วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2566

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

 


ก่อนครองราชย์

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระนามเดิมว่า ฉิม ทรงประสูติเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 คํ่า เดือน 3 ปีกุน

เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ขณะทรงมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงยกรบัตรเมืองราชบุรี) ประสูติแต่ท่านผู้หญิงนาค (ภายหลังเฉลิมพระนามเป็นสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) เมื่อเจริญพระชนม์ได้ทรงศึกษาในสำนักพระพนรัตน์ (ทองอยู่) วัดบางว้าใหญ่ และได้ติดตามสมเด็จพระบรมชนกนาถไปในการสงครามทุกครั้ง

ในปี พ.ศ. 2349 เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถปราบดาภิเษกแล้ว จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ถึงวันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีขาล พ.ศ. 2449 (นับแบบปัจจุบันเป็นวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2350) จึงได้รับอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล


พระราชกรณียกิจที่สําคัญ

          พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์ และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา
          พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป
          พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ )
          พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา
          พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร"
          พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามตําบลลาดหญ้า และทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
          พ.ศ. 2330 ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตําบลท่าดินแดง และตีเมืองทวาย
          พ.ศ. 2331 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์
          พ.ศ. 2336 โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย ครั้งที่ 2
          พ.ศ. 2349 ( วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 7 คํ่า ปีขาล ) ทรงพระชนมายุได้ 40 พรรษาได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งดํารงตําแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ. 2346

ครองราชย์

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชประชวรพระโสภะอยู่ 3 ปีก็เสด็จสวรรคตในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 73 พรรษา นับเวลาในการเสด็จครองราชย์ได้นานถึง 27 ปี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงได้สำเร็จราชการแผ่นดินต่อมา เมื่อจัดการพระบรมศพเสร็จแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์ขุนนางและพระราชาคณะจึงกราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นผ่านพิภพ

ต่อมาวันที่ 10 กันยายน พบหนังสือฟ้องว่าเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิตกับพวกร่วมกันคิดการขบถ ไต่สวนแล้วโปรดให้ประหารชีวิตทั้งหมดในวันที่ 13 กันยายน

การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจัดขึ้นในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2352 โดยย้ายมาทำพิธีที่หมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เนื่องจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทซึ่งสร้างขึ้นแทนพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทอันเป็นสถานที่ทำพิธีปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้นใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชอยู่ ในรัชกาลต่อ ๆ มาจึงใช้หมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานเป็นสถานที่จัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและใช้พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็นสถานที่ตั้งพระบรมศพ หลังจากเสร็จพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์จึงเสด็จเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราตามโบราณราชประเพณี


ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยหนึ่งเลยทีเดียว ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด จนมีคำกล่าวว่า "ในรัชกาลที่ 2 นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด" กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์เองแล้ว ยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ พระยาตรัง และนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) เป็นต้น

 พระองค์มีพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนานี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์ วรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ได้ยกย่องให้เป็นยอดบทละครรำที่แต่งดี ยอดเยี่ยมทั้งเนื้อความ ทำนองกลอนและกระบวนการเล่นทั้งร้องและรำ นอกจากนี้ยังมีละครนอกอื่น ๆ เช่น ไกรทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ หลวิชัยคาวี มณีพิชัย สังข์ศิลป์ชัย ได้ทรงเลือกเอาของเก่ามาทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่บางตอน และยังทรงพระราชนิพนธ์บทพากย์โขนอีกหลายชุด เช่น ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ และชุดพรหมาสตร์ ซึ่งล้วนมีความไพเราะซาบซึ้งเป็นอมตะใช้แสดงมาจนทุกวันนี้


นอกจากจะทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังได้ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร อันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งของไทยด้วยพระองค์เอง ซึ่งลักษณะและทรวดทรงของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นแบบอย่างที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 2 นี้เอง ส่วนด้านการช่างฝีมือและการแกะสลักลวดลายในรัชกาลของพระองค์ได้มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก และพระองค์เองก็ทรงเป็นช่างทั้งการปั้นและการแกะสลักที่เชี่ยวชาญยิ่งพระองค์หนึ่งอย่างยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียมได้ นอกจากฝีพระหัตถ์ในการปั้นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลกแล้ว ยังทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร คู่หน้าด้วยพระองค์เองร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี และทรงแกะหน้าหุ่นหน้าพระใหญ่และพระน้อยที่ทำจากไม้รักคู่หนึ่งที่เรียกว่าพระยารักใหญ่ และพระยารักน้อยไว้ด้วย

