วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2566

การรบที่กาญจนบุรี ในสงครามเก้าทัพ

 

การรบที่กาญจนบุรี

กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จยกทัพจำนวน 30,000 คน ออกจากพระนครในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2328 มีพระราชบัณฑูรให้พระยากลาโหมราชเสนาและพระยาจ่าแสนยากรเป็นทัพหน้า เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน) เป็นเกียกกาย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎาเป็นยกกระบัตรทัพ เสด็จยกทัพไปถึงตำบลลาดหญ้าเมืองกาญจนบุรีที่เชิงเขาบรรทัด ทรงให้จัดจั้งทัพที่ทุ่งลาดหญ้าตั้งค่ายชักปีกกาถึงกัน มีพระราชบัณฑูรให้พระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) คุมกองทัพมอญจำนวน 3,000 คน ไปตั้งขัตตาทัพพม่าที่ด่านกรามช้าง (บริเวณอุทยานแห่งชาติเอราวัณในปัจจุบัน)

ทัพหลวงขนาดใหญ่ของพระเจ้าปดุงยกทัพเข้ามาทางกาญจนบุรีผ่านด่านเจดีย์สามองค์ จากนั้นทัพที่ 4 ของเมียนวุ่นจึงยกเข้ามาก่อนผ่านเมืองไทรโยคข้ามมายังแม่น้ำแควใหญ่ที่ท่ากระดาน[6] จากนั้นเลียบแม่น้ำแควใหญ่มาจนถึงด่านกรามช้าง ทัพที่ 4 ของเมียนวุ่น ตีทัพของพระยามหาโยธา (เจ่ง) แตกพ่ายหนