วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

 


พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

(ประสูติพ.ศ.2330 ขึ้นครองราชย์พ.ศ.2367-พ.ศ.2394)

มีพระนามเดิมว่าพระองค์ชายทับ

          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุราลัย ( เจ้าจอมมารดาเรียม ) ประสูติ ณ วันจันทร์ เดือน 4 แรม 10 คํ่า ปีมะแม ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2330 มีพระนามเดิมว่า "พระองค์ชายทับ"

           พ.ศ. 2365 พระองค์ชายทับ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กํากับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตํารวจว่าการฎีกา นอกจากนี้ยังได้ทรงรับพระกรุณาให้แต่งสําเภาหลวงออกไปค้าขาย ณ เมืองจีน พระองค์ทรงได้รับพระสามัญญานามว่า "เจ้าสัว"ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชการที่ 2 ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์ใด พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาเสนาบดีผู้เป็นประทานในราชการจึงปรึกษากัน เห็นควรถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ อันที่จริงแล้วราชสมบัติควรตกแก่ เจ้าฟ้ามงกุฎ ( พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) เพราะเจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นราชโอรสที่ประสูติจากสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 โดยตรงส่วนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นเพียงราชโอรสที่เกิดจากเจ้าจอมเท่านั้น โดยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แล้วว่าเมื่อสิ้นรัชกาลพระองค์แล้วจะคืนราชสมบัติ ให้แก่สมเด็จพระอนุชา ( เจ้าฟ้ามงกุฎ) ดังนั้นพระองค์จึงไม่ทรงสถาปนาพระบรมราชินี คงมีแต่เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขึ้น 7 คํ่า เดือน 9 ปีวอกฉศก มีพระชนมายุได้ 37 พรรษา

การทํานุบํารุงบ้านเมือง

การปกครอง เป็นตามแบบเดิมที่เคยมีมา ในรัชกาลที่ 2รายได้ของประเทศ มีการปรับปรุงภาษีอากรใหม่ ยกเลิกภาษีฝิ่นอากรค่านํ้า และอากรรักษาเกาะ ส่วนการค้าขาย ส่วนใหญ่จะค้าขายกับจีน

ศาสนา  เป็นยุคของการฟื้นฟูบูรณะเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มีการปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม การศึกษาพระปริยัติธรรม การตั้งธรรมยุติกนิกาย และมีการเผยแพร่ศาสนาอื่นเข้ามาในไทยอีกวัดที่ทรงสร้างและปฎิสังขรณ์ที่สําคัญมี วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดราชนัดดา วัดเทพธิดาราม วัดอรุณ วัดกลางเมือง วัดนางนอง วัดพระพุทธบาท วัดมหาธาตุ วัดโมลีโลกยาราม วัดยานนาวา

วรรรคดีและกวี วงการกวีและวรรรคดีจะเฟื่องฟูในยุคต้นๆเท่านั้นบทพระราชนิพนธ์ คือ

          1. เสพาขุนช้างขุนแผน

          2. บทละครเรื่องสังข์ศิลปไชย

          3. เพลงยาวรัชกาลที่ 3

          4. โคลงปราบดาภิเษก

กวีที่สําคัญอีกท่านหนึ่งคือ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตโนรส มีพระนิพนธ์ที่สําคัญคือ ลิลิตตะเลงพ่าย พระปฐมสมโพธิกถา สรรพสิทธิ์คําฉันท์ กฤษณาสอนน้องคําฉันท์ศิลปกรรม ทางด้านสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมของต่างประเทศ เช่น ศิลปการช่างของจีน ปฎิมากรรมที่สําคัญได้แก่ การสร้างพระพุทธรูปประจํารัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2สร้างเมือง และป้อม สร้างเมืองใหม่ขึ้น คือ ได้แก่ พนัสนิคม ( เมืองพระรถ ) กบินทร์บุรี ประจันตคาม คําเขื่อนแก้ว ภูเวียงขุนคลองบองบาก คลองบางขุนเทียน เพื่อสะดวกแก่การคมนาคม และการเกษตรป้อมที่สร้างเพิ่มเติม สร้างป้อมที่เมืองสมุทรปราการ เมืองจันทบุรี เมืองสมุทรสงคราม เพื่อป้องกันการรุกรานของข้าศึก

การติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน

          ติดต่อกับพม่า ในรัชกาลที่ 3 นี้ อังกฤษติดต่อกับไทยเพื่อขอความช่วยเหลือ ในการยกทัพไปพม่า รัชกาลที่ 3 โปรดให้พระยารัตนจักร คุมกองมอญไปล่วงหน้า และโปรดให้เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย)  คุมกองทัพมอญออกไปทางด่านพระเจดีย์ 3 องค์ พระยาชุมพรคุมกองเรือชุมพรไปไชยา ยกไปทางเรือเพื่อตีเมืองมะริด และเมืองทวาย พระยามหาอำมาตย์กับพระยาวิชิตณรงค์ขึ้นไปเกณฑ์หัวเมืองฝ่ายเหนือ ยกทัพออกทางด่านแม่มะเมา

          การติดต่อกับญวน ในรัชกาลที่ 3 ญวนสนับสนุนให้เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์เป็นกบฎต่อไทย เท่ากับแสดงตนเป็นอริกับไทย ไทยจึงคิดปราบปรามญวนให้หายกําเริบเสียบ้าง จึงโปรดให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา ( สิงห์ สิงหเสนีย์ ) เป็นแม่ทัพบก ยกไปไล่ญวนในประเทศเขมร จนจดไซ่ง่อน และให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่ทัพเรือ ตีหัวเมืองเขมรและญวนแถบชายทะเล ทําสงครามอยู่นานในที่สุดได้เลิกสงครามกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้นักองค์อิน เป็นเจ้าเมืองพระตะบอง และให้นักองค์ด้วงไปครองเมืองมงคลบุรี

         ติดต่อกับลาว ลาวมีความสัมพันธ์อันดีกับไทยมาตั้งแต่รัชกาลก่อนพอเปลี่ยนแผ่นดินมาเป็นรัชกาลที่ 3 ลาวก็มีท่าทีกระด้างกระเดื่อง สาเหตุมาจากเจ้าอนุวงศ์มาถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 2 ในปี พ.ศ. 2368 และทูลขอครอบครัวชาวเวียงจันทน์ แต่รัชกาลที่ 3 ไม่โปรดให้

