นับเป็นยุคแห่งความอ่อนแอของล้านนา ในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนใหญ่พม่าปกครอง แต่จะมีบางช่วงที่อยุธยายกทับขึ้นมายึดเชียงใหม่ได้ เช่น สมัยพระนเรศวรและสมัยพระนารายณ์ นอกจากนั้นมีบางช่วงที่เชียงใหม่และเมืองต่าง ๆ แยกเป็นรัฐอิสระ เช่น ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 เนื่องจากเป็นช่วงที่พม่าประสบปัญหาการเมืองภายใน เมื่อพม่าแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้วจะยกทัพมาปราบล้านนา ดังนั้นจึงควรเข้าใจว่าอำนาจพม่าในล้านนาไม่สม่ำเสมอ แต่ด้วยเหตุผลที่ช่วงเวลาดังกล่าว ส่วนใหญ่พม่าปกครองล้านนา จึงเรียกสมัยนี้ว่าสมัยพม่าปกครอง ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนอง (พ.ศ. 2101) จนถึง พ.ศ. 2317 สมัยพระเจ้าตากสิน ล้านนาจึงตกเป็นเมืองประเทศราชสยาม ล้านนาในสมัยพม่าปกครองเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานถึง 216 ปี นโยบายของพม่าที่ปกครองล้านนาได้ปรับเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขตามการเมืองภายใน ของพม่าและปรับตามสภาพการเมืองในท้องถิ่นล้านนา ประวัติศาสตร์ในช่วงนี้แบ่งตามพัฒนาการเป็นสองสมัย
- สมัยแรก ระหว่าง พ.ศ. 2101 – 2207 คือประมาณร้อยปีแรก ช่วงนี้ล้านนามีฐานะเป็นมณฑลหนึ่งของราชอาณาจักรพม่า เนื่องจากล้านนามีความแตกต่างกับพม่าทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม คนต่างชาติต่างภาษา พม่าจึงกำหนดให้เป็นเขตที่มีการปกครองตนเองได้ในระดับหนึ่ง คือคงให้เจ้าเมืองคนเดิมสามารถปกครองตนเองได้ โดยยอมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกษัตริย์พม่า ดังพบว่า บุเรงนองแต่งตั้งให้พระเมกุฏิกษัตริย์เชียงใหม่ปกครองตนเองตามเดิม แต่ต้องส่งส่วยเป็น ช้าง ม้า และแพรพรรณต่าง ๆ ทุกปี และในราชการสงครามต้องส่งกำลังร่วมรบ ต่อมาพม่าเข้าจัดการควบคุมเข้มงวดยิ่งขึ้น เพราะในสงครามระหว่างพม่ากับอยุธยา พ.ศ. 2106 พระเมกุฏิไม่ได้ช่วยพม่ารับอยุธยาอย่างจริงจัง บุเรงนองจึงปลดพระเมกุฏิออกใน พ.ศ. 2107 แล้วแต่งตั้งพระนาง วิสุทธิเทวีซึ่งเป็นพระชายา ซึ่งมีเชื้อสายราชวงศ์มังรายเป็นกษัตริย์ เมื่อพระนางวิสุทธิเทวีสิ้นเจ้ามังนรธาช่อ โอรสของบุเรงนองกับพระนางวิสุทธิเทวี เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงเป็นการสิ้นสุดของการปกครองเชียงใหม่ โดยเชื้อสายของราชวงศ์มังราย อย่างไรก็ตามเชื้อสายมังนรธาช่อ ปกครองต่อมา 2 องค์ หลังจากนั้นพม่าส่งข้าหลวงมาประจำการที่เชียงใหม่ ส่วนตำแหน่งเข้าเมืองอื่น ๆ ในล้านนาพม่าควบคุม โดยการแต่งตั้งโยกย้ายถอดถอนและปูนบำเหน็จความดีความชอบ ข้าหลวงพม่าที่เชียงใหม่จะทำหน้าที่ปกครองเชียงใหม่ และดูแลเมืองอื่น ๆ ในล้านนา
ในส่วนการปกครองภายในของล้านนา คงปฏิบัติไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของตน พม่าจะควบคุมนโยบายที่สำคัญคือ ตำแหน่งเจ้าเมืองและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในรูปการเกณฑ์แรงงานและ การส่งส่วยไปให้พม่า อย่างไรก็ตามการปกครองของพม่ามีการควบคุมที่เข้มงวด โดยเฉพาะการเกณฑ์แรงงานทำสงครามและการส่งส่วย
