หัวเมืองเชียงใหม่ เป็นประเทศราชของกรุงหงสาวดี กรุงศรีอยุธยา และกรุงอังวะ โดยระยะแรก (พ.ศ. 2101–2206) ยังมีอำนาจในการปกครองตนเองในระดับหนึ่ง ในระยะหลัง (พ.ศ. 2207-2317) จึงถูกยุบรวมเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของพม่า
ประวัติศาสตร์
อาณาจักรล้านนาเริ่มเสื่อมลงในปลายรัชสมัยพระเมืองแก้ว เมื่อกองทัพเชียงใหม่ได้พ่ายแพ้แก่ทัพเชียงตุงในการทำสงครามขยายอาณาจักร ไพร่พลในกำลังล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับปีนั้นเกิดอุทกภัยใหญ่หลวงขึ้นในเมืองเชียงใหม่ ทำให้บ้านเรือนราษฎรเสียหายและผู้คนเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก สภาพบ้านเมืองเริ่มอ่อนแอเกิดความไม่มั่นคง หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ก็เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างขุนนางมีอำนาจมากขึ้น ถึงกับแต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าได้ เมื่อนครเชียงใหม่ศูนย์กลางอำนาจเกิดสั่นคลอน เมืองขึ้นต่าง ๆ ที่อยู่ในการปกครองของเชียงใหม่จึงแยกตัวเป็นอิสระ และไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการอีกต่อไป ในยุคนี้ล้านนาถูกเข้าแทรกแซงอำนาจจากอาณาจักร์ล้านช้างและอยุธยาซึ่งล้านช้างเป็นฝ่ายชนะในการแทรกแซงล้านนา ส่งผลให้ล้านช้างได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือหัวเมืองล้านนาทุกหัวเมืองซึ่งเจ้าเมืองแต่ละหัวเมืองได้ยอมอ่อนน้อมและอยู่ภายใต้อำนาจ ส่งผลให้อาณาจักร์ล้านนากลายเป็นรัฐในอารักขาของล้านช้างในที่สุดในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งพระยาโพธิสาลราชได้กลายเป็นจักรพรรดิที่อยู่เบื้องหลังของการรวมล้านนาเข้าไว้กับล้านช้างในช่วงสั้นๆโดยให้บุตรชายได้ปกครองเมืองเชียงใหม่ส่วนตนครองเมืองหลวงพระบางต่อไป ซึ่งเมืองหลวงพระบางในช่วงนี้มีอำนาจเหนือแคว้นล้านนาทุกหัวเมือง
เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 1 พระเจ้าบุเรงนอง แห่งอาณาจักรตองอูได้ทำศึกมีชัยชนะไปทั่วทุกทิศานุทิศ จนได้รับการขนานนามพระเจ้าผู้ชนะสิบทิศ พระเจ้าบุเรงนองได้ทำศึกยึดครองนครเชียงใหม่เป็นประเทศราชได้สำเร็จ รวมทั้งได้เข้าได้ยึดเมืองลูกหลวงและเมืองบริเวณของเชียงใหม่ไปเป็นประเทศราชด้วย ในช่วงแรกนั้นทางพม่ายังไม่ได้เข้ามาปกครองเชียงใหม่โดยตรง เนื่องจากยุ่งกับการศึกกับกรุงศรีอยุธยา แต่ยังคงให้ "พระเจ้าเมกุฎิ" ทำการปกครองบ้านเมืองต่อตามเดิม แต่ทางเชียงใหม่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปให้หงสาวดี ต่อมา "พระเจ้าเมกุฎิ" ทรงคิดที่จะตั้งตนเป็นอิสระ ฝ่ายพม่าจึงปลดออกและแต่งตั้ง "พระนางวิสุทธิเทวี" เชื้อสายราชวงศ์มังรายพระองค์สุดท้าย ขึ้นเป็นกษัตริย์เชียงใหม่แทน จนกระทั่งพระนางราชเทวีสิ้นพระชนม์ ทางฝ่ายพม่าจึงได้ส่งสาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ พระราชโอรสในพระเจ้าบุเรงนอง มาปกครองแทน