          พ.ศ. 2369 เกิดมีข่าวลือว่าอังกฤษจะทําสงครามกับไทย เจ้าอนุวงศ์จึงเข้ามากวาดต้อนผู้คนของไทยไป ทรงโปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพเป็นแม่ทัพ แต่ไม่ทันได้สู้รบกัน เจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนผู้คนไปจันทน์คุณหญิงโมภรรยาปลัด เมืองนครราชสีมา เป็นหัวหน้ารวบรวมพวกเชลยไทยต่อสู้ พอทัพจากกรุงเทพ ฯ ยกขึ้นไปช่วย เจ้าอนุวงศ์ จึงถอยทัพกลับไปเวียงจันทน์โดยวางกำลัง คอยต้านทานกองทัพไทย ที่ยกไปตีเวียงจันทร์ไว้ที่เมืองหล่มเก่า และ เมืองภูเขียว โปรดให้กรมพระราชวังบวร เป็นแม่ทัพ ยกทัพผ่านนครราชสีมา ขึ้นไปตีเวียงจันทร์สายหนึ่ง อีกสายหนึ่ง ให้กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์เป็นแม่ทัพ ยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ ที่มายึดเมืองอุบล และเมืองร้อยเอ็ด แล้วไปบรรจบกับ กองทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ อีกสายหนึ่งให้ เจ้าพระยาอภัยภูธรเป็นแม่ทัพ ยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ที่เมืองหล่มสัก แล้วไป บรรจบทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ กองทัพไทย ปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ได้ราบคาบ ตีกรุงเวียงจันทร์แตก จับเจ้าอนุวงศ์ได้

          ในปี พ.ศ. 2371 พอเสร็จศึกทรงโปรดให้แต่งตั้งคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี และแม่ทัพสําคัญที่ปราบพวกกบฎอีกสองท่านคือ พระยาราชสุภาวดี และเจ้าพระยาอภัยภูธร ได้ราบคาบ จนสามารถจังเจ้าอนุวงศ์กับครอบครัวขังกรงประจานที่ท้องสนามไชย หน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ จนตาย

การติดต่อกับอังกฤษ เมื่อเริ่มรัชกาล ไทยเคยช่วยอังกฤษรบกับพม่า แต่ไม่สําเร็จ จน พ.ศ. 2368 ผู้สําเร็จราชการอังกฤษประจําอินเดียได้ส่ง ร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ เป็นทูตเข้ามาเจรจากับไทยให้ช่วยรบกับพม่า เมื่อรบชนะ อังกฤษไม่ได้ให้อะไรกับไทย ไทยจึงหันมาตกลงเรื่องเมืองไทรบุรีกับอังกฤษ ไทยกับอังกฤษทําสัญญากัน เรียกว่า "สัญญาเบอร์นี่" ทั้งสองฝ่ายได้ให้สัตยาบัน เมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2369

การติดต่อกับอเมริกา ได้เริ่มขึ้นในรัชกาลที่ 3 นี้เอง พ.ศ. 2375 ประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจ็คสัน ส่งเอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เป็นทูตเข้ามาเพื่อทําสัญญาการค้า

เทคโนโลยีของไทยภายใต้อิทธิพลของชาวตะวันตก

          การพิมพ์ หมอบรัดเล่ย์ มิชชั่นนารีอเมริกา นํ้าแท่นพิมพ์เป็นภาษาไทย แท่นแรกจากสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. 2379  ตัวพิมพ์อักษรไทย ร้อนโทเจมส์โลว์ เป็นผู้ประดิษฐ์แบบอักษรไทยขึ้นสําเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2371 การแพทย์ พวกมิชชั่นนารีจําหน่ายยาแก่คนทั่วไป ดําเนินการครั้งแรกพักริมวัดเกาะตอนสําเพ็ง พ.ศ. 2379 เริ่มมีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ พ.ศ. 2379 การผ่าตัดตามวิธีศัลยกรรมแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2390 การใช้ยาสลบ โดยหมอเฮ้าส์ พวกมิชชั่นนารีอเมริกา เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แก่คนไทย เช่น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาวิชาดาราศาสตร์ เดินเรือ วิชาช่าง และต่อกลเรือไฟได้เป็นครั้งแรก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้ศึกษาวิชาการต่อเรือกําปั่นใบแบบฝรั่งเศสได้อย่างดี ต่อลําแรกได้สําเร็จเมื่อ พ.ศ. 2378 และตัดแปลงเป็นเรือรบ

ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์เบื้องต้น

          หมอเฮ้าส์ มิชชั่นนารี ผู้ที่ทําให้คนไทยรู้จักดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อมใสและแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาการศึกษา การศึกษาภาษาอังกฤษ มิชชั่นนารีอเมริกันชื่อ เจสซี่ คาสแวส์ ได้ถวายการสอนภาษาอังกฤษ แก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ขณะที่ทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศน์ขนบธรรมเนียมและประเพณี จากการที่มีพวกมิชชั่นนารีมาอยู่ในไทย ทําให้มีการเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เลิกประเพณีเข้าเฝ้าโดยไม่ใส่เสื้อ

เสด็จสวรรคต

          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสวรรคตวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 คํ่า ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 เวลา 8 นาฬิกา สิริพระชนมายุได้ 64 พรรษา มีพระราชบุตร 22 พระองค์ พระราชบุตรี 29 พระองค์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๓

          เป็นรูปปราสาท เป็นพระราช สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย ว่า "ทับ" อันหมายถึง ที่อยู่ หรือ เรือน 

เช็คสิทธิ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 - 2566


ตรวจสอบสถานะ เช็กสิทธิลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565

  • ผู้ที่ลงทะเบียนระหว่างวันที่ 9-15 กันยายน 2565 / ประกาศผล 23 กันยายน 2565
  • ผู้ที่ลงทะเบียนระหว่างวันที่ 16-22 กันยายน 2565 / ประกาศผล 30 กันยายน 2565
  • ผู้ที่ลงทะเบียนระหว่างวันที่ 23-29 กันยายน 2565 / ประกาศผล 7 ตุลาคม 2565
  • ผู้ที่ลงทะเบียนระหว่างวันที่ 30 กันยายน – 6 ตุลาคม 2565 /ประกาศผล 14 ตุลาคม 2565
  • ผู้ที่ลงทะเบียนระหว่างวันที่ 7-13 ตุลาคม 2565 / ประกาศผล 21 ตุลาคม 2565
  • ผู้ที่ลงทะเบียนระหว่างวันที่ 14-19 ตุลาคม 2565/ ประกาศผล 28 ตุลาคม 2565

ขั้นตอนการตรวจสอบสถานะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565

เมื่อคุณลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 เรียบร้อยแล้ว ก็แค่รอตรวจสอบสิทธิ์ตามรอบเวลาด้านบน โดยขั้นตอนการตรวจสอบ ก็ทำได้ง่าย ๆ โดยเริ่มต้นจากเว็บไซต์เดียวกับที่ลงทะเบียน 

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565  ตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th” หรือ “welfare.mof.go.th
  2. คลิก “ตรวจสอบสถานะการลงทะเบียน”
  3. ระบุหมายเลขบัตรประชาชน และวันเดือนปีเกิด
  4. คลิก “ตรวจสอบข้อมูล”
  5.  ระบบจะแสดงสถานะการลงทะเบียนของผู้ลงทะเบียน
  6. หากคุณเป็นผู้ลงทะเบียนที่ผ่านการตรวจสอบสถานะ ระบบจะแสดง “สถานะการลงทะเบียนสมบูรณ์”  รอผลการตรวจสอบคุณสมบัติในช่วงเดือน ม.ค.66 ต่อไป จากนั้นรอยืนยันตัวตนผ่าน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร หรือ ธนาคารออมสิน เพื่อรับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ
  7. หากคุณเป็นผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการตรวจสอบสถานะ “สถานการณ์ลงทะเบียนไม่สมบูรณ์” หรือพบข้อความว่า “การลงทะเบียนไม่สมบูรณ์”

ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 ไม่ผ่าน ทำอย่างไร?

