นิราศวัดเจ้าฟ้า เป็นนิราศเชิงผจญภัยที่สนุกสนานมากอีกเรื่องหนึ่ง หากเปรียบเทียบกับนิราศสุพรรณที่มีการผจญภัย เสาะหาแร่ปรอท และยาอายุวัฒนะเหมือนกันแล้ว ในความเห็นของข้าพเจ้า เรื่องนี้ท่านสุนทรภู่แต่งได้ออกรสชาติกว่ามาก ลางทีจะเป็นเพราะแต่งเป็นกลอน ซึ่งเป็นงานถนัดของท่านก็เป็นได้ สันนิษฐานกันว่า ท่านแต่งเรื่องนี้ขึ้นในราวปี พ.ศ.๒๓๗๕ ถึงแม้จะขึ้นต้นแสดงตน เป็นเณรหนูพัด แต่ด้วยสำนวนกลอน ผู้รู้ทุกท่านกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า สำนวนกลอนของท่านสุนทรภู่แท้ๆ และเนื่องจากการแสดงตนเป็นหนูพัด ท่านจึงสามารถแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกต่างๆ ได้มากกว่า ซึ่งอาจเป็นเหตุให้นิราศเรื่องนี้สนุกยิ่งขึ้นก็ได้
วัดเจ้าฟ้าอากาศฯ ในนิราศเรื่องนี้ ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า คือวัดใดในปัจจุบัน เส้นการเดินทางของท่านสุนทรภู่ เมื่อไปถึงอยุธยาแล้ว ได้แวะนมัสการหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง แล้วเลยไปวัดใหญ่ชัยมงคลเพื่อค้นหาพระปรอท ก่อนจะออกเดินเท้าไปยังวัดเจ้าฟ้าอากาศฯ ทั้งการค้นหาพระปรอท และวิธีการขุดเอายาอายุวัฒนะ แสดงให้เห็นว่า พระสุนทรภู่ต้องเรียนทางด้านอาคมไสยเวทย์มาไม่น้อย
๏ | เณรหนูพัดหัดประดิษฐ์คิดอักษร | |
เป็นเรื่องความตามติดท่านบิดร | กำจัดจรจากนิเวศเชตุพน | |
พอออกเรือเมื่อตะวันสายัณห์ย่ำ | ละอองน้ำค้างย้อยเป็นฝอยฝน | |
ตะลึงเหลียวเปลี่ยวเปล่าเมื่อคราวจน | ไม่มีคนเกื้อหนุนกรุณา | |
โอ้ธานีศรีอยุธย์มนุษย์แน่น | นับโกฏิแสนสาวแก่แซ่ภาษา | |
จะหารักสักคนพอปนยา | ไม่เห็นหน้านึกสะอื้นฝืนฤทัย | |
เสียแรงมีพี่ป้าหม่อมน้าสาว | ล้วนขาวขาวคำหวานน้ำตาลใส | |
มายามยืดจืดเปรี้ยวไปเจียวใจ | เหลืออาลัยลมปากจะจากจรฯ | |
๏ | ถึงวัดระฆังบังคมบรมธาตุ | แทบพระบาทบุษบงองค์อัปสร |
ไม่ทันลับกัปกัลป์พุทธันดร | พระด่วนจรสู่สวรรคครรไล | |
ละสมบัติขัตติยาทั้งข้าบาท | โอ้อนาถนึกน่าน้ำตาไหล | |
เป็นสูญลับนับปีแต่นี้ไป | เหลืออาลัยแล้วที่พระมีคุณ | |
ถึงจนยากบากมาเป็นข้าบาท | ไม่ขัดขาดข้าวเกลือช่วยเกื้อหนุน | |
ทรงศรัทธากล้าหาญในการบุญ | โอ้พระคุณขาดยศทั้งงดงาม | |
แม้นตกยากพรากพลัดไปขัดข้อง | พัดกับน้องหนูตาบจะหาบหาม | |
นี่จนใจในป่าช้าพนาราม | สุดจะตามเสด็จได้ดังใจจง | |
ขออยู่บวชกรวดน้ำสุรามฤต | อวยอุทิศผลผลาอานิสงส์ | |
สนองคุณพูนสวัสดิ์ขัตติย์วงศ์ | เป็นรถทรงสู่สถานวิมานแมน | |
มีสุรางค์นางขับสำหรับกล่อม | ล้วนเนื้อหอมน้อมเกล้าอยู่เฝ้าแหน | |
เสวยรมย์โสมนัสไม่ขัดแคลน | เป็นของแทนทานาฝ่าละออง | |
พระคุณเอ๋ยเคยทำนุอุปถัมภ์ | ได้อิ่มหนำค่ำเช้าไม่เศร้าหมอง | |
แม้นทูลลามากระนี้ทั้งพี่น้อง | ไหนจะต้องตกยากลำบากกาย | |
นี่สิ้นบุญทูลกระหม่อมจึงตรอมอก | ต้องระหกระเหินไปน่าใจหาย | |
เห็นที่ปลงทรงสูญยังมูลทราย | แสนเสียดายดังจะดิ้นสิ้นชีวัน | |
ทั้งหนูตาบกราบไหว้ร้องไห้ว่า | จะคมลาลับไปในไพรสัณฑ์ | |
เคยเวียนเฝ้าเกล้าจุกให้ทุกวัน | สารพันพึ่งพาไม่อนาทรฯ | |
๏ | ถึงปากง่ามนามบอกบางกอกน้อย | ยิ่งเศร้าสร้อยทรวงน้องดังต้องศร |
เหมือนน้อยทรัพย์ลับหน้านิราจร | ไปแรมรอนราวไพรใจรัญจวน | |
เคยชมเมืองเรืองระยับจะลับแล้ว | ไปชมแถวทุ่งนาล้วนป่าสวน | |
เคยดูดีพี่ป้าหน้านวลนวล | จะว่างเว้นเห็นล้วนแต่มอมแมม | |
เคยชมชื่นรื่นรสแป้งสดสะอาด | จะชมหาดเห็นแต่จอกกับดอกแขม | |
โอ้ใจจืดมืดเหมือนเมื่อเดือนแรม | ไม่เยื้อนแย้มกลีบกลิ่นให้ดิ้นโดย | |
เสียดายดวงพวงผกามณฑาทิพย์ | เห็นลิบลิบแลชวนให้หวนโหย | |
เพราะห่วงพุ่มภุมรินไม่บินโบย | จะร่วงโรยรสสิ้นกลิ่นผกาฯ | |
๏ | ถึงบางพรมพรหมมีอยู่สี่พักตร์ | คนรู้จักแจ้งจิตทุกทิศา |
ทุกวันนี้มีมนุษย์อยุธยา | เป็นร้อยหน้าพันหน้ายิ่งกว่าพรหม | |
โอ้คิดไปใจหายเสียดายรัก | เหมือนเกรียกจักแจกซีกกระผีกผม | |
จึงเจ็บอกฟกช้ำระกำตรม | เพราะลิ้นลมล่อลวงจะช่วงใช้ฯ | |
๏ | ถึงบางจากน้องไม่มีที่จะจาก | โอ้วิบากกรรมสร้างแต่ปางไหน |
เผอิญหญิงชิงชังน่าคลั่งใจ | จะรักใคร่เขาไม่มีปรานีเลย | |
ถึงบางพลูพลูใบใส่กระบะ | ถวายพระเพราะกำพร้านิจจาเอ๋ย | |
แม้นมีใครใจบุญที่คุ้นเคย | จะได้เชยพลูจีบหมากดิบเจียน | |
นี่จนใจได้แต่ลมมาชมเล่น | เปรียบเหมือนเช่นฉากฉายพอหายเหียน | |
แม้นเห็นรักจักได้ตามด้วยความเพียร | ฉีกทุเรียนหนามหนักดูสักคราวฯ | |
๏ | ถึงบางอ้อคิดจะใคร่ได้ไม้อ้อ | ทำแพนซอเสียงแจ้วเที่ยวแอ่วสาว |
