วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

เหรียญ 5 บาท หายาก 10 อันดับ

 

  • 10 อันดับ 
  • จำนวนผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 5 บาท
     
    1.   2540            10,600  

    2.   2546          182,000  

    3.   2553       2,903,000  

    4.   2551       6,225,000  

    5.   2541       7,863,000  

    6.   2539     28,485,000  

    7.   2545     29,601,500  

    8.   2533     38,005,000  

    9.   2531     44,503,000  

    10. 2536     46,992,000 

     ลักษณะเหรียญ 
    ขอบเหรียญวงในเป็นรูปเก้าเหลี่ยม กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย ชิดวงขอบเหรียญด้านซ้ายมีข้อความว่า "ภูมิพลอดุลยเดช"
    ด้านขวามีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๙"

    ขอบเหรียญวงในเป็นรูปเก้าเหลี่ยม กลางเหรียญมีรูปพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เบื้องบนมีข้อความว่า "ประเทศไทย" และปี พ.ศ. ที่จัดทำเหรียญ เบื้องล่างมีข้อความว่า "๕ บาท "
     

    ข้อมูลเพิ่มเติม
    น้ำหนัก : 7.5 กรัมราคา ณ วันประกาศใช้ : 5 บาท
    วันที่ประกาศใช้ : 1 มิถุนายน 2531เส้นผ่าศูนย์กลาง : 24  มิลลิเมตร

    ชนิด : โลหะสีขาวเคลือบไส้ทองแดง
    ราคาหน้าเหรียญ 5 บาทประเภท ธรรมดา
    ลักษณะ เหรียญกลม วงขอบนอกมีเฟืองจักร

    ส่วนผสม :จำนวนการผลิต :
    นิกเกิล25
    ไส้ทองแดง99.5
    253144,503,000 เหรียญ
    253338,005,000 เหรียญ
    253548,939,620 เหรียญ
    2537123,443,000 เหรียญ
    253928,485,000 เหรียญ
    25417,863,000 เหรียญ
    2543146,920,000 เหรียญ
    254529,601,500 เหรียญ
    2547120,187,000 เหรียญ
    2549254,403,000 เหรียญ
    2551220,463,200 เหรียญ

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

เหรียญ 10 บาท หายาก

 

3 อันดับเหรียญ 10 บาทหายากที่กำลังเป็นที่ต้องการที่สุดในเวลานี้!

อันดับที่ 1 เหรียญ 10 บาท ปีพุทธศักราช 2533  ผลิตจำนวน 100  เหรียญ

ในปี 2533 กรมธนารักษ์ได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 10 บาทออกมา โดยลักษณะเหรียญเป็นโลหะ 2 สี ซึ่งผลิตออกมาเพียง 100 เหรียญเท่านั้น เพื่อมอบเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุม Mint Directors Conference (MDC) ครั้งที่ 16 ที่ประเทศอังกฤษ ส่วนเหตุผลที่มีการผลิตออกมาเพียง 100 เหรียญนั้น เป็นเพราะว่า ประชาชนยังไม่นิยมใช้เหรียญ 10 บาท เนื่องจากขณะนั้นยังมีธนบัตรราคา 10 บาท ใช้กันอยู่


อันดับที่ 2 เหรียญ 10 บาท ปีพุทธศักราช 2531 ผลิตจำนวน 62,000  เหรียญ

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิด ราคา 10 บาท ได้ถูกผลิตออกใช้เป็นเงินหมุนเวียนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2531 โดยผลิตเป็นเหรียญกษาปณ์โลหะสองสีแทนการใช้ธนบัตรราคา 10 บาท  โดยที่ด้านหน้าของเหรียญนั้นเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ส่วนด้านหลังเป็นภาพของ พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม และมีปี พ.ศ. ที่ผลิตอยู่ด้านบนของพระปรางค์


อันดับที่ 3 เหรียญ 10 บาท ปีพุทธศักราช 2541 ผลิตจำนวน 970,000  เหรียญ

เหรียญ 10 บาท พ.ศ. 2541 มีด้านหลังเป็นพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ส่วนด้านซ้ายมือมีตัวอักษรข้อความว่าประเทศไทย ด้านขวามือ มีตัวอักษรข้อความว่า พ.ศ.๒๕๔๑ ด้านล่างมีตัวอักษรข้อความว่า ๑๐ บาท ด้านข้างของเหรียญจะเป็นฟันเฟือง ด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้ายซ้ายมือมีข้อความว่า ภูมิพลอดุลยเดช ด้านขวามือมีข้อความว่า รัชกาลที่ ๙

