หลวงพ่อทอง วัดวรนาถบรรพต นครสวรรค์
หลวงพ่อทอง วัดวรนาถบรรพต (วัดเขากบ) อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ประวัติ ลึกๆแล้ว ยังไม่มีใครรวบรวมไว้เลย ที่มีปรากฏอยู่ ก็จะเป็นประวัติ ย่อๆ
หลวงพ่อทอง เป็นพระธุดงค์รูปหนึ่ง ที่ธุดงค์ มาจาก จ.อุตรดิตถ์ ผ่านมาเห็นสภาพวัด ซึ่งขณะนั้นได้เป็นวัดร้าง ปกคลุมด้วยป่าไผ่ และต้นไม้น้อยใหญ่ มีความสงบร่มรื่น จึงได้ปักกลด เจริญภาวนา ครั้นชาวบ้านในพื้นที่ได้พบเห็น จึงได้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้พร้อมใจกันอาราธนานิมนต์ ให้พำนักจำพรรษา และได้ช่วยกัน บูรณะปฏิสังขรณ์วัดด้วยความที่หลวงพ่อทอง ท่านเป็นพระเถราจารย์ ที่เข้มขลัง เรืองเวทย์รูปหนึ่ง เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน ทุกหมู่เหล่า การบูรณะปฏิสังขรณ์วัด จึงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ในปี พ.ศ 2481 หลวงพ่อทอง เป็นพระเกจิอีกหนึ่งองค์ ที่ได้เข้าร่วม ในงานพิธีหล่อพระพุทธรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ต่อมาทางคณะสงฆ์ได้ส่ง พระสมุห์ทองใบ มาช่วยในงานบูรณะวัด จนถึง ปี พ.ศ 2484 หลวงพ่อทอง ก็ได้ มรณภาพลง พระสมุห์ทองใบก็ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสต่อจาก หลวงพ่อทอง ในปีพ.ศ 2485หลวงพ่อทอง วัดเขากบ เป็นพระเถราจารย์ที่มีคุณงามความดี มีวิชาที่เข้มขลัง เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชน ทุกหมู่เหล่า น้ำมนต์ หลวงพ่อทอง ศักดิ์สิทธ์มาก แต่จะเป็นที่รู้กันของชาวบ้านว่า น้ำมนต์ หลวงพ่อทอง ให้อฐิษฐานแล้วให้ดื่มได้อย่างเดียว ห้ามใช้อาบโดยเด็ดขาด
หลวงพ่อทองหรือหลวงปู่ทองป็นอดีตเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดวรนาถบรรพต ท่านมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน แม้จะมรณภาพไปนานแต่ก็เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป อีกทั้งชื่อเสียงของหลวงปู่ทองที่มีอาคมขลังและความศักดิ์สิทธิ์ยังเลื่องลือจนปัจจุบัน โดยมีเรื่องเล่าขานถึงหลวงปู่ทองมากมาย อาทิ ครั้งหนึ่งเมื่อท่านขึ้นไปพอกปูนยอดเจดีย์อยู่บนนั่งร้านที่สูงกว่า 20 ศอก แล้วเกิดพลัดตกลงมาจากนั่งร้านลงมาถึงพื้นดินแทนที่จะได้รับบาดเจ็บท่านกลับลุกขึ้นปัดฝุ่นที่จีวรแล้วกลับขึ้นไปพอกปูนต่อ เป็นที่อัศจรรย์ กับผู้พบเห็นจนเลื่องลือว่าท่าน มีวิชาตัวเบา อีกเรื่องที่เล่าขานกันมาจนปัจจุบันว่าหลวงปู่ทองสามารถย่นระยะทางได้ โดยมีผู้พบเห็นท่านบิณฑบาตไกลถึงบ้านแดนเขตบรรพตพิสัย บ้านบางแก้วบ้าง บ้านหาดทรายงามบ้าง ครั้งหนึ่งท่านรับกิจนิมนต์ไปถึงกรุงเทพฯ ขากลับท่านให้ลูกศิษย์กลับมาก่อนโดยท่านแวะเสวนาธรรมกับพระนักธรรมใน กทม.ก่อน แต่เมื่อลูกศิษย์กลับมาถึงวัดก็พบว่าหลวงปู่ทองจำวัดอยู่ก่อนแล้วจึงเป็นที่ล่ำลืออีกว่าท่านสามารถย่นระยะทางได้ จนวันนี้ทางวัดได้จัดหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงท่านไว้ในวิหาร ซึ่งมีประชาชนทั้งทางใกล้ไกลเดินทางมานมัสการท่านเป็นประจำมิได้ขาด
