วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ชลธี ธารทอง



กลายเป็นข่าวเศร้าในวงการเพลงลูกทุ่งอีกครั้ง เมื่อ ครูชลธี ธารทอง ครูเพลงชื่อดัง เสียชีวิตแล้วในวัย 85 ปี เมื่อช่วงเย็นวันที่ 21 ก.ค. 2566 ที่ผ่านมา หลังจากเข้ารักษาตัวด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือดเมื่อ 24 เม.ย. 2566 ที่ผ่านมา โดยใช้เวลารักษาตัวนานกว่า 3 เดือน และเสียชีวิตอย่างสงบ ณ รพ.ศิริราช

ชลธี ธารทอง มีนามเดิมว่า สมนึก ทองมา เป็นนักประพันธ์ชายเพลงไทยลูกทุ่ง มีผลงานเพลงเป็นที่รู้จัก และได้สร้างนักร้องมีชื่อเสียงโด่งดังหลายคนประดับวงการเพลงในประเทศไทย ชลธี ธารทอง ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักประพันธ์เพลงลูกทุ่ง) ประจำปี 2542

ชลธี ธารทอง มีชื่อจริงว่า สมนึก ทองมา[1] เกิดเมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2480 [2] ที่ จ.ชลบุรี พ่อมีอาชีพรับจ้างเร่ร่อนไปทั่ว แม่เจ็บท้องคลอดตอนกำลังเกี่ยวข้าว และตกเลือดตายตั้งแต่อายุ 6 เดือน ตอนเขาเกิด แม้แต่ผ้าขี้ริ้วที่จะนำมาทำผ้าอ้อมก็ยังไม่มี ชีวิตในวัยเด็กนั้นยากจน ชลธีเข้าเรียนชั้นประถม 1 ที่โรงเรียนวัดแก้วศิลาราม ที่ชลบุรี มาต่อชั้นประถม 4 ที่โรงเรียนวัดโคกขี้หนอน ที่ชลบุรี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนประชาสงเคราะห์ อ.พานทอง จ.ชลบุรี จากนั้นก็ย้ายมาอยู่กับญาติที่ราชบุรี เขาเคยผ่านงานมาหลากหลาย ทั้งทำนา ทำไร่ ขุดดิน เผาถ่าน ช่างไม้ ก่อสร้าง นักมวย ลิเกนักพากย์หนัง หางเครื่อง กรรมกร และนักร้อง  

ชลธีสนใจการร้องเพลงลูกทุ่งมาตั้งแต่เล็ก และเคยเป็นนักร้องเพลงเชียร์รำวงของวงดาวทอง เชียร์รำวงชื่อ ดังอีกวงของยุคนั้น ต่อมาสมัครเข้าเป็นนักร้องในวงดนตรีของสุรพล สมบัติเจริญ​ ราชาเพลงลูกทุ่งไทย และได้ขึ้นเวที ในวันที่มาสมัคร แต่เนื่องจากไม่มีที่พักในกรุงเทพฯ ต้องเดินทางไปกลับต่างจังหวัด (ราชบุรี) ขณะเดียวกันก็ไม่ชำนาญเส้นทางในกรุงเทพ จึงมาเข้าวงสายตลอด 3 วันถัดมา จึงถูกไล่ออก

จากนั้นก็มีผู้ชักชวนให้มาอยู่กับวงลิเก และพากย์หนัง ก่อนจะบวช หลังจากสึกก็มาเป็นหางเครื่องอยู่กับวง เทียนชัย สมยาประเสริฐ ที่มีนักร้องดังอย่าง ผ่องศรี วรนุช ซึ่งเป็นภรรยารวมอยู่ด้วย แต่ลาออกจากวงเพราะถูกกล่าวหาว่าขโมยทองของนักร้องในวงระหว่างที่รถของคณะเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ

ต่อมา ได้สมัครประกวดร้องเพลงที่จัดโดยวงรวมดาวกระจายของครูสำเนียง ม่วงทองโดยใช้เพลงที่เขาแต่งขึ้นเอง ซึ่งเขาก็ชนะ และครูสำเนียงรับให้มาอยู่ร่วมคณะ แต่ไม่ได้ขึ้นร้องเพราะนักร้องเต็ม และครูสำเนียงเป็นคนตั้งชื่อให้เขาว่า ชลธี ธารทอง เพราะเป็นคนเมืองชลฯ หลังจากอยู่มาปีครึ่ง ชลธี จึงได้ขึ้นร้องเพลง และต่อมาได้อัดแผ่นเสียงรวม 4 เพลง แต่ไม่ดังสักเพลง ระหว่างนั้น ถ้ามีเวลาว่าง เขาก็ได้ศึกษาวิชาแต่งเพลงอย่างเป็นกิจจะลักษณะจากครูสำเนียง และก็ได้นำความรู้ความสามารถในการเขียนโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน มาใช้ในการแต่งเพลง

ระหว่างที่อยู่วงรวมดาวกระจายนี้เองที่เพลง "พอหรือยัง" ของชลธี ถูกศรคีรี ศรีประจวบนำไปร้องจนประสบความสำเร็จ แต่ไม่มีใครเชื่อว่าเขาเป็นคนแต่ง เพราะเพลงนี้เกิดขึ้นหลังจากที่เขาไปหลงรักสาวร่วมวงรวมดาวกระจาย และก็อกหัก เลยแต่งเพลงนี้นำมาร้องแก้กลุ้ม พอดีมีนักร้องชายในวงอีกคนเกิดชอบ ก็มาขอไปร้องบนเวที ต่อมานักร้องคนนั้นโดนไล่ออก และได้ไปอยู่กับวงศรคีรี และเมื่อศรคีรีได้ยินเพลงนี้จึงถามว่าใครแต่ง นักร้องคนนั้นได้บอกว่าเขาแต่งเอง ศรคีรีจึงขอเอามาอัดแผ่นเสียงโดยใช้ชื่อคนแต่งว่าศรคีรี เมื่อชลธี ธารทอง ออกมา ทักท้วง ศรคีรี ก็ได้มาอธิบายจนเป็นที่เข้าใจกันทุกฝ่าย

ครั้งที่อยู่กับวงรวมดาวกระจาย ชลธีมีโอกาสบันทึกเสียง 4 เพลง แต่ไม่ดังสักเพลง ต่อมาชลธี ถูกไล่ออกจากวงรวมดาวกระจาย ในข้อกล่าวหาดังแล้วแยกวง ซึ่งไม่เป็นความจริง จากนั้นก็มีนายทุนออกเงินตั้งวงให้ ชื่อวง "สุรพัฒน์" แต่ก็ไปไม่รอด ขณะที่เพลงของเขาก็ขายไม่ค่อยได้เพราะคนไม่รู้จักชื่อเสียง ก็พอดีกับศรคีรีมาขอให้ช่วยแต่งเพลงให้ แต่พอเขาแต่งเพลงชุดนั้นเสร็จ ศรคีรีก็มาประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตเสียก่อน ชลธีจึงตัดสินใจหันหลังให้วงการเพลง และหอบครอบครัวไปช่วยพ่อตาแม่ยายทำไร่ข้าวโพดที่แก่งเสือเต้น แต่ก่อนจะไปจากกรุงเทพฯ เขาบังเอิญไปพบกับเด็กล้างรถที่ปั้มน้ำมันแห่งหนึ่งแถวบุคคโล ซึ่งมีเสียงถูกใจจึงได้มอบเพลง 2 เพลงที่กะจะให้ศรคีรีกับเด็กคนนั้นไปโดยไม่คิดเงิน ต่อมาเด็กคนนั้นก็คือสายัณห์ สัญญา ที่โด่งดังจากเพลง"ลูกสาวผู้การ" และ "แหม่มปลาร้า"ที่เขามอบให้ในวันนั้น