แต่ยังไม่เคยเชยโฉมประโลมลาว | สุดจะกล่าวกล่อมปลอบให้ชอบใจ | |
ถึงบางซ่อนซ่อนเงื่อนไม่เยื้อนแย้ม | ถึงหนามแหลมเหลือจะบ่งที่ตรงไหน | |
โอ้บางเขนเวรสร้างไว้ปางใด | จึงเข็ญใจจนไม่มีที่จะรัก | |
เมื่อชาติหน้ามาเกิดในเลิศโลก | ประสิทธิโชคชอบฤทัยทั้งไตรจักร | |
กระจ้อยร่อยกลอยใจวิไลลักษณ์ | ให้สาวรักสาวกอดตลอดไปฯ | |
๏ | ตลาดแก้วแล้วแต่ล้วนสวนสล้าง | เป็นชื่ออ้างออกนามตามวิสัย |
แม้นขายแก้วแววฟ้าที่อาลัย | จะซื้อใส่บนสำลีประชีรอง | |
ประดับเรือนเหมือนหนึ่งเพชรสำเร็จแล้ว | ถนอมแก้วกลอยใจมิให้หมอง | |
ไม่เหมือนนึกตรึกตราน้ำตานอง | เห็นแต่น้องหนูแนบแอบอุราฯ | |
๏ | ถึงวัดตั้งฝั่งสมุทรพระพุทธสร้าง | ว่าท่านวางไว้ให้คิดปริศนา |
แม้นแก้ไขไม่ออกเอาที่ตอกตา | นึกก็น่าใคร่หัวเราะจำเพาะเป็น | |
จะคิดมั่งยังคำที่ร่ำบอก | จะไปตอกที่ตรงไหนก็ไม่เห็น | |
ดูลึกซึ้งถึงจะคิดก็มิดเม้น | พอยามเย็นยอแสงแฝงโพยมฯ | |
๏ | ถึงวัดเขียนเหมือนหนึ่งเพียรเขียนอักษร | กลกลอนกล่าวกล่อมถนอมโฉม |
เดชะชักรักลักลอบปลอบประโลม | ขอให้โน้มน้อมจิตสนิทใน | |
ถึงคลองขวางบางศรีทองมองเขม้น | ไม่แลเห็นศรีทองที่ผ่องใส | |
แม้นทองคำธรรมดาจะพาไป | นี่มิใช่ศรีทองเป็นคลองบาง | |
พอลมโบกโศกสวนมาหวนหอม | เหมือนโศกตรอมตรึกตรองมาหมองหมาง | |
ถึงบางแพรกแยกคลองเป็นสองทาง | เหมือนจืดจางใจแยกไปแตกกัน | |
ตลาดขวัญขวัญฉันนี้ขวัญหาย | ใครเขาขายขวัญหรือจะซื้อขวัญ | |
แม้นขวัญฟ้าหน้าอ่อนเหมือนท่อนจันทน์ | จะรับขวัญเช้าเย็นไม่เว้นวาง | |
ถึงบางขวางขวางอื่นสักหมื่นแสน | ถึงต่างแดนดงดอนสิงขรขวาง | |
จะตามไปให้ถึงห้องประคองคาง | แต่ขัดขวางขวัญความขามระคาย | |
เห็นสวาทขาดทิ้งกิ่งสนัด | เป็นรอยตัดต้นสวาทให้ขาดสาย | |
สวาทพี่นี้ก็ขาดสวาทวาย | แสนเสียดายสายสวาทที่ขาดลอย | |
เห็นรักน้ำพร่ำออกทั้งดอกผล | ไม่มีคนรักรักมาหักสอย | |
เป็นรักเปล่าเศร้าหมองเหมือนน้องน้อย | เที่ยวล่องลอยเรือรักจนหนักเรือฯ | |
๏ | ถึงบ้านบางธรณีแล้วพี่จ๋า | แผ่นสุธาก็ไม่ไร้ไม้มะเขือ |
เขากินหมูหนูพัดจะกัดเกลือ | ไม่ถ่อเรือแหหาปลาตำแบ | |
ถึงปากเกร็ดเตร็ดเตร่มาเร่ร่อน | เที่ยวสัญจรตามระลอกเหมือนจอกแหน | |
มาถึงเกร็ดเขตมอญสลอนแล | ลูกอ่อนแอ้อุ้มจูงพะรุงพะรัง | |
ดูเรือนไหนไม่เว้นเห็นลูกอ่อน | ไม่หยุดหย่อนอยู่ไฟจนไหม้หลัง | |
ไม่ยิ่งยอดปลอดเปล่าเหมือนชาววัง | ล้วนเปล่งปลั่งปลื้มใจมาไกลตาฯ | |
๏ | พอออกคลองล่องลำแม่น้ำวก | เห็นนกหกเหินร่อนว่อนเวหา |
กระทุงทองล่องเลื่อนค่อยเคลื่อนคลา | ดาษดาดอกบัวขาวคลัวเคลีย | |
นกกาน้ำดำปลากระสาสูง | เป็นฝูงฝูงเข้าใกล้มันไปเสีย | |
นกยางขาวเหล่านกยางมีหางเปีย | ล้วนตัวเมียหมดสิ้นทั้งดินแดน | |
ถึงเดือนไข่ไปลับแลเมืองแม่ม่าย | ขึ้นไข่ชายเขาโขดนับโกฏิแสน | |
พอบินได้ไปประเทศทุกเขตแคว้น | คนทั้งแผ่นดินมิได้ไข่นกยาง | |
โอ้นึกหวังสังเวชประเภทสัตว์ | ต้องขาดขัดคู่ครองจึงหมองหมาง | |
เหมือนอกชายหมายมิตรคิดระคาง | มาอ้างว้างอาทะวาเอกากายฯ | |
๏ | ถึงบ้านลาวเห็นแต่ลาวพวกชาวบ้าน | ล้วนหูยานอย่างบ่วงเหมือนห่วงหวาย |
ไม่เหมือนลาวชาวกรุงที่นุ่งลาย | ล้วนกรีดกรายหยิบหย่งทรงสำอาง | |
ถึงบางพูดพูดมากคนปาก มด | มีแต่ปดเป็นอันมากเขาถากถาง | |
พี่พูดน้อยค่อยประคิ่นลิ้นลูกคาง | เหมือนหญิงช่างฉอเลาะปะเหลาะชายฯ | |
๏ | ถึงบางกระไนได้เห็นหน้าบรรดาพี่ | พวกนารีเรืออ้อยเที่ยวลอยขาย |
ดูจริตติดจะงอนเป็นมอญกลาย | ล้วนแต่งกายกันไรเหมือนไทยทำ | |
แต่ไม่มีกิริยาด้วยผ้าห่ม | กระพือลมแล้วไม่ป้องปิดของขำ | |
ฉันเตือนว่าผ้าแพรลงแช่น้ำ | อ้อยสองลำนั้นจะเอาสักเท่าไร | |
เขารู้ตัวหัวร่อว่าพ่อน้อย | มากินอ้อยแอบแฝงแถลงไข | |
รู้กระนี้มิอยากบอกมิออกไย | น่าเจ็บใจจะต้องจำเป็นตำราฯ | |
๏ | ถึงไผ่รอบขอบเขื่อนดูเหมือนเขียน | ชื่อวัดเทียนถวายอยู่ฝ่ายขวา |
ข้างซ้ายมือชื่อบ้านใหม่ทำไร่นา | นางแม่ค้าขายเต่าสาวทึมทึก | |
ปิดกระหมับจับกระเหม่าเข้ามินหม้อ | ดูมอซอสีสันเป็นมันหมึก | |
ไม่เหมือนเหล่าชาวสวนหวนรำลึก | เมื่อไม่นึกแล้วก็ใจมิใคร่ฟังฯ | |
๏ | พอฟ้าคล้ำค่ำพลบเสียงกบเขียด | ร้องกรีดเกรียดเกรียวแซ่ดังแตรสังข์ |
เหมือนเสียงฆ้องกลองโหมประโคมวัง | ไม่เห็นฝั่งฟั่นเฟือนด้วยเดือนแรม | |
ลำภูรายชายตลิ่งล้วนหิ่งห้อย | สว่างพรอยแพร่งพรายขึ้นปลายแขม | |
อร่ามเรืองเหลืองงามวามวามแวม | กระจ่างแจ่มจับน้ำเห็นลำเรือฯ | |
๏ | ถึงย่านขวางบางทะแยงเป็นแขวงทุ่ง | ดูเวิ้งวุ้งหว่างละแวกล้วนแฝกเฝือ |
