พญาไชยสงคราม
พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายพระองค์ที่สองแห่งอาณาจักรล้านนา
หลังการสวรรคตของพญามังราย ขุนครามพระราชโอรสของพญามังราย ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพญามังราย โดยใช้ชื่อว่าพญาไชยสงครามเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์มังรายและอาณาจักรล้านนา ในช่วงก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์ด้วยฝีมือการรบที่ยอดเยี่ยม พระองค์จึงเปรียบเสมือนกับมือขวาของพญามังรายอีกด้วย
พญาไชยสงครามเป็นพระราชโอรสของพญามังราย พระมหากษัตริย์คนแรกของล้านนา ซึ่งพญาไชยสงครามนั้นก็ถือได้ว่าเป็นกษัตริย์นักรบที่แข็งแกร่งที่สุดคนหนึ่งเลย เพราะพระองค์ได้ช่วยพระชนกนาถทำสงครามกับแคว้นเล็ก แคว้นน้อยมากมายที่ไม่ยอมเข้าร่วมต่อล้านนา ตราบจนกระทั่งขึ้นครองราชย์แล้วก็ตาม
พญาไชยสงคราม น่าจะประสูติกาลราวปี พ.ศ.1799 โดยเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 จาก3พระองค์ของพญามังราย ชื่อเดิมก่อนขึ้นครองราชย์ของพระองค์ก็คือขุนคราม เมื่อพระองค์เจริญพระชนม์พรรษามากขึ้นก็ช่วยเหลือพระบิดาของพระองค์ทำสงครามอยู่บ่อยครั้งและยังคอยช่วยเหลือและความประพฤติดีงามผิดกับพี่และน้องของพระองค์เอง ดังเช่นพี่ชายของพระองค์ขุนเครื่องได้คิดคดพยายามทรยศพระราชบิดา จึงถูกพระราชบิดาสั่งประหารชีวิต ส่วนขุนเครือผู้เป็นพระอนุชามีปัญหาขัดแย้งกับขุนครามเนื่องจากขณะที่ขุนเครือครองเมืองพร้าวอยู่นั้น ขุนเครือเกิดความรักใคร่กับชายาของขุนครามซึ่งอยู่เมืองเชียงดาว พญามังรายจึงส่งขุนเครือไปครองเมืองนายในเขตรัฐฉาน ขุนเครือจึงเป็นเชื้อสายราชวงศ์มังรายที่แยกออกไปปกครองชาวไทใหญ่ ภายหลังขุนเครือกลับมาชิงเมืองเชียงใหม่จากพญาแสนภู ผู้เป็นหลาน แต่ในที่สุดก็ถูกจับและต้องโทษขังคุก(ในบริเวณที่พำนักของท้าวเฮือง ต่อมาจึงเรียกบริเวณที่เป็นแจ่งเมืองนั้นก็คือแจ่งกู่เฮือง)และไม่นานหลังจากนั้นก็สิ้นพระชนม์ไปในที่สุด
พญามังรายได้วางใจให้ขุนครามไปปกครองเมืองเชียงราย ซึ่งเชียงรายเป็นเมืองขนาดใหญ่และมีความสำคัญ และนอกจากจะปกครองเมืองแล้วหลังจากที่พญาเบิกพยายามทำสงครามกับล้านนา ขุนครามก็อาสาออกไปสุ้ด้วยตัวเอง และทำการยุทธหัตถีกันระหว่างขุนครามกับพญาเบิกซึ่งผลก็คือพยาเบิกโดนหอกฟันได้รับบาดเจ็บ จึงสั่งถอยทัพกลับแต่ขุนครามได้บุกรุดหน้าต่อทำให้ทัพของพญาเบิกพ่ายแพ้ยับเยินและพญาเบิกก็ได้ถูกจับไปและถูกสำเร็จโทษในที่สุด(จุดบริเวณนั้นต่อมาจึงได้สร้างศาลเพื่อสดุดีแก่พญาเบิกเป็นเจ้าพ่อขุนตาล) ซึ่งหลังจากการศึกครั้งนี้เสร็จแล้วขุนครามก็ได้รับของพระราชทานแก้วแหวนเงินทอง เครื่องยศ ช้าง ม้า ชายา ข้าคน แก่ขุนคราม จากนั้นจึงโปรดให้สถาปนาขุนครามขึ้นเป็นอุปราชมีนามว่า เจ้าพญาไชยสงคราม ครองเมืองเชียงรายและเชียงดาว และเป็นคนที่พญามังรายไว้ใจที่สุดในราชสำนักอีกด้วย