เมื่อสายัณห์โด่งดัง เขาจึงถูกมนต์ เมืองเหนือเรียกตัวกลับกรุงเทพเพื่อให้มาแต่งเพลง ทำให้ลูกศิษย์คนต่อมาของเขาก็คือ เสกศักดิ์ ภู่กันทอง​ โด่งดังจากเพลง"ทหารอากาศขาดรัก" จากนั้นชลธีก็ตั้งหน้าตั้งตาผลิตผลงานและสรรหานักร้องคุณภาพออกมาประดับวงการอยู่เนืองๆ จนประสบความสำเร็จอย่างมาก และในที่สุดก็ได้รับฉายาจาก "ยิ่งยง สะเด็ดยาด" คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ว่า " เทวดาเพลง "

ชลธี ธารทองเคยหันมาจับธุรกิจทำวงดนตรีลูกทุ่ง โดยทำวงให้กับ สุริยัน ส่องแสง แต่ปรากฏว่า นักร้องนำถูกยิงตายเสียก่อน เขาเลยต้องเป็นหนี้ยกใหญ่

บทเพลงของชลธี ธารทองมีจุดเด่นในการเลือกสรรถ้อยคำในลักษณะของกวีนิพนธ์มาใช้ในการแต่งเพลง เนื้อหามีสาระส่งเสริมคุณค่าวิถีชีวิตไทย ท่วงทำนองเพลงมีความไพเราะตรึงใจผู้ฟัง บทเพลงมีความดีเด่นในศิลปะการประพันธ์ที่ใช้ฉันทลักษณ์หลายรูปแบบ เป็นนักแต่งเพลงที่แต่งทั้งคำร้องและทำนองเพลงเอง ผลงานเพลงล้วนแต่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักฟังเพลง สร้างนักร้องลูกทุ่งให้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมากอาทิ สายัณห์ สัญญายอดรัก สลักใจก๊อต จักรพันธ์ศรเพชร ศรสุพรรณสดใส รุ่งโพธิ์ทองเสรีย์ รุ่งสว่างเอกพจน์ วงศ์นาคแอ๊ด คาราบาวมนต์สิทธิ์ คำสร้อยดำรง วงศ์ทอง เป็นต้น

ครูชลธี มีลูก 2 คนที่เกิดกับภรรยาคนแรก คือ นายเอกรินทร์ ทองมา หรือหนุ่ม กับ นางสาวชลาลัย ทองมา หรือแนน ส่วนภรรยาคนที่ 2 คือนางศศิวิมล ทองมา หรือครูปุ้ม ซึ่งมีอายุห่างกันถึง 28 ปี


ชลธี ธารทองมีผลงานการประพันธ์เพลงมากกว่า 2,000 เพลงที่เป็นที่รู้จักกันดีก็อย่างเช่น