หากคุณเป็นผู้มีสถานะการลงทะเบียนไม่สมบูรณ์ อาจเป็นได้หลายเหตุผล อาจจะเป็นไปได้ว่าขาดคุณสมบัติที่รัฐกำหนด หรือข้อมูลที่ลงทะเบียนนั้นไม่ตรงกับกรมการปกครอง ไม่ว่าจะเป็น “ผู้ลงทะเบียนมีคู่สมรส” แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าคู่สมรสของผู้ลงทะเบียนเสียชีวิตแล้ว โดยยืนยันจากใบมรณะบัตรของคู่สมรส หรือการแจ้งจำนวนบุตรไม่ครบถ้วน แนะนำให้ตรวจสอบข้อมูลเป็นอันดับแรกว่าเรากรอกถูกต้องไหม

ทั้งนี้หากตรวจสอบข้อมูลแล้วว่าไม่มีอะไรผิดพลาด ให้คุณไป Recheck ข้อมูลกับที่ว่าการอำเภอ/สำนักงานเขตดูอีกครั้ง ว่าตรงกันกับของเราไหม หากพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องก็ทำเรื่องปรับให้ฐานข้อมูลตรงกัน อธิบายแบบง่าย ๆ คือ ข้อมูลที่คุณลงทะเบียนนั้นต้องตรงกับฐานข้อมูลของกรมการปกครอง ส่วนการแก้ไขข้อมูลนั้น สามารถขอแก้ไขข้อมูลได้ทุกหน่วยงานที่รับลงทะเบียน แต่ต้องแก้ให้แล้วเสร็จภายในวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2565

หากคุณลงทะเบียนแก้ไขข้อมูลแล้ว ให้ตรวจสอบสถานะลงทะเบียนของคุณอีกครั้งได้วันในศุกร์ของสัปดาห์ถัดไป ผ่านทางเว็บไซต์ ตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th” หรือ “welfare.mof.go.th” หรือหน่วยงานรับลงทะเบียนทุกแห่ง

สิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 ลดหย่อนอะไรได้บ้าง?

ผ่านขั้นตอนการลงทะเบียนอันแสนจะปวดหัวแล้ว ทีนี้มาดูเรื่องที่ชวนให้ยิ้มได้กันบ้าง มาดูว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 ครั้งนี้ จะช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายอะไรเราได้บ้าง ในยุคค่าครองชีพแพงแสนแพง ถึงจะไม่ใช่เงินก้อนจำนวนมาก แต่ก็พอลดภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวันได้พอสมควร 

  • ค่าซื้อสินค้า 200 – 300 บาท
  • ค่าเดินทางรถโดยสารสาธารณะ 500 บาท
  • ส่วนลดแก๊สหุงต้ม 45 บาท (ต่อรอบ 3 เดือน) กรณีกลุ่มเปราะบางจะได้ส่วนลด 100 บาท (ต่อรอบ 3 เดือน)
  • เงินช่วยค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 315 บาทต่อครอบครัว (ตามที่จ่ายจริง)
  • เงินช่วยค่าน้ำประปาไม่เกิน 100 บาทต่อครอบครัว (ตามที่จ่ายจริง)
  • เงินพิเศษผู้พิการ 200 บาท
  • ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เป็นพ่อค้าแม่ค้า หาบเร่แผงลอย ร้านค้าขนาดเล็กจะได้ส่วนลดก๊าซหุงต้มพีที (ปตท.) 100 บาท ที่ร้านจำหน่ายที่ร่วมรายการ
  • เงินพิเศษผู้สูงอายุ 50 ถึง 100 บาทขึ้นอยู่กับเกณฑ์รายได้

สอบถามข้อมูลลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 เพิ่มเติมได้ที่

  • กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม กระทรวงการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง โทร. 094-858-9794 จันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 16.30 น. เว้นวันหยุดราชการ
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3502 3503 3506 3518 3536 3542 หรือ โทร. 08-5842-7102, 08-5842-7103, 08-5842-7104, 08-5842-7105, 08-5842-7106, 08-5842-7107, 08-5842-7108 จันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 16.30 น. เว้นวันหยุดราชการ
  • ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โทร. 0-2109-2345 จันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 17.30 น. เว้นวันหยุดราชการ

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

นางหมาขาว

 

นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน เรื่องนางหมาขาว

นิทานเรื่องยายหมาขาว เป็นนิทานสอนใจเยาวชนชาวอีสานมาช้านาน หมอลำหมู่นิยมเอามาแสดงเสมอ ในตอนจบเรื่องก็จะมีคำกลอนสอนใจให้ทุกคนกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ไม่เฉพาะเป็นคน…แม้เป็นสัตว์ที่ทำคุณให้กับตนยังต้องรู้จักบุญคุณด้วย
มีสองผัวเมียอาศัยอยู่ในหมู่บ้านจันทคาม ซึ่งฝ่ายเป็นเมียนั้นได้ท้องแก่จวนคลอดแล้ว…แต่ในตอนนั้นเกิดโรคระบาด ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก สองผัวเมียจึงชวนกันอพยพหนีจากหมู่บ้านมาอยู่กลางป่า แล้วต่อมาเมียก็คลอดลูกออกมาเป็นลูกแฝดเป็นผู้หญิงสองคน…แล้วนางก็สิ้นใจตายไป ส่วนสามีอยู่มาไม่นานก็ตรอมใจตายตามไป…ปล่อยให้เด็กทารกเกิดใหม่ทั้งสองร้องไห้อยู่ในป่าเช่นนั้น…
ต่อมามีหมาขาวตัวหนึ่งเป็นตัวเมียออกมาหากิน…มาเห็นเด็กทั้งสองก็เกิดสงสารจึงเอาไปเลี้ยงเป็นลูกกลายเป็น “แม่หมาขาว”…ให้กินนมของตัวเองและหาอาหารให้กินเลี้ยงจนเติบโตมาเป็นสาว…ทุกวันนางหมาขาวตัวนี้จะพาลูกสาวทั้งสองออกไปหากินในป่าด้วย
ในวันหนึ่งเกิดพายุพัดให้นางหมาขาวต้องพลัดพรากจากลูกไป…ลูกสาวทั้งสองก็โดนลมพัดไปถึงเขตบ้านนายพราน
เมื่อนายพรานเห็นหญิงสาวทั้งสองงดงามมาก…อยากได้รางวัลจึงนำหญิงสาวทั้งสองขึ้นถวายแก่พระราชาซึ่งยังโสดอยู่…พระราชามีพระอนุชาซึ่งยังโสดเหมือนกัน ฝ่ายพระราชาก็ได้ผู้พี่เป็นมเหสี ฝ่ายอนุชาก็รับผู้น้องเป็นชายา
ขณะนั้นแม่นางหมาขาวซึ่งพลัดพรากจากลูกมาเป็นเวลานาน…ก็ได้แต่ร่ำไห้คิดถึงลูกและออกติดตามหาลูก จนได้ยินข่าวว่านายพรานเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูลูกสาวต่อจากตน…จึงมาหานายพรานเพื่อถามหาลูกสาวและได้เล่าว่าเหตุการณ์เป็นมาอย่างไร… เมื่อนายพรานทราบก็เกิดความสงสาร บอกบอกความจริงและพานางมาขาวไปหาลูกสาวที่ในวัง
…เมื่อพามาถึงพระราชวังนายพรานก็ทูลพระราชาตามความจริง…แต่พระมเหสีนั้นอับอายขายหน้า…เกรงว่าคนจะรู้ว่าตนเป็นลูกของหมาขาว…จึงทูลเท็จต่อพระสวามีไปว่า”ไม่เป็นความจริง”… พร้อมทั้งขับไล่นายพรานและหมาขาวออกไป แต่นางหมาขาวไม่ยอมไปพร้อมทั้งอธิบายว่าตนคือแม่ของมเหสี ส่วนมเหสีหรือลูกสาวคนโตของนางหมาขาว…นางก็ปฎิเสธไม่ยอมรับพร้อมทั้งด่า เตะถีบ ใช้ไม้ทุบตีแม่นางหมาขาวจนนางหมาขาวนอนล้มลง…แล้วก็เอาน้ำร้อนๆที่ต้มเดือดสาดใส่แม่นางหมาขาวที่นอนเจ็บอยู่ นางหมาขาวได้รับความเจ็บปวดแสนสาหัส…
นายพรานเห็นท่าไม่ดีจึงรีบนำหมาขาวไปที่วังของลูกสาวคนเล็ก เมื่อลูกสาวคนเล็กเห็นหมาขาวก็จำได้ทันทีว่าเป็นแม่หมาขาวของตน จึงรีบมากอดและอุ้มแม่หมาขาวทันทีและรีบพาไปรักษา แต่นางทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงสิ้นใจตาย ก่อนตายนางบอกว่าห้ามเผาหรือฝัง ให้เก็บกระดูกแม่ไว้บูชาในวัง
ลูกสาวคนเล็กก็ทำตามเก็บกระดูกแม่ใส่ไหเอาไว้บนหิ้งบูชาเป็นประจำในวันพระวันสำคัญมิได้ขาดแล้วก็ทำบุญสุนทานอุทิศส่วนบุญให้แม่เป็นประจำ
…อยู่ต่อมาเกิดอัศจรรย์กระดูกของแม่กลายเป็นทองคำ ข่าวนี้เลื่องลือไปถึงผู้เป็นพี่สาว…พี่สาวก็มาขอส่วนแบ่งทองคำ…แต่น้องไม่ยินยอมให้จึงเกิดโต้เถียงกันจนรู้ไปถึงหูพระราชา…พระราชาจึงได้เรียกทั้งสองเข้ามาถามความจริง… ในที่สุดความจริงก็ปรากฎ… พระราชาโกรธที่พระมเหสีของพระองค์ทูลเท็จและเป็นคนอกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ…จึงตัดสินให้ประหารชีวิตเสีย!!…ส่วนน้องสาวได้อยู่ในพระราชวังดังเดิมและมีชีวิตที่ร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
1. ผู้ใดมีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ มีความเมตตกรุณา…จะส่งเสริมให้บุคคลนั้นพบเจอแต่ความสุขความเจริญรุ่งเรืองทั้งในปัจจุบันและอนาคต
2. ส่วนใครที่เป็นคนอกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ มีใจโหดเหี้ยมอำมหิต หรือไม่มีใจเมตตาสงสาร…ก็จะได้รับกรรมในภายภาคหน้าเช่นกัน

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ไชยเชษฐ์

 ไชยเชษฐ์ 

นิทานพื้นบ้าน สมัย กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี มีผู้นำนิทานเรื่องนี้มาเล่นเป็นละครเพราะเป็นเรื่องสนุก ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงนำนิทาน เรื่องไชยเชษฐ์มาพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอก เดิมละครนอกเป็นละครที่ราษฎรเล่นกัน ให้ผู้ชายแสดงเป็นตัวละครทั้งหมด พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องไชยเชษฐ์ เพื่อให้เป็นบทละครนอกของหลวง และทรงให้ผู้หญิงที่เป็นละครหลวงแสดงอย่างละครนอก

เนื้อเรื่อง

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วท้าวอภัยนุราชเจ้าเมืองเวสาลี มีพระธิดาองค์หนึ่ง ประทานนามว่า นางจำปาทอง เพราะเมื่อนางร้องไห้จะมีดอกจำปาทองร่วงลงมา ครั้นพระธิดาจำปาทองเจริญวัยขึ้น นางได้นำไข่จระเข้าจากสระในสวนมาฟักจนเป็นตัวและเลี้ยงจระเข้ไว้ในวัง ครั้นจระเข้เติบใหญ่ขึ้น ก็ดุร้ายตามวิสัยของมัน มันเที่ยวไล่กัดชาวเมืองจนชาวเมืองเดือดร้อนไปทั่ว ท้าวอภัยนุราชทรงขัดเคืองพระทัยยิ่งนักจึงขับไล่นางจำปาทองออกจากเมืองเวสาลี นางแมวซึ่งเป็นแมวที่นางจำปาทองเลี้ยงไว้ได้ติดตามนางไปด้วย นางจำปางทองกับนางแมวเดินซัดเซพเนจรอยู่ในป่า จนไปพบยักษ์ตนหนึ่งชื่อ นนทยักษ์ ซึ่งกำลังจะไปเฝ้าท้าวสิงหล นางตกใจกลัวจึงวิ่งหนีไปนางได้พบพระฤๅษีตนหนึ่ง พระฤๅษีจึงช่วยนางไว้ นางจำปาทองกับนางแมวจึงขออาศัยอยู่รับใช้พระฤๅษีในป่านั้น