หลังจากที่พญามังรายสวรรคตแล้วในปี พ.ศ.1854 ราชบัลลังก์จึงตกกับพญาไชยสงครามผู้เป็นอุปราช พญาไชยสงครามขึ้นครองราชย์ตอนมีพระชนม์มายุ 55 พรรษา โดยหลังจากขึ้นครองราชย์และประทับที่เมืองเชียงใหม่ได้ประมาณ 4 เดือนก็โปรดให้ย้ายเมืองหลวงไปยังเชียงรายเพราะพระองค์ไม่โปรดเมืองเชียงใหม่นั่นเอง โดยเมืองเชียงใหม่ที่ถูกลดบทบาทเป็นเมืองลูกหลวงได้ให้พระราชโอรสองค์โตอย่างท้าวแสนภูขึ้นครองเมืองเชียงใหม่และแต่งตั้งให้เป็นอุปราช
การแย่งชิงบัลลังก์ของขุนเครือ
ขุนเครือพระอนุชาของพญาไชยสงครามที่ถูกเนรเทศออกจากเมืองได้พยายามเข้ายึดเชียงใหม่ที่มีท้าวแสนภูครองเมืองอยู่ แต่ท้าวน้ำท่วมพระอนุชาของท้าวแสนภูได้ยึดเมืองเชียงใหม่คืนมาได้และจับกุมตัวขุนเครือมาได้ ด้วยความดีความชอบในครั้งนั้นท้าวน้ำท่วมจึงได้ปกครองเชียงใหม่อยู่ระยะเวลาหนึ่งแต่ด้วยความหวาดระแวงพระราชหฤทัยจากการที่มีขุนนางมากล่าวว่าท้าวน้ำท่วมจะคิดกบฏ แต่ไต่สวนแล้วก็ไม่ได้มีทีท่าว่าจะคิดกบฎ จึงสั่งให้ท้าวน้ำท่วมไปปกครองเชียงตุงแทน และให้ท้าวแสนภูที่เป็นอุปราชได้กลับมาปกครองเชียงใหม่อีกครั้ง
พญาไชยสงครามมีพระมเหสีหลายพระองค์แต่ไม่ปรากฏพระนามเลยแม้แต่องค์เดียว แต่มีพระราชโอรสสามพระองค์นั้นก็คือ
๑. ท้าวแสนภู ได้รับยศอุปราชปกครองเมืองเชียงใหม่
๒.ท้าวน้ำท่วม ปกครองเมืองเชียงตุง
๓.ท้าวงั่ว ปกครองเมืองเชียงของ
พญาไชยสงครามสวรรคตที่เมืองเชียงรายขณะมีพระชนม์มายุ 72 พรรษา ในปีพ.ศ.1868 ท้าวแสนภูผู้เป็นอุปราชได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา เป็นกษัตริย์แห่งล้านนาองค์ที่ 3
วัดที่สร้างโดยพญาไชยสงครามคือวัดงำเมืองสร้างเมื่อ พ.ศ.๑๘๖๐ วัดงำเมืองเดิมมีแต่ สถูป (กู่) บรรจุพระอัฐิของพญามังรายมหาราช สร้างโดยพญาไชยสงครามโอรสพญามังรายมหาราช ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หลังจากที่พญามังรายได้สวรรคตที่เมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.๑๘๖๐ พญาไชยสงครามพระราชโอรสได้ถวายพระเพลิงพระศพพญามังรายมหาราชแล้วพระองค์ทรงไม่โปรดเมืองเชียงใหม่ ได้กลับมาครองเมืองเชียงรายและอัญเชิญพระอัฐิของพญามังรายมาประดิษฐาน ณ ดอยแห่งนี้ ต่อมา พ.ศ. ๒๐๓๐ พระยาศรรัชฎาเงินทอง ได้มาบุรณะและสร้างวัดขึ้นให้ชื่อว่า "วัดงำเมือง" และใน พ.ศ. ๒๒๒๐ ได้มีการบูรณะเพิ่มเติมมีการสร้างวิหารและเสนาสนะในวัด โดยเจ้าฟ้ายอดงำเมืองโอรสเจ้าผู้ครองนครเชียงแสน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น