วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

รัฐประหารในประเทศไทย

 

รัฐประหารในประเทศไทย


ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา

คณะรัฐประหารของไทยที่ก่อการสำเร็จ มักจะเรียกตนเองหลังก่อการว่า "คณะปฏิรูป" หรือ "คณะปฏิวัติ" เพื่อให้มีความหมายไปในเชิงบวก อย่างไรก็ตาม มีผู้เสนอว่าการ "ปฏิวัติ" หรือ "อภิวัฒน์" (revolution) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองนั้น เกิดขึ้นกับประเทศไทยเพียงครั้งเดียว จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แต่ความเห็นอีกด้านหนึ่งกล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวมีลักษณะผสมผสาน ระหว่างการปฏิวัติกับการรัฐประหาร เนื่องจากมีการใช้กำลังทหาร ในการควบคุมบังคับ เพื่อระงับอำนาจของรัฐบาล ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว[1]

ผู้ก่อการรัฐประหารในประเทศไทยเป็นผลสำเร็จ ส่วนใหญ่เกิดจากฝ่ายกองทัพบก ส่วนทหารเรือเคยพยายามก่อรัฐประหารมาแล้ว ในกรณีกบฏวังหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2492 และกบฏแมนฮัตตัน เมื่อปี พ.ศ. 2494 แต่กระทำการไม่สำเร็จ แล้วหลังจากนั้น ทหารเรือก็เสียอำนาจในการเมืองไทยไป

ในกรณีประเทศไทย เมื่อคณะรัฐประหารได้ทำการยึดอำนาจได้สำเร็จคณะรัฐประหารในไทยมักจะใช้วิธีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวและเสนอให้พระมหากษัตริย์ลงนามประกาศใช้ โดยมีหัวหน้าคณะรัฐประหารเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ (Countersign the Royal Command) มีการออกบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวรับรองสถานะของประกาศและคำสั่งของคณะรัฐประหารให้ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ อาจมีการรับรองความสมบูรณ์สถานะทางกฎหมายของคำสั่งหรือประกาศ และรวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องของคณะรัฐประหารให้ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญในรัฐธรรมนูญฉบับถาวรอีกด้วย

รายชื่อรัฐประหารในประเทศไทย

มีดังนี้
  1. รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
  2. รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
  3. รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
  4. รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้ นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
  5. รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
  6. รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
  7. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร (ตามที่ตกลงกันไว้)
  8. รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
  9. รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
  10. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
  11. รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
  12. รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
  13. รัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล (ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีหลังยิ่งลักษณ์ ชินวัตรถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง)

ทั้งนี้ บางตำราระบุว่า การปิดสภาผู้แทนราษฎร และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นรัฐประหารครั้งแรกของไทย และมิได้แยกเหตุการณ์วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 เป็นรัฐประหารอีกครั้ง

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

 ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช 

      

เป็นนักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2528 เป็นน้องชายแท้ ๆ ของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี 4 สมัย สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกทั้งคู่ว่า “หม่อมพี่ หม่อมน้อง”

ประวัติ

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เกิดวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2454 ในเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ณ ตำบลบ้านม้า อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นโอรสคนสุดท้อง ในบรรดาโอรส-ธิดา ทั้ง 6 คน ของ พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) ชื่อ "คึกฤทธิ์" นั้นมาจากการที่ชอบร้องไห้เสียงดังในวัยทารก จึงได้รับพระราชทานนามนี้จาก สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

การศึกษา

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เริ่มต้นเรียนหนังสือที่บ้าน กับหม่อมราชวงศ์บุญรับ พี่สาวคนโต จนอ่านภาษาไทยได้ตั้งแต่อายุ 4 ปี กระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2458 เขาจึงเข้าศึกษาภาคบังคับ ที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (วังหลัง) จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเดินทางไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนเทรนต์วิทยาลัย (Trent College) จากนั้นสอบเข้าวิทยาลัยควีนส์ (The Queen's College) แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (University of Oxford) เพื่อศึกษาวิชาการปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ โดยสำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยม และอีกสามปีต่อมา ก็สำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน

ครอบครัว

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ สมรสกับ หม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2479 มีบุตรธิดา 2 คน คือ หม่อมหลวงรองฤทธิ์ ปราโมช และ หม่อมหลวงวิสุมิตรา ปราโมช ต่อมาได้แยกกันอยู่กับหม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง ซึ่งแม้จะหย่าขาดจากกัน แต่ต่างก็ไม่สมรสใหม่ และไม่ได้โกรธเคืองกัน โดย ม.ร.ว.พักตร์พริ้งอยู่กับลูกชายคือ ม.ล.รองฤทธิ์ ที่บ้านในซอยสวนพลู ติดกับบ้านของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และยังไปมาดูแลทุกข์สุขกันเสมอ

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์พักอยู่ที่บ้านในซอยพระพินิจ ซึ่งเป็นซอยย่อยอยู่ในซอยสวนพลู ถนนสาทรใต้ เขตสาทร บ้านหลังนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า "บ้านซอยสวนพลู"

การทำงาน

ชีวิตการทำงานในวัยต้น ท่านเริ่มทำงานที่กรมสรรพากร และถูกเกณฑ์ทหารตอนสงครามอินโดจีน ได้ยศสิบตรี

          จากนั้นไปทำงานธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ลำปาง และกลับมาทำงานธนาคารแห่งประเทศไทยที่กรุงเทพฯ

          กระทั่ง เมื่อท่านเข้าสู่แวดวงการเมือง ท่านยังเป็นนักการเมืองแถวหน้า ที่เป็นผู้ก่อตั้ง “พรรคก้าวหน้า” เมื่อปี 2488 ซึ่งต่อมาได้ยุบรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ในปีถัดมา

          กล่าวคือ รอยต่อระหว่างนั้น "ควง อภัยวงศ์" ได้ชวนท่านไปก่อตั้งพรรคใหม่ชื่อ “ประชาธิปัตย์” ซึ่งควงดำรงตำแห่งหัวหน้าพรรค ส่วน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นเลขาธิการพรรค อยู่สู้ในสภา 2 ปี ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ก็ได้เป็น รมช.กระทรวงการคลัง ในรัฐบาลชุดควง อภัยวงศ์

          ต่อมาเมื่อปี 2490 พลโทผิน ชุณหะวัณ ทำรัฐประหาร แต่ยังไม่พร้อมจะจัดตั้งรัฐบาลของตนเอง จึงไปชวนควง อภัยวงศ์ กลับมาเป็นนายยกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง

          ครั้งนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีลอย สั่งราชการกระทรวงการคลัง แต่อยู่ได้เพียง 5 เดือน จอมพลป.พิบูลสงคราม ก็ขึ้นบริหารประเทศแทน

          แต่แล้ววันที่ 16 ก.ย. 2491 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ประกาศลาออกจากการเป็น ส.ส. และหันหลัง ลาออกไปจากกพรรคประชาธิปัตย์ เพราะท่านคัดค้านการขึ้นเงินเดิอน ส.ส.

          จากนั้น ท่านก็ได้ยุติบทบาททางการเมืองอยู่นาน และอย่างไรก็ดี ระหว่างนั้นเอง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้หันไปหยิบจับงานสื่อสารมวลชน เกิดเป็นหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน เป็นของตนเอง ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493

          จนหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จึงจัดตั้งและเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง “กิจสังคม”


หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เป็นบุคคลที่มีบุคลิกและบทบาทที่หลากหลาย มีชื่อเสียงในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการประพันธ์ การแสดง และยังเป็นนักการเมือง เป็นผู้ก่อตั้งพรรคก้าวหน้า เมื่อ พ.ศ. 2488 ต่อมาได้ยุบรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ในปีถัดมา ต่อมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2493 

และก่อตั้งพรรคกิจสังคม เมื่อ พ.ศ. 2517 และได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2518 ต่อจากหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ซึ่งกลับมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ต่อจากนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เมื่อวันที่15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 แต่หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งนี้เพียง 27 วันก็พ้นตำแหน่งเนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจในการแถลงนโยบาย

 เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยสามารถเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลทั้งที่มีจำนวน ส.ส. ในมือเพียง 18 คน รัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ในครั้งนั้นมี บุญชู โรจนเสถียร ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคกิจสังคม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบาย "เงินผัน" เป็นที่รู้จักเลื่องลือทั่วไปในสมัยนั้น

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ได้รับฉายาจากนักการเมือง และสื่อมวลชนมากมาย เช่น "เฒ่าสารพัดพิษ" "ซือแป๋ซอยสวนพลู" ภายหลังเมื่อมีอายุ จนสามารถแสดงความเห็นทางการเมือง ได้อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลใด ๆ จึงได้รับฉายาว่า "เสาหลักประชาธิปไตย" นอกจากนี้ อีกฉายาหนึ่งที่ใช้เรียก หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ในบางแห่งคือ "หม่อมป้า"

ในด้านวรรณศิลป์ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ มีผลงานหนังสือที่มีชื่อเสียงระดับประเทศมากมาย ที่ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น สี่แผ่นดินไผ่แดงกาเหว่าที่บางเพลงหลายชีวิตซูสีไทเฮาสามก๊กฉบับนายทุน และเรื่องสั้น "มอม" ซึ่งได้ใช้เป็นบทความประกอบแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน บางชิ้นมีผู้นำไปทำเป็นละครโทรทัศน์ เช่น สี่แผ่นดินหลายชีวิต และทำเป็นภาพยนตร์ เช่น กาเหว่าที่บางเพลง


หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช สิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรีเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป เมื่อปีพ.ศ. 2519 เป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 13 

การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดเนื่องจาก หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ได้ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาสภาผู้แทนราษฎรขึ้น เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2519 เนื่องจากรัฐบาลประสบปัญหาหลายประการทั้งการเมืองและการเรียกร้องต่าง ๆ ของประชาชนทั่วประเทศ โดยให้มีการเลือกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน ปีเดียวกัน

ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ โดยการนำของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรค ซึ่งเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีและเป็นพี่ชายของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยได้รับเลือกมาเป็นอันดับหนึ่ง ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทั้งหมดถึง 114 คน จากจำนวน ส.ส.ทั้งหมดที่จะมีได้ คือ 279 คน นับว่ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวง พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.มากถึง 24 คน ถือว่าได้ยึดครองพื้นที่ทั้งหมดของกรุงเทพฯไว้ได้ ขณะที่พรรคกิจสังคม ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ได้ ส.ส.มาทั้งหมด 45 คน ถือเป็นอันดับสาม โดยที่พรรคชาติไทยได้เป็นอันดับสอง คือ 56 ที่นั่ง 

มีการวิเคราะห์กันว่า พรรคกิจสังคมของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะการบริหารราชการที่ผ่านมาจากการยกเลิกความร่วมมือทางการทหารกับทางสหรัฐอเมริกา โดยไปเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์แทน อีกทั้งตัวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เองในครั้งนี้ก็ยังพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้แก่ นายสมัคร สุนทรเวช นักการเมืองหนุ่ม ผู้เป็นเสมือนดาวรุ่งในขณะนั้นของพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่เขตดุสิต ซึ่งเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของตนเองด้วย

การจัดตั้งรัฐบาลเกิดขึ้นโดยเป็นรัฐบาลผสม 4 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์, พรรคชาติไทย, พรรคธรรมสังคม และพรรคสังคมชาตินิยม รวมกันแล้วมีจำนวนเสียง ส.ส.ทั้งหมด 206 เสียง ถือว่าเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร

ในวันที่ 20 เมษายน ปีเดียวกัน มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 ของ ม.ร.ว.เสนีย์ ที่ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


รวมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 1 ปี 37 วัน 

14 มีนาคม พ.ศ. 2518 - 20 เมษายน พ.ศ. 2519


หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ณ โรงพยาบาลสมิติเวช รวมอายุ 84 ปี 172 วัน


