วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2567

จ.ศ. / ร.ศ. / พ.ศ. / ม.ศ.

 

ความสับสนของศักราช ไทยเคยใช้ทั้ง จ.ศ.- ร.ศ.ก่อนเป็น พ.ศ. 

แต่ พ.ศ.ของไทยก็ไม่ตรงกับ พ.ศ.ของหลายชาติ

“ศักราช” ก็คือสิ่งที่กำหนดขึ้นหรือสมมุติขึ้นตามแต่ที่มา โดยนับเวลาเป็นปี เป็นภูมิปัญญาของมนุษย์เพื่อให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด และเกิดก่อนหลังกันนานแค่ไหน

ในสมัยกรุงสุโขทัย เราใช้มหาศักราช (ม.ศ.) ซึ่งเป็นศักราชที่กำหนดขึ้นโดยพระเจ้ากนิษกะ แห่งอินเดีย โดยเริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระองค์มีชัยต่อแว่นแคว้นโดยรอบใน พ.ศ.๖๒๒ เป็นมหาศักราชที่ ๑ มหาศักราชจึงมีขึ้นหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี และได้แพร่เข้ามาสู่สุวรรณภูมิพร้อมกับอารยธรรมอินเดีย ใช้ในย่านนี้มาก่อนกรุงสุโขทัย ปรากฏหลักฐานอยู่ในศิลาจารึกต่างๆ

ส่วนจุลศักราช (จ.ศ.) ตั้งขึ้นโดยสังฆราชบุตุโสระหัน แห่งพม่า หลังจากที่สึกออกมาชิงราชบัลลังก์ได้ใน พ.ศ.๑๑๘๒ จากนั้นได้แพร่เข้าในล้านนา เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ มีการติดต่อกับพม่าอย่างใกล้ชิดในฐานะประเทศราช จุลศักราชจึงถูกนำมาใช้ในกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ปี ๒๑๑๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้รัตนโกสินทร์ศกแทนจุลศักราช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เนื้อเพลง