ประวัติวัด
วัดวรนาถบรรพต (วัดกบ) ตั้งอยู่บนถนนธรรมวิถี ตำบลปากน้ำโพ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือวัดวรนาถบรรพตบนพื้นที่ราบ และ บนเขากบ ซึ่งเป็นเขาลูกเล็กๆ ตั้งอยู่หน้าเทศบาลนครนครสวรรค์ไม่ห่างไกลจากพื้นที่ราบเท่าใดนัก
แต่ทั้ง 2 แห่งเป็นวัดเดียวกันมีโบราณสถานน่าสนใจอยู่หลายสิ่ง คือภายในบริเวณวัดบนพื้นที่ราบมีเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาหรือทรงระฆัง ก่ออิฐถือปูน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 ลักษณะแบบศิลปะสุโขทัย,พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ยาวประมาณ 10 วาเศษ ในพระอุโบสถหลังเก่า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเจดีย์ส่วนบนยอดเบฃขากบนั้นมีรอยพระพุทธบาทจำลอง (รอยเท้าซ้าย) ประดิษฐานอยู่ ซึ่งวัดวรนาถบรรพตมีหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 20 ค้นพบโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อปลายปี พ.ศ. 2464 ที่ยอดเขากบ ปัจจุบันกรมศิลปากรนำไปเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดวิชิรญาณ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ
จากข้อความในศิลาจารึกนั้นกล่าวถึงพญาบาลเมืองสร้างวัดที่เมืองปากพระบาง มีเจดีย์วิหารขุดตระพัง ปลูกบัวนานาพรรณเพื่อเป็นพุทธบูชา ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในรามอาวาส สร้างพุทธปฏิมาดูงามนักหนาในวิหาร เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ พญารามผู้น้องซึ่งมาสิ้นพระชนม์ลง ณ เมืองพระบาง
ส่วนรอยพระพุทธบาทจำลองนั้น ตามหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 3 พบที่เมืองนครชุม กำแพงเพชร กล่าวถึงสมเด็จพระมหาธรรมราชา (ลิไท) นำรอยพระพุทธบาทจำลองที่ทางลังกาทวีปนำมาบรรณาการแก่ สุโขทัย 2 รอยด้วยกันโดยรอยซ้ายให้ประดิษฐานไว้มี่ยอดเขาปากพระบาง ส่วนอีกรอยหนึ่งนั้นนำขึ้นไปยังเมืองสุโขทัยประดิษฐานไว้ที่วัดกระพังทอง ซึ่งยังคงมีหลักฐานอยู่จนทุกวันนี้
รอยพระพุทธบาทจำลองปัจจุบันยังคงให้ประชาชนสักการบูชาในวิหารบนยอดเขากบ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ,พระพุทธรูปหิน ปางนาคปรก สมัยเชียงแสน เป็นต้น
ในส่วนของการสร้างวัดวรนาถบรรพตหรือวัดกบนั้นมีตำนานเล่าสืบกันมาว่า เมื่อครั้งประมาณปี พ.