วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ยอดเขาที่สุงที่สุดในประเทศไทย 10 อันดับ



1. ดอยอินทนนท์  ความสูง  2,600 เมตร



ดอยอินทนนท์ เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมมีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยหลวงอ่างกา" ชื่อของ ดอยอินทนนท์ เป็นชื่อของกษัตริย์พระนามว่าพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงเป็นผู้ที่ห่วงใยในป่าทางภาคเหนือและพยายามรักษาไว้ ภายหลังเสด็จพิราลัย พระอัฐิส่วนหนึ่งได้เชิญไปประดิษฐาน ณ พระสถูปบนยอดดอยหลวง และเปลี่ยนชื่อเพื่อเป็นเกียรติ

ดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาอินทนนท์ (ทิวเขาถนนธงชัยตะวันออก) เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย

สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตรยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ



2. ดอยผ้าห่มปก ความสูง 2,285 เมตร


ยอดดอยผ้าห่มปก ตั้งอยู่ในเขตของอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก จ.เชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,285 เมตร ซึ่งเป็นยอดดอยที่สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย


บริเวณโดยรอบนั้นจะมีหมอกปกคลุม และมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ทำให้ที่นี่กลายเป็นอีกจุดชมทะเลหมอก พระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตกที่สวยงามมากๆ ในการเดินทางขึ้นยอดที่ดอยฟ้าห่มปกนั้น จะต้องติดต่อขออนุญาตจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ฝางก่อนเสมอ


มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย อยู่ในพื้นที่อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย เที่ยวได้ทั้งปี ที่เที่ยวไม่ว่าจะเป็น น้ำพุร้อนฝาง โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ หมู่ที่ 15 ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย น้ำตกปู่หมื่น บ้านปู่หมื่น ไร่ชาปู่หมื่น อยู่ที่แม่อาย และม่อนดอยล่าง อยู่แม่อายเช่นกัน  



 

3. ดอยหลวงเชียงดาว ความสูง 2,195 เมตร

ดอยเชียงดาว หรือ ดอยหลวงเชียงดาว  เป็นดอยหรือยอดเขาที่มีความสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองมาจากดอยอินทนนท์และดอยผ้าห่มปก ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูง 2,275 เมตร (7,136 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล ชื่อในสมัยก่อนเรียกว่า "ดอยอ่างสลุง" ชื่อกันตามตำนานพื้นเมืองว่าเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาพร้อมพระอรหันต์ 8 รูป ทรงลงสรงน้ำในสลุงทองคำหรือบริเวณอ่างสลุง จึงเรียกดอยแห่งนี้ว่า "ดอยหลวง" เนื่องจากเป็นดอยที่มีขนาดสูงใหญ่ ("หลวง" ในภาษาเหนือ หมายถึง "ใหญ่" ) เพี้ยนเป็น "ดอยหลวงเพียงดาว" (ดอยหลวงเปียงดาวในภาษาเหนือ) จนกลายมาเป็น "ดอยหลวงเชียงดาว" หรือ "ดอยเชียงดาว" ในปัจจุบัน

เป็นที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว อุณหภูมิตามปกติจะถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกตลอดปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝน อากาศหนาวเย็นตลอดฤดูหนาวและฤดูฝนอากาศชุ่มชื้นมาก เป็นแหล่งที่มีพืชพรรณหลากหลายและมีหลายชนิดที่เป็นพืชถิ่นเดียวไม่พบในส่วนอื่น ๆ ของประเทศไทย มีทั้งพืชเขตร้อน, กึ่งเขตร้อนและพืชเขตอบอุ่น จึงเป็นสถานที่ ๆ พบความหลากหลายทางชีวภาพมาก เนื่องจากเป็นเขาหินปูน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย เกิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน มีอายุระหว่าง 230–250 ล้านปี เป็นหมู่หินราชบุรีของไทย ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนทะเล และซากสัตว์ที่มีหินปูน สันนิษฐานว่า พื้นที่ในบริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นท้องทะเลมาก่อนที่การตกตะกอนทับถมของซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการังและหอย เป็นแหล่งนิยมสำหรับการดูนก มีนกอาศัยอยู่ที่นี่มากกว่า 300 ชนิด รวมถึงสัตว์ป่าชนิดอื่นที่หายาก เช่น ผีเสื้อสมิงเชียงดาว, ไก่ฟ้าหางลายขวาง, กวางผา รวมถึงเลียงผา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน เป็นต้น