เห็นไรไรไม้พุ่มครุมครุมเครือ | เหมือนรูปเสือสิงโตรูปโคควาย | |
ท่านบิดรสอนหนูให้รู้ว่า | มันผินหน้าออกนั้นกันฉิบหาย | |
แม้นปากมันผันเข้าข้างเจ้านาย | จะล้มตายพรายพลัดเร่งตัดรอน | |
จารึกไว้ให้เป็นทานทุกบ้านช่อง | ฉันกับน้องนี้ได้จำเอาคำสอน | |
ดึกกำดัดสัตว์หลับประทับนอน | ที่วัดมอญเชิงรากริมปากคลอง | |
ต้นไทรครึ้มงึ้มเงียบเซียบสงัด | พระพายพัดแผ้วผ่าวหนาวสยอง | |
เป็นป่าช้าอาวาสปีศาจคะนอง | ฉันพี่น้องมิได้คลาดบาทบิดา | |
ท่านนอนหลับตรับเสียงสำเนียงเงียบ | เย็นยะเยียบเยือกสยองพองเกศา | |
เสียงผีผิวหวิวโหวยโหยวิญญาณ์ | ภาวนาหนาวนิ่งไม่ติงกาย | |
บรรดาศิษย์บิดรที่นอนนอก | ผีมันหลอกลากปล้ำพลิกคว่ำหงาย | |
ลุกขึ้นบอกกลอกกลัวทุกตัวนาย | มันสาดทรายกรวดโปรยเสียงโกรยกราว | |
ขึ้นสั่นไทรไหวยวบเสียงสวบสาบ | เป็นเงาวาบหัวหกเห็นอกขาว | |
หนูกลั่นกล้าคว้าได้รากไทรยาว | หมายว่าสาวผมผีร้องนี่แน | |
พอพระตื่นฟื้นกายค่อยคลายจิต | บรรดาศิษย์ล้อมข้างไม่ห่างแห | |
ท่านห่มดองครองเคร่งไม่เล็งแล | ขึ้นบกแต่องค์เดียวดูเปลี่ยวใจ | |
สำรวมเรียบเลียบรอบขอบป่าช้า | ภาวนาตามสงฆ์ไม่หลงใหล | |
เห็นศพฝังบังสุกุลส่งบุญไป | เห็นแสงไฟรางรางสว่างเวียน | |
ระงับเงียบเซียบเสียงสำเนียงสงัด | ปฏิพัทธ์พุทธคุณค่อยอุ่นเศียร | |
บรรดาศิษย์คิดกล้าต่างหาเทียน | จำเริญเรียนรุกขมูลพูนศรัทธา | |
อสุภธรรมกรรมฐานประหารเหตุ | หวนสังเวชว่าชีวังจะสังขาร์ | |
อันอินทรีย์วิบัติอนัตตา | ที่ป่าช้านี่แลเหมือนกับเรือนตาย | |
กลับหายกลัวมัวเมาไม่เข้าบ้าน | พระนิพพานเพิ่มพูนเพียงสูญหาย | |
อันรูปเหมือนเรือนโรคให้โศกสบาย | แล้วต่างตายตามกันไปมั่นคง | |
ค่อยคิดเห็นเย็นเยียบไม่เกรียบกริบ | ประสานสิบนิ้วนั่งดังประสงค์ | |
พยายามตามจริตท่านบิตุรงค์ | สำรวมทรงศีลธรรมที่จำเจน | |
ประจงจดบทบาทค่อยยาตรย่าง | ประพฤติอย่างโยคามหาเถร | |
ประทับทุกรุกรอบขอบพระเมรุ | จนพระเณรในอารามตื่นจามไอ | |
ออกจงกรมสมณาสมาโทษ | ร่มนิโรธน้องไม่เสื่อมที่เลื่อมใส | |
แผ่กุศลจนจบทั้งภพไตร | จากพระไทรแสงทองผ่องโพยมฯ | |
๏ | เลยบางหลวงล่วงทางมากลางแจ้ง | ถึงบ้านกระแชงหุงจันหันฉันผักโหม |
ยังถือมั่นขันตีนี้ประโลม | ถึงรูปโฉมพาหลงไม่งงงวย | |
พอเสียงฆ้องกองแซ่เขาแห่นาค | ผู้หญิงมากมอญเก่าสาวสาวสวย | |
ร้องลำนำรำฟ้อนอ่อนระทวย | พากันช่วยเขาแห่ได้แลดู | |
ถือขันตีทีนั้นก็ขันแตก | ทั้งศีลแทรกสูดออกกระบอกหู | |
ฉันนี้เคราะห์เพราะนางห่มสีชมพู | พาความรู้แพ้รักประจักษ์จริง | |
แค้นด้วยใจนัยนานิจจาเอ๋ย | กระไรเลยแล่นไปอยู่กับผู้หญิง | |
ท่านบิดาว่ามันติดกว่าปลิดปลิง | ถูกจริงจริงจึงจดเป็นบทกลอนฯ | |
๏ | ถึงต้องง้าวหลาวแหลนสักแสนเล่ม | ให้ติดเต็มตัวฉุดพอหลุดถอน |
แต่ต้องตาพาใจอาลัยวรณ์ | สุดจะถอนทิ้งขว้างเสียกลางคัน | |
ทั้งหนูกลั่นนั้นคะนองจะลองทิ้ง | บอกให้หญิงรำรับขยับหัน | |
ถ้าทิ้งถูกลูกละบาทประกาศกัน | เขารับทันเราก็ให้ใบละเฟื้อง | |
นางน้อยน้อยพลอยสนุกลุกขึ้นพร้อม | งามละม่อมมีแต่สาวล้วนขาวเหลือง | |
ใส่จริตกรีดกรายชายชำเลือง | ขยับเยื้องยิ้มแย้มแฉล้มลอย | |
ต่างหมายมุ่งตุ้งติ้งทิ้งหมากดิบ | เขาฉวยฉิบเฉยหน้าไม่ราถอย | |
ไม่มีถูกลูกดิ่งทั้งทิ้งทอย | พวกเพื่อนพลอยทิ้งบ้างห่างเป็นวา | |
ฉันลอบลองสองลูกถูกจำหนับ | ถูกปุ่มปับปากกรีดหวีดผวา | |
ร้องอยู่แล้วแก้วพี่มานี่นา | พวกมอญฮาโห่แห่ออกแซ่ไปฯ | |
๏ | พอเลยนาคบากข้ามถึงสามโคก | เป็นคำโลกสมมติสุดสงสัย |
ถามบิดาว่าผู้เฒ่าท่านกล่าวไว้ | ว่าท้าวไทพระอู่ทองเธอกองทรัพย์ | |
หวังจะไว้ให้ประชาเป็นค่าจ้าง | ด้วยจะสร้างบ้านเมืองเครื่องประดับ | |
พอห่ากินสิ้นบุญไปสูญลับ | ทองก็กลับกลายสิ้นเป็นดินแดง | |
จึงที่นี่มีนามชื่อสามโคก | เป็นคำโลกสมมติสุดแถลง | |
ครั้งพระโกศโปรดปรานประทานแปลง | ที่ตำแหน่งมอญมาสามิภักดิ์ | |
ชื่อปทุมธานีที่เสด็จ | เดือนสิบเบ็ดบัวออกทั้งดอกฝัก | |
มารับส่งตรงนี้ที่สำนัก | พระยาพิทักษ์ทวยหาญผ่านพารา | |
ได้รู้เรื่องเมืองปทุมค่อยชุ่มชื่น | ดูภูมิพื้นวัดบ้านขนานหน้า | |
เห็นพวกชายฝ่ายมอญแต่ก่อนมา | ล้วนสักขาเขียนหมึกจารึกพุง | |
ฝ่ายสาวสาวเกล้ามวยสวยสะอาด | แต่ขยาดอยู่ว่านุ่งผ้าถุง | |
ทั้งห่มผ้าตาหรี่เหมือนสีรุ้ง | ทั้งผ้านุ่งนั้นก็อ้อมลงกรอมตีน | |
เมื่อยกเท้าก้าวย่างสว่างแวบ | เหมือนฟ้าแลบแลผาดแทบขาดศีล | |
นี่หากเห็นเป็นเด็กแม้นเจ๊กจีน | เจียนจะปีนซุ่มซ่ามไปตามนาง | |