  • พอหรือยัง (สายัณห์ สัญญา)
  • จำปาลืมต้น (สายัณห์ สัญญา)
  • ไอ้หนุ่มรถไถ (สายัณห์ สัญญา)
  • วานนี้รักวันนี้ลืม (สายัณห์ สัญญา)
  • คาถามัดใจ (สายัณห์ สัญญา)
  • ปิดห้องร้องไห้ (สายัณห์ สัญญา)
  • นางฟ้ายังอาย (สายัณห์ สัญญา)
  • พบรักปากน้ำโพ (สายัณห์ สัญญา)
  • คำสั่งเตรียมพร้อม (สายัณห์ สัญญา)
  • คนซื่อที่ไร้ความหมาย (สายัณห์ สัญญา)
  • ทหารอากาศขาดรัก (สายัณห์ สัญญา)
  • ฝากใจไว้ที่เดือน (สายัณห์ สัญญา)
  • นักเพลงคนจน (สายัณห์ สัญญา)
  • แหม่มปลาร้า (สายัณห์ สัญญา)
  • ยินดีรับเดน (สายัณห์ สัญญา)
  • รักทรมาน (สายัณห์ สัญญา)
  • น้ำตาอีสาน (สายัณห์ สัญญา)
  • ลูกสาวผู้การ (สายัณห์ สัญญา)
  • กินอะไรถึงสวย (สายัณห์ สัญญา)
  • ของขวัญจากแฟน (สายัณห์ สัญญา)
  • ล่องเรือหารัก (สายัณห์ สัญญา)
  • ไอ้หนุ่มตังเก (สายัณห์ สัญญา)
  • ของขวัญให้แฟน (สายัณห์ สัญญา)
  • ของขวัญคนจน (สายัณห์ สัญญา)
  • เทพธิดาผ้าซิ่น (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • จดหมายจากแม่ (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • หนุ่มทุ่งกระโจมทอง (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • ร้องเพลงเพื่อแม่ (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • คนกล่อมโลก (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • กอดแก้จน (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • ยินดีรับเดน (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • รักอันตราย (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • ไอ้หนุ่มรถซุง (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • เรียกพี่ได้ไหม (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • ปิ๊กบ้านเฮาเต๊อะ (เสรีย์ รุ่งสว่าง)
  • จดหมายจากแนวหน้า (ยอดรัก สลักใจ)
  • จำปาลืมต้น (ยอดรัก สลักใจ)
  • สาวผักไห่ (ยอดรัก สลักใจ)
  • ล่องเรือหารัก (ยอดรัก สลักใจ)
  • กินอะไรถึงสวย (ยอดรัก สลักใจ)
  • ทหารอากาศขาดรัก (ยอดรัก สลักใจ)
  • ห่มธงนอนตาย (ยอดรัก สลักใจ)
  • นักเพลงคนจน (ยอดรัก สลักใจ)
  • ไอ้หนุ่มตังเก (ยอดรัก สลักใจ)
  • น้ำตาอีสาน (ยอดรัก สลักใจ)
  • พอหรือยัง (ยอดรัก สลักใจ)
  • รักทรมาน (ยอดรัก สลักใจ)
  • เงินใช่ไหม (ยอดรัก สลักใจ)
  • คนบ้านนอก (ยอดรัก สลักใจ)
  • สวรรค์บ้านทุ่ง (ยอดรัก สลักใจ)
  • เลือดสีเดียวกัน (ยอดรัก สลักใจ)
  • ฝากใจไว้ที่เดือน (ยอดรัก สลักใจ)
  • หน้าอย่างเธอจะรักใครจริง (สดใส รุ่งโพธิ์ทอง)
  • สาวผักไห่ (สดใส รุ่งโพธิ์ทอง)
  • ไอ้ทองร้องไห้ (ศรเพชร ศรสุพรรณ)
  • สาวผักไห่ (ศรเพชร ศรสุพรรณ)
  • น้ำตาอีสาน (ศรเพชร ศรสุพรรณ)
  • วันนี้สวยกว่าเมื่อวาน (ก๊อต จักรพันธ์)
  • ทหารอากาศขาดรัก (ก๊อต จักรพันธ์)
  • นางฟ้ายังอาย (ก๊อต จักรพันธ์)
  • ไอ้หนุ่มตังเก (ก๊อต จักรพันธ์)
  • กินอะไรถึงสวย (ก๊อต จักรพันธ์)
  • ฝากใจไว้ที่เดือน (ก๊อต จักรพันธ์)
  • ไอ้หนุ่มทุ่งกระโจมทอง (ก๊อต จักรพันธ์)
  • จดหมายจากแนวหน้า (ก๊อต จักรพันธ์)
  • ล่องเรือหารัก (ก๊อต จักรพันธ์)
  • สาวผักไห่ (ก๊อต จักรพันธ์)
  • พอหรือยัง (ก๊อต จักรพันธ์)
  • ลูกสาวผู้การ (ก๊อต จักรพันธ์)
  • เมตตาธรรม (เพลงการกุศล สมทบกองทุนเพื่อเด็กไทย)
  • ยังรักเสมอ (ดำรง วงศ์ทอง)
  • เดือนครึ่งดวง (ดำรง วงศ์ทอง)
  • ผู้หญิงคนสุดท้าย (ดำรง วงศ์ทอง)
  • ทหารก็มีหัวใจ (ดำรง วงศ์ทอง)
  • หนุ่มราชภัฎ (ดำรง วงศ์ทอง)
  • พอหรือยัง (ดำรง วงศ์ทอง)
  • ไอ้หนุ่มตังเก (ดำรง วงศ์ทอง)
  • นางฟ้ายังอาย (ดำรง วงศ์ทอง)
  • ฝากใจไว้ที่เดือน (ดำรง วงศ์ทอง)
  • ทหารอากาศขาดรัก (ดำรง วงศ์ทอง)
  • จดหมายจากแนวหน้า (ดำรง วงศ์ทอง)
  • ลูกสาวผู้การ (ดำรง วงศ์ทอง)
  • เรารอเขาลืม (เอกพจน์ วงศ์นาค)
  • ไอ้หนุ่ม ต.ช.ด. (เอกพจน์ วงศ์นาค)
  • แอบฝัน (เอกพจน์ วงศ์นาค)
  • เชื่อผมเถอะน่า (เอกพจน์ วงศ์นาค)
  • สาวโรงงานคนสวย (เอกพจน์ วงศ์นาค)
  • ห่มฝางต่างผ้า (มนต์สิทธิ์ คำสร้อย)
  • เทวดาเพลง (แอ๊ด คาราบาว)
  • นางฟ้ายังอาย (สันติ ดวงสว่าง)
  • กินอะไรถึงสวย (สันติ ดวงสว่าง)
  • ล่องเรือหารัก (สันติ ดวงสว่าง)
  • จำปาลืมต้น (สันติ ดวงสว่าง)
  • ไอ้หนุ่มตังเก (สันติ ดวงสว่าง)
  • จดหมายจากแม่ (สันติ ดวงสว่าง)
  • วันนี้สวยกว่าเมื่อวาน (สันติ ดวงสว่าง)
  • ลูกสาวผู้การ (สันติ ดวงสว่าง)
  • พอหรือยัง (สันติ ดวงสว่าง)
  • สาวผักไห่ (สันติ ดวงสว่าง)
  • ยินดีรับเดน (สันติ ดวงสว่าง)
  • เลือดสีเดียวกัน (สันติ ดวงสว่าง)
  • ทหารอากาศขาดรัก (สันติ ดวงสว่าง)
  • จดหมายจากแนวหน้า (สันติ ดวงสว่าง)
  • คาถามัดใจ (สันติ ดวงสว่าง)
  • ฝากใจไว้ที่เดือน (สันติ ดวงสว่าง)
  • หนุ่มทุ่งกระโจมทอง (สนธิ สมมาตร)
  • จดหมายจากแม่ (สนธิ สมมาตร)
  • พอหรือยัง (สนธิ สมมาตร)
  • คืนลาอาลัย (สนธิ สมมาตร)
  • พบรักปากน้ำโพ (หนู มิเตอร์)
  • ล่องเรือหารัก (หนู มิเตอร์)
  • วานนี้รักวันนี้ลืม (รุ่ง สุริยา)
  • จดหมายจากแนวหน้า (กุ้ง สุธิราช)
  • กินอะไรถึงสวย (กุ้ง สุธิราช)
  • พบรักปากน้ำโพ (กุ้ง สุธิราช)
  • ทหารอากาศขาดรัก (กุ้ง สุธิราช)
  • พอหรือยัง (กุ้ง สุธิราช)
  • วานนี้รักวันนี้ลืม (กุ้ง สุธิราช)
  • จำปาลืมต้น (เทียรี่ เมฆวัฒนา)
  • พอหรือยัง (เทียรี่ เมฆวัฒนา)
  • ลูกสาวผู้การ (จ่าหรอย เฮนรี่)
  • ฝากใจไว้ที่เดือน (จ่าหรอย เฮนรี่)
  • สาวผักไห่ (จ่าหรอย เฮนรี่)
  • น้ำตาอีสาน (ไมค์ ภิรมย์พร)
  • ลูกสาวผู้การ (ไมค์ ภิรมย์พร)
  • วานนี้รักวันนี้ลืม (ไมค์ ภิรมย์พร)
  • ล่องเรือหารัก (ไมค์ ภิรมย์พร)
  • นางฟ้ายังอาย (ไมค์ ภิรมย์พร)
  • คนอกหักพักบ้านนี้ (ไมค์ ภิรมย์พร)
  • วานนี้รัก วันนี้ลืม (รังสี เสรีชัย)
  • จำปาลืมต้น (รังสี เสรีชัย)
  • คนกล่อมโลก (เอกราช สุวรรณภูมิ)
  • เทพธิดาผ้าซิ่น (เอกราช สุวรรณภูมิ)
  • จดหมายจากแม่ (เอกราช สุวรรณภูมิ)
  • ล่องเรือหารัก (เอกราช สุวรรณภูมิ)
  • ฟ้าร้องไห้ (เพลงถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร)

ปัทมา ณ เวียงฟ้า


     
          ปัทมา ณ เวียงฟ้า หรือชื่อจริง พวงทอง สุขเกษม ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น ปัทมา สุขเกษม ชื่อเล่น ป้อม ในบัตรประจำตัวประชาชนระบุเพียงว่า เกิด พ.ศ.2484 ปัทมาเคยเล่าประวัติย่อๆ ของเธอให้ทีมข่าวบันเทิง "คม ชัด ลึก" ฟังว่า เธอเกิดเมื่อ 29 กรกฎาคม 2486 ย่านวัดบางเสาธง บางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี พ่อชื่อจำรัส แซ่อึ้ง มีเชื้อสายจีนแม่ชื่อ ชุบ สุขเกษม มีพี่น้อง 2 คน ปัทมาเป็นคนโต แม่เสียชีวิตตั้งแต่เธอยังเล็กๆ ส่วนพ่อก็ไปมีภรรยาใหม่ เธอกับน้องสาวจึงอยู่กับตาและยาย แถวเจริญผล กรุงเทพฯ เรียนหนังสือจบแค่ชั้น ป.4 เท่านั้น ต้องออกมาช่วยยายขายดอกไม้ที่ตลาดเจริญผล 
     