กล่าวถึงท้าวสิงหลเป็นยักษ์ครองเมืองสิงหล ไม่มีโอรสและธิดา คืนหนึ่งท้าวสิงหลบรรเทาหลับและทรงพระสุบินว่า มียักษ์ตนหนึ่งมาจากป่านำดอกจำปามาถวาย ดอกจำปามีสีเหลือเหมือนทองคำงดงามยิ่งนัก ท้าวสิงหลจึงทรงให้โหรทำนายพระสุบิน โหรทำนายว่าท้าวสิงหลจะได้พระธิดา วันนั้นนนทยักษ์เข้าเฝ้าท้าวสิงหลและทูลว่าพบหญิงสาวอาศัยอยู่กับพระฤๅษีที่ในป่า ท้าวสิงหลจึงเสด็จไปหาพระฤๅษี และขอนางจำปาทองมาเป็นธิดา ประทานนามว่านางสุวิญชา

ฝ่ายพระไชยเชษฐ์เป็นโอรสเจ้าเมืองเหมันต์ พระไชยเชษฐ์มีพระสนมอยู่ 7 คน วันหนึ่งพระองค์เสด็จประพาสป่า และหลงทางเข้าไปในสวนเมืองสิงหล นางสุวิญชา มาเที่ยวชมสวนพบพระไชยเชษฐ์จึงนำความทูลให้ท้าวสิงหลทราบ ท้าวสิงหลให้พระไชยเชษฐ์เข้าเฝ้า พระไชยเชษฐ์จึงทูลขอรับราชการในเมืองสิงหล ต่อมามีข้าศึกยกทัพมาตีเมืองสิงหล พระไชยเชษฐ์อาสาสู้ศึกจนได้รับชัยชนะ ท้าวสิงหลจึงทรงยกนางสุวิญชาให้เป็นชายาพระไชยเชษฐ์ พระไชยเชษฐ์จึงพานางสุวิญชากลับเมืองเหมันต์

ฝ่ายนางสนมทั้ง 7 คน ต่างก็ริษยานางสุวิญชาที่พระไชยเชษฐ์ทรงรักนางสุวิญชามากกว่าใครๆ นางสนมทั้ง 7 คนก็คิดแต่จะกำจัดนางสุวิญชาอยู่ตลอดเวลา ครั้นนางสุวิญชาทรงครรภ์จวนจะถึงกำหนดคลอดนางสนมทั้ง 7 คน ก็ออกอุบายว่ามีช้างเผือกอยู่ในป่า พระไชยเชษฐ์จึงออกไปคล้องช้างเผือก ฝ่ายนางสุวิญชาคลอดลูกเป็นกุมารมีศรกับพระขรรค์ติดดัวมาด้วย นางสนมทั้ง 7 คน นำพระกุมารใส่หีบไปฝังที่ใต้ต้นไทรในป่า เทวดาประจำต้นไม้ช่วยชีวิตพระกุมารไว้ เมื่อพระไชยเชษฐ์เสด็จกลับจากคล้องช้างเผือก นางสนมทั้ง 7 คน ทูลว่านางสุวิญชาคลอดลูกเป็นท่อนไม้ พระไชยเชษฐ์จึงขับไล่นางสุวิญชาออกจากเมือง ขณะที่นางสุวิญชาคลอดกุมารนั้น นางแมวแอบเห็นการกระทำของนางสนมทั้ง 7 คน จึงพานางสุวิญชาไปขุดหีบที่ใต้ต้นไทร แล้วพาพระกุมารกลับไปยังเมืองสิงหล ท้าวสิงหลตั้งชื่อพระกุมารว่า พระนารายณ์ธิเบศร์

ต่อมาพระไชยเชษฐ์ทรงรู้ความจริงว่านางสุวิญชาถูกใส่ร้าย จึงออกติดตามนางสุวิญชาไปเมืองสิงหลและได้พบกับพระนารายณ์ธิเบศร์ ซึ่งกำลังประพาศป่ากับพระพี่เลี้ยงอยู่ พระไชยเชษฐ์เห็นพระนารายณ์ธิเบศร์เป็นเด็กน่ารัก มีหน้าตาคล้ายพระองค์ก็ทรงนึกรักใคร่เอ็นดู จึงเข้าไปขออุ้มและเอาขนมนมเนยให้ พระนารายณ์ธิเบศร์ไม่ไว้ใจว่าเป็นคนแปลกหน้า จึงไม่ให้จับต้องและไม่ยอมเสวยขนม พระไชยเชษฐ์พยายามเอาอกเอาใจแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ พระนารายณ์ธิเบศร์โกรธพระไชยเชษฐ์มากที่มาจับต้องตัวและจับหัวของพระพี่เลี้ยงของตนจึงใช้ศรธนูหมายจะฆ่าให้ตายแต่ธนูที่ยิงออกไปนั้นกลับกลายเป็นดอกไม้กระจายเติมพื้นดิน จึงทำให้พระไชยเชษฐ์เกิดความประหลายใจยิ่งนัก จึงอธิฐานจิตว่าถ้ากุมารองค์นี้เป็นลูกของตนที่เกิดกับนางสุวิญชาขอให้ธนูที่ยิงออกไปนั้นกลายเป็นอาหาร ทันใดนั้นพระไชยเชษฐ์ก็แผลงศรออกไป และศรธนุที่ยิงออกไปนั้นก็กลายเป็นอาหารมากมายเต็มพื้น จึงทำให้พระไชยเชษฐ์มั่นใจเป็นแน่แท้ว่าเป็นโอรสของตนจริงๆ

พระไชยเชษฐ์ทรงไต่ถามพระนารายณ์ธิเบศร์เกี่ยวกับมารดา เพราะทรงจำแหวนที่พระนารายณ์ธิเบศร์สวมได้ พระนารายณ์ธิเบศร์บอกว่านางสุวิญชาเป็นแม่และท้าวสิงหลเป็นพ่อ พระไชยเชษฐ์จึงทรงเล่าเรื่องเดิมให้พระนารายณ์ธิเบศร์ฟัง ทั้งสองจึงทราบว่าเป็นพ่อลูกกัน พระนารายณ์ธิเบศร์จึงพาพระไชยเชษฐ์เข้าเฝ้าท้าวสิงหล 