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

เหรียญ 10 บาท จำนวน/ปี ที่ผลิต

ปีที่ผลิต                  จำนวนที่ผลิต

2531                                 60,200

2532                        100,000,000

2533                        100 เหรียญ (ในไทย30) 

2534                             1,380,650

2535                           13,805,000

2536                           10,556,000

2537                          150,598,831

2538                            53,700,000

2539                            17,086,000

2540                              9,310,600

2541                                 970,000

2542                              1,030,000

2543                              1,666,000

2544                              1,060,000

2545                             61,333,000

2546                             49,292,000

2547                             62,689,000

2548                            111,491,000

2549                            128,903,000

2550                            130,202,000

2551                            179,165,360 (แบบเก่า)

2551                            18,450,000 (แบบใหม่)

2552                            59,107,733

2553                            1,953,000

2554                            3,000,000

2555                            ไม่มีข้อมูล

2556                            ไม่มีข้อมูล

2557                            ไม่มีข้อมูล

2558                            ไม่มีข้อมูล

2559                            ไม่มีข้อมูล

2560                             160,000,000


หนังสือรวมภาพพระชนะการประกวด จัดทำโดย วรเทพ อุดมรัตนะศิลป์

พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2524
ภาพสีทุกหน้า รวม 392 หน้า
จำหน่ายราคา 1,500 บาท 







 

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

นิยายรักจากบทเพลง แรงรัก

  

ตอนที่ 2 ..

3 เดือนผ่านไป (ไวเหมือนโกหก) 
คมสันหายจากอาการบาดเจ็บเป็นปกติ เขาขอย้ายกลับมาทำงานที่บ้านเพื่อที่จะได้อยู่ดูแลแม่ของเขา 
ส่วนแววแต่งงานไปแล้วกับคนรักใหม่ของเธอ คมสันไม่ได้คิดถึงเรื่องของเธออีกต่อไป ..
วันหนึ่งคมสันกลับจากทำงาน เขาขับรถผ่านตามเส้นทางปกติเหมือนทุกๆ วัน พลันสายตาเขาก็เหลือบไปเห็นหญิงสาวคนหนึ่งเดินอยู่ริมถนนเพียงลำพัง หล่อนแต่งตัวเรียบร้อยท่าทางทะมัดทะแมงถือกระเป๋าเสื้อผ้าใบใหญ่ เขาขับรถเลย ในใจก็คิดว่าใครกันนะมาเดินแถวนี้ไม่คุ้นหน้าเลย นี่ก็เย็นมากแล้วถ้าเกิดอะไรขึ้นจะทำอย่างไร เขาขับรถย้อนกลับไปหาหล่อนเปิดกระจกแล้วถามว่า"จะไปหรือครับ" หญิงสาวมองหน้าเขายิ้มๆ แล้วตอบว่า "กลับบ้านค่ะ" คมสันบอกว่า "ขึ้นรถซิ อยู่ไกลไหมเดี๋ยวผมจะไปส่งให้" หญิงสาวกล่าวขอบคุณเขาแล้วบอกว่าจะถึงแล้วไม่เป็นไร คมสันยิ้มให้แล้วขับรถเลยไป ..
ป้าแช่ม ยืนชะเง้อมองหน้าบ้านด้วยความตื่นเต้น ชมลูกสาวคนเดียวของเธอบอกว่าจะกลับบ้านวันนี้หลังจากเรียนจบ "แม่จ๊ะ" เสียงเรียกดังมาแต่ไกล ป้าแช่มวิ่งไปรับลูกสาวด้วยความดีใจ ..
หลังจากอาบน้ำกินข้าวถามสารทุกข์สุขดิบกันแล้ว 
ชมเอ่ยกับแม่ว่า "หนูเจอพี่คมสันด้วยนะคะแม่ก่อนจะถึงบ้านเรา แต่เขาทำเหมือนจำหนูไม่ได้" 
ป้าแช่มหัวเราะแล้วบอกกับชมว่า "ก็ลูกกับพี่เขาไม่เห็นกันมาเกือบสิบปีได้แล้วมั่ง แบบนี้ใครจะไปจำได้" ชมทำหน้างอแล้วบอกกับแม่ว่า"แหมมม ทีหนูยังจำพี่เขาได้เลย" 
ป้าแช่มยิ้มที่เห็นลูกสาวกระฟัดกระเฟียดเช่นนั้น 
ชมถามแม่อีกว่าคมสันแต่งงานกับแววแล้วใช่ไหม่ แม่ตอบว่า "เปล่า"
ชมนึกถึงสมัยเด็กๆ คมสันอายุมากกว่าชมหลายปีนัก 
เขาเป็นหนุ่มรูปงามท่าทางเรียบร้อยนิสัยดีใครๆ ก็ชอบเขา ชมเองก็เช่นกัน 
แต่คมสันหาได้สนใจใครไม่นอกจากแวว ชมคิดว่าคมสันกับแววแต่งงานกันแล้วเสียอีก 
ทำไมนะถึงไม่แต่งงานกัน ทั้งๆ ที่สองคนรักกันมากขนาดนั้น ..
ชมคิดด้วยความสงสัยจนหลับไป ..