    ในวัยสาว ปัทมา ร้องเพลงได้ทั้งลูกทุ่งและลูกกรุง กระทั่งเพื่อนชื่อ “อร” ซึ่งเป็นนักร้องประจำวงดนตรี “ต๊อกบูม” ของป๋าต๊อก (ล้อต๊อก สวง ทรัพย์สำรวย ศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับ) มาหาเธอที่บ้านแล้วชักชวนให้ไปสมัครเป็นนักร้องประจำวงดนตรี “ต๊อกบูม” เธอมีความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักร้องอยู่แล้วจึงตอบตกลง ป๋าต๊อกให้ร้องเพลงให้ฟัง เธอก็ร้องเพลง “สาวชาวสวน” ซึ่งเป็นเพลงที่ถนัด ป๋าต๊อกจึงรับไว้เป็นนักร้องประจำวงดนตรี “ต๊อกบูม” ตั้งแต่บัดนั้น ปัทมาอยู่วงดนตรี “ต๊อกบูม” ได้ระยะหนึ่งก็ย้ายไปอยู่กับวง “พรเกษม” ของลุงโกร่ง กางเกงแดง 
      
          ต้นปี พ.ศ.2509 วงสุรพลจะเดินสายคอนเสิร์ตในภาคใต้ แต่กลุ่มนักร้องหญิงในวงอาทิ ภาวนา ชบาไพรประท้วงและออกจากวง ครูสุรพลจึงแก้ปัญหาด้วยการให้บังเละ วงศ์อาบู ตลกชื่อดังประจำวงไปหานักร้องหญิงมาเพิ่ม เพื่อที่จะได้ไปเปิดแสดงทางภาคใต้ได้ พอดีวง “พรเกษม”มาเปิดแสดงที่เขาดิน บังเละ ผ่านหน้าเวทีมาโดยบังเอิญ บังเละยืนดูด้วยความสนใจ จึงชวนปัทมาไปอยู่กับวงสุรพล ซึ่งยุคนั้นครูสุรพล สมบัติเจริญ กำลังดังสุดขีด ครูสุรพลทดสอบ เสียงปัทมาด้วยการให้ร้องเพลงให้ฟัง เธอก็ร้องเพลง “คุณไม่รักทำไมไม่บอก” ของ จันทรา ณ กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นเพลงดังในยุคนั้น พอร้องจบครูสุรพล ก็รับเข้าเป็นนักร้องประจำวง ออกเดินสายคอนเสิร์ตในภาคใต้
      
          เมื่อกลับจากภาคใต้ครูสุรพลจึงแต่งเพลงให้บันทึกเสียงเพลงแรกในชีวิต คือเพลง “ม่วยช้ำ” ครูตั้งชื่อให้ว่า “ปัทมา ณ เวียงฟ้า” แล้วเพลงแรกของเธอก็ดังทั่วฟ้าเมืองไทยในเวลาอันรวดเร็ว ต่อมาก็ได้บันทึกเพลง “ม่วยหายช้ำ” อีก 1 เพลง แก้กับเพลง “ยิกเท้าโหละซัว” ของครูสุรพล

  ปัทมาอยู่กับวงสุรพลได้ไม่นาน เพราะมีปัญหากระทบกระทั่งกับเพื่อนๆ ในวง เธอจึงออกจากวงไป  โดยไปรับเชิญร้องกับวงอื่นบ้าง อาทิ วง “เสน่ห์ โกมารชุน” ต่อมาก็ไปร้องตามห้องอาหาร ส่วนเพลงดังที่ปัทมาเคยบันทึกเสียงอีกเพลงหนึ่งคือเพลง “ยายฉิมเก็บเห็ด” ที่ “ประไพ คำเรียบร้อย” และ “น้ำผึ้ง บริบูรณ์” ร้องไว้ก่อนหน้านี้ เมื่อเธอได้ร้องเพลงในห้องอาหาร เธอก็นำเพลงนี้ไปร้อง และเต้นลีลาโชว์หน้าเวที เป็นที่ชื่นชอบของแฟนเพลงทำให้เธอมีชื่อเสียงตลอดมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นเธอยังเคยแสดงเภาพยนตร์เรื่อง “เหนือบารมี” ซึ่งมี เกชา เปลี่ยนวิถี และ เนาวรัตน์ วัชรา เป็นพระเอก-นางเอก และยังร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง “ปี่แก้วนางหงส์” ในเพลง “หนุ่มอ้อนสาวออด” โดยร้องคู่กับ “มิตร เมืองแมน”
     
          ในช่วงหลังมานี้ ปัทมา ณ เวียงฟ้า ได้มาร่วมกับวงดนตรีศิษย์สุรพล ซึ่งนำทีมโดย ภาวนา ชบาไพร ซึ่งมีทั้งงานการกุศลและงานทั่วไปตลอด ข้อมูลจากคนใกล้ชิดบอกว่า ปัทมาแยกทางกับสามีเป็นเวลานานแล้ว มีบุตรชาย 2 คน เสียชีวิตไปแล้ว โดยปัทมาอาศัยอยู่คนเดียว ถ้าไม่มีงานร้องเพลงจะขายเสื้อผ้ามือสอง ตลาดพระโขนง ฐานะความเป็นอยู่พออยู่ได้ไม่ขัดสนเงินทอง มีหลานสาว 2 คน เป็นลูกของน้องสาว ซึ่งดูแลกันอยู่ 

วันที่ 20 มี.ค.57 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.คลองตัน รับแจ้งเหตุมีหญิงสูงอายุเสียชีวิตภายในบ้านพัก เลขที่ 109/71 ซอยสุขุมวิท 48 จึงนำกำลังไปตรวจสอบ พบผู้เสียชีวิต คือ คุณปัทมา สุขเกษม หรือ ปัทมา ณ เวียงฟ้า อายุ 72 ปี นอนเสียชีวิตอยู่ภายในบ้านหลังดังกล่าว โดยสภาพศพเสียชีวิตมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3-5 วัน จากการสอบถามเพื่อนบ้าน ระบว่า นางปัทมา พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวเพียงลำพัง โดยลูกชายทั้งสองคนได้เสียชีวิตแล้ว ขณะที่สามี ได้หายตัวไปจากบ้านตั้งแต่ เมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมา โดยผู้ที่พบเห็น คุณปัทมา ครั้งสุดท้าย เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เพื่อนบ้านเห็นหายหน้าไปหลายวัน ผิดสังเกต จึงเข้าไปตรวจสอบ จึงพบเป็นว่านอนเสียชีวิตอยู่ เบื้องต้น ตำรวจ สน.คลองตัน คาดว่า ผู้ตายเสียชีวิตด้วยโรคประจำตัว

 


วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

นิทาน นิ้วมือทั้งห้า

 นิทาน นิ้วมือทั้งห้า

ครั้งหนึ่งนิ้วมือคน ทั้ง 5 นิ้วเกิดโต้เถียงกัน โดยแต่ละนิ้ว
ต่างก็ถือว่านิ้วของตนมีความสำคัญกว่านิ้วอื่น
“ นิ้วฉันสำคัญกว่าทุกนิ้ว เพราะเป็นนิ้วแห่งความมีอำนาจ
สามารถชี้สั่งการให้ใครทำอะไรก็ได้ และสามารถชี้แนะสั่ง
สอนให้คนอื่นทำตาม ”
นิ้วชี้เริ่มต้นคุยอวดความยิ่งใหญ่ของตนเองก่อนนิ้วอื่น ทำ
ให้นิ้วอีก 4 นิ้วไม่พอใจที่ถูกคุยทับถมจึงตอบโต้ไป
นิ้วกลางบอกว่า
“ นิ้วของฉันยาวและสูงกว่าพวกท่านทุกนิ้ว จึงต้องสำคัญ
กว่านิ้วอื่น ไม่เช่นนั้น พวกท่านคงไม่มาห้อมล้อมคอยปก
ป้องดูแลนิ้วของเราหรอก ”
นิ้วนางอวดบ้างว่า
“ นิ้วของฉันเป็นนิ้วของผู้มีสง่าราศีมีเกียรติกว่านิ้วอื่นเวลา
คนจะสวมแหวนเพชรแหวนทอง เขาก็จะสวมที่นิ้วฉัน”
นิ้วก้อยก็บอกว่า
“ นิ้วฉันแม้จะเล็กหรือเรียวกว่านิ้วอื่น ๆ แต่เป็นนิ้วนำทาง
ใครจะกราบพระหรือไหว้พระ หรือไหว้ผู้ใหญ่ นิ้วฉันก็จะถึง
ก่อนและอยู่ใกล้ชิดกว่านิ้วไหนถือว่าเป็นนิ้วที่มีบุญ หรือเว
ลาใครจะคืนดีกัน หรือหนุ่มสาวจะควงคู่กันให้หวานชื่นเขา
จะเกี่ยวก้อยกัน ”
นิ้วหัวแม่มือได้ฟังก็บอกว่า
“ ใครจะสำคัญอย่างไรก็แล้วแต่ หากไม่มีนิ้วหัวแม่มือเวลา
จะหยิบจับของอะไรจะหยิบถนัดได้อย่างไร เวลาใครลงคะ
แนนเสียงเลือกตั้ง แม้แต่เข้าโรงรับจำนำ หรือการแสดง
หลักฐานแทนการลงลายมือชื่อ เขายังต้องใช้นิ้วฉันพิมพ์
ลายนิ้วมือ ”
มือได้ฟังนิ้วทั้ง 5 อวดความยิ่งใหญ่ของตนก็สุดแสนรำคาญ
จึงห้ามปรามและอธิบายให้ฟัง
“ ลองนึกดูให้ดีถ้าเกิดมีใครตัดนิ้วหนึ่งนิ้วใดขาดหายไป นิ้ว
พวกท่านที่เหลือจะทำงานได้สะดวกหรือ แล้วมือของเราก็
คงต้องพิกลพิการ ดูไม่งามอย่างนี้หรอก ทุกนิ้วล้วนมีความ
สำคัญทั้งนั้น ถ้าไม่สามัคคีกัน แล้วจะร่วมกันทำงานให้สำ
เร็จได้อย่างไร ”
นิทานเรื่องนี้คงเตือนใจได้อย่างดีว่า จะต้องตั้งหลักให้ดี
อย่ามัวแต่เมาทฤษฎี จนจัดกระบวนทัพไม่ถูก หรือไปให้
ความสำคัญกับนิ้วใดนิ้วหนึ่ง จนทำให้องค์กรเกิดความยุ่ง
เหยิง บุคลากรเกิดความขัดแย้งกัน เพราะถ้าองค์กรใดเป็น
เช่นนี้ ความฝันที่จะบริหารให้เป็นองค์รวมคงจะสำเร็จได้
ยาก

วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

โคบุตร

 


วรรณคดีเรื่อง โคบุตร เป็นนิทานเรื่องแรกที่สุนทรภู่แต่งขึ้น และยังเป็นนิทานเรื่องแรก ที่แต่งโดยคำ
กลอน แต่งขึ้นเพื่อถวายเจ้านายในพระราชวังหลังพระองค์หนึ่ง 

                        แต่ปางหลังครั้งว่างพระศาสนา
                        เป็นปฐมสมมตกันสืบมา               ด้วยปัญญายังประวิงทั้งหญิงชาย
                        ฉันชื่อภู่รู้เรื่องประจักษณ์แจ้ง        จึงแสดงคำคิดประดิษฐ์ถวาย
                        ตามสติริเริ่มเรื่องนิยาย                    ให้เพริศพรายพริ้งเพราะเสนาะกลอน

นางฟ้าองค์หนึ่งตั้งจิตปรารถนาจะมีพระสวามีและโอรสกับพระอาทิตย์ ด้วยอำนาจแรงอธิษฐาน นางจึงไปจุติอยูในดอกบัวหลวง ณ เมืองมนุษย์ เมื่อพระอาทิตย์ทรงทราบจึงมาสมกับนางจนตั้งครรภ์ ครั้นนางคลอดโอรสแล้วก็ดับชีพกลับไปจุติบนสวรรค์ พระอาทิตย์จึงนำโอรสไปฝากให้ดื่มนมราชสีห์ จนกระทั่งพระกุมารเจริญวัยได้ ๑๐ ขวบ มีพละกำลังเป็นอันมาก

พระอาทิตย์ประทานนามโอรสว่าพระโคบุตรสุริยา ตามนามของพระชนก และนางราชสีห์ที่เลี้ยงดู พร้อมทั้งให้เครื่องประดับกายซึ่งเป็นทิพศาสตราสำหรับ ป้องกันตัวและใช้เหาะเหินได้ แล้วบอกให้พระโคบุตรเดินทางไปยังถิ่นต่าง ๆ และหาเนื้อคู่ซึ่งอยู่ทางทิศบูรพาของเมืองพาราณสี พระโคบุตรจึงตัดสินใจลาราชสีห์ ออกเดินทางไปตามคำของพระบิดา ก่อนเดินทาง ราชสีห์ได้ให้ยาสำหรับพ่นผู้ที่ตายแล้วให้ฟื้นคืนชีพ ซึ่งเป็นของวิเศษอีกอย่างหนึ่ง

พระโคบุตรเหาะมาเห็นยักษ์ ๔ ตน กำลังไล่จับกุมารสองคนในสระกลางป่า จึงตรงเข้าช่วยเหลือและฆ่ายักษ์ตาย เมื่อไต่ถามทราบว่าพระกุมารนั้นคือ นางมณีสาคร และพระอรุณ พระธิดาและพระโอรสของท้าวพรหมทัต กรุงพาราณสี ที่หนีออกจากเมืองเพราะถูกราชปุโรหิตชิงบัลลังก์ พระโคบุตรจึงคิดจะช่วยเหลือ แล้วพ่นยาวิเศษให้ยักษ์ทั้ง ๔ ตน กลับมีชีวิตเพื่อไม่ให้เป็นเวรกรรมต่อกัน จากนั้นพระโคบุตร พร้อมด้วยนางมณีสาครพระอรุณและยักษ์ ๔ ตนไปช่วยกู้บัลลังก์คืนได้สำเร็จแล้ว ชุบชีวิตท้าวพรหมทัตกับพระนางประทุมทัศมเหสี ส่วนปุโรหิตและบุตรที่คิดการร้าย ท้าวพรหมทัตมีรับสั่งให้แห่ประจานทั่วเมืองแล้วนำไปถ่วงน้ำที่ทะเลหลวง

