วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

 ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช 

      

เป็นนักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2528 เป็นน้องชายแท้ ๆ ของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี 4 สมัย สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกทั้งคู่ว่า “หม่อมพี่ หม่อมน้อง”

ประวัติ

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เกิดวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2454 ในเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ณ ตำบลบ้านม้า อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นโอรสคนสุดท้อง ในบรรดาโอรส-ธิดา ทั้ง 6 คน ของ พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) ชื่อ "คึกฤทธิ์" นั้นมาจากการที่ชอบร้องไห้เสียงดังในวัยทารก จึงได้รับพระราชทานนามนี้จาก สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

การศึกษา

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เริ่มต้นเรียนหนังสือที่บ้าน กับหม่อมราชวงศ์บุญรับ พี่สาวคนโต จนอ่านภาษาไทยได้ตั้งแต่อายุ 4 ปี กระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2458 เขาจึงเข้าศึกษาภาคบังคับ ที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (วังหลัง) จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเดินทางไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนเทรนต์วิทยาลัย (Trent College) จากนั้นสอบเข้าวิทยาลัยควีนส์ (The Queen's College) แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (University of Oxford) เพื่อศึกษาวิชาการปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ โดยสำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยม และอีกสามปีต่อมา ก็สำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน

ครอบครัว

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ สมรสกับ หม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2479 มีบุตรธิดา 2 คน คือ หม่อมหลวงรองฤทธิ์ ปราโมช และ หม่อมหลวงวิสุมิตรา ปราโมช ต่อมาได้แยกกันอยู่กับหม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง ซึ่งแม้จะหย่าขาดจากกัน แต่ต่างก็ไม่สมรสใหม่ และไม่ได้โกรธเคืองกัน โดย ม.ร.ว.พักตร์พริ้งอยู่กับลูกชายคือ ม.ล.รองฤทธิ์ ที่บ้านในซอยสวนพลู ติดกับบ้านของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และยังไปมาดูแลทุกข์สุขกันเสมอ

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์พักอยู่ที่บ้านในซอยพระพินิจ ซึ่งเป็นซอยย่อยอยู่ในซอยสวนพลู ถนนสาทรใต้ เขตสาทร บ้านหลังนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า "บ้านซอยสวนพลู"

การทำงาน

ชีวิตการทำงานในวัยต้น ท่านเริ่มทำงานที่กรมสรรพากร และถูกเกณฑ์ทหารตอนสงครามอินโดจีน ได้ยศสิบตรี

          จากนั้นไปทำงานธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ลำปาง และกลับมาทำงานธนาคารแห่งประเทศไทยที่กรุงเทพฯ

          กระทั่ง เมื่อท่านเข้าสู่แวดวงการเมือง ท่านยังเป็นนักการเมืองแถวหน้า ที่เป็นผู้ก่อตั้ง “พรรคก้าวหน้า” เมื่อปี 2488 ซึ่งต่อมาได้ยุบรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ในปีถัดมา

          กล่าวคือ รอยต่อระหว่างนั้น "ควง อภัยวงศ์" ได้ชวนท่านไปก่อตั้งพรรคใหม่ชื่อ “ประชาธิปัตย์” ซึ่งควงดำรงตำแห่งหัวหน้าพรรค ส่วน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นเลขาธิการพรรค อยู่สู้ในสภา 2 ปี ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ก็ได้เป็น รมช.กระทรวงการคลัง ในรัฐบาลชุดควง อภัยวงศ์

          ต่อมาเมื่อปี 2490 พลโทผิน ชุณหะวัณ ทำรัฐประหาร แต่ยังไม่พร้อมจะจัดตั้งรัฐบาลของตนเอง จึงไปชวนควง อภัยวงศ์ กลับมาเป็นนายยกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง

          ครั้งนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีลอย สั่งราชการกระทรวงการคลัง แต่อยู่ได้เพียง 5 เดือน จอมพลป.พิบูลสงคราม ก็ขึ้นบริหารประเทศแทน

          แต่แล้ววันที่ 16 ก.ย. 2491 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ประกาศลาออกจากการเป็น ส.ส. และหันหลัง ลาออกไปจากกพรรคประชาธิปัตย์ เพราะท่านคัดค้านการขึ้นเงินเดิอน ส.ส.