ชาวบ้านนั้นปั้นอีเลิ้งใส่เพิงพะ | กระโถนกระทะอ่างโอ่งกระโถงกระถาง | |
เขาวานน้องร้องถามไปตามทาง | ว่าบางขวางหรือไม่ขวางพี่นางมอญ | |
เขาเบือนหน้าว่าไม่รู้ดูเถิดเจ้า | จงถามเขาคนข้างหลังที่นั่งสอน | |
ไม่ตอบปากบากหน้านาวาจร | คารมมอญมิใช่เบาเหมือนชาวเมืองฯ | |
๏ | ถึงบ้านงิ้วงิ้วต้นแต่พ้นหนาม | ไม่งอกงามเหมือนแม่งิ้วที่ผิวเหลือง |
เมื่อแลพบหลบพักตร์ลักชำเลือง | ดูปลดเปลื้องเปล่งปลั่งกำลังโลม | |
มาลับนวลหวนให้เห็นไม้งิ้ว | เสียดายผิวพักตร์ผ่องจะหมองโฉม | |
เพราะเสียรักหนักหน่วงน่าทรวงโทรม | ใครจะโลมเลียมรสช่วยชดเจือฯ | |
๏ | ถึงโพแตงคิดถึงแตงที่แจ้งจัก | ดูน่ารักรสชาติประหลาดเหลือ |
แม้นลอยฟ้ามาเดี๋ยวนี้ที่ในเรือ | จะฉีกเนื้อนั่งกลืนให้ชื่นใจฯ | |
๏ | ถึงเกาะหาดราชครามรำรามรก | เห็นนกหกหากินบินไสว |
เขาถากถางกว้างยาวทั้งลาวไทย | ทำนาไร่ร้านผักรั้วฟักแฟง | |
สุดละเมาะเกาะกว้างสว่างโว่ง | แลตะโล่งลิบเนตรทุกเขตแขวง | |
เห็นควันไฟไหม้ป่าจับฟ้าแดง | ฝูงนกแร้งร่อนตัวเท่าถั่วดำ | |
โอ้เช่นนี้มีคู่มาดูด้วย | จะชื่นช่วยชมชิมได้อิ่มหนำ | |
มายามเย็นเห็นแต่ของที่น้องทำ | เหลือจะรำลึกโฉมประโลมลานฯ | |
๏ | ถึงด่านทางบางไทรไขว่เฉลว | เห็นไพร่เลวหลายคนอยู่บนด่าน |
ตุ้งก่าตั้งนั่งชักควักน้ำตาล | คอยว่าขานขู่คนลงค้นเรือ | |
ไม่เห็นของต้องห้ามก็ลามขอ | มะละกอกุ้งแห้งแตงมะเขือ | |
ขอส้มสูกจุกจิกทั้งพริกเกลือ | จนชาวเรือเหลือระอาด่าในใจ | |
แต่ลำเราเขาไม่ค้นมาพ้นด่าน | ดูภูมิฐานทิวชลาพฤกษาไสว | |
ถึงอารามนามอ้างวัดบางไทร | ต้นไทรใหญ่อยู่ที่นั่นน้องวันทา | |
เทพารักษ์ศักดิ์สิทธิ์สถิตพุ่ม | เพราะเคยอุ้มอุณรุทสมอุษา | |
ใคร่น่าจูบรูปร่างเหมือนนางฟ้า | ช่วยอุ้มพามาให้เถิดจะเชิดชม | |
ถนอมแนบแอบอุ้มนุ่มนุ่มนิ่ม | ได้แย้มยิ้มจวนจิตสนิทสนม | |
นอนเอนหลังนั่งเล่นเย็นเย็นลม | ชมพนมแนวไม้รำไรราย | |
ดูเหย้าเรือนเหมือนเขียนเตียนตลิบ | เห็นลิบลิบแลไปจิตใจหาย | |
เขาปลูกผักฟักถั่วจูงวัวควาย | ชมสบายบอกแจ้งตำแหน่งนามฯ | |
๏ | ถึงเกาะเกิดเกิดสวัสดิ์พิพัฒน์ผล | อย่าเกิดคนติเตียนเป็นเสี้ยนหนาม |
ให้เกิดลาภราบเรียบเงียบเงียบงาม | เหมือนหนึ่งนามเกาะเกิดประเสริฐทรง | |
ถึงเกาะพระไม่เห็นพระปะแต่เกาะ | แต่ชื่อเพราะชื่อพระสละหลง | |
พระของน้องนี้ก็นั่งมาทั้งองค์ | ทั้งพระสงฆ์เกาะพระมาประชุม | |
ขอคุณพระอนุเคราะห์ทั้งเกาะพระ | ให้เปิดปะตรุทองสักสองขุม | |
คงจะมีพี่ป้ามาชุมนุม | ฉะอ้อนอุ้มแอบอุราเป็นอาจิณฯ | |
๏ | ถึงเกาะเรียงเคียงคลองเป็นสองแยก | ป่าละแวกวังราชประพาสสินธุ์ |
ได้นางห้ามงามพร้อมชื่อหม่อมอิน | จึงตั้งถิ่นที่เพราะเสนาะนาม | |
หวังถวิลอินน้องละอองเอี่ยม | แสนเสงี่ยมงามพร้อมเหมือนหม่อมห้าม | |
จะหายศอตส่าห์พยายาม | คงจะงามพักตร์พร้อมเหมือนหม่อมอิน | |
อาลัยน้องตรองตรึกรำลึกถึง | หวังจะพึ่งผูกจิตคิดถวิล | |
เวลาเย็นเห็นนกวิหคบิน | ไปที่ถิ่นทำรังปะนังนอน | |
บ้างแนบคู่ชูคอเข้าซ้อแซ้ | เสียงจอแจโจนจับสลับสลอน | |
บ้างคลอเข้าเคล้าเคียงประเอียงอร | เอาปากป้อนปีกปกอกประคอง | |
ที่ไร้คู่อยู่เปลี่ยวเที่ยวเดี่ยวโดด | ไม่เต้นโลดแลเหงาเหมือนเศร้าหมอง | |
ลูกน้อยน้อยคอยแม่ชะแง้มอง | เหมือนอกน้องตาบน้อยกลอยฤทัย | |
มาตามติดบิดากำพร้าแม่ | สุดจะแลเหลียวหาที่อาศัย | |
เห็นลูกนกอกน้องนี้หมองใจ | ที่ฝากไข้ฝากผีไม่มีเลย | |
ถึงเกาะเรียนเรียนรักก็หนักอก | แสนวิตกเต็มตรองเจียวน้องเอ๋ย | |
เมื่อเรียนกันจนจบถึงกบเกย | ไม่ยากเลยเรียนได้ดังใจจง | |
แต่เรียนรักรักนักก็มักหน่าย | รักละม้ายมิได้ชมสมประสงค์ | |
ยิ่งรักมากพากเพียรยิ่งเวียนวง | มีแต่หลงลมลวงน่าทรวงโทรมฯ | |
๏ | มาถึงวัดพนังเชิงเทิงถนัด | ว่าเป็นวัดเจ้าฟ้าพระกลาโหม |
ผนังก่อย่อมุมเป็นซุ้มโคม | ลอยโพยมเยี่ยมฟ้านภาลัย | |
มีศาลาท่าน้ำดูฉ่ำชื่น | ร่มระรื่นรุกขาน่าอาศัย | |
บิดาพร่ำร่ำเล่าให้เข้าใจ | ว่าพระใหญ่อย่างเยี่ยงที่เสี่ยงทาย | |
ถ้าบ้านเมืองเคืองเข็ญจะเป็นเหตุ | ก็อาเพศพังหลุดทรุดสลาย | |
แม้พาราผาสุกสนุกสบาย | พระพักตร์พรายเพราพริ้มดูอิ่มองค์ | |
แต่เจ็กย่านบ้านนั้นก็นับถือ | ร้องเรียกชื่อว่าพระเจ้าปูนเถาก๋ง | |
ด้วยบนบานการได้ดังใจจง | ฉลององค์พุทธคุณกรุณัง | |
แล้วก็ว่าถ้าใครน้ำใจบาป | จะเข้ากราบเกรงจะทับต้องกลับหลัง | |
ตรงหน้าท่าสาชลเป็นวนวัง | ดูพลั่งพลั่งพลุ่งเชี่ยวน่าเสียวใจ | |