ศ. 2415 มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ทอง เดินทุดงค์มาปักกรดอยู่ข้างหมู่บ้านเชิงเขา ทุกเช้าหลวงพ่อทอง จะเดินออกบิณฑบาตเพื่อโปรดสัตว์ทั่วไป จนวันหนึ่งหลวงพ่อทองไปพบเจดีย์ใหญ่เก่าแก่มาก หลวงพ่อสนใจมากตรงไปที่บ้านเล็กๆพบสองตายายจึงถามว่า “โยมชื่ออะไร ที่ดินแปลงนี้เป็นของใคร” ตาตอบหลวงพ่อว่า “พระคุณเจ้า ตัวชื่อ ตากบอยู่ด้วยกันกับยายเขียด ที่แห่งนี้เป็นของฉันเองมีอยู่ร้อยไร่เศษกว้างคลุมยอดเขานั่นเทียว ส่วนเจดีย์นั้นเป็นเจดีย์เก่าแก่ชาวบ้านแถบนี้นับถือกันมากหากหลวงพ่อจะใช้ที่ดินแห่งนี้เป็นที่พำนักฉันก็ยินดีถวายให้เป็นที่สร้างวัดเพราะฉันกับยายก็แก่มากแล้ว” หลวงพ่อทองได้รับถวายที่ดินจากตากบ-ยายเขียด ต่อมาชาวบ้านจึงได้ช่วยกันสร้างกุฏิเล็กๆก่อนสร้างอุโบสถและศาลาขึ้นอีกเพื่อชาวบ้านใช้ประกอบพิธีทางศาสนา
ต่อมาตากบ-ยายเขียดถึงแก่กรรมแล้วหลวงพ่อทองจึงกำหนดที่ดินทั้งหมดทั้งที่ราบและบนยอดเขาเป็นที่ดินของวัด และตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดเขากบ” ตามชื่อของเจ้าของที่ดิน หลังจากการฌาปนกิจศพ ตากบ-ยายเขียดแล้วหลวงพ่อยังให้ช่างปั้นรูปจำลองตากบยายเขียดไว้ที่หน้าบุโบสถจนกระทั่งทุกวันนี้
เนื่องจากในสมัยนั้นเชิงเขากบเป็นป่าสักมากมายหลวงพ่อจึงตั้งชื่อว่า “เขากบทราวสีจอมคีรี ณ ป่าสัก” ซึ่งต่อมาเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) อดีตอธิบดีสงฆ์ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ กรุงเทพฯ สมัยนั้นท่านเป็นเจ้าคณะมณฑลเห็นว่าวัดกบ ตั้งอยู่เชิงเขาจึงเปลี่ยนชื่อให้เป็น วัดวรนาถบรรพต ซึ่งอธิบายได้ว่า คำว่า วร แปลว่า ยอดเยี่ยม,ประเสริฐ นาถ แปลว่า ที่พึ่ง ส่วน บรรพต แปลว่า ภูเขา รวมความแปลได้ว่า ภูเขาซึ่งเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ แต่ชาวบ้านยังคงเรียกว่า วัดกบ และวัดเขากบ จนติดปากมาทุกวันนี้
หลวงพ่อทอง เป็นพระธุดงค์รูปหนึ่ง ที่ธุดงค์ มาจาก จ.อุตรดิตถ์ ผ่านมาเห็นสภาพวัด ซึ่งขณะนั้นได้เป็นวัดร้าง ปกคลุมด้วยป่าไผ่ และต้นไม้น้อยใหญ่ มีความสงบร่มรื่น จึงได้ปักกลด เจริญภาวนา ครั้นชาวบ้านในพื้นที่ได้พบเห็น จึงได้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้พร้อมใจกันอาราธนานิมนต์ ให้พำนักจำพรรษา และได้ช่วยกัน บูรณะปฏิสังขรณ์วัดด้วยความที่หลวงพ่อทอง ท่านเป็นพระเถราจารย์ ที่เข้มขลัง เรืองเวทย์รูปหนึ่ง เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน ทุกหมู่เหล่า การบูรณะปฏิสังขรณ์วัด จึงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ในปี พ.ศ 2481 หลวงพ่อทอง เป็นพระเกจิอีกหนึ่งองค์ ที่ได้เข้าร่วม ในงานพิธีหล่อพระพุทธรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ต่อมาทางคณะสงฆ์ได้ส่ง พระสมุห์ทองใบ มาช่วยในงานบูรณะวัด จนถึง ปี พ.ศ 2484 หลวงพ่อทอง ก็ได้ มรณภาพลง พระสมุห์ทองใบก็ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสต่อจาก หลวงพ่อทอง ในปีพ.ศ 2485หลวงพ่อทอง วัดเขากบ เป็นพระเถราจารย์ที่มีคุณงามความดี มีวิชาที่เข้มขลัง เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชน ทุกหมู่เหล่า น้ำมนต์ หลวงพ่อทอง ศักดิ์สิทธ์มาก แต่จะเป็นที่รู้กันของชาวบ้านว่า น้ำมนต์ หลวงพ่อทอง ให้อฐิษฐานแล้วให้ดื่มได้อย่างเดียว ห้ามใช้อาบโดยเด็ดขาด