4. ภูสอยดาว ความสูง 2,102 เมตร


อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ในตำบลม่วงเจ็ดต้น ตำบลนาขุม ตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก มีเนื้อที่ 125,110 ไร่ หรือ 200.18 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ปกคลุมไปด้วยป่าธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ยอดสูงสุดของภูสอยดาวสูงจากระดับทะเลปานกลาง 2,102 เมตร ซึ่งสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศไทย สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ ได้แก่ - น้ำตกภูสอยดาว มีทั้งหมด 5 ชั้น แต่ละชั้นมีชื่อเรียกที่ไพเราะว่า ภูสอยดาว สกาวเดือน เหมือนฝัน กรรณิการ์ และสุภาภรณ์ มีน้ำไหลตลอดปี - น้ำตกสายทิพย์ เป็นน้ำตก 7 ชั้น ความสูงแต่ละชั้นประมาณ 5-10 เมตร สภาพป่าโดยรอบน้ำตกมีความชุ่มชื้นมาก จึงมีมอสสีเขียวขึ้นปกคลุมทั่วไปตามก้อนหินริมน้ำ - ทุ่งดอกไม้ในป่าสน ช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี จะมีดอกไม้ดินชูช่อแย่งกันออกดอกเป็นกลุ่มหนาแน่น เช่น ดอกหงอนนาค ดอกสร้อยสุวรรณา และดอกหญ้ารากหอม ในฤดูหนาวจะมีดอกกระดุมเงิน กล้วยไม้รองเท้านารี อินทนนท์ และต้นเมเปิ้ล ซึ่งใบจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสวยงามมาก - ลานสนสามใบภูสอยดาว เป็นที่ราบบนภูเขา ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,633 เมตร สภาพพื้นที่ของลานสนสามใบจะเป็นเนินสูงต่ำสลับกันไป ชั้นล่างเป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ที่สุดในประเทศ บนลานสนยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม แต่ไม่มีบ้านพักและอาหาร หากต้องการพักค้างแรมต้องเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง - หลักเขตไทย-ลาว เป็นหลักเขตที่ปักปันเขตแดนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทำขึ้นหลังสงครามบ้านร่มเกล้า การเดินทางขึ้นสู่ภูสอยดาว ต้องเดินเท้าจากน้ำตกภูสอยดาว ริมเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1268 ขึ้นสู่ยอดภูสอยดาวระยะทางประมาณ 6.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 4-6 ชั่วโมง ต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางจากอุทยานฯ ซึ่งมีบริการลูกหาบช่วยขนสัมภาระ  



5. ดอยลังกาหลวง ความสูง 2,031 เมตร


   ดอยลังกาหลวง เป็นหนึ่งในยอดดอยของ อุทยานแห่งชาติขุนแจ ซึ่งครอบคลุมรอยต่อของ 3 จังหวัดทางภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ และลำปาง ด้วยความสูงถึง 2,031 เมตร ดอยลังกาหลวง จึงถูกจัดให้เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย ลักษณะของป่าเขารอบๆ จะเป็นป่าดิบเขาที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้และสัตว์ป่ามากมายหลายชนิด อีกทั้งยังเป็นป่าต้นน้ำของ น้ำตกแม่โถ ก่อนจะไหลลงสู่ แม่น้ำลาว 

จุดเด่นของเส้นทางเดินป่าเส้นนี้คือ การเดินตามแนวสันดอยไปตลอดเส้นทางได้พบได้เห็นป่าสภาพต่างๆ มีทั้งป่าดิบเขา ป่าสน และทุ่งหญ้าบนดอยสูง ป่าที่นี่มีความหลากหลายทำให้นักเดินทางไม่รู้สึกเบื่อหน่าย  ตลอดเส้นทางเดินบนสันดอยจะมองเห็นภาพวิวที่สวยงาม ดอกไม้ก็มีมาก มีทั้งดอกกุหลาบขาวดอยลังกาที่มีลักษณะเฉพาะจะออกดอกสวยงามในฤดูหนาว ดอกหรีดมีเยอะมาก นอกจากนี้ยังมีดอกไม้สวยแปลกตาอีกหลายชนิด    