เข้าจอดเรือเหนือหน้าศาลาวัด | โสมนัสน้องไม่เสื่อมที่เลื่อมใส | |
ขึ้นเดินเดียวเที่ยวหาสุมาลัย | จำเพาะได้ดอกโศกที่โคกนา | |
กับดอกรักหักเด็ดได้เจ็ดดอก | พอใส่จอกจัดแจงแบ่งบุปผา | |
ให้กลั่นมั่งทั้งบุนนาคเพื่อนยากมา | ท่านบิดาดีใจกระไรเลย | |
ว่าโศกรักมักร้ายต้องพรายพลัด | ถวายวัดเสียถูกแล้วลูกเอ๋ย | |
แล้วห่มดองครองงามเหมือนตามเคย | ลีลาเลยเลียบตะพานขึ้นลานทราย | |
โอ้รินรินกลิ่นพิกุลมาฉุนชื่น | หอมแก้วรื่นเรณูไม่รู้หาย | |
หอมจำปาหน้าโบสถ์สาโรชราย | ดอกกระจายแจ่มกลีบดังจีบเจียน | |
ดูกุฎีวิหารสะอ้านสะอาด | รุกขชาติพุ่มไสวเหมือนไม้เขียน | |
ดูภูมิพื้นรื่นราบด้วยปราบเตียน | แล้วเดินเวียนทักษิณพระชินวร | |
ได้สามรอบชอบธรรมท่านนำน้อง | เข้าในห้องเห็นพระเจ้าเท่าสิงขร | |
ต่างจุดธูปเทียนถวายขจายจร | ท่านบิดรได้ประกาศว่าชาตินี้ | |
ทั้งรูปชั่วตัวดำทั้งต่ำศักดิ์ | ถวายรักไว้กับศีลพระชินสีห์ | |
ต่อเมื่อไรใครรักมาภักดี | จะอารีรักตอบด้วยขอบคุณ | |
แต่หนูกลั่นนั้นว่าจะหาสาว | ที่เล็บยาวโง้งโง้งเหมือนโก่งกระสุน | |
ทั้งเนื้อหอมกล่อมเกลี้ยงเพียงพิกุล | กอดให้อุ่นอ่อนก็ว่าไม่น่าฟัง | |
ฉันกับน้องมองแลดูแต่พระ | สาธุสะสูงกว่าฝาผนัง | |
แต่พระเพลาเท่าป้อมที่ล้อมวัง | สำรวมนั่งปลั่งเปล่งเพ่งพินิจ | |
ตัวของหนูดูจิ๋วเท่านิ้วพระหัตถ์ | โตถนัดหนักนักจึงศักดิ์สิทธิ์ | |
ศิโรราบกราบก้มบังคมคิด | รำพึงพิษฐานในใจจินดา | |
ขอเดชะพระกุศลที่ปรนนิบัติ | ที่หนูพัดพิศวาสพระศาสนา | |
มาเคารพพบพุทธปฏิมา | เป็นมหาอัศจรรย์ในสันดาน | |
ขอผลาอานิสงส์จงสำเร็จ | สรรเพชญ์พ้นหลงในสงสาร | |
แม้นยังไม่ถึงที่พระนิฤพาน | ขอสำราญราคีอย่าบีฑา | |
จะพากเพียรเรียนวิสัยแต่ไตรเพท | ให้วิเศษแสนเอกทั้งเลขผา | |
แม้นรักใครให้คนนั้นกรุณา | ชนมายืนเท่าเขาพระเมรุ | |
ขอรู้ทำคำแปลแก้วิมุติ | เหมือนพระพุทธโฆษามหาเถร | |
มีกำลังดังมาฆะสามเณร | รู้จัดเจนแจ้งจบทั้งภพไตร | |
อนึ่งเล่าเจ้านายที่หมายพึ่ง | ให้ทราบซึ่งสุจริตพิสมัย | |
อย่าหลงลิ้นหินชาติขาดอาลัย | น้ำพระทัยทูลเกล้าให้ยาวยืน | |
แล้วลาพระปฏิมาลีลาล่อง | เข้าในคลองสวนพลูค่อยชูชื่น | |
ชมแต่ไม้ไผ่พุ่มดูชุ่มชื้น | หอมระรื่นลำดวนรัญจวนใจ | |
โอ้ยามนี้มิได้พบน้ำอบสด | มาเชยรสบุปผาน้ำตาไหล | |
ยิ่งเสียวทรวงง่วงเหงาเศร้าฤทัย | มาเหงื่อไคลคล่ำตัวต้องมัวมอม | |
นิจจาเอ๋ยเคยบำรุงผ้านุ่งห่ม | เคยอบรมร่ำกลิ่นไม่สิ้นหอม | |
เหมือนหายยศหมดรักมาปลักปลอม | จนซูบผอมผิวคล้ำระกำใจ | |
จึงมาหายาอายุวัฒนะ | ตามได้ปะลายแทงแถลงไข | |
เข้าลำคลองล่องเรือมาเหลือไกล | ถึงวัดใหญ่ชายทุ่งดูวุ้งเวิ้งฯ | |
๏ | พระเจดีย์ที่ยังอยู่ดูตระหง่าน | เป็นประธานทิวทุ่งดูสูงเทิ่ง |
ต้นโพธิ์ไทรไผ่พุ่มเป็นซุ้มเซิง | ขึ้นรอบเชิงชั้นล่างข้างเจดีย์ | |
เสียดายนักหักทรุดชำรุดร้าง | ใครจะสร้างสูงเกินจำเริญศรี | |
ท่านบิดาว่าถึงให้ใหญ่กว่านี้ | ก็ไม่มีผู้ใดว่าใหญ่โต | |
ผู้หญิงย่านบ้านเราชาวบางกอก | เขาอมกลอกกลืนพระเสียอะโข | |
แต่พระเจ้าเสาชิงช้าที่ท่าโพธิ์ | ก็เต็มโตชาววังเขายังกลืน | |
ฉันกลัวบาปกราบพระอย่าปะพบ | ไม่ขอคบคนโขมดที่โหดหืน | |
พอฟ้าคลุ้มพุ่มพฤกษ์ดูครึกครื้น | เงาทะมึนมืดพยับอับโพยม | |
พายุฝนอนธการสะท้านทุ่ง | เป็นฝุ่นฟุ้งฟ้าฮือกระพือโหม | |
น้ำค้างชะประเปรยเชยชโลม | ท่านจุดโคมขึ้นอารามต้องตามไป | |
เที่ยวหลีกรกวกวนอยู่จนดึก | เห็นพุ่มพฤกษ์โพธิ์ทองที่ผ่องใส | |
ตักน้ำผึ้งครึ่งจอกกับดอกไม้ | จุดเทียนใหญ่อย่างตำราบูชาเชิญ | |
หวังจะปะพระปรอทที่ยอดยิ่ง | คะนึงนิ่งนึกรำพันสรรเสริญ | |
สำรวมเรียนเทียนอร่ามงามจำเริญ | จนดึกเกินไก่ขันหวั่นวิญญาณ์ | |
ทั้งเทียนดับศัพท์เสียงสำเนียงเงียบ | เย็นยะเยียบน้ำค่างพร่างพฤกษา | |
เห็นแวววับลับลงตรงนัยนา | ปรอทมาสูบซึ่งน้ำผึ้งรวง | |
ครั้นคลำได้ในกลางคืนก็ลื่นหลุด | ต้องจัดจุดธูปเทียนเวียนบวงสรวง | |
ประกายพรึกดึกเด่นขึ้นเห็นดวง | ดังโคมช่วงโชติกว่าบรรดาดาว | |
จักจั่นแจ้วแว่วหวีดจังหรีดหริ่ง | ปี่แก้วตริ่งตรับเสียงสำเนียงหนาว | |
ยิ่งเย็นฉ่ำน้ำค้างลงพร่างพราว | พระพายผ่าวพัดไหวทุกใบโพธิ์ฯ | |
- | ๏ พอรุ่งแรกแปลกกลิ่นระรินรื่น | |
โอ้หอมชื่นช่อมะกอกดอกโสน | เหมือนอบน้ำร่ำผ้าประสาโซ | |
สะอื้นโอ้อารมณ์ระทมทวี | หวังจะปะพระปรอทที่ปลอดโปร่ง | |
ทั้งสามองค์เอามาไว้ก็ไพล่หนี | เชิญพระธาตุราธนาทุกราตรี | |
อาบวารีทิพรสหมดมลทิน | ที่ธุระปรอทเป็นปลอดเปล่า | |