ท้าวพรหมทัตมีพระราชประสงค์จะยกเมืองพาราณสีพร้อมทั้งพระธิดาและ พระโอรสให้แก่พระโคบุตร ทั้งทรงเห็นว่าพระโคบุตรกับพระธิดามณีสาครคู่ควรกัน แต่ด้วยทั้งสององค์ยังอยู่ในวัยเด็ก จึงได้แต่ชักชวนให้พระโคบุตรอยู่ที่เมืองพาราณสีระยะหนึ่งก่อน ต่อมาพระโคบุตรต้องการเดินทางไปตามความประสงค์ของพระบิดา จึงขอลาท้าวพรหมทัตไปประพาสป่าท้าวพรหมทัตมิอาจทัดทานได้จึงให้พระอรุณติดตามไปด้วย ทั้งสององค์เหาะเหินเดินทางและผจญภัยต่างๆ นับตั้งแต่สู้รบและฆ่าพวกวิทยาธรตายแล้วชุบให้เป็นขึ้น อีกทั้งรบกับหัศกัณฐมัจฉาที่ฆ่าไม่ตาย เพราะได้รับพรจากพระอิศวร จนพระโคบุตรต้องไปเชิญพญาวานรที่เขาเหมรามาช่วยรบจึงสังหารได้สำเร็จ และยังมีนางยักขิณีซึ่งแปลงเป็นนางงามมาล่อลวงให้เข้าเมืองเนรมิต ครั้นพระโคบุตรรู้ความจริงก็มิได้ฆ่าเพราะเห็นว่าเป็นสตรี แต่สั่งสอนและให้นางยักษ์สัญญาว่าจะไม่ฆ่าสัตว์ตลอดชีวิต เพื่อไม่ให้เป็นบาปติดตัวไปชาติหน้า

จากนั้นพระโคบุตรและพระอรุณเดินทางต่อไปตามทิศที่พระอาทิตย์บอก ระหว่างทางได้พบนกสาลิกาพูดได้อย่างมนุษย์ แล้วพากันเหาะมาจนถึงเมืองกาหลงของท้าววิหลราช ซึ่งมีพระธิดาโฉมงามทรงพระนามว่านางอำพันมาลา พระโคบุตรให้นกสาลิกาถือสารไปถวายนางถึงปราสาทที่ประทับ แล้วพระโคบุตรเข้าหานางอำพันมาลา ท้าววิหลราชสังเกตเห็นความผิดปกติ จึงสั่งให้เสนาทำพระแท่นบรรทมที่มียักษ์พยนต์มาประทานแก่นางอำพันมาลา เพื่อจับคอยผู้ที่ลอบเข้าปราสาทพระธิดา แต่พระธำมรงค์และพระสังวาลประดับกายช่วยป้องกันไว้ พระโคบุตรจึงพานางอำพันมาลาพร้อมด้วยพระอรุณและนกสาลิกาเหาะกลับเมืองพาราณสี

เมื่อพระโคบุตรเดินทางมาถึง ได้พบนางมณีสาครซึ่งมีสิริโฉมงดงามเพิ่งแรกรุ่นก็มีจิตประดิพัทธ์ จึงทูลท้าวพรหมทัตว่าจะอภิเษกนางมณีสาครที่ทรงยกให้ตั้งแต่เด็กเป็นมเหสีฝ่ายขวา ส่วนนางอำพันมาลาให้เป็นมเหสีฝ่ายซ้าย ท้าวพรหมหัตจึงกำหนดพิธีอภิเษกสมรสพระโคบุตรกับสองนาง เมื่อพระอาทิตย์ทรงทราบจึงมาช่วยสร้างเมืองเนรมิตให้แก่พระโคบุตร นามว่าปราการบรรพต และจัดการอภิเษกให้ แล้วพระโคบุตรครองเมืองต่อมาจนมีเมืองขึ้นจำนวนมาก ฝ่ายนางอำพันมาลาทรงครรภ์ และน้อยพระทัยที่พระโคบุตรโปรดปรานแต่นางมณีสาคร จึงปรึกษากับสาวใช้คนสนิทลอบให้เถรกระอำทำเสน่ห์พระโคบุตร นางมณีสาครจึงวานนกสาลิกาถือสารไปบอกพระอรุณให้มาช่วยเหลือ พระอรุณจึงเดินทางมากับยักษ์ ๔ ตน ช่วยจับเสน่ห์เถรกระอำได้สำเร็จ เมื่อพระโคบุตรทราบความก็ทรงพระพิโรธมาก จึงสั่งประหารนางอำพันมาลาพร้อมกับเถรกระอำและสาวใช้ พระอรุณทูลขอให้ยกโทษประหารนางอำพันมาลาไว้ได้ แต่นางยังต้องโทษเนรเทศ ให้ออกไปจากเมืองพาราณสี

นางอำพันมาลาได้รอนแรมอยู่ในป่าจนสลบไป   หลังจากนางอำพันมาลาสลบอยู่กลางป่า ราชสีห์ที่เลี้ยงดูพระโคบุตรเมื่อครั้งเยาว์วัยมาพบเข้า จึงได้พาไปอาศัยอยู่ด้วยจนนางให้กำเนิดโอรสที่มีใบหน้าละม้ายคล้ายพระโคบุตรยิ่งนัก ด้วยความสงสัย ราชสีห์จึงได้ถามจนทราบความว่าเรื่องมีที่มาอย่างไร ราชสีห์จึงพานางอำพันมาลาไปเข้าเฝ้าพระโคบุตรทันที   เมื่อได้เห็นหน้าโอรสน้อย พระโคบุตรก็ใจอ่อน จึงรับนางอำพันมาลาซึ่งสำนึกผิดแล้วและพระโอรสกลับเข้ามาอยู่ในเมือง ซึ่งขณะนั้น นางมณีสาครเองก็มีโอรสน้อยเช่นกัน พระโคบุตรจึงตั้งชื่อโอรสอันเกิดจากนางมณีสาครว่า มณีสุริยัน และตั้งชื่อโอรสอันเกิดจากนางอำพันมาลาว่า อำพันสุริยา
        กล่าวถึง ตะวันยักษ์นาคา สหายของหัสกัณฐ์มัจฉา เกิดความแค้นที่พระโคบุตรสังหารสหายของตน จึงได้ส่ง นางมณีกลีบสมุทร ซึ่งเป็นธิดา ให้ไปจับตัวพระโคบุตรมาให้ตนสังหารเสีย ซึ่งนางมณีกลีบสมุทรได้แปลงกายเป็นสาวสวยเข้ามายั่วยวนจนพระโคบุตรหลงใหล

วันเวลาผ่านไปจนนางมณีกลีบสมุทรตั้งครรภ์อ่อนๆ ก็นึกถึงหน้าที่บิดาของตนสั่งมาได้ จึงจับตัวพระโคบุตรไปให้ตะวันยักษ์นาคา แต่ก็ขอร้องให้บิดาไว้ชีวิตพระโคบุตรด้วย เพื่อเห็นแก่ลูกในท้องของตน ในที่สุด ตะวันยักษ์นาคาก็ใจอ่อน จึงยอมปล่อยพระโคบุตรไปพระโคบุตรและมเหสีทั้งสามจึงปกครองเมืองปราการบรรพตสงบสุขนับแต่นั้นมา

วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

แซม ยุรนันท์ ภมรมนตรี

 

ประวัติ แซม ยุรนันท์ ภมรมนตรี



แซม ยุรนันท์ ภมรมนตรี เกิดวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2505 ที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายของ พลโท ประยูร ภมรมนตรี หนึ่งในคณะราษฏร์ 2475 และนางเรณู ภมรมนตรี (นามสกุลเดิม พิบูลภานุวัฒน์) รองนางสาวไทย ประจำปี พ.ศ.2491 มีพี่ชายคือ นายยอดมนู ภมรมนตรี พิธีกรรายการโทรทัศน์ อดีตผู้ประกาศข่าว อดีตนักแสดงภาพยนตร์ อดีตนักร้อง และอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้านการศึกษา แซม จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เรียนจบการโฆษณา จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร จบระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จบระดับปริญญาโท จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศึกษาในระดับปริญญาเอก Ph.D. Candidate สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย แต่เพราะมีเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง จึงทำให้ต้องหยุดการศึกษาต่อด้านนี้ไป และได้ศึกษาต่อจนจบหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Science) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Program in Anti-Aging and Regenerative Science) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปัจจุบันแซมเป็นนักแสดงรุ่นใหญ่มากฝีมือ ที่มีผลงานให้ได้ชมอย่างต่อเนื่อง 