          จากนั้น ท่านก็ได้ยุติบทบาททางการเมืองอยู่นาน และอย่างไรก็ดี ระหว่างนั้นเอง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้หันไปหยิบจับงานสื่อสารมวลชน เกิดเป็นหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน เป็นของตนเอง ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493

          จนหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จึงจัดตั้งและเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง “กิจสังคม”


หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เป็นบุคคลที่มีบุคลิกและบทบาทที่หลากหลาย มีชื่อเสียงในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการประพันธ์ การแสดง และยังเป็นนักการเมือง เป็นผู้ก่อตั้งพรรคก้าวหน้า เมื่อ พ.ศ. 2488 ต่อมาได้ยุบรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ในปีถัดมา ต่อมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2493 

และก่อตั้งพรรคกิจสังคม เมื่อ พ.ศ. 2517 และได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2518 ต่อจากหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ซึ่งกลับมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ต่อจากนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เมื่อวันที่15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 แต่หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งนี้เพียง 27 วันก็พ้นตำแหน่งเนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจในการแถลงนโยบาย

 เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยสามารถเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลทั้งที่มีจำนวน ส.ส. ในมือเพียง 18 คน รัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ในครั้งนั้นมี บุญชู โรจนเสถียร ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคกิจสังคม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบาย "เงินผัน" เป็นที่รู้จักเลื่องลือทั่วไปในสมัยนั้น

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ได้รับฉายาจากนักการเมือง และสื่อมวลชนมากมาย เช่น "เฒ่าสารพัดพิษ" "ซือแป๋ซอยสวนพลู" ภายหลังเมื่อมีอายุ จนสามารถแสดงความเห็นทางการเมือง ได้อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลใด ๆ จึงได้รับฉายาว่า "เสาหลักประชาธิปไตย" นอกจากนี้ อีกฉายาหนึ่งที่ใช้เรียก หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ในบางแห่งคือ "หม่อมป้า"

ในด้านวรรณศิลป์ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ มีผลงานหนังสือที่มีชื่อเสียงระดับประเทศมากมาย ที่ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น สี่แผ่นดินไผ่แดงกาเหว่าที่บางเพลงหลายชีวิตซูสีไทเฮาสามก๊กฉบับนายทุน และเรื่องสั้น "มอม" ซึ่งได้ใช้เป็นบทความประกอบแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน บางชิ้นมีผู้นำไปทำเป็นละครโทรทัศน์ เช่น สี่แผ่นดินหลายชีวิต และทำเป็นภาพยนตร์ เช่น กาเหว่าที่บางเพลง


หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช สิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรีเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป เมื่อปีพ.ศ. 2519 เป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 13 

การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดเนื่องจาก หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ได้ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาสภาผู้แทนราษฎรขึ้น เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2519 เนื่องจากรัฐบาลประสบปัญหาหลายประการทั้งการเมืองและการเรียกร้องต่าง ๆ ของประชาชนทั่วประเทศ โดยให้มีการเลือกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน ปีเดียวกัน

ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ โดยการนำของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรค ซึ่งเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีและเป็นพี่ชายของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยได้รับเลือกมาเป็นอันดับหนึ่ง ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทั้งหมดถึง 114 คน จากจำนวน ส.ส.ทั้งหมดที่จะมีได้ คือ 279 คน นับว่ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวง พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.มากถึง 24 คน ถือว่าได้ยึดครองพื้นที่ทั้งหมดของกรุงเทพฯไว้ได้ ขณะที่พรรคกิจสังคม ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ได้ ส.ส.มาทั้งหมด 45 คน ถือเป็นอันดับสาม โดยที่พรรคชาติไทยได้เป็นอันดับสอง คือ 56 ที่นั่ง 

มีการวิเคราะห์กันว่า พรรคกิจสังคมของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะการบริหารราชการที่ผ่านมาจากการยกเลิกความร่วมมือทางการทหารกับทางสหรัฐอเมริกา โดยไปเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์แทน อีกทั้งตัวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เองในครั้งนี้ก็ยังพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้แก่ นายสมัคร สุนทรเวช นักการเมืองหนุ่ม ผู้เป็นเสมือนดาวรุ่งในขณะนั้นของพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่เขตดุสิต ซึ่งเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของตนเองด้วย

การจัดตั้งรัฐบาลเกิดขึ้นโดยเป็นรัฐบาลผสม 4 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์, พรรคชาติไทย, พรรคธรรมสังคม และพรรคสังคมชาตินิยม รวมกันแล้วมีจำนวนเสียง ส.ส.ทั้งหมด 206 เสียง ถือว่าเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร

ในวันที่ 20 เมษายน ปีเดียวกัน มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 ของ ม.ร.ว.เสนีย์ ที่ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


รวมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 1 ปี 37 วัน 

14 มีนาคม พ.ศ. 2518 - 20 เมษายน พ.ศ. 2519


หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ณ โรงพยาบาลสมิติเวช รวมอายุ 84 ปี 172 วัน


 ปลายปี พ.ศ. 2551 กระทรวงวัฒนธรรมเสนอชื่อหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลสำคัญของโลกต่อยูเนสโก โดยมีทั้งเสียงสนับสนุน และคัดค้าน 

ต่อมาในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลสำคัญของโลก ใน 4 สาขา ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล พ.ศ. 2554  นับเป็นคนไทยลำดับที่ 20

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เนื้อเพลง