 ปลายปี พ.ศ. 2551 กระทรวงวัฒนธรรมเสนอชื่อหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลสำคัญของโลกต่อยูเนสโก โดยมีทั้งเสียงสนับสนุน และคัดค้าน 

ต่อมาในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลสำคัญของโลก ใน 4 สาขา ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล พ.ศ. 2554  นับเป็นคนไทยลำดับที่ 20

 


วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์

 ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ 


 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 12 ของประเทศไทย

เป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการพลเรือน เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา, คณบดีคณะนิติศาสตร์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการข้าราชการพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิ,ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปลัดกระทรวงยุติธรรมรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ, และได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี

ประวัติและครอบครัว

สัญญา ธรรมศักดิ์เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2450 ที่จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 3 คน บิดาชื่อ มหาอำมาตย์ตรี พระยาธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี (ทองดี ธรรมศักดิ์) มารดาชื่อ คุณหญิงชื้น ธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี สมรสกับ ท่านผู้หญิงพงา ธรรมศักดิ์ (เพ็ญชาติ) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายชาติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ และนายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

การศึกษา

เข้าศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนทวีธาภิเศก เมื่อ พ.ศ. 2456 จากนั้นจึงย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เมื่อ พ.ศ. 2457 และสำเร็จชั้น 6 อังกฤษ (มัธยมบริบูรณ์) พ.ศ. 2468

เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมเป็นเวลา 3 ปี และสำเร็จเป็นเนติบัณฑิต เมื่อ พ.ศ. 2471

สอบแข่งขันได้คะแนนสูงสุด ได้รับทุนเล่าเรียน "รพีบุญนิธิ" พ.ศ. 2472 ไปศึกษาวิชากฎหมายต่อในประเทศอังกฤษ ที่สำนักมิดเดิ้ลเทมเปิ้ล (The Middle Temple) เป็นเวลา 3 ปี และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ (Barrister-at-Law) เมื่อ พ.ศ. 2475

 ชีวิตการทำงาน

หลังสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ได้เข้ารับราชการที่กระทรวงยุติธรรม ในตำแหน่งผู้พิพากษาฝึกหัด จากนั้นก็มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ข้าหลวงยุติธรรมภาค 4 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกา อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และประธานศาลฎีกา ตามลำดับ

     บทบาทที่เด่นชัดอีกด้านหนึ่ง ก็คือด้านศาสนาโดยได้ร่วมก่อตั่ง พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย” ซึ่งท่านได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ร่างข้อบังคับของสมาคม จนได้จดทะเบียนตั้งเป็นพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยเป็นผลสำเร็จ เมื่อ พ.ศ. 2476

การดำรงตำแหน่งองคมนตรี

หลังการเกษียณอายุราชการแล้ว นายสัญญา ธรรมศักดิ์ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2511 และได้รับเชิญให้เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

พ.ศ. 2514 ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

จนกระทั่งถึงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 สัญญาได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เวลา 19.00 น. ในเหตุการณ์ 14 ตุลา หลังจากการลาออกของจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งขณะนั้นเขาดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และองคมนตรีอยู่ หลังจากได้มีประกาศแต่งตั้งไป กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนได้โห่ร้องด้วยความดีใจ แต่บางส่วนก็ยังไม่ปักใจเชื่อ และการปะทะกันก็ยังต่อเนื่องอยู่

จากนั้นในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เวลา 16.00 น. สัญญาได้นำคณะรัฐมนตรี เข้าเฝ้าเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่ง ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดนี้ประกอบด้วยบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประกอบ หุตะสิงห์ เป็นรัฐมนตรีว่ากระทรวงยุติธรรม พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ น.พ.เสม พริ้งพวงแก้ว เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ได้ถูกสื่อมวลชนตั้งฉายาให้ว่า "รัฐบาลท่านพระครู" เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเป็นบุคคลที่ธรรมะธรรมโม และแม้ได้เข้ามาบริหารราชการแล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ในประเทศยังคงระอุอยู่ เพราะเหตุความวุ่นวายต่าง ๆ และรัฐบาลเสนอกฎหมายผ่านสภาถึง 3 ฉบับ แต่ไม่ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงได้รับฉายาใหม่ว่า "รัฐบาลมะเขือเผา" จนในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 เขาได้ทำหนังสือลาออกจากตำแหน่ง แต่ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานสภานิติบัญญัติ เห็นชอบให้ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีตามเดิมในวันที่ 28 พฤษภาคม จนกระทั่งมีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 และวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปจากการเลือกตั้ง เขาจึงได้พ้นวาระไป


ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี
5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 – 4 กันยายน พ.ศ. 2541
(22 ปี 273 วัน)


ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
( 220 วัน)


ถึงแก่อสัญกรรม ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2545 สิริอายุได้ 94 ปี 276 วัน




วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ 

นายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 11 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารบก 
และอธิบดีกรมตำรวจ

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีชื่อเดิมว่า สิริ ธนะรัชต์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ที่บ้านปากคลองตลาด ตำบลพาหุรัด จังหวัดพระนคร (ปัจจุบันคือ ปากคลองตลาด​ แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร) เป็นบุตรของพันตรี หลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์) กับคุณจันทิพย์ จันทรสาขา (สกุลเดิม: วงษ์หอม) มีพี่ชายร่วมบิดามารดาชื่อสวัสดิ์ ธนะรัชต์ มารดามีเชื้อสายลาวจากมุกดาหาร ส่วนบิดาเป็นชาวพระตะบองซึ่งอาจมีเชื้อสายเขมร

ขณะที่จอมพลสฤษดิ์อายุได้ 3 ปี คุณจันทิพย์ได้พาบุตรชายทั้งสองกลับจังหวัดมุกดาหารอันเป็นบ้านเดิมเพื่อหนีหลวงเรืองเดชอนันต์ที่มีอนุภริยาจำนวนมาก ระหว่างทางสวัสดิ์บุตรชายคนโตตายระหว่างทางด้วยไข้ป่า หลังจอมพลสฤษดิ์ได้พำนักอยู่บ้านเดิมของมารดาจนมีอายุได้ 7 ปี บิดาก็รับไปเรียนหนังสือต่อที่กรุงเทพมหานคร ส่วนคุณจันทิพย์สมรสใหม่กับหลวงพิทักษ์พนมเขต (สีห์ จันทรสาขา) มีบุตร คือ สง่า จันทรสาขา อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม, สงวน จันทรสาขา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม และดร.สุรจิตต์ จันทรสาขา ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นพี่น้องต่างบิดาของสฤษดิ์

จอมพลสฤษดิ์ เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในปี พ.ศ. 2462 ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2471 ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นนักเรียนทำการนายร้อย กองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 กระทั่งได้รับพระราชทานยศร้อยตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472

ต่อมาใน พ.ศ. 2476 เกิดกบฏบวรเดช นำโดยพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ร้อยตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหนึ่งในผู้บังคับหมวดปราบปรามกบฏของฝ่ายรัฐบาล ที่มีพันเอกหลวงพิบูลสงครามเป็นผู้บังคับบัญชา หลังจากรัฐบาลได้รับชัยชนะ ได้รับพระราชทานยศร้อยโท เมื่อปี พ.ศ. 2477 จากนั้นอีก 1 ปีคือในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2478 ก็ได้เลื่อนยศเป็นร้อยเอก 

ใน พ.ศ. 2484 ร้อยเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพาขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองทัพทหารราบที่ 33 จังหวัดลำปาง มียศเป็นพันตรี ซึ่งได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2483 จากนั้นในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2486 จึงได้รับพระราชทานยศ พันโท  จนช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 จึงได้เลื่อนยศเป็นพันเอก ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 13 และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลำปาง

หลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง มีการผลัดเปลี่ยนอำนาจทางการเมือง โดยก่อนหน้านั้น เมื่อ พ.ศ. 2487 อำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงครามได้เริ่มเสื่อมถอยลง หลังจากลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กลับเติบโตขึ้นโดยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วยกำลังสำคัญ