ด้านชีวิตในวงการบันเทิง แซม ยุรนันท์ มีผลงานมากมายทั้งด้านการแสดง พิธีกร และนักร้อง ผลงานแรกของแซมคือ ภาพยนตร์เรื่อง กำแพงหัวใจ ในปี พ.ศ.2524 โดยรับบทเป็นน้องชายของ เปิ้ล จารุณี สุขสวัสดิ์ โดยแซมเคยมีผลงานการแสดงทั้งภาพยนตร์และละครที่โดดเด่น อาทิ ปีกมาร คู่กับ นาถยา แดงบุหงา , สวรรค์เบี่ยง คู่กับ มนฤดี ยมาภัย , มายาตวัน คู่กับ ชฎาพร รัตนากร เป็นต้น

ด้านชีวิตส่วนตัว แซม ยุรนันท์ สมรสกับ มุก มาริษา ภมรมนตรี (นามสกุลเดิม สุจริตกุล) มีบุตรชาย คือ ยุรการ ภมรมนตรี และบุตรสาว คือ ยุรริษา ภมรมนตรี นอกจากงานในวงการบันเทิงแล้ว แซมยังทำธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ โดยเป็นคณะกรรมการบริษัทพานาซี เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ) ในปี พ.ศ. 2556























วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

นารายณ์ปราบนนทก

ชาติก่อนของทศกัณฐ์คือ นนทก 
นนทกนั้นเคยเป็นพราหมมาก่อน มีนามว่าอนัตพรหม แต่อนัตพรหมนั้นแม้จะเป็นพรหมกลับมีใจอิจฉาริษยาพรหมรุ่นน้องที่พระอิศวรแต่งตั้งข้ามหัวตน อนันตพรหมจึงไม่เข้าร่วมเทวะสมาคมกับพรหมอื่นๆ และมิหนำซ้ำยังไม่ไปเข้าร่วมฉลองให้กับพระอิศวร ทำให้พระอิศวรโกรธมากจึงสาปให้อนันตพรหมกลายเป็นยักษ์ นามว่านนทก แล้วให้อยู่ที่เชิงเขาไกรลาสคอยล้างเท้าเหล่าเทวดาเป็นเวลาโกฏิปี
นนทกนั่งประจำอยู่ที่บันไดของเขาไกลลาส โดยมีหน้าที่ล้างเท้าให้แก่เหล่าเทวดาที่มาเข้าเฝ้าพระอิศวร เหล่าเทวดาให้นนทกเท้าให้ล้างแล้วมักแหย่เย้าหยอกล้อ นนทกอยู่เป็นประจำ เพราะเห็นนนทกเป็นยักษ์รูปร่างน่าเกลียด ด้วยการลูบหัวบ้าง ถอนผมบ้าง จนกระทั่งหัวของนนทกโล้นทั้งศรีษะ นนทกแค้นใจมาก แต่ตนเองไม่มีกำลังจะสู้ได้ จึงไปเข้าเฝ้าพระอิศวร
นนทกกราบทูลว่า พระอิศวรเป็นผู้ครองโลก ย่อมมีความเมตตาปรานี ใครที่กระทำแต่ความดี เมื่อขอสิ่งใดย่อมได้รับตามคำขอ ตนได้ทำงานรับใช้พระอิศวรมานาน ยังไม่เคยได้รับสิ่งตอบแทนใดๆเลย
พระอิศวรมีจิตเมตตา เห็นนนทกเศร้าโศกเสียใจ จึงมีรับสั่งว่า “นนทกต้องการสิ่งใดก็จงรีบบอก พระอิศวรจะได้จะประทานพรให้
นนทกอ้างว่า เพื่อป้องกันตนเองถูกรังแก จึงขอพรว่า “ให้นิ้วข้าเป็นเพชรมีฤทธิ์ที่สามารถชี้ใครก็ตาย จะได้เป็นข้ารับใช้ ไปกว่าจะสิ้นชีวิต”
ครั้นพระอิศวรได้รับฟังความทุกข์ใจของนนทก และการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าเบื้องพระพักตร์ว่า “จะทำหน้าที่ด้วยความสัตย์สุจริตและด้วยความจงรักภักดี ด้วยความเมตตาพระอิศวรจึงประทานพรให้” เมื่อนนทกได้รับพรจากพระอิศวรตามที่ขอ จึงลาพระอิศวรกลับไปยังบันไดเขาไกรลาส
นนทกมีหน้าที่ล้างเท้าให้เหล่าเทวดา จากเดิมที่ไม่ได้มีฤทธิ์เดชแต่ประการใด แต่กลับมีฤทธิ์เดชมาก คือ มีนิ้วชี้เป็นเพชร ชี้ใครให้ตายก็ได้ นนทกได้ฤทธิ์และอำนาจแล้วเกิดความยินดีระเริงใจ เกิดความหลงติดยึดว่า ฤทธิ์และอำนาจนั้นเป็นของตน ไม่มีผู้ใดในสามโลกต่อสู้ต้านทานได้ จึงลืมคำที่ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระอิศวร
นนทกล้างเท้าให้เหล่าเทวดา เหล่าเทวดาก็กลั่นแกล้งนนทก สัพยอกหยอกเล่นเหมือนเช่นเคยทุกวันอย่างสนุกสนาน
นนทกจึงเกิดความโกรธแค้นเกินจะยับยั้งใจได้จึงแผลงฤทธิ์ชี้นิ้วเพชรไปยังเทวดานางฟ้าทันที
ในตอนนั้นเองเหล่าเทวดา ไม่ว่าจะเป็นครุฑ ชาวสวรรค์ที่มีความสามารถในวิชาดนตรีและขับร้อง ต่างมาเข้าเฝ้าพระอิศวร
เมื่อถึงเขาไกรลาสแล้ว เหล่าเทวดาต่างพากันไปที่บันไดเขาไกรลาส
เมื่อนั้นพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ในชั้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เห็นนนทกทำอำนาจศักดิ์สิทธิ์ชี้หมู่เทวดาตายก็ตกใจชะงักงันนิ่งอึ้งไปชั่วขณะใคร่ครวญคิดใครเป็นผู้ประทานพรให้นนทกมาฆ่าเหล่าเทวดา คิดแล้วขึ้นเฝ้าพระอิศวร
พระนารายณ์ กราบทูลพระอิศวรว่ายักษ์อสรูนนทกที่เคยรับใช้ถวายงานพระอิศวรอยู่ที่เชิงเขาไกรลาสนั้น บัดนี้กลับกลายเป็นอันธพาลอาศัยนิ้วเพชรที่พระอิศวรเป็นเจ้าประทานพรให้มา บังอาจเข่นฆ่าราวีเทวดา ครุฑ นาค และคนธรรพ์ทั้งปวงจนเดือดร้อนทั่วไตรภพ
การกระทำรุนแรงของนนทกในครั้งนี้ ทราบถึงองค์พระอิศวร พระอิศวรเห็นว่านนทกทำหน้าที่ด้วยความสัตย์สุจริตและด้วยความจงรักภักดี ด้วยความเมตตาพระอิศวรจึงประสิทธิประสาทให้พร แต่นนทกกลับใช้อำนาจไปในทางที่ผิด
พระอิศวรพินิจเล็งเห็นว่า คงไม่มีผู้ใดเหมาะที่จะปราบปรามนนทกได้ นอกจากพระนารายณ์ จึงตรัสให้เชิญพระนารายณ์ไปปราบนนทก
พระนารายณ์รับคำสั่งจากพระอิศวรให้ไปปราบนนทก พระนารายณ์จึงแปลงโฉมเป็นนางเทพอัปสรที่สวยสดงดงามกว่าใครในสามโลก
พระนารายณ์ได้รับทราบโองการจึงเสด็จมายังเชิงเขาไกรลาสและคิดหาวิธีปราบนนทก โดยจำแลงเป็นนางเทพอัปสร รูปร่างหน้าตาหมดจดงดงาม เข้าไปพูดจาล่อลวงยั่วยวนนนทก
นนทกเสร็จสิ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ล้างเท้าให้เหล่าเทวดาแล้ว ก็รู้สึกสบายใจ
ครั้นนนทกได้เห็นนางอัปสรที่มีรูปโฉมงามเกินกว่าใคร หน้าผ่องใส ปากสวย ผมสวย ตาสวย มือสวย สวยเหมือนนางฟ้า ก็หลงรักหลงชอบนางอัปสรทันที นนทุกจึงคิดเข้าเกี้ยวนางอัปสรผู้เลอโฉม
นนทกเย้าหยอกนางอัปสร นนทกถามนนทกว่า นางอัปสรชื่ออะไร ทำไมจึงมาเดินอยู่แถวนี้ ขอให้บอกมา
พระนารายณ์แปลงกายเป็นนางอัฟสร ชำเลืองมองนนทกแล้วถามนนทกว่า นนทกมาลวงถามและลวนลามนาง ไมมีความเกรงใจ นางเป็นนางรำของพระอินทร์ชื่อสุวรรณอัปสร มีความทุกข์จึงเที่ยวเล่นมาเพื่อหวังให้คลายร้อน
นนทกได้ฟังคำของนางอัปสร นนทกจึงตอบนางอัปสรว่า นางอัปสรเป็นหญิงที่มีความงดงามทั้งกายและมีวาจาที่ไพเราะ เหมาะสมแล้วที่จะเป็นนางรำ หากเราเคยมีวาสนาต่อกันมา เราคงจะได้เป็นคู่กัน พี่ไม่ได้คิดลวนลามน้องนางแต่อย่างใด
นางอัปสรค้อนแล้วตอบนนทกว่า นางรู้นนทกคิดดจะจิตผูกพันนางนั้น นางก็รู้ นางเป็นนางรำหากจะมีจิตผูกพัน ก็จงรำไปพร้อมกับนาง หากรำได้และรำตาม นางจึงจะมีไมตรีจิตผุกพันกลับไป
นนทกไม่รู้ว่าพระนารายณ์แปลงกายเป็นนางอัปสร นนทกรู้สึกหลงรักนางอัปสรเป็นอย่างมาก นนทกพูดกับนางอัปสรว่า “อย่าได้วิตกไปเลย พี่เป็นข้ารับใช้พระอิศวรมานาน เชิญเจ้าร่ายรำเถอะ ให้หมดทุกท่าที่เจ้าจำได้ พี่จะรำตามน้องหมดทุกท่าที่น้องรำมา” พระนารายณ์เห็นนทกหลงกลตน จึงยั่วยวนนทกให้รำตาม
พระนารายณ์ที่แปลงกายเป็นนางอัปสรร่ายรำในท่าต่างๆ ได้แก่ เทพนม ปฐม พรหมสี่หน้า​สอดสร้อยมาลา เฉิดฉิน กวางเดินดง หงส์บิน กินรินเลียบ ช้านางนอน ภมรเคล้า แขกเต้าเข้ารัง ผาลาเพียงไหล่ เมขลาล่อแก้ว มยุเรศฟ้อน ลมพัดยอดตอง พรหมนิมิต พิสมัยเรียงหมอน มัจฉาชมสาครพระสี่กรขว้าง ถึงท่านาคาม้วนหางวง ด้วยฤทธิ์เดชนิ้วเพชรของนนทก ทำให้นนทกขาหักล้มลง​ นางกลายเป็นองค์นารายณ์ไป เหยียบไว้จะสังหารราญรอน ฯ
นนทกเห็นนางอัปสรแปลงกายเป็นพระนารายณ์ นนทกก็รู้ว่าตนโดนลวงเพื่อที่จะฆ่า จึงถามว่าตนทำผิดอะไร
พระนารายณ์ฟังคำของนนทก มีจึงบอกกับนนทกว่า โทษของนนทกใหญ่หลวงมาก นนทกทะนงใจไม่เกรงกลัวพระอิศวร เข่นฆ่าเหล่าเทวดา โทษของนนทกมีเพียงความตายเท่านั้น พระนารายณ์มีจิตเมตตา แต่เป็นคำสั่งพระอิศวร พระนารายณ์จึงไม่สามารถไว้ชีวิตนนทกได้ พูดแล้วก็แกว่งตรีออกไป แสงกระจายอย่างไฟบรรลัยกัลลป์

