หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล (8 สิงหาคม พ.ศ. 2440 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2528) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติแต่หม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา
พระประวัติ
หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล มีพระนามลำลองว่า ท่านหญิงพิไลย เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติแต่หม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา[1] เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2440 (สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5)
หม่อมเจ้าพิไลยเลขาเติบโตมาในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตั้งแต่ชันษา 4 ปี โดยมีหน้าที่เชิญหีบพระศรี พระกลด ตลอดจนเครื่องใช้ส่วนพระองค์ สมเด็จทรงพระกรุณาเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด โปรดให้ศึกษาที่โรงเรียนราชินีจนจบ ได้เป็นครูสอนหนังสือ ทรงรับใช้ใกล้ชิดพระองค์ ตามเสด็จไปในที่ต่าง ๆ และเป็นผู้อ่านหนังสือถวาย
กระทั่งปี พ.ศ. 2454 หม่อมเจ้าพิไลยเลขาชันษา 14 ปี ทรงใกล้ชิดสนิทสนมกับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ (
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7)
ซึ่งเสด็จกลับจากทรงศึกษาที่ทวีปยุโรปช่วงฤดูร้อน สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ทรงพอพระทัยในหม่อมเจ้าพิไลยเลขา จึงทรงกราบทูลขอหม่อมเจ้าพิไลยเลขาจากสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงก็ทรงหมั้นหมายหม่อมเจ้าพิไลยเลขาด้วยเครื่องเพชรและพระราชทานพระราชานุญาตให้ติดต่อกันทางจดหมาย เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์เสด็จกลับไปศึกษาต่อที่ยุโรป[2]
ในปี พ.ศ. 2458 เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์เสด็จกลับจากยุโรป และทรงรับราชการในกรมเสนาธิการทหารบก หม่อมเจ้าพิไลยเลขาซึ่งชันษา 18 ปี มิใช่เด็กหญิงที่สามารถคลุกคลีกับผู้ใดได้เหมือนแต่เดิม ในขณะที่สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ทรงมีโอกาสพบปะเล่นหัวพูดคุยกับหญิงอื่น และต้องชะตากับหม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ ทำให้พระทัยหวั่นไหว อันเป็นเหตุจากความเหินห่างพระคู่หมั้น[3] และได้กราบทูลขอพระราชานุญาตเสกสมรสกับหม่อมเจ้ารำไพพรรณี สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงจึงพระราชทานพระราชานุญาตให้หม่อมเจ้าพิไลยเลขาเสด็จกลับไปประทับกับพระบิดาที่วังวรดิศ
ต่อมาในปี 2460
หลังจากเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์กรมขุนสุโขทัยธรรมราชาได้ทรงลาสิกขาจากการผนวช
จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจาก ร.6
เสกสมรสกับหม่อมเจ้ารำไพพรรณี
โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ประกอบพิธีพระราชพิธีอภิเษกสมรส
ที่พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน
การอภิเษกสมรสในครั้งนี้
ถือเป็นพระราชพิธีอภิเษกสมรสครั้งแรก
หลังจากการตรากฎมณเฑียรบาล
ว่าด้วยการเสกสมรสแห่งเจ้านายในพระราชวงศ์
รวมทั้งยังเป็นการแต่งงานแบบตะวันตกอย่างแท้จริง
กล่าวคือมีการถามความสมัครใจของคู่บ่าวสาวด้วย
สำหรับ “วังศุโขทัย” นั้นได้สร้างขึ้นก่อนที่ทั้ง 2 พระองค์
จะทรงเสกสมรสกัน โดยเป็นเรือนหอที่ ร.6
พระราชทานสร้างให้บริเวณคลองสามเสน
ในส่วนหม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล
ทรงดำรงองค์เป็นโสดจนสิ้นชีพิตักษัย สมัย ร.9
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2528 สิริชันษา 88 ปี
พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ปีเดียวกัน
ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น