หลวงพ่อทองหรือหลวงปู่ทองป็นอดีตเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดวรนาถบรรพต ท่านมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน แม้จะมรณภาพไปนานแต่ก็เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป อีกทั้งชื่อเสียงของหลวงปู่ทองที่มีอาคมขลังและความศักดิ์สิทธิ์ยังเลื่องลือจนปัจจุบัน โดยมีเรื่องเล่าขานถึงหลวงปู่ทองมากมาย อาทิ ครั้งหนึ่งเมื่อท่านขึ้นไปพอกปูนยอดเจดีย์อยู่บนนั่งร้านที่สูงกว่า 20 ศอก แล้วเกิดพลัดตกลงมาจากนั่งร้านลงมาถึงพื้นดินแทนที่จะได้รับบาดเจ็บท่านกลับลุกขึ้นปัดฝุ่นที่จีวรแล้วกลับขึ้นไปพอกปูนต่อ เป็นที่อัศจรรย์ กับผู้พบเห็นจนเลื่องลือว่าท่าน มีวิชาตัวเบา อีกเรื่องที่เล่าขานกันมาจนปัจจุบันว่าหลวงปู่ทองสามารถย่นระยะทางได้ โดยมีผู้พบเห็นท่านบิณฑบาตไกลถึงบ้านแดนเขตบรรพตพิสัย บ้านบางแก้วบ้าง บ้านหาดทรายงามบ้าง ครั้งหนึ่งท่านรับกิจนิมนต์ไปถึงกรุงเทพฯ ขากลับท่านให้ลูกศิษย์กลับมาก่อนโดยท่านแวะเสวนาธรรมกับพระนักธรรมใน กทม.ก่อน แต่เมื่อลูกศิษย์กลับมาถึงวัดก็พบว่าหลวงปู่ทองจำวัดอยู่ก่อนแล้วจึงเป็นที่ล่ำลืออีกว่าท่านสามารถย่นระยะทางได้ จนวันนี้ทางวัดได้จัดหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงท่านไว้ในวิหาร ซึ่งมีประชาชนทั้งทางใกล้ไกลเดินทางมานมัสการท่านเป็นประจำมิได้ขาด
ประวัติวัด
วัดวรนาถบรรพต (วัดกบ) ตั้งอยู่บนถนนธรรมวิถี ตำบลปากน้ำโพ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือวัดวรนาถบรรพตบนพื้นที่ราบ และ บนเขากบ ซึ่งเป็นเขาลูกเล็กๆ ตั้งอยู่หน้าเทศบาลนครนครสวรรค์ไม่ห่างไกลจากพื้นที่ราบเท่าใดนัก
แต่ทั้ง 2 แห่งเป็นวัดเดียวกันมีโบราณสถานน่าสนใจอยู่หลายสิ่ง คือภายในบริเวณวัดบนพื้นที่ราบมีเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาหรือทรงระฆัง ก่ออิฐถือปูน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 ลักษณะแบบศิลปะสุโขทัย,พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ยาวประมาณ 10 วาเศษ ในพระอุโบสถหลังเก่า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเจดีย์ส่วนบนยอดเบฃขากบนั้นมีรอยพระพุทธบาทจำลอง (รอยเท้าซ้าย) ประดิษฐานอยู่ ซึ่งวัดวรนาถบรรพตมีหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 20 ค้นพบโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อปลายปี พ.ศ. 2464 ที่ยอดเขากบ ปัจจุบันกรมศิลปากรนำไปเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดวิชิรญาณ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ
จากข้อความในศิลาจารึกนั้นกล่าวถึงพญาบาลเมืองสร้างวัดที่เมืองปากพระบาง มีเจดีย์วิหารขุดตระพัง ปลูกบัวนานาพรรณเพื่อเป็นพุทธบูชา ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในรามอาวาส สร้างพุทธปฏิมาดูงามนักหนาในวิหาร เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ พญารามผู้น้องซึ่งมาสิ้นพระชนม์ลง ณ เมืองพระบาง