6. ดอยภูคา ความสูง 1,980 เมตร


อุทยานแห่งชาติดอยภูคามีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่ 8 อำเภอของจังหวัดน่าน ได้แก่ อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอบ่อเกลือ อำเภอสันติสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และ อำเภอแม่จริม ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 1,704 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,065,000 ไร่ จึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่าอันจะเห็นได้จากการพบพืชพรรณ และสัตว์ป่าหายากหลากหลายชนิด และนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดน่าน โดยมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่น่าสนใจคือ ดอกชมพูภูคาซึ่งเป็นพันธ์ไม้หายากและมีที่แห่งนี้ที่เดียวในประเทศไทย ต้นเต่าร้างยักษ์ ป่าดึกดำบรรพ์ น้ำตกภูฟ้า พิชิตยอดดอยภูแว ชมถ้ำยอดวิมาน และถ้ำผาฆ้อง

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน พื้นที่ราบอยู่ตามบริเวณโดยรอบ มียอดดอยภูคาเป็ยยอดเขาที่สูงที่สุดใน จังหวัดน่าน โดยมีความสูง 1,980 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ปัจจุบันยอดดอยภูคา มีความสูง 1,910 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะทั่วไปเป็นภูเขาหิน และหินปนทราย โดยในพื้นที่ป่าแห่งนี้ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น 1 A อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่านและแม่น้ำลำธารสาขาหลายสาย

สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และยังมีป่าสนเขากลุ่มเล็กๆ อยู่บริเวณทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ใกล้กับดอยภูหวด นอกจากนี้ยังมีทุ่งหญ้าปกคลุมบนภูเขาเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งเป็นผลจากการแผ้วถางป่าของชาวบ้านเมื่อก่อนที่จะมีการประกาศให้ดอยภูคาเป็นพื้นที่อนุรักษ์ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ก่อ ยาง ตะเคียน จำปีป่า ประดู่ แดง สัก เต็ง รัง เหียง พลวง พะยอม รวมทั้งปาล์มขนาดใหญ่ หวาย ผักกูด ไผ่ และหญ้าเพ็ก เป็นต้น พันธุ์ไม้หายาก เช่น ชมพูภูคา ก่วมภูคา จำปีป่า ไข่นกคุ้ม ค้อเชียงดาว โลดทะนงเหลือง ขาวละมุน เทียนดอย เสี้ยวเครือ มะลิหลวง สาสี่หนุ่ม เหลืองละมุน ประทัดน้อยภูคา กระโถนพระฤาษี กุหลาบแดง กุหลาบขาวเชียงดาว พันธุ์ไม้เฉพาะถิ่น ได้แก่ เต่าร้างยักษ์ หมักอินทร์ คัดเค้าภูคา ประดับหินดาว หญ้าแพรกหิน นมตำเลีย และรางจืดต้นภูคา

สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่มีอย่างชุกชุม ได้แก่ ช้างป่า วัวแดง กระทิง กวางป่า เก้ง หมูป่า เลียงผา ลิง ชะนี ค่าง หมี อีเห็น กระจง นาก ไก่ป่า ไก่ฟ้า เหยี่ยวรุ้ง นกมูม นกพญาไฟใหญ่ ฯลฯ มีนกหายาก 2 ชนิด ซึ่งพบที่ดอยภูคา ได้แก่ นกมุ่นรกคอแดง (และนกพงใหญ่พันธุ์อินเดีย 




7. ดอยช้าง ความสูง 1,962 เมตร 

ดอยช้าง เป็นดอยหนึ่งที่อยู่ในส่วนของอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ซึ่งหากมองในมุมสูงจะมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับช้าง 2 เชือก ที่อยู่ด้วยกันแม่ลูก เป็นเหตุให้ชาวบ้านตั้งชื่อดอยนี้ว่า “ดอยช้าง”

  ดอยช้าง จุดสูงที่สุดจะอยู่ที่ผาหัวช้าง เป็นแหล่งต้นน้ำ ที่รายล้อมไปด้วยป่าเขาอุดมสมบูรณ์ ทำให้ดอยช้างมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี สามารถปลูกพืชเมืองหนาวต่างๆ ได้ดี ทั้ง กาแฟ แมคคาเดเมีย ไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ จัดว่าเป็นแหล่งปลูกกาแฟอาราบิก้า ได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทยเลย

ดอยช้าง ตั้งอยู่บ้านดอยช้าง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3  ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นยอดดอยสูงในเทือก ดอยวาวี เป็นแหล่งต้นน้ำแม่กรณ์ มีชาวเขาเผ่าต่างๆ มาอาศัยอยู่ จัดตั้งเป็นสถานีทดลองเกษตรที่สูง เพื่อส่งเสริม การปลูกพันธุ์ไม้เมืองหนาว ลดการทำไร่เลื่อนลอย ต่อมาเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นศูนย์บริการวิชาการด้าน พืชและปัจจัยการผลิต

 ชื่อ “บ้านดอยช้าง” ตั้งขึ้นตามลักษณะของภูเขาที่มีรูปร่างเหมือนช้างแม่ลูกสองเชือก หันหน้าไปทาง ทิศเหนือ (ตัวจังหวัดเชียงราย) สามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่บริเวณโรงเรียนบ้านดอยช้าง มี ผาหัวช้าง สูง 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นสถานที่ชมทิวทัศน์ที่สวยงาม อากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียส ดอยช้างมีชื่อเสียงในเรื่องของเป็นแหล่งปลูกกาแฟที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มาเที่ยวที่นี่ นักท่องเที่ยว จะได้ชมสวนกาแฟที่สุกอร่ามเต็มดอย พร้อมๆกับชมดอกซากุระหรือนางพญาเสือโคร่งที่กำลังบาน สีสันสดใส ชมพู อีกทั้งเพลินตา กับศิลปะวิถีชาวบ้าน




8. ยอดเขาโมโกจู ความสูง 1,950 เมตร


เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และสูงที่สุดในผืนป่าตะวันตกห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 27 กิโลเมตร  คำว่า “โมโกจู” เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า เหมือนฝนจะตก เนื่องจาก บนยอดเขามักถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกและมีอากาศหนาวเย็นตลอดเวลา 
 ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด คือ กำแพงเพชรและนครสวรรค์ และในพื้นที่อุทยานฯ แห่งนี้ เป็นที่ตั้งของ “ยอดเขาโมโกจู” ยอดเขาที่ได้ขึ้นชื่อว่าสูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ด้วยความสูง 1,964 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ของทุกปี


9. ม่อนจอง ความสูง 1,929 เมตร

  ดอยม่อนจอง ตั้งอยู่บนทิวเขาถนนธงชัยตอนกลาง ปัจจุบันตั้งอยู่ใน อ.นันทบุรี เดิมตั้งอยู่ใน ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยอยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ไม่ได้เปิดใช้เที่ยวชมกันตลอดทั้งปี เพราะต้องระวังภัยเรื่องช้างป่าที่ออกมาหากิน รวมถึงสภาพอากาศที่แห้ง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าได้ง่าย โดยปรกติแล้วจะเปิดให้ขึ้นประมาณวันที่ 1 พฤศจิกายน - 28 กุมภาพันธ์

     สำหรับที่มาของคำว่า ม่อนจอง นั้น คำว่า ม่อน เป็นภาษาคำเมืองที่แปลว่า ดอยหรือเนินเขา ส่วนคำว่า จอง ก็เป็นภาษาคำเมือง แต่จะออกเสียงว่า จ๋อง หมายถึง ลักษณะจั่ว สามเหลี่ยมที่อยู่สูงที่สุด

สิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องไพรมายังดอยม่อนจองก็คือ กวางผาหรือม้าเทวดาซึ่งมีถิ่นอาศัยอยู่ที่นี่ และทิวทัศน์ที่สวยงามของทิวเขา และถ้ามาในช่วงเดือน ธ.ค.-ม.ค.จะได้พบดอกกุหลาบพันปีที่กำลังบาน ว่ากันว่าต้นนี้เป็นต้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เทือกดอยที่ขึ้นกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อยแห่งนี้ มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยผืนป่าบริสุทธิ์ และเต็มไปด้วยสัตว์หายากนานาชนิดมากมาย โดยดอยม่อนจองนั้น ครอบคลุมพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ทั้งนี้ คำว่า ม่อน เป็นภาษาคำเมือง หมายถึง ดอยหรือเนินเขา ส่วนคำว่า จอง ก็เป็นภาษาคำเมืองจะออกเสียงว่า จ๋อง หมายถึง ลักษณะจั่ว สามเหลี่ยมที่อยู่สูงที่สุด และยิ่งกว่านั้น ดอยม่อนจองแห่งนี้ ติดอันดับ 1 ใน 10 ของยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย โดยจุดสูงสุดของดอยม่อนจองมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,929 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งมีชื่อเรียกว่า หัวสิงห์ เพราะมีลักษณะคล้ายหัวสิงโต ในอดีตดอยม่อนจองเป็นดินแดนแห่งสรรพสัตว์ ที่ใช้ชีวิตอาศัยอยู่อย่างอิสระเสรี เช่นกวางผา หรือ ม้าเทวดาและเลียงผารวมทั้งโขลงช้างป่า แต่ปัจจุบันยังมีอยู่แต่หาชมได้ยากมาก และถ้าใครมีโอกาสได้พบสัตว์เหล่านี้แล้ว ถือว่าโชคดีมากเลยทีเดียว ไฮไลท์แห่งยอดดอย - ชมภูเขาสูงสลับซับซ้อนที่จะมาพร้อมภาพของทุ่งหญ้าแปรเปลี่ยนเป็นสีทองในช่วงหน้าหนาวงดงามมาก นอกจากนี้ ดอยม่อนจองยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกที่จะทำให้คุณลืมวินาทีนั้นไม่ลงอีกด้วย - ชมดอกกุหลาบพันปี ซึ่งจะบานในช่วงเดือนธันวาคมจนถึงเดือนมกราคม ว่ากันว่าต้นกุหลาบพันปีบนดอยม่อนจองต้นนี้ เป็นต้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย - ชมนกหายากหลายชนิด เช่น เหยี่ยวนกเขาท้องขาว นกอินทรีแถบปีกดำ นกอินทรีเล็ก นกเปล้าท้องขาว นกมุ่นรกคอแดง นกเดินดงคอดำ เป็นต้น - เดินป่าชมธรรมชาติขึ้นสู่ยอดดอย การเดินขึ้นดอยม่อนจองสามารถไปเช้าเย็นกลับได้ แต่ถ้าไม่อยากเหนื่อยเกินไปนัก ควรใช้เวลา 2 วัน 1 คืน โดยต้องติดต่อขอนุญาตจาก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย หน่วยมูเซอ ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการเขตรักษาพันธุ์ฯ ฤดูท่องเที่ยว ดอยม่อนจองเปิดให้ท่องเที่ยวในช่วงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึง 15 กุมภาพันธ์ของทุกปี



10. ยอดเขาหลวง ความสูง 1,835 เมตร

 

เขาอุทยานแห่งชาติเขาหลวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอลานสกา อำเภอเมืองฯ อำเภอฉวาง อำเภอพิปูน อำเภอพรหมคีรี อำเภอช้างกลาง และอำเภอนบพิตำ พื้นที่อุทยานแห่งชาติครอบคลุมเทือกเขานครศรีธรรมราชตอนกลาง ประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนทอดยาวเหนือจรดใต้ขนานไปกับชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ยอดเขาสูงที่สุดของอุทยานฯ คือยอดเขาหลวง และยังเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในภาคใต้ สูงจากระดับทะเลปานกลาง 1,835 เมตร เป็นต้นกำเนิดของต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง คลองกรุงชิง คลองเขาแก้ว พื้นที่บริเวณอุทยานฯ มีฝนตกตลอดปี สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น ด้วยศักยภาพทั้งทางชีวภาพและกายภาพ อุทยานแห่งชาติเขาหลวงจึงได้รับการขนานนามว่า “หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้” เส้นทางสู่ยอดเขาหลวง ต้องเดินเท้าไปกลับ ใช้เวลาอย่างน้อย 3 วัน 2 คืน ระหว่างทางจะได้พบกับสภาพป่าครบทุกประเภท พรรณไม้ที่แปลกตาหายาก เช่น ต้นมหาสดำ เป็นพืชเด่นที่ขึ้นอยู่ตามหุบเขาที่มีลำธารน้ำไหลผ่าน กล้วยไม้สิงโตอาจารย์เต็ม สิงโตใบพัดสีเหลือง กุหลาบพันปี เฟิร์นบัวแฉกใหญ่ และบัวแฉกใบมน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เนื้อเพลง