พ.ศ. 2157 พระเจ้าอโนเพตลุนแห่งอังวะ ซึ่งเป็นราชนัดดาในพระเจ้าบุเรงนอง เห็นว่าตั้งแต่สิ้นเจ้าเมืองเชียงใหม่สาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ ซึ่งยอมเป็นประเทศราชของอยุธยา ตั้งแต่นั้นมาก็เกิดความวุ่นวายแย่งชิงอำนาจกันระหว่างฝ่ายพม่าคือ พระช้อย และฝ่ายล้านนาคือ พระชัยทิพ เห็นเป็นโอกาสดีอีกครั้งหนึ่งเลยยกมาตีเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่รู้ว่าพม่ายกมาก็ทิ้งเมืองพากันลงมาอยู่ที่ลำปาง แต่ในที่สุดก็เสียเมืองลำปางให้พม่า
พ.ศ. 2207 พระเจ้าปเยแห่งอังวะได้ปฏิรูปการปกครองหัวเมือง ตั้งเมืองเชียงแสนเป็นอีกหัวเมืองหนึ่งคู่กับเมืองเชียงใหม่ และใช้เป็นฐานสำคัญในการยกกองทัพเข้าไปตีกรุงศรีอยุธยา นำไปสู่การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
ประเทศราชของกรุงหงสาวดี (พ.ศ. 2101 - 2139)
1 | พระเมกุฏิสุทธิวงศ์ | พ.ศ. 2094 - 2107 (13 ปี) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2101 ปกครองภายใต้อำนาจพม่า |
2 | พระนางวิสุทธิเทวี | พ.ศ. 2107 - 2121 (14 ปี) |
3 | นรธาเมงสอ | พ.ศ. 2121 - 2139 (18 ปี) |
ประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2139 - 2158)
1 | นรธาเมงสอ | พ.ศ. 2139 - 2150 (11 ปี) |
2 | พระช้อย (ครั้งที่ 1) | พ.ศ. 2150 - 2151 (1 ปี) |
3 | พระชัยทิพ (มังกอยต่อ) | พ.ศ. 2151 - 2156 (5 ปี) |
4 | พระช้อย (ครั้งที่ 2) | พ.ศ. 2156 - 2158 (2 ปี) |
ประเทศราชของกรุงอังวะ (พ.ศ. 2158 - 2206)
1 | เจ้าพลศึกศรีสองเมือง (เจ้าเมืองน่าน) | พ.ศ. 2158-2174 (16 ปี) |
2 | พระยาหลวงทิพเนตร | พ.ศ. 2174-2198 (24 ปี) |
3 | พระแสนเมือง | พ.ศ. 2198-2202 (4 ปี) |
4 | เจ้าเมืองแพร่ | พ.ศ. 2202-2215 (13 ปี) |
5 | อุปราชอึ้งแซะ | พ.ศ. 2215-2218 (3 ปี) |
6 | เจพูตราย | พ.ศ. 2218-2250 (32 ปี) |
7 | มังแรนร่า | พ.ศ. 2250-2270 (20 ปี) |
เอกราช (พ.ศ. 2270 - 2306)
1 | เทพสิงห์ | พ.ศ. 2270-2270 (1 เดือน) |
2 | องค์คำ | พ.ศ. 2270-2302 (32 ปี) |
3 | องค์จันทร์ | พ.ศ. 2302-2304 (2 ปี) |
4 | เจ้าขี้หุด (อดีตภิกษุวัดดวงดี) | พ.ศ. 2304-2306 (2 ปี) |
ส่วนหนึ่งของอังวะ (พ.ศ. 2306 - 2317)
1 | โป่อภัยคามินี (โป่อะเกียะคามุนี) | พ.ศ. 2306-2311 (5 ปี) |
2 | โป่มะยุง่วน | พ.ศ. 2311-2317 (6 ปี) |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น