ด้านดนตรี

กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระปรีชาสามารถในด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านละครและฟ้อนรำ เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย ซึ่งซอคู่พระหัตถ์ที่สำคัญได้พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" และเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" หรือ "บุหลัน (เลื่อน) ลอยฟ้า" แต่ต่อมามักจะเรียกว่า "เพลงทรงพระสุบิน" เพราะเพลงมีนี้มีกำเนิดมาจากพระสุบิน (ฝัน) ของพระองค์เอง โดยเล่ากันว่าคืนหนึ่งหลังจากได้ทรงซอสามสายจนดึก ก็เสด็จเข้าที่บรรทมแล้วทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปยังดินแดนที่สวยงามดุจสวรรค์ ณ ที่นั่น มีพระจันทร์อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์ พร้อมกับมีเสียงทิพยดนตรีอันไพเราะยิ่ง ประทับแน่นในพระราชหฤทัย ครั้นทรงตื่นบรรทมก็ยังทรงจดจำเพลงนั้นได้ จึงได้เรียกพนักงานดนตรีมาต่อเพลงนั้นไว้ และทรงอนุญาตให้นำออกเผยแพร่ได้ เพลงนี้จึงเป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันกว้างขวางมาจนทุกวันนี้


    พระมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา


    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชโอรสพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 73 พระองค์ โดยประสูติเมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร 47 พระองค์ ประสูติเมื่อดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล 4 พระองค์ และประสูติภายหลังบรมราชาภิเษกแล้ว 22 พระองค์

    สวรรคต

    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระประชวรด้วยโรคพิษไข้ ทรงไม่รู้สึกพระองค์เป็นเวลา 8 วัน พระอาการประชวรก็ได้ทรุดลงตามลำดับ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริพระชนมพรรษาได้ 56 พรรษา และครองราชย์สมบัติได้ 15 ปี



    วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2566

    สิงโตฮกเกี้ยน

     


    福建 = ชาวฮกเกี้ยน / สิงโตฮกเกี้ยน
    (คณะสิงโตฮกเกี้ยน เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพเต้ออี้ถาง)

    สิงโตฮากกา

     


    客家 = ชาวฮากกา / สิงโตทองฮากกา
    (คณะสิงโตทองฮากกา นครสวรรค์)

    สิงโตปักกิ่ง

     


    潮州 = ชาวแต้จิ๋ว / สิงโตแต้จิ๋ว (ปักกิ่ง)
    (คณะสิงโต ปักกิ่ง กวางเจา เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ)

    สิงโตกวางตุ้ง

     






    廣東 = ชาวกวางตุ้ง / สิงโตกวางตุ้ง
    (สมาคมกว๋องสิว นครสวรรค์)

    เสือไหหลำ

     


    海南 = ชาวไหหนำ / เสือไหหลำ
    (คณะเสือไหหลํา ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม แควใหญ่ นครสวรรค์)

    ตำนานการเเสดง เสือเพียง 1 เดียว ที่อยู่รวมกับ 4สิงโต ก็คือ “เสือไหหลำ” นั่นเอง  การละเล่นที่ดุดัน เสียงเครื่องดนตรีเร้าใจ   บอกกล่าวเล่าขานถึงเนื้อเรื่องของการเเสดงว่า “เสือกินเด็ก”

    “เสือ” ตามความเชื่อของชาวจีนไหหนำ เป็นสัญลักษณ์ของ “เทพเจ้าบ๊วนเถ่ากง” หรือที่ชาวไทยรู้จักกันดีคือ “เจ้าพ่อเทพารักษ์” 

    เสือเป็นเสมือนสัตว์ที่คอยเบิกทางก่อนที่เทพเจ้าบ๊วนเถ่ากงจะเสด็จ คอยปกป้องภยันตรายสิ่งไม่ดีไม่งามมาย่างกราย ดังนั้นชาวไหหลำซึ่งนับถือเทพเจ้าบ๊วนเถ่ากง จึงนำเสือมาเป็นสัญลักษณ์ใช้เชิดในเทศกาลและงานพิธีมงคลต่างๆเพื่อให้ตนเองและครอบครัวประสพแต่โชคดี และนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล 

    สำหรับประวัติความเป็นมาของการเชิดเสือ มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ..