ปีพ.ศ. 2490 คณะนายทหารนำโดยจอมพลผิน ชุณหะวัณ ทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์      พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์เข้าร่วมคณะรัฐประหาร เป็นการกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่งของจอมพล ป. พิบูลสงคราม อย่างไรก็ดี การเมืองในช่วงนั้นเป็น "การเมืองสามเส้า" โดยผู้มีอำนาจสูงสุดในเวลานั้นสามคน ได้แก่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม, พันเอกสฤษดิ์ ธนรัชต์และ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ จอมพล ป.พิบูลสงคราม วางตัวให้พันเอกสฤษดิ์ ธนรัชต์และพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์คานอำนาจกัน

พันเอกสฤษดิ์ ธนรัชต์ไต่เต้าขึ้นมาจากกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ จากนั้นเขาค่อย ๆ สะสมฐานอำนาจในกองทัพ เมื่อจอมพลผิน ชุณหะวัณ สละตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในปี 2497 เขาเป็นผู้เข้ารับตำแหน่งแทน เข้าคุมสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลและดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการบริหารขององค์การทหารผ่านศึก และดำรงตำแหน่งในบริษัทต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 22 บริษัท โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ มักจะอ้างการใช้เงินในราชการลับ เบิกจ่ายเงินจากราชการเข้ากระเป๋าตัวเองเป็นจำนวนมาก โดยกลุ่มของจอมพลสฤษดิ์ ที่เรียกว่า "กลุ่มสี่เสาเทเวศร์" ประกอบด้วย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์, พล.ท. ถนอม กิตติขจร, พ.ต. ประภาส จารุเสถียร, พ.ต. กฤษณ์ สีวะรา เหตุการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนของการเมืองสามเส้าคือความชอบธรรมของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่พยายามดำเนินนโยบายเข้ากับสหรัฐและอาศัยฐานมวลชนเสื่อมลงจากการเลือกตั้งปี 2500

นับแต่นั้น ตำแหน่งของพันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ก็ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2491 ได้รับพระราชทานยศพลตรี  ดำรงตำแหน่งแม่ทัพกองทัพที่ 1 และรักษาการผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 1 กระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491  ผลงานที่สร้างชื่อคือการเป็นหัวหน้าปราบกบฏวังหลวงเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 จากนั้นก็ได้รับการเลื่อนยศเป็นพลโท เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2493  ต่อด้วยการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ปีเดียวกัน  จากนั้นในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก แทน พลโท เดช เดชประดิยุทธ ที่ขยับไปดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการทหารบก  ได้ครองตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก แทน พลโท เดช เดชประดิยุทธ ที่ขยับไปดำรงตำแหน่ง เสนาธิการกลาโหม  รั้งยศพลเอก เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2495  โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2495 พลเอกสฤษดิ์ขณะมียศเป็นพลโทได้รับพระราชทานยศเป็น พลเรือโท และ พลอากาศโท 

ต่อมาในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2497 พลเอกสฤษดิ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบก  ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2498 พลเอกสฤษดิ์ได้รับพระราชทานยศ พลเรือเอก และ พลอากาศเอก 

ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2499 พลเอกสฤษดิ์ได้รับพระราชทานยศ จอมพล  พร้อมกับ พลเรือเอก หลวงยุทธศาสตร์โกศล

ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อันเป็นรัฐบาลชุดสุดท้ายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่หลังจากนั้น 10 วันก็ลาออก สาเหตุเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 มีการเดินประท้วงของประชาชนจำนวนมากเรียกร้องให้จอมพล ป. พิบูลสงครามและพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ลาออก เมื่อสถานการณ์ลุกลาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้แต่งตั้งให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ เพื่อควบคุมสถานการณ์ แต่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์สั่งไม่ให้ทหารทำอันตรายประชาชนที่เดินขบวนชุมนุมประท้วง และเป็นผู้นำประชาชนเข้าพบจอมพล ป. พิบูลสงครามที่ทำเนียบ ทำให้กลายเป็นขวัญใจของประชาชนทันที จนได้รับฉายาในตอนนั้นว่า "วีรบุรุษมัฆวานฯ" จากเหตุการณ์ดังกล่าว และเห็นว่ารัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามขาดความชอบธรรมในการปกครองบ้านเมืองแล้ว จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จึงประกาศลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คงเหลือแต่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเพียงอย่างเดียว

วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และคณะทหารยื่นคำขาดต่อจอมพล ป. พิบูลสงครามให้รัฐบาลลาออก เขาพูดผ่านวิทยุยานเกราะถึงผู้ชุมนุมในเหตุการณ์นี้ โดยมีประโยคว่า "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ"

 วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2500 ประชาชนพากันลุกฮือเดินขบวนบุกเข้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อไม่พบจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงพากันไปบ้านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในขณะที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็กำลังเตรียมจับกุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในข้อหากบฏ แต่ไม่ทัน 

ในคืนวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นำกำลังรัฐประหารรัฐบาล แล้วตั้งพจน์ สารสินขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากรัฐบาลพจน์ สารสินจัดการเลือกตั้งเป็นที่เรียบร้อย จอมพลถนอม กิตติขจร ก็รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 แต่ต่อมา ได้เกิดความวุ่นวายจากความขัดแย้งระหว่างสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับรัฐมนตรีขึ้นในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลถนอม กิตติขจรไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จึงเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้วร่วมมือกับจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง โดยในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 จอมพลสฤษดิ์ อาศัยอำนาจหัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งประหารชีวิตประชาชน 6 ราย จอมพลสฤษดิ์ ยังอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 ประหารชีวิตประชาชนอีก 5 ราย

ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ในฐานะ ผู้บัญชาการทหารบก ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด  เป็นคนแรก

ต่อมาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ได้รับพระราชทานยศ จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ พร้อมกับ พลเอกถนอม กิตติขจร ที่ได้รับพระราชทานยศ พลเรือเอก พลอากาศเอก 

ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทน อธิบดีกรมตำรวจ แทน พลตำรวจเอกไสว ไสวแสนยากร  กระทั่งวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2504 จอมพลสฤษดิ์ได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจเอก และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น นายตำรวจราชสำนักพิเศษ ในวันเดียวกัน

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังรัฐประหารรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร

ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ประกาศยกเลิกสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เช่น พรรคการเมือง โดยกล่าวว่า "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" นโยบาย ได้แก่ การออกกฎหมายเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่น กฎหมายปราบปรามพวกนักเลง อันธพาล กฎหมายปราบปรามการค้าประเวณี ตลอดจนการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ มีการทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504–2509) มีการสร้างสาธารณูปโภคสำคัญ เช่น ไฟฟ้า, ประปา, ถนน ให้กระจายไปทั่วทั้งในเมืองและชนบท ซึ่งเรียกว่า "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก"

รูปแบบการบริหารราชการแผ่นดินของเขา คือ ใช้มาตรการเบ็ดเสร็จเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประเทศ เช่น ประหารชีวิตเจ้าของบ้านทันทีหลังบ้านใดเกิดเพลิงไหม้ เพราะถือว่าเป็นการก่อความไม่สงบ การใช้ "รัฐธรรมนูญมาตรา 17" การปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น ทั้งเป็นผู้รื้อฟื้นพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เช่น จัดงานเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพ, การสวนสนามของทหารรักษาพระองค์, การประดับไฟบนถนนราชดำเนินในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น

ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ได้ประกาศนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว มีความเห็นในการพัฒนาประเทศไทยให้มีภาพลักษณ์ในการท่องเที่ยวเหมือนบราซิลและอาร์เจนตินา โดยมีแผนการพัฒนาเมืองพัทยาให้เป็นเมืองพักผ่อนตากอากาศเหมือนบัวโนสไอเรส และพัฒนากรุงเทพมหานครให้เหมือนรีโอเดจาเนโร ในระหว่างนั้นสหรัฐอเมริกาเข้ามาสร้างฐานทัพในไทย ทำให้ทั้งสองเมืองดังกล่าวกลายเป็นแหล่งพักผ่อนของทหารอเมริกัน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย

นอกจากนี้แล้ว ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยได้เกิดมีกรณีพิพาทกับประเทศกัมพูชา เพื่อนบ้าน ในกรณีปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งก่อนหน้านั้นมีการเรี่ยไรเงินบริจาคจากประชาชนชาวไทยคนละ 1 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในศาลโลก

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ด้วยโรคไตพิการเรื้อรัง และอีกหลายโรค รวมอายุ 55 ปี 175 วัน เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนเดียวที่ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง ซึ่งหลังการเสียชีวิตสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้เปิดเพลง "พญาโศก" เป็นการไว้อาลัย และมีการประกาศไว้ทุกข์ 21 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหารในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2507 หลังมีพิธีศพ 100 วัน

รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 4 ปี 302 วัน






 

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564

หนี่เจิ่นเมอซัว (รักกะล่อน)

 แปลเนื้อเพลง : หนี่เจิ่นเมอซัว (รักกะล่อน) 



 
ฉันไม่เคยลืมที่คุณลืมฉัน
แม้แต่ชื่อของฉันคุณยังเรียกผิด
แปลว่าทั้งหมดนั้นคุณหลอกลวงฉัน
ดูสิว่าวันนี้คุณจะแก้ตัวอย่างไร
คุณเคยบอกว่า
 
อีก สองวันจะแวะมาหา
รอไปรอมาผ่านไปแล้วปีกว่า
365 วันไม่มีสักวันที่เป็นสุข
เพราะใจของคุณไม่เคยมีฉันแต่แรก
เอาความรักของฉันคืนกลับมา

     (◕‿◕✿)♫

นางครวญ

นางครวญ


โอ้ว่า อกเอย 
คิดถึงคู่เชย ร้างไป
คิดถึง ดวงใจ 
จากไปให้ร้าวอารมณ์
คิดถึงอ้อมกอด 
สอดรัด กระหวัดชม
คิดถึงคู่สม ระทมฤดี
คิดถึงห้องหอ รอพี่
ราง ไม่มี ใครอยู่
คิดถึง แต่คู่ คอย คอย
น้ำ ตา ไหลหลั่ง
คิด ถึง คำสั่ง
ความหวัง หลุดลอย
เขนย ที่เคย เคียงคอย
ยังเป็น รูปรอย
ที่คอย ประทับใจ
แต่นี้ คงไม่มี รักมาอาลัย
รักรัญจวน ครวญไป
ครวญด้วยใจ อันรัญจวน
ทุกวัน ใจป่วน ครวญรำพัน
น้ำตา ไหลหลั่ง
คิด ถึง คำสั่ง
ความหวัง หลุดลอย
เขนย ที่เคย เคียงคอย
ยังเป็น รูปรอย
ที่คอย ประทับใจ
อย่างน้อย เคยให้คอย
รักมา อาลัย
น้อง ก็คอย คอยไป
คอยด้วยใจ อันรัญจวน
ทุกวัน ใจป่วน ครวญ รำพัน

***

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563

แสงเดือน บทเพลงพระราชนิพนธ์

 

เพลงแสงเดือน

เป็นเพลงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อเสด็จกลับฯมาประทับในประเทศไทยเป็นการถาวรแล้ว โปรดเกล้าฯให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงประพันธ์คำร้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษและโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญไปประกอบการแสดงระบำบัลเล่ต์ซึ่งฝึกซ้อมโดยคุณหญิงเจเนเวียฟ เดมอนในงานพระราชกุศล ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร


 ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

นวลแสงนวลผ่องงามตา
แสงจันทราส่องเรืองฟากฟ้าไกล
งามแสงงามผ่องอำไพ
ย้อมดวงใจให้คงคลั่งไคล้เดือน
ชมแล้วชมเล่าเฝ้าชะแง้แลดู
เพลินพิศเพลินอยู่ไม่รู้ลืมเลือน
เดือนแสงเดือนผ่องวันเพ็ญ
แสงจันทร์เพ็ญเด่นงามใดจะเหมือน
โฉมงามเทียบเปรียบเดือนแสนงาม




 

เนื้อเพลง