- สมัยที่สอง ระหว่าง พ.ศ. 2207 – 2317 ประมาณ 110 ปีหลัง ฐานะของล้านนาเปลี่ยนไป คือถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรพม่าโดยกษัตริย์พม่าส่งขุนนางชาว พม่ามาปกครองร่วมกับชาวล้านนา กำหนดให้ขุนนางพม่ามีตำแหน่งสำคัญและมีอำนาจอย่างแท้จริง ส่วนขุนนางล้านนาอยู่ในกำกับของขุนนางพม่า นอกจากนั้นใน พ.ศ. 2244 พม่าใช้วิธีแยกเชียงแสนออกเป็นเขตสำคัญ เพื่อทอนกำลังของเชียงใหม่ลง เนื่องจากเชียงใหม่เป็นแหล่งเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านพม่า เมืองเชียงแสนเป็นฐานที่มั่นสำคัญของพม่าจนกระทั่งพม่าหมดอำนาจในล้านนา ใน พ.ศ. 2347
อย่างไรก็ตาม ในสมัยพระเจ้าฉินบูชินหรือมังระ (พ.ศ. 2306 – 2319) แห่งราชวงศ์คอนบอง ปกครองล้านนาได้เพียง 11 ปี (พ.ศ. 2306 – 2317) เชียงใหม่ก็หันไปสวามิภักดิ์ต่อสยาม นโยบายพม่าช่วงสุดท้ายนี้ปกครองอย่างเฉียบขาดมากขึ้นโดยส่งโป่แม่ทัพ มาปกครองแทนเมียวหวุ่นซึ่งโป่มักจะใช้อำนาจขูดรีดเก็บเกี่ยว ผลประโยชน์มาเป็นของตนอย่างมาก และใช้อำนาจตามอำเภอใจสร้างความทุกข์ยากแก่ราษฎรนอกจาก นั้นข้าหลวงพม่าขัดแย้งกับขุนนางท้องถิ่น เพราะโป่ดึงอำนาจและผลประโยชน์จากส่วยและเกณฑ์แรงงานไพร่ไปจากท้องถิ่น โดยที่ขุนนางท้องถิ่นเสียผลประโยชน์จากส่วยและยังถูกข่มเหงอีกด้วย ความขัดแจ้งระหว่างโป่กับขุนนางท้องถิ่นนำไปสู่การสู้รบ ดังพบว่าพระญาจ่าบ้าน (บุญมา) รบกับโป่หัวขาว พระญาจ่าบ้านมีกำลังไม่พอจึงชักชวนพระเจ้ากาวิละร่วมกันสวามิภักดิ์พระเจ้า ตากสิน กองทัพพระเจ้าตากสินและร่วมกับผู้นำชาวล้านนาช่วยกันขับไล่พม่าไปจาก เชียงใหม่สำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2317 นับตั้งแต่นั้นมา เชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของไทย
น่าสังเกตในสมัยพม่า ปกครองมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองตอบโต้พม่าอย่างต่อเนื่อง พม่าก็ใช้วิธียกทับมาปราบกันเป็นระยะ ๆ การต่อต้านพม่าของชาวล้านนามีข้อจำกัดเพราะความเป็นรัฐในหุบเขาเป็นเงื่อนไข ทำให้ความร่วมมือกันทำได้ยาก ดังนั้นแต่ละเมืองมักต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวและพม่าคงพบข้อจำกัดนี้ จึงใช้วิธีแบ่งแยกแล้วปกครองโดยแบ่งแยกเมืองต่าง ๆ ออกจากกัน ให้ทุกเมืองขึ้นกับพม่า
การต่อต้านอำนาจพม่าได้ปรับ เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ คือช่วงแรก ต้นพุทธศตวรรษที่ 22 เมื่อพม่ายึดครองล้านนาใหม่ ๆ ลักษณะการต่อต้านอยู่ในกลุ่มเจ้านครรัฐต่าง ๆ เจ้านครรัฐที่ต่อต้าน เช่น พระเมกุฏิ หรือท้าวแม่กุ เจ้าเมืองเชียงแสน เจ้าเมืองเชียงราย เจ้าเมืองน่าน เจ้าเมืองลำปาง โดยมีพระไชยเชษฐา จากล้านช้างเป็นผู้นำ กองทัพพม่าได้ยกมาปราบปรามสำเร็จ สาเหตุที่เจ้านครรัฐต่อต้านเพราะพม่าได้ดึงผลประโยชน์จากท้องถิ่นไปพม่า คือการให้ส่งบรรณาการและส่วย และเกณฑ์กำลังคน ดังนั้นแม่เจ้านครยังมีหน้าที่ปกครองตามจารีตของตนเอง แต่อยู่ในฐานะเสียผลประโยชน์ ในระยะหลังคือปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 กลุ่มการเมืองท้องถิ่นต่อต้านพม่ามีความหลากหลายมากขึ้น เช่นมีกลุ่มพระสงฆ์ คนบุญ มีกลุ่มไพร่ตั้งเป็นกองโจร และกลุ่มเจ้านครรัฐ แต่ละกลุ่มกระทำกันไปตามลำพัง เพราะพม่าพยายามเข้าควบคุมที่ตำแหน่งเจ้าเมืองมากขึ้น คำตำแหน่งเจ้าเมืองสำคัญเป็นชาวพม่า ส่วนเมืองระดับเล็กนั้นอาจเป็นชาวพม่าหรือไทใหญ่ หากเป็นชาวพื้นเมืองก็ต้องภักดีต่อพม่าลักษณะเช่นนี้ทำให้การเคลื่อนไหวลง สู่ระดับล่ามมากขึ้น สถานการณ์ในล้านนาในช่วงปลายสมัยพม่าปกครองจึงเกิดรัฐบาลท้องถิ่นกระจายตัว อยู่ทั่วไป ซึ่งบางครั้งก็สู้รับกันเอง บางครั้งก็สู้รบกับพม่า บ้านเมืองล้านนามีสภาพระส่ำระสาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น