พระไชยเชษฐ์ขอโทษนางสุวิญชาที่ทรงขับไล่นางเพราะหลงเขื่อคำของนางสนมทั้ง 7 แต่นางสุวิญชาไม่ยอมคืนดีด้วย พระนารายณ์ธิเบศร์จึงช่วยทูลนางสุวิญชาให้หายโกรธพระบิดา นางสุวิญชาจึงใจอ่อนยอมยกโทษให้ 
พระไชยเชษฐ์ นางสุวิญชา และพระนารายณ์ธิเบศร์ สามคนพ่อแม่ลูกจึงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๔

ขณะยังทรงพระเยาว์

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชบุตรลำดับที่ 50 หรือพระราชโอรสพระองค์ที่ 27 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 5 ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี แต่เป็นพระองค์ที่ 3 ที่ได้ประสูติเป็นพระองค์ เสด็จพระราชสมภพในรัชกาลที่ 1 เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2351 ณ พระราชวังเดิม คลองบางกอกใหญ่ อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดา ซึ่งในครั้งนั้นเรียกว่าพระบวรราชวังใหม่ เนื่องมาจากในขณะนั้นพระราชบิดายังดำรงพระอิสริยยศที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล[5] โดยมีคุณหญิงนก (ไม่ทราบสกุล) เป็นพระพี่เลี้ยง[6] พระองค์มีพระโสทรเชษฐารวมทั้งสิ้น 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าฟ้าราชกุมาร (สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ) เจ้าฟ้ามงกุฏ (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และพระองค์เป็นเจ้าฟ้าพระองค์น้อย (เนื่องจากไม่ได้รับพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนาม)

ภายหลังพระองค์ประสูติได้ประมาณ 1 ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต สมเด็จพระราชบิดาของพระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ก่อนบรมราชาภิเษกได้ 10 วัน เจ้าฟ้าพระองค์น้อยได้เสด็จตามสมเด็จพระราชบิดามาประทับในพระบรมมหาราชวัง เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 12 พรรษา 6 เดือน มีการพระราชพิธีโสกันต์อย่างธรรมเนียมสำหรับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า[7] หลังจากนั้นเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อศึกษาศีลธรรมและพระศาสนา เมื่อพระองค์ลาผนวชทรงได้ศึกษาวิชาตามแบบแผนราชสกุลที่จัดให้เจ้านายเรียน โดยพระองค์ทรงศึกษาอักษรสยามในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร ร่วมพระอาจารย์เดียวกับสมเด็จพระเชษฐาของพระองค์

เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงเสด็จกลับไปประทับ ณ พระราชวังเดิม[7] พร้อมกับพระราชมารดา ส่วนสมเด็จพระเชษฐาของพระองค์นั้นทรงสมณเพศประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุและวัดสมอราย เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 21 พรรษา ผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จไปประทับ ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หลังจากลาผนวชพระองค์จึงเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงรับราชการ

พระองค์ทรงเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพเสด็จสวรรคต เป็นเหตุให้ข้าไทในเจ้านายต่าง ๆ คาดว่าเจ้านายของตนจะได้รับการสถาปนาที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา (ต่อมาคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)) จึงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ถ้าไม่ทรงตั้งกรมพระราชวังฯ แล้ว ขอให้ยกเจ้าต่างกรมผู้ใหญ่เลื่อนขึ้นเป็นกรมหลวง กรมขุน เพื่อให้ข้าไทเห็นว่าเจ้านายของตัวได้เลื่อนยศเพียงนั้น จะได้หายตื่น ทรงพระราชดำริเห็นด้วย จึงโปรดให้เลื่อนกรมและตั้งกรมเจ้านายรวม 8 พระองค์ด้วยกัน โดยทรงตั้งเจ้าฟ้าพระองค์น้อยเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์[8][9] ได้รับสุพรรณบัฏในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2375[10] ในขณะที่พระองค์มีพระชนมายุได้ 24 พรรษา ได้ทรงบังคับบัญชากรมทหารปืนใหญ่ กรมทหารแม่นปืนหน้าปืนหลัง และญวนอาสารบแขก อาสาจาม


พระเจ้าแผ่นดินที่ 2

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวใกล้สวรรคต เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เดินทางไปเข้าเฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งทรงผนวชอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร กราบทูลว่าจะเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์ สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎตรัสว่าท่านฟากข้างโน้น (หมายถึงเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์) มีพระชะตาแรงต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ให้ถวายราชสมบัติแก่ท่านนั้นด้วย เพราะหากพระองค์รับราชสมบัติเพียงพระองค์เดียวจะเกิดอัปมงคล ด้วยไปกีดกันบารมีของสมเด็จพระอนุชา ถ้ามีพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์เหมือนอย่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสถาปนาสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นพระเจ้าแผ่นดินด้วยก็จะพ้นจากอัปมงคล เจ้าพระยาพระคลังจึงไปเข้าเฝ้าเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ณ พระราชวังเดิมตามรับสั่ง[11] เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เหล่าขุนนางมาประชุมพร้อมกันแล้วกราบทูลเชิญทั้งสองพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ[12] เมื่อเสร็จสิ้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว จึงมีพระราชดำริว่าสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ก็ทรงพระปรีชารอบรู้กิจการต่าง ๆ มีผู้ใหญ่ผู้น้อยนิยมนับถือมาก สมควรที่จะพระราชทานยศใหญ่กว่ากรมพระราชวังบวรสถานมงคลแต่ก่อน ๆ[13] แต่เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศฯ ยังไม่ได้รับพระสุพรรณบัฏตั้งพระนาม ทำให้ไม่มีพระนามเดิม ดูเป็นการต่ำทรามไป จึงพระราชทานพระสุพรรณบัฏตั้งพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอิศเรศจุฑามณี ชั้นหนึ่งก่อน[14] แล้วจึงพระราชทานพระสุพรรณบัฏในการพระราชพิธีบวรราชาภิเษกในวันที่ 25 พฤษภาคม ว่า

"พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศวร์ มหิศเรศรรังสรรค์ มหันตวรเดโช ไชยมโหฬารคุณอดุลยเดช สรรพเทเวศรานุรักษ บวรจุลจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนารถ อิศวรราชรามวรังกูร บรมมงกุฎนเรนทรสูรยโสทรานุชาธิบดินทร เสนางคนิกรินทรบวราธิเบศร พลพยุหเนตรนเรศวรมหิทธิวรนายก สยามาทิโลกดิลกมหาบุรุษรัตน ไพบูลยพิพัฒนสรรพศิลปาคม สุนทโรดมกิจโกศล สัตปดลเศวตฉัตร สิริรัตนบวรมหาราชาภิเศกาภิสิต สรรพทศทิศพิชิตไชย อุดมมไหสวริยมหาสวามินทร สเมกธรณินทรานุราช บวรนารถชาติอาชาวศรัย ศรีรัตนไตรสรณารักษ อุกฤษฐศักดิสรรพรัษฎาธิเบนทร ปวเรนทรธรรมมิกราชบพิตร พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระราชอัชฌาสัยและพระปรีชาสามารถ