ยังดูเลาลายแทงแสวงถวิล | ท่านนอนอ่านลานใหญ่ฉันได้ยิน | |
ว่ายากินรูปงามอร่ามเรือง | แม้นฟันหักจักงอกผมหงอกหาย | |
แก่กลับกลายหนุ่มเนื้อนั้นเรื่อเหลือง | ตะวันออกบอกแจ้งเป็นแขวงเมือง | |
ท่านจัดเครื่องครบครันทั้งจันทน์จวง | กับหนูกลั่นจันมากบุนนาคหนุ่ม | |
สักสิบทุ่มเดินมุ่งออกทุ่งหลวง | มาตาลายปลายคลองถึงหนองพลวง | |
แต่ล้วนสวงสาหร่ายเห็นควายนอน | นึกว่าผีตีฆ้องป่องป่องโห่ | |
มันผุดโผล่พลุ่งโครมถีบโถมถอน | เถาสาหร่ายควายกลุ้มตะลุมบอน | |
ว่าผีหลอนหลบพัลวันเวียน | พอเสียงร้องมองดูจึงรู้แจ้ง | |
เดินแสวงหาวัดฉวัดเฉวียน | พอเช้าตรู่ดูทางมากลางเตียน | |
ถึงป่าเกรียนเกรียวแซ่จอแจจริงฯ | ๏ กระจาบจับนับหมื่นดูดื่นดาษ | |
เหมือนตลาดเหลือหูเพราะผู้หญิง | เหมือนโกรธขึ้งหึงหวงด้วยช่วงชิง | |
ชุมจริงจริงจิกโจดกระโดดโจน | จนต้นไม้ใบงอกออกไม่รอด | |
ดูกรองกรอดเกรียมกร่องกรองกรอยโกร๋น | ลมกระทั่งรังกระจาบระยาบโยน | |
ตัวมันโหนหวงคู่คอยขู่คน | บ้างคาบแขมแซมรังเหมือนดังสาน | |
สอดชำนาญเหน็บฝอยเหมือนสร้อยสน | จิกสะบัดจัดแจงสอดแซงซน | |
เปรียบเหมือนคนช่างสะดึงรู้ตรึงตรอง | โอ้ว่าอกนกยังมีรังอยู่ | |
ได้เคียงคู่ค่ำเช้าไม่เศร้าหมอง | แม้นร่วมเรือนเหมือนหนึ่งนกกกประคอง | |
แต่สักห้องหนึ่งก็เห็นจะเย็นใจ | จนพ้นป่ามาถึงโป่งห้วยโข่งคุด | |
มันหมกมุดเหมือนเขาแจ้งแถลงไข | เห็นตาลโดดโขดคุ่มกับพุ่มไม้ | |
มีทิวไผ่พงรายเหมือนลายแทง | ท่านหลีกลัดตัดทางไปกลางทุ่ง | |
ตั้งแต่รุ่งไปจนแดดก็แผดแสง | ได้พักเพลเอนนอนพอผ่อนแรง | |
ต่ออ่อนแสงสุริยาจึงคลาไคล | แต่แรกดูครู่หนึ่งจะถึงที่ | |
เหมือนถอยหนีห่างเหินเดินไม่ไหว | เหมือนเรื่องรักชักชิดสนิทใน | |
มากลับไกลเกรงกระดากต้องลากจูงฯ | ๏ พอเย็นจวนด่วนเดินขึ้นเนินโขด | |
ถึงตาลโดดดินพูนเป็นมูลสูง | ||
เที่ยวเลียบชมลมเย็นเห็นนกยูง | เป็นฝูงฝูงฟ้อนหางที่กลางทราย | |
ทำกรีดปีกหลีกเลี่ยงเข้าเคียงคู่ | คอยแฝงดูดังระบำรำถวาย | |
กระหวัดวาดยาตรเยื้องชำเลืองกราย | เหมือนละม้ายหม่อมละครเมื่อฟ้อนรำ | |
โอ้เคยเห็นเล่นงานสำราญรื่น | ได้แช่มชื่นเชยชมที่คมขำ | |
มาห่างแหแลลับจับระบำ | เห็นแต่รำแพนนกน่าอกตรม | |
ออกตรูไล่ไปสิ้นขึ้นบินว่อน | แฉลบร่อนเรียงตามดูงามสม | |
เห็นเซิงไทรไผ่โพธิ์ตะโกพนม | ระรื่นร่มรุกขชาติดาษเดียร | |
พิกุลออกดอกหอมพะยอมย้อย | นกน้อยน้อยจิกจับเหมือนกับเขียน | |
ในเขตแคว้นแสนสะอาดดังกวาดเตียน | ตลิบเลี่ยนลมพัดอยู่อัตรา | |
สารภีที่ริมโบสถ์สาโรชร่วง | มีผึ้งรวงรังสิงกิ่งพฤกษา | |
รสเร้าเสาวคนธ์สุมณฑา | ภุมราร่อนร้องละอองนวล | |
โอ้บุปผาสารภีส่าหรีรื่น | เป็นที่ชื่นเชยถนอมด้วยหอมหวน | |
เห็นมาลาอาลัยใจรัญจวน | เหมือนจะชวนเชษฐาน้ำตากระเด็นฯ | |
๏ | โอ้ยามนี้ที่ตรงนึกรำลึกถึง | มาเหมือนหนึ่งใจจิตที่คิดเห็น |
จะคลอเคียงเรียงตามเมื่อยามเย็น | เที่ยวเลียบเล่นแลเพลินจำเริญตา | |
โบสถ์วิหารฐานบัทม์ยังมีมั่ง | เชิงผนังหนาแน่นด้วยแผ่นผา | |
สงสารสุดพุทธรัตน์ปฏิมา | พระศิลาแลดูเป็นบูราณ | |
อุโบสถหมดหลังคาฝาผนัง | พระเจ้านั่งอยู่แต่องค์น่าสงสาร | |
ด้วยเรื้อร้างสร้างสมมานมนาน | แต่โบราณเรื่องพระเจ้าตะเภาทอง | |
มาเที่ยวเล่นเห็นหินบนดินโขด | เดี่ยวสันโดษดังสำลีไม่มีหมอง | |
จึงจัดช่างสร้างอารามตามทำนอง | ทรงจำลองลายหัตถ์เป็นปฏิมา | |
รูปพระเจ้าเท่าองค์แล้วทรงสาป | ให้อยู่ตราบศักราชพระศาสนา | |
พอฤๅษีสี่องค์เหาะตรงมา | ถวายยาอายุวัฒนะ | |
เธอไม่อยู่รู้ว่าหลงในสงสาร | ซ้ำให้ทานแท่งยาอุตสาหะ | |
ใส่ตุ่มทองรองไว้ที่ใต้พระ | ใครพบปะเปิดได้เอาไปกิน | |
ช่วยสร้างโบสถ์โขดเขื่อนให้เหมือนเก่า | นามนั้นเขาเขียนแจ้งที่แท่งหิน | |
วัดเจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์ | ให้ทราบสิ้นสืบสายเพราะลายแทง | |
เป็นตำรามาแต่เหนือท่านเชื่อถือ | ดูหนังสือเสาะหาอุตส่าห์แสวง | |
มาพบปะจะได้ขุดก็สุดแรง | ด้วยดินแข็งเขาประมูลด้วยปูนเพชร | |
ถึงสิ่วขวานผลาญพะเนินไม่เยินยู่ | เห็นเหลือรู้ที่จะทำให้สำเร็จ | |
แต่จะต้องลองตำรากาลเม็ด | เผื่อจะเสร็จสมถวิลได้กินยาฯ | |
๏ | พอเย็นรอนดอนสูงดูทุ่งกว้าง | วิเวกวางเวงจิตทุกทิศา |
ลิงโลดเหลียวเปลี่ยวใจนัยนา | เห็นแต่ฟ้าแฝกแขมขึ้นแซมแซง | |
ดูกว้างขวางว่างโว่งตะโล่งลิ่ว | ไม่เห็นทิวที่สังเกตในเขตแขวง | |
สุริยนสนธยาท้องฟ้าแดง | ยิ่งโรยแรงรอนรอนอ่อนกำลัง | |
โอ้แลดูสุริยงจะลงลับ | มิใคร่จะดับดวงได้อาลัยหลัง | |