ส่วนรอยพระพุทธบาทจำลองนั้น ตามหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 3 พบที่เมืองนครชุม กำแพงเพชร กล่าวถึงสมเด็จพระมหาธรรมราชา (ลิไท) นำรอยพระพุทธบาทจำลองที่ทางลังกาทวีปนำมาบรรณาการแก่ สุโขทัย 2 รอยด้วยกันโดยรอยซ้ายให้ประดิษฐานไว้มี่ยอดเขาปากพระบาง ส่วนอีกรอยหนึ่งนั้นนำขึ้นไปยังเมืองสุโขทัยประดิษฐานไว้ที่วัดกระพังทอง ซึ่งยังคงมีหลักฐานอยู่จนทุกวันนี้
รอยพระพุทธบาทจำลองปัจจุบันยังคงให้ประชาชนสักการบูชาในวิหารบนยอดเขากบ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ,พระพุทธรูปหิน ปางนาคปรก สมัยเชียงแสน เป็นต้น
ในส่วนของการสร้างวัดวรนาถบรรพตหรือวัดกบนั้นมีตำนานเล่าสืบกันมาว่า เมื่อครั้งประมาณปี พ.ศ. 2415 มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ทอง เดินทุดงค์มาปักกรดอยู่ข้างหมู่บ้านเชิงเขา ทุกเช้าหลวงพ่อทอง จะเดินออกบิณฑบาตเพื่อโปรดสัตว์ทั่วไป จนวันหนึ่งหลวงพ่อทองไปพบเจดีย์ใหญ่เก่าแก่มาก หลวงพ่อสนใจมากตรงไปที่บ้านเล็กๆพบสองตายายจึงถามว่า “โยมชื่ออะไร ที่ดินแปลงนี้เป็นของใคร” ตาตอบหลวงพ่อว่า “พระคุณเจ้า ตัวชื่อ ตากบอยู่ด้วยกันกับยายเขียด ที่แห่งนี้เป็นของฉันเองมีอยู่ร้อยไร่เศษกว้างคลุมยอดเขานั่นเทียว ส่วนเจดีย์นั้นเป็นเจดีย์เก่าแก่ชาวบ้านแถบนี้นับถือกันมากหากหลวงพ่อจะใช้ที่ดินแห่งนี้เป็นที่พำนักฉันก็ยินดีถวายให้เป็นที่สร้างวัดเพราะฉันกับยายก็แก่มากแล้ว” หลวงพ่อทองได้รับถวายที่ดินจากตากบ-ยายเขียด ต่อมาชาวบ้านจึงได้ช่วยกันสร้างกุฏิเล็กๆก่อนสร้างอุโบสถและศาลาขึ้นอีกเพื่อชาวบ้านใช้ประกอบพิธีทางศาสนา
ต่อมาตากบ-ยายเขียดถึงแก่กรรมแล้วหลวงพ่อทองจึงกำหนดที่ดินทั้งหมดทั้งที่ราบและบนยอดเขาเป็นที่ดินของวัด และตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดเขากบ” ตามชื่อของเจ้าของที่ดิน หลังจากการฌาปนกิจศพ ตากบ-ยายเขียดแล้วหลวงพ่อยังให้ช่างปั้นรูปจำลองตากบยายเขียดไว้ที่หน้าบุโบสถจนกระทั่งทุกวันนี้
เนื่องจากในสมัยนั้นเชิงเขากบเป็นป่าสักมากมายหลวงพ่อจึงตั้งชื่อว่า “เขากบทราวสีจอมคีรี ณ ป่าสัก” ซึ่งต่อมาเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) อดีตอธิบดีสงฆ์ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ กรุงเทพฯ สมัยนั้นท่านเป็นเจ้าคณะมณฑลเห็นว่าวัดกบ ตั้งอยู่เชิงเขาจึงเปลี่ยนชื่อให้เป็น วัดวรนาถบรรพต ซึ่งอธิบายได้ว่า คำว่า วร แปลว่า ยอดเยี่ยม,ประเสริฐ นาถ แปลว่า ที่พึ่ง ส่วน บรรพต แปลว่า ภูเขา รวมความแปลได้ว่า ภูเขาซึ่งเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ แต่ชาวบ้านยังคงเรียกว่า วัดกบ และวัดเขากบ จนติดปากมาทุกวันนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น