    ณ หมู่บ้านหนึ่งของอำเภอบุ้นเชียง ในหมู่เกาะไหหลำมีศาลเจ้าซึ่งเป็นที่ประดิษฐ์รูปจำลองของ “เทพเจ้าบ๊วนเถ่ากง” ซึ่งเป็นที่นับถือของชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น และที่บริเวณใกล้กับศาลเจ้าฯ เป็นที่อยู่ของเสือตัวหนึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นสัตว์ที่ “เทพเจ้าบ้วนเถ่ากง”เลี้ยงไว้ ซึ่งโดยปรกติเสือตัวนี้จะเป็นสัตว์ที่ไม่เคยทำอันตรายแก่ผู้ใด จวบจนวันหนึ่งมีเด็กชายซึ่งเป็นบุตรของหญิงในหมู่บ้านนั้น ด้วยความซุกซนจึงได้แหย่เสือตัวนี้ซึ่งกำลังหลับอยู่ เสือตัวนี้จึงตื่นขึ้นมาด้วยความโกรธ จึงคำรามลั่นและมุ่งตรงเข้ามาทำร้ายเด็กและได้กลืนเด็กลงท้องไปเรื่องรู้ถึงแม่ของเด็กก็ตกใจจึงได้ออกตามผู้กล้าทั้งหลายในหมู่บ้านให้มาช่วยเหลือลูกของตนแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ แม่ของเด็กก็เศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ความล่วงรู้ถึง “เทพเจ้าบ๊วนเถ่ากง” ด้วยทิพย์ญาณที่เสือได้กลืนเอาเด็กลงท้อง จึงบัญชาให้องครักษ์ 2 องศ์มาช่วยชีวิตเด็ก ดังนั้นองครักษ์ทั้ง 2 องค์จึงได้ปรากฏกายมาสยบเสือและได้ช่วยให้เสือยอมคายเด็กออกมาโดยปลอดภัย 

    ดังนั้นชาวจีนไหหลำได้นำตำนานเรื่องนี้ มาเป็นการแสดงในตอนหนึ่งของการเชิดเสือ และเมื่อชาวจีนไหหลำได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารที่ชุมชนปากน้ำโพจังหวัดนครสวรรค์ จึงได้น้ำเอาวัฒนธรรมประเพณีของการเชิดเสือเข้ามาเผยแพร่ให้ลูกหลานของชนรุ่นหลังได้สืบทอดวัฒนธรรมการเชิดเสือจนแพร่หลาย และยังได้อัญเชิญ “เทพเจ้าบ๊วนเถ่ากง” มาประดิษฐ์สถานเพื่อสักการบูชา ซึ่งปัจจุบันองค์จำลองของ “เทพเจ้าบ๊วนเถ่ากง” หรือ “เจ้าพ่อเทพารักษ์” ได้ประดิษฐานรวมกับ “เจ้าพ่อกวนอู” “เจ้าแม่ทับทิม” “เจ้าแม่สวรรค์” ณ ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ เจ้าแม่ทับทิมแควใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามตลาดปากน้ำโพซึ่งเป็นจุดกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา ..


    วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566

    ตุ๊กตาล้มลุก



    จงทำตัวแบบตุ๊กตาล้มลุก
    เพราะ "ไม่ว่าจะล้มกี่ครั้ง"
    ก็จะลุกขึ้นมาใหม่อย่าง "เข้มแข็งเสมอ"

    คุณย่าของโนบิตะได้กล่าวไว้



    6

    วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2566

    สาวนครสวรรค์ - สายใย & ไหมพรม อุดมพร



    คิดถึงที่รักฟากฟ้าไกล
    เจอครั้งสุดท้าย

    ที่ท่าตะโกเมื่อตอนสงกรานต์

    นานนานเจอหน

    ยิ่งซึ้งใจคนนครสวรรค์

    ชุมสายปิงวังยมน่าน

    สักขีพยานแห่งสองใจเรา


    คนแดนอีสานอย่าผันแปร

    ให้สาวสี่แควขื่นขมดวงแด

    เพราะรอแล้วฟาวล์

    บึงบอระเพ็ดขื่นขมนักเอย

    น้องเลยหนาวหนาว

    พี่จ๋าอย่าลืมความเก่า

    คราวเที่ยวสงกรานต์เขาน้อยปีผ่านมา


    งานเชิดสิงโตที่ปากน้ำโพ

    เราเที่ยวด้วยกันสำราญเริงร่า

    ชุมแสงทับกฤช

    นั่งรถไฟเที่ยวชี้ชมนกปลา

    เขตบึงกว้างไกลปลายฟ้า

    ข้างทางลานตาบัวตูมบัวบาน

    รักพ่อจอมขวัญหนุ่มบ้านไกล

    อยากให้พี่ชายได้ย้อนมาเยือน

    เหมือนตอนสงกรานต์

    สะออนเหลือแสน

    น้องคิดถึงแฟนบ่าวแดนอีสาน

    สี่แควปิงวังยมน่าน

    นครสวรรค์แหงนคอรอคอย

     

    งานเชิดสิงโตที่ปากน้ำโพ

    เราเที่ยวด้วยกันสำราญเริงร่า

    ชุมแสงทับกฤช

    นั่งรถไฟเที่ยวชี้ชมนกปลา

    เขตบึงกว้างไกลปลายฟ้า

    ข้างทางลานตาบัวตูมบัวบาน

    รักพ่อจอมขวัญหนุ่มบ้านไกล

    อยากให้พี่ชายได้ย้อนมาเยือน

    เหมือนตอนสงกรานต์

    สะออนเหลือแสน

    น้องคิดถึงแฟนบ่าวแดนอีสาน

    สี่แควปิงวังยมน่าน

    นครสวรรค์แหงนคอรอคอย

    เนื้อเพลง