สลดแสงแฝงรถเข้าบดบัง | เหมือนจะสั่งโลกาให้อาลัย | |
แต่คนเราชาววังทั้งทวีป | มาเร็วรีบร้างมิตรพิสมัย | |
ไม่รอรั้งสั่งสวาทประหวาดใจ | โอ้อาลัยแลลับวับวิญญาณ์ | |
ยิ่งเย็นฉ่ำน้ำค้างว่างวิเวก | เป็นหมอกเมฆมืดมิดทุกทิศา | |
แสนแสบท้องต้องเก็บตะโกนา | นึกระอาออกนามเมื่อยามโซ | |
ทั้งหนูกลั่นจันมากบุนนาคน้อย | ช่วยกันสอยเก็บหักไว้อักโข | |
พอเคี้ยวฝาดชาติชั่วตัวตะโก | แต่ยามโซแสบท้องก็ต้องกลืน | |
พิกุลต้นผลห่ามอร่ามต้น | ครั้นกินผลพาเลี่ยนให้เหียนหืน | |
ชั่งฝาดเฝื่อนเหมือนจะตายต้องคายคืน | ทั้งขมขื่นแค้นคอไม่ขอกิน | |
ท่านบิดรสอนสั่งให้ตั้งจิต | โปรดประสิทธิ์สิกขารักษาศิล | |
เข้าร่มพระมหาโพธิบนโขดดิน | ระรื่นกลิ่นกลางคืนค่อยชื่นใจ | |
เหมือนกลิ่นกลั่นจันทน์เจือในเนื้อหอม | แนบถนอมสนิทจิตพิสมัย | |
เสมอหมอนอ่อนอุ่นละมุนละไม | มาจำไกลกลอยสวาทอนาถนอนฯ | |
๏ | โอ้ยามนี้มิได้เชยเหมือนเคยชื่น | ทุกค่ำคืนขาดประทิ่นกลิ่นอัปสร |
หอมพิกุลฉุนใจอาลัยวอน | พิกุลร่อนร่วงหล่นลงบนทรวง | |
ยิ่งเสียวเสียวเฉียวฉุนพิกุลหอม | เคยถนอมเสน่ห์หมายไม่หายหวง | |
โอ้ดอกแก้วแววฟ้าสุดาดวง | มิหล่นร่วงลงมาเลยใคร่เชยชิม | |
เย็นระเรื่อยเฉื่อยฉ่ำด้วยน้ำค้าง | ลงพร่างพร่างพรายพร้อยย้อยหยิมหยิม | |
ยิ่งฟั่นเฟือนเหมือนสมรมานอนริม | ให้เหงาหงิมง่วงเงียบเซียบสำเนียง | |
เสนาะดังจังหรีดวะหวีดแว่ว | เสียงแจ้วแจ้วจักจั่นสนั่นเสียง | |
เสียงหริ่งหริ่งกิ่งไทรเรไรเรียง | เสียวสำเนียงนอนแลเห็นแต่ดาว | |
จนดึกดื่นรื่นเรื่อยเฉื่อยเฉื่อยฉิว | หนาวดอกงิ้วงิ้วต้นให้คนหนาว | |
แม้นงิ้วงามนามงิ้วเล็บนิ้วยาว | จะอุ่นราวนวมแนบนั่งแอบอิง | |
ทั้งสี่นายหมายว่ากินยาแล้ว | จะผ่องแผ้วพากันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง | |
เดชะยาน่ารักประจักษ์จริง | ขอให้วิ่งตามฉาวทั้งด้าวแดน | |
นากนั้นว่าอายุอยู่ร้อยหมื่น | จะได้ชื่นชมสาวสักราวแสน | |
ไม่รู้หมดรสชาติไม่ขาดแคลน | ฉันอายแทนที่ครวญถึงนวลนาง | |
ทั้งหนูกลั่นนั้นว่าเมื่อเรือล่องกลับ | จะแวะรับนางสิบสองไม่หมองหมาง | |
แม่เอวอ่อนมอญรำล้วนสำอาง | จะขวางขวางไปอย่างไรคงได้ดู | |
สมเพชเพื่อนเหมือนหนึ่งบ้าประสาหนุ่ม | แต่ล้วนลุ่มหลงเหลือจนเบื่อหู | |
จนพระเมินเดินเวียนถือเทียนชู | เที่ยวส่องดูสีมาบรรดามี | |
ที่ผุพังยังแต่ตรุบรรจุธาตุ | ขาวสะอาดอรหัตจำรัสศรี | |
อาราธนามาไว้สิ้นด้วยยินดี | อัญชลีแล้วก็นั่งระวังภัย | |
น้ำค้างพรมลมเรื่อยเฉื่อยเฉื่อยฉิว | ใบโพธิ์ปลิวแพลงพลิกริกริกไหว | |
บ้างร่วงหล่นวนว่อนร่อนไรไร | ด้วยแสงไฟรางรางสว่างตาฯ | |
๏ | จนดึกดื่นรื่นรมลมสงัด | ดึกกำดัดดาวสว่างพร่างพฤกษา |
เหมือนเสียงโห่โร่หูข้างบูรพา | กฤษฎาได้ฤกษ์เบิกพระไทร | |
สายสิญจน์วงลงยันต์กันปีศาจ | ธงกระดาษปักปลิวหวิวหวิวไหว | |
ข้าวสารทรายปรายปราบกำราบไป | ปักเทียนชัยฉัตรเฉลิมแล้วเจิมจันทน์ | |
จุดเทียนน้อยร้อยแปดนั้นปักรอบ | ล้อมเป็นขอบเขตเหมือนหนึ่งเขื่อนขัณฑ์ | |
มนต์มหาวาหุดีพิธีกรรม์ | แก้อาถรรพณ์ถอนฤทธิ์ที่ปิดบัง | |
แล้วโรยหินดินดำคว่ำหอยโข่ง | จะเปิดโป่งปูนเพชรเป็นเคล็ดขลัง | |
พอปักธงลงดินได้ยินดัง | สำเนียงตังตึงเปรี้ยงแซ่เสียงคน | |
ข้างเทียนดับกลับกลัวให้มัวมืด | พยุฮึดฮือมาเป็นห่าฝน | |
ถูกลูกเห็บเจ็บแสบแปลบสกนธ์ | เหลือจะทนทานลมลงก้มกราน | |
เสียงเกรียวกราววาววามโพลงพลามพลุ่ง | สะเทือนทุ่งที่บนโขดโบสถ์วิหาร | |
กิ่งโพธิ์โผงโกร่งกร่างลงกลางลาน | สาดข้าวสารกรากกรากไม่อยากฟัง | |
ทั้งฟ้าร้องก้องกึกพิลึกลั่น | อินทรีย์สั่นซบฟุบเหมือนทุบหลัง | |
สติสิ้นวิญญาณ์ละล้าละลัง | สู่ภวังค์วุบวับเหมือนหลับไป | |
เป็นวิบัติอัศจรรย์มหันตเหตุ | ให้อาเพศเพื่อจะห้ามตามวิสัย | |
ทั้งพระพลอยม่อยหลับระงับไป | แสงอุทัยรุ่งขึ้นจึงฟื้นกาย | |
เที่ยวหาย่ามตามหาทั้งผ้าห่ม | มันตามลมลอยไปข้างไหนหาย | |
ไม่พบเห็นเป็นน่าระอาอาย | จนเบี่ยงบ่ายบิดาจะคลาไคล | |
ท่านห่มดองครองผ้าอุกาพระ | คารวะวันทาอัชฌาสัย | |
ถวายวัดตัดตำราไม่อาลัย | ขออภัยพุทธรัตน์ปฏิมา | |
เหมือนรู้ความยามโศกด้วยโรคร้าย | จึงตามลายลัดแลงแสวงหา | |
จะใคร่เห็นเช่นเขาบอกดอกจึงมา | มีตำราแล้วก็ต้องทดลองดู | |
ไม่รื้อร้างง้างงัดไม่คัดขุด | เป็นแต่จุดเทียนเบิกฤกษ์ราหู | |
ขอคุณพรตทศธรรมช่วยค้ำชู | ไม่เรียนรู้รูปงามไม่ตามลาย | |
มาเห็นฤทธิ์กฤษฎาอานุภาพ | ก็เข็ดหลาบลมพาตำราหาย | |