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชอัธยาศัยต่างจากพระเชษฐามาก เพราะฝ่ายแรกชอบสนุกเฮฮา ไม่มีพิธีรีตองอะไร ส่วนฝ่ายหลังค่อนข้างเงียบขรึม ฉะนั้นจึงมักโปรดในสิ่งที่ไม่ค่อยจะตรงกันนัก แต่ถ้าเป็นความสนิทสนมส่วนพระองค์แล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงทำอะไรก็มักนึกถึงพระราชอนุชาอยู่เสมอ เช่น คราวหนึ่งเสด็จขึ้นไปปิดทองพระพุทธรูปใหญ่วัดพนัญเชิง ก็ทรงปิดเฉพาะพระพักตร์ เว้นพระศอไว้พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงปิดต่อ นอกจากนี้ทั้ง 2 พระองค์ ก็ทรงล้อเลียนกันอย่างไม่ถือพระองค์ และส่วนมากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จะเป็นฝ่ายเย้าแหย่มากกว่า

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถมาก ทรงรอบรู้งานใน ด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น งานด้านกองทัพบก กองทัพเรือ ด้านต่างประเทศ วิชาช่างจักรกล และวิชาการปืนใหญ่ ทรงรอบรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีจนสามารถที่จะทรงเขียนโต้ตอบจดหมายเป็นภาษาอังกฤษกับเซอร์จอห์น เบาริง ราชทูตอังกฤษ ที่เดินทางมาเจริญพระราชไมตรีกับประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) ซึ่งข้อความในสนธิสัญญานั้น ถ้าเอ่ยถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีคำกำกับว่า The First King ส่วนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีคำกำกับว่า The Second King สำหรับในภาษาไทยนั้น ตามสนธิสัญญา ทางไมตรีกับประเทศอังกฤษ ในบทภาค ภาษาไทยจะแปลคำว่า The First King ว่า พระเจ้ากรุงสยามพระองค์เอก ส่วนคำว่า The Second King นั้นจะแปลว่า พระเจ้ากรุงสยามพระองค์ที่ 2 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระนามปรากฏอยู่ในประกาศในอารัมภบทให้ดำเนินการเจรจาทำสนธิสัญญาฉบับนี้ด้วย ในฐานะพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 คู่กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีสายพระเนตรที่กว้างไกล ในด้านการ ต่างประเทศ ทรงรอบรู้ข่าวสารในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอย่างดี ทรงทราบพระราชหฤทัยดีว่า ถ้าหากทรง ดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวแล้วไซร้ ไทยเราจะเสียประโยชน์ ส่วนบรรดาฝรั่งที่รู้จักมักคุ้นกับวังหน้ามักจะยกย่องชมเชยว่า ทรงเป็นสุภาพบุรุษเพราะพระองค์มีพระนิสัยสุภาพ โดยเฉพาะกับพระราชชนนี กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ด้วยแล้ว ทรงแสดงความเคารพเกรงกลัวเป็นอันมาก

นอกจากนี้โปรดการท่องเที่ยวไปตามหัวบ้านหัวเมือง ทั้งเหนือและใต้ สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะมีพระอาการประชวรกระเสาะกระแสะอยู่เสมอ จึงต้องเสด็จไปเที่ยวรักษาพระองค์ตามหัวเมือง อยู่เนือง ๆ กล่าวกันว่า มักเสด็จไปประทับตามถิ่น ที่มีบ้านลาว เสด็จไปประทับที่บ้านสัมปะทวน แขวงนครไชยศรีบ้าง ทางเมืองพนัสนิคมบ้าง แต่เสด็จไปประทับที่ตำหนัก บ้านสีทา จังหวัดสระบุรีเสียโดยมาก แต่แท้ที่จริงแล้ว พระองค์ได้เคยเสด็จไปเที่ยวประพาสตามหัวเมือง ต่างๆ มาตั้งแต่ครั้งยังดำรงพระยศเป็น เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิสเรศรังสรรค์แล้ว เพราะทรงประจักษ์แจ้งแก่พระปรีชาญาณว่า การเสด็จประพาสหัวเมืองเป็นประโยชน์แก่ราชการบ้านเมือง ด้วยสามารถทรงทราบทุกข์สุขของไพร่ฟ้าประชาชนได้เป็น อย่างดีซึ่งดีกว่ารายงานในกระดาษมากนัก


พระราชกรณียกิจด้านการทหารเรือ 

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใฝ่พระราชหฤทัยในวิชาการด้านจักรกลมาก และเพราะเหตุที่พระองค์โปรดการทหาร จึงทรงสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับอาวุธยุทธภัณฑ์เป็นพิเศษ เท่าที่ค้นพบพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์นั้น ก็มักจะทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร และเป็นเครื่องแบบทหารเรือด้วย แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าไม่มีการบันทึกพระราชประวัติในส่วนที่ทรงสร้างหรือวางแผนงานเกี่ยวกับกิจการทหารใด ๆ ไว้บ้างเลย แม้ในพระราชพงศาวดาร หรือในจดหมายเหตุต่าง ๆ ก็ไม่มีการบันทึกผลงานพระราชประวัติในส่วนนี้ไว้เลย และแม้พระองค์เองก็ไม่โปรดการบันทึก ไม่มีพระราชหัตถเลขา หรือมีแต่ไม่มีใครเอาใจใส่ทอดทิ้ง หรือทำลายก็ไม่อาจทราบได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีงานเด่นที่มีหลักฐานทั้งของฝรั่งและไทยกล่าวไว้ แม้จะน้อยนิดแต่ก็แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มที่ล้ำหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน

ผลงานนั้นคือการทหารเรือของไทยเรานั้น เริ่มมีเค้าเปลี่ยนจากสมัยโบราณเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และผู้ที่เป็นกำลังสำคัญ ในกิจการด้านทหารเรือในสมัยนั้น คือ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และ จมื่นไวยวรนาถ (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)) ด้วยทั้ง 2 ท่านนี้มีความรู้ในวิชาการต่อเรือในสมัยนั้น เป็นอย่างดี จึงได้รับหน้าที่ปกครอง บังคับบัญชาการทหารเรือในสมัยนั้น