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

นิยายรักจากบทเพลง รักริงโง





ในคืนอันเงียบเหงา 🌟🌙
คมสัน ชายหนุ่มรูปงาน หน้าตาเกลี้ยงเกลา แต่ทว่าเขากลับมีแววตาที่เศร้าหมอง ยืนพิงต้นโศกหน้าบ้าน เขามองไปบนท้องฟ้าที่มีดาวระยิบระยับ น้ำตาของเขาค่อยๆ ไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว ความทรงจำที่ซ่อนอยู่ภายในลึกๆ หวนกลับคืนมาอีกครั้ง ..
"คมสัน" เสียงเรียกชื่อเขาเบาๆ ดังอยู่ใกล้ๆ
"มีอะไรหรือแวว" ชายหนุ่มหันมามองคนรักพร้อมกับถาม
เธอจับมือเขาพร้อมกับบอกว่า "อีกไม่กี่วันฉันต้องไปทำงานต่างจังหวัดแล้วนะ" "อืมม ฉันรู้แล้ว" คมสันตอบ "คงอีกนานกว่าเราจะได้พบกันอีก" คมสันบีบมือเธอเบาๆ พร้อมกับบอกด้วยความมั่นใจว่า "ไม่เป็นไรหรอกแวว ถึงเธอจะอยู่ที่ไหน แต่เธอจะอยู่ในใจฉันเสมอ ฉันจะรอเธอจนกว่าเราจะได้พบกันอีก" แววซบหน้าลงกับฝ่ามือคมสันด้วยความอิ่มเอมใจ ..
หลังจากที่แววไปแล้วทั้งสองก็ติดต่อหากันโดยไม่ขาด จนวันหนึ่งคมสันถูกส่งไปชายแดน การติดต่อกับแววลำบากขึ้นด้วยหน้าที่การงาน แต่คมสันก็ยังหวังว่าแววจะยังมั่นคงในความรักเสมอมาเหมือนเช่นเดียวกันกับเขา ..
แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ที่ทำงานใหม่แววได้พบกับเพื่อนร่วมงานที่คอยเอาอกเอาใจ ในที่สุดแววก็ลืมคมสันไปเสียสิ้น ..
คมสันกลับมาบ้านอีกครั้ง เขาได้ข่าวว่าแววกำลังจะแต่งงานกับคนรักใหม่ เขาเสียใจ แต่ก็ไม่เคยคิดจะขัดขวาง ได้แต่อวยชัยให้พรขอให้แววพบคนที่ดี ขอให้เธอมีแต่ความสุข ..
"คมสัน" เสียงเรียกมาจากบนบ้าน "ขึ้นบ้านได้แล้วลูก"
ลมเย็นๆ พัดมากระทบใบหน้าของเขา คมสันตื่นจากภวังค์พร้อมหันไปตามเสียงเรียก ดึกแล้วซินะ เขาหยิบไม้ค้ำยันที่วางอยู่ข้างๆ ค่อยๆ พยุงตัวลุกขึ้นยืน เขาได้รับบาดเจ็บหลังจากได้รับอุบัติเหตุจากผู้ก่อการร้ายที่ชายแดนจึงกลับมารักษาตัวที่บ้าน แม่เดินมาหาเขาพร้อมกับช่วยพยุง "อีกไม่นานลูกก็จะหายดีแล้วนะ" แม่ให้กำลังใจเขาเสมอ และนี่จะเป็นครั้งสุดท้ายที่เขาจะนึกถึงแวว ..
"ขอบคุณครับแม่" เขายิ้มให้แม่แล้วมองไปบนท้องฟ้าอีกครั้งก่อนที่จะเดินกลับขึ้นบ้านไป ..
"ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์ใจคน"
สุภาษิตสำนวนไทย ยังใช้ได้อยู่เสมอนะคะ **

เนื้อเพลง