เมื่อนนทกได้ฟังแทนที่จะสำนึก กลับยอกย้อนพระนารายณ์คืนว่า 

บัดนั้น                              นนทกผู้ใจแกล้วหาญ
ได้ฟังจึงตอบพจมาน        ซึ่งพระองค์จะผลาญชีวี
เหตุใดมิทำซึ่งหน้า            มารยาเป็นหญิงไม่บัดสี
ฤาว่ากลัวนิ้วเพชรนี้          จะชี้พระองค์ให้บรรลัย
ตัวข้ามีแต่สองมือ             ฤาจะสู้ทั้งสี่กรได้

แม้สี่มือเหมือนพระองค์ทรงชัย     ที่ไหนจะทำได้ดังนี้ ฯ

พระนารายณ์จึงให้โอกาสแก่นนทกมาสู้กันใหม่ในชาติหน้า โดยกล่าวว่า

ชาตินี้มึงมีแต่สองหัตถ์                จงไปอุบัติเอาชาติใหม่
ให้สิบเศียรสิบพักตร์เกรียงไกร           เหาะเหินเดินได้ในอัมพร
มีมือยี่สิบซ้ายขวา                       ถือคฑาอาวุธธนูศร
กูจะเป็นมนุษย์แต่สองกร            ตามไปราญรอนชีวี

สิ้นคำสาป พระนารายณ์จึงใช้พระแสงตรีตัดเศียรของนนทกขาดกระเด็น
เมื่อนนทกตายแล้วจึงไปเกิดเป็นโอรสของท้าวลัสเตียนและ พระนางรัชดาเทวี ชื่อว่าทศกัณฐ์ แปลว่าผู้มีสิบหู มีน้องชาย 2 คน ชื่อ พิเภกและกุมภกรรณ และมีน้องสาวชื่อนางสำมนักขา ต่อมาทศกัณฐ์ได้ไปศึกษาพระเวทย์กับฤๅษีโคบุตร

ส่วนพระนารายณ์ได้อวตารลงมาเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาในนาม “พระราม” มี 2 มือ 2 ขา และจะตามฆ่าเอาชีวาของทศกัณฐ์อีกต่อไป

เนื้อเพลง