ในภาษาไทย จึงต้องตัดคำบางคำ หรือเครื่องหมายบางตัวออกไปบ้าง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เนื้อเพลง