ได้กรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย | ให้ภูตพรายไพรโขมดที่โขดดิน | |
ทั้งเจ้าทุ่งกรุงทวาเทพารักษ์ | ซึ่งพิทักษ์ที่พระยาคูหาหิน | |
พระเจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์ | ซึ่งสร้างถิ่นที่วัดพระปฏิมา | |
จงพ้นทุกข์สุโขอโหสิ | ไปจุติตามชาติปรารถนา | |
ทั้งเซิงไทรไผ่โพธิ์ตะโกนา | ฉันขอลาแล้วเจ้าคะหม่อมตะโก | |
ถึงแก่งอมหอมกลิ่นยังกินฝาด | แต่คราวขาดคิดรักเสียอักโข | |
ทั้งพิกุลฉุนกลิ่นจงภิญโญ | เสียดายโอ้อางขนางจะห่างไกล | |
ออกเดินทุ่งมุ่งหมายพอบ่ายคล้อย | ไม่ตามรอยแรกมาหญ้าไสว | |
จนจวนค่ำย่ำเย็นเห็นไรไร | สังเกตไม้หมายทางมากลางคืน | |
ต้องบุกรกวกหลงลุยพงแฝก | อุตส่าห์แหวกแขมคาสู้ฝ่าฝืน | |
มาตามลายหมายจะลุอายุยืน | ผ้าห่มผืนหนึ่งไม่ติดอนิจจัง | |
เจ้าหนูกลั่นนั้นว่าเคราะห์เสียเพราะหอม | เหมือนทิ้งหม่อมเสียทีเดียวเดินเหลียวหลัง | |
จะรีบไปให้ถึงเรือเหลือกำลัง | ครั้นหยุดนั่งหนาวใจจำไคลคลา | |
จนรุ่งรางทางเฟื่อนไม่เหมือนเก่า | ต้องเดินเดาดั้นดัดจนขัดขา | |
จนเที่ยงจึงถึงเรือเหลือระอา | อายตามาตาแก้วที่แจวเรือ | |
เขาหัวเราะเยาะว่าสาธุสะ | เครื่องอัฏฐะที่เอาไปช่างไม่เหลือ | |
พอมืดมนฝนคลุ้มลงครุมเครือ | ให้ออกเรือรีบล่องออกท้องคุ้ง | |
จะเลยตรงลงไปวัดก็ขัดข้อง | ไม่มีของขบฉันจังหันหุง | |
ไปพึ่งบุญคุณพระยารักษากรุง | ท่านบำรุงรักพระไม่ละเมิน | |
ทั้งเพลเช้าคาวหวานสำราญรื่น | ต่างชุ่มชื่นชวนกันสรรเสริญ | |
ทั้งสูงศักดิ์รักใคร่ให้เจริญ | อายุเกินกัปกัลป์พุทธันดร | |
ให้ครองกรุงฟุ้งเฟื่องเปรื่องปรากฏ | เกียรติยศอยู่ตลอดอย่าถอดถอน | |
ท่านอารีมีใจอาลัยวอน | ถึงจากจรใจจิตยังคิดคุณ | |
มาทีไรได้นิมนต์ปรนนิบัติ | สารพัดแผ่เผื่อช่วยเกื้อหนุน | |
ต่างชื่นช่วยอวยกุศลผลบุญ | สนองคุณเจ้าพระยารักษากรุงฯ | |
๏ | เมื่อกราบลาคลาเคลื่อนออกเลื่อนล่อง | เห็นหน้าน้องนามหุ่นนั่งชุนถุง |
ทั้งผัดหน้าทาขมิ้นส่งกลิ่นฟุ้ง | บำรุบำรุงรูปงามอร่ามเรือง | |
ที่แพรายหลายนางสำอางโฉม | งามประโลมเปล่งปลั่งอลั่งเหลือง | |
ขมิ้นเอ๋ยเคยใช้แต่ในเมือง | มาฟุ้งเฟืองฝ่ายเหนือทั้งเรือแพ | |
พวกโพงพางนางแม่ค้าขายปลาเต่า | จับกระเหม่ามิได้เหลือชั้นเรือแห | |
จะล่องลับกลับไปอาลัยแล | มาถึงแพเสียงนกแก้วแจ้วเจรจา | |
เจ้าของขาวสาวสอนชะอ้อนพลอด | แวะมาจอดแพนี้ก่อนพี่จ๋า | |
น่ารับขวัญฉันนี่ร้องว่าน้องลา | ก็เลยว่าสาวกอดฉอดฉอดไปฯ | |
๏ | โอ้นกเอ๋ยเคยบ้างหรืออย่างพลอด | นางสาวสาวเขาจะกอดให้ที่ไหน |
แต่น้องมีพี่ป้าที่อาลัย | ท่านยังไม่ช่วยกอดแกล้งทอดทิ้ง | |
นึกก็พลอยน้อยใจถึงไม่กอด | หนาวก็ทอดเตาไว้ก่อไฟผิง | |
ไม่เรียกเป็นเช่นนกแก้วแล้วจริงจริง | จะสู้นิ่งหนาวทนอยู่คนเดียว | |
ได้เด็ดรักหักใจมาในน้ำ | ถึงพบลำสาวแส้ไม่แลเหลียว | |
ประหลาดเหลือเรือวิ่งจริงจริงเจียว | มาคืนเดียวก็ได้หยุดถึงอยุธยา | |
จึงจดหมายรายเรื่องที่เคืองเข็ญ | ไปเที่ยวเล่นลายแทงแสวงหา | |
เห็นสิ่งไรในจังหวัดรัถยา | ได้จดมาเหมือนหนึ่งมีแผนที่ไว้ | |
ไม่อ่อนหวานขานเพราะเสนาะโสต | ด้วยอายโอษฐ์มิได้อ้างถึงนางไหน | |
ที่เขามีที่จากฝากอาลัย | ได้ร่ำไรเรื่องหญิงจึงพริ้งเพราะ | |
นี่กล่าวแกล้งแต่งเล่นเพราะเป็นม่าย | เที่ยวเร่ขายคอนเรือมะเขือเปราะ | |
คิดคะนึงถึงตัวน่าหัวเราะ | เกือบกะเทาะหน้าแว่นแสนเสียดายฯ | |
๏ | นารีใดไร้รักอย่าหนักหน่วง | จะโรยร่วงรกเรี้ยวแห้งเหี่ยวหาย |
ที่เมตตาอยู่ก็อยากจะฝากกาย | อย่าหมิ่นชายเชิญตรึกให้ลึกซึ้ง | |
เหมือนภุมรินบินหาซึ่งสาโรช | ถึงร้อยโยชน์แย้มกลิ่นคงบินถึง | |
แต่ดอกไม้ไทท้าวในดาวดึงษ์ | ไม่พ้นซึ่งพวกหมู่แมลงภู่ชม | |
เช่นกระต่ายกายสิทธิ์นั้นผิดเพื่อน | ขึ้นแต้มเดือนได้จนชิดสนิทสนม | |
เสน่หาอาลัยใจนิยม | จะใคร่ชมเช่นกระต่ายไม่วายตรอม | |
แต่เกรงเหมือนเดือนแรมไม่แจ่มแจ้ง | สุดจะแฝงฝากเงาเฝ้าถนอม | |
ขอเดชะจะได้พึ่งให้ถึงจอม | ขอให้น้อมโน้มสวาทอย่าคลาดคลา | |
ไม่เคลื่อนคลายหน่ายแหนงจะแฝงเฝ้า | ให้เหมือนเงาตามติดขนิษฐา | |
ทุกค่ำคืนชื่นชุ่มพุ่มผกา | มิให้แก้วแววตาอนาทร | |
มณฑาทิพย์กลีบบานตระการกลิ่น | ภุมรินหรือจะร้างห่างเกสร | |
จงทราบความตามใจอาลัยวอน | เดชะกลอนกล่าวปลอบให้ตอบคำ | |
จะคอยฟังดังคอยสอยสวาท | แม้นเหมือนมาดหมายจะชิมให้อิ่มหนำ | |
ถ้าครั้งนี้มิได้เยื้อนยังเอื้อนอำ | จะต้องคร่ำคร่าเปล่าแล้วเราเอยฯ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น