ต่อมาได้แบ่งหน้าที่กันโดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงบังคับบัญชาทหารเรือวังหน้า ส่วนทหารเรือบ้านสมเด็จอยู่ในปกครองบังคับบัญชาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ในยามปกติทั้ง 2 ฝ่าย นี้ ไม่ขึ้นแก่กันแต่ขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงฝึกฝนทหารของพระองค์ โดยใช้ทั้งความรู้และความสามารถ และ ยังทรงมุ่งพระราชหฤทัยในเรื่องการค้าขายให้มีกำไร สู่แผ่นดินด้วยมิใช่สร้าง แต่เรือรบเพราะได้ทรงสร้างเรือเดินทะเล เพื่อการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย นอกจากนี้พระองค์ได้ทรงนำเอาวิทยาการ สมัยใหม่ของยุโรป มาใช้ฝึกทหารให้มีสมรรถภาพเป็นอย่างดี ทรงให้ร้อยเอก โทมัส น็อกส์ (Thomas George Knox) เป็นครูฝึกทหารวังหน้า ทำให้ทหารไทยได้รับวิทยาการอันทันสมัยตามแบบ ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรป

การฝึกหัดใช้คำบอกทหารเป็น ภาษาอังกฤษทั้งหมดเริ่มมีเรือรบกลไฟเป็นครั้งแรก ชื่อเรืออาสาวดีรส3 และเรือยงยศอโยชฌิยา4 (หรือยงยศอโยธยา) ซึ่งเมื่อครั้งเรือยงยศอโยชฌิยา ได้เดินทางไปราชการที่สิงคโปร์ ก็ได้รับคำชมเชยจากต่างประเทศเป็นอันมาก ว่าพระองค์มี พระปรีชาสามารถทรงต่อเรือได้ และการเดินทางในครั้งนั้นเท่ากับเป็นการไปอวดธงไทยในต่างประเทศ ธงไทยได้ถูกชัก ขึ้นคู่กับธงอังกฤษ ที่ฟอร์ทแคนนิ่งด้วย และแม้พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ก็โปรด ฯ ให้เป็นทหารเรือเช่นกัน ประวัติของเรือที่พระองค์ทรงมีใช้ในสมัยนั้น ตามที่พลเรือตรี แชน ปัจจุสานนท์ ได้รายงานเล่าไว้ในหนังสือ ประวัติทหารเรือไทย มีดังนี้

  1. เรือพุทธอำนาจ (Fairy) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2379 เป็นเรือชนิดบาร์ก (Barque) ขนาด 200 ตัน มีอาวุธปืนใหญ่ 10 กระบอก เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ. 2384 ไปราชการทัพรบกับญวน ใช้เป็นเรือพระที่นั่งของแม่ทัพ คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เมื่อครั้งทรงเป็นกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ยกกองทัพไปรบกับญวน ตีเมืองบันทายมาศ (ฮาเตียน)
  2. เรือราชฤทธิ์ (Sir Walter Scott) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2379 เป็นเรือแบบเดียวกันกับพุทธอำนาจ เมื่อ พ.ศ. 2384 ไปราชการทัพรบกับญวน
  3. เรืออุดมเดช (Lion) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2384 เป็นเรือชนิดบาร์ก (Bark) ขนาด 300 ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ. 2384 ได้ใช้ไปราชการทัพรบกับญวน พ.ศ. 2387 ได้นำสมณทูตไปลังกา
  4. เรือเวทชงัด (Tiger) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2386 เป็นเรือชนิดสกูเนอร์ (Schooner) ขนาด 200 ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ
  5. เรือพุทธสิงหาศน์ (Cruizer) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2398 เป็นเรือชนิดชิพ ขนาด 400 ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้า ฯ
  6. เรือมงคลราชปักษี (Falcon) ซื้อเมื่อ พ.ศ. 2400 เดิมเป็นเรือของชาวอเมริกัน ชนิดสกูเนอร์ (Schooner) ขนาด 100 ตัน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงซื้อมา แล้วดัดแปลงใช้เป็นเรือรบ เรือพระที่นั่งของพระองค์


เกียรติประวัติของการทหารเรือไทยสมควรจะต้องยกถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์เป็น ผู้ที่ทรงสนพระราชหฤทัยในกิจการทหารเรือในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก เมื่อปรากฏว่ามีเรือรบต่างประเทศเข้ามาเยี่ยม ประเทศไทยคราวใดพระองค์ก็มักหาโอกาสเสด็จไปเยี่ยมเยียนเรือรบเหล่านั้นเสมอ เพื่อจะได้ทรงทราบว่าเรือรบต่าง ประเทศเขาตกแต่งและจัดระเบียบเรือกันอย่างไร แล้วนำมาเป็นแบบอย่างให้กับเรือรบของไทยในเวลาต่อมา

จากพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้นำในเรื่องเรือสมัยใหม่ ซึ่งผู้คนในสมัยนั้นไม่มีใครเชื่อเลยว่าเหล็กจะลอยน้ำได้แต่พระองค์ได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถให้ปรากฏ ทรงต่อเรือรบ กลไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย มีพระปรีชาสามารถหลายด้าน ทรงแตกฉานเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษจนสามารถติดต่อ กับชาวต่างประเทศได้เป็นอย่างดีพระสหาย และพระอาจารย์ เป็นชาว อเมริกันเสียเป็นส่วนมากทรงหมกมุ่นกับกิจการทหารเรือมาตั้งแต่ต้น ด้วยเหตุนี้จึงถือได้ว่าพระองค์ทรงเป็น ผู้บัญชาการ ทหารเรือ พระองค์แรก และควรถวายพระนามว่า ผู้บัญชาการทหารเรือวังหน้า สมควรได้รับการถวายพระเกียรติยศขั้นสูงสุด จากชาวกองทัพเรือ ตั้งแต่นี้และตลอดไป


สวรรคต

หลังจากพระราชพิธีบวรราชาภิเษกแล้ว พระองค์ก็เริ่มทรงพระประชวรบ่อยครั้ง หาสมุฏฐานของพระโรคไม่ได้ จนกระทั่งประชวรด้วยวัณโรคและเสด็จสวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 2 แรม 6 ค่ำ เวลาเช้าย่ำรุ่ง ตรงกับวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2408 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2409) สิริพระชนมายุ 58 พรรษา ทรงอยู่ในบวรราชสมบัติทั้งสิ้น 15 ปี มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2409[16] โดยมีการจัดการแห่พระเมรุมาศพระบรมศพเช่นเดียวกับพระศพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ แต่เพิ่มเติมพระเกียรติยศพิเศษขึ้นหลายประการตามพระยศที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2[17]

ภายหลังพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ยังมิได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เพราะในขณะนั้นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานารถ ยังทรงพระเยาว์ มีพระชนมายุเพียง 12 พรรษา ทำให้เสี่ยงต่อการถูกแย่งชิงราชบัลลังก์ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเสนอพระองค์เจ้ายอดยิ่งเพื่อให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวินิจฉัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาพระองค์เจ้ายอดยิ่งเป็นเพียงแค่ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เท่านั้น ก่อนที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์สุดท้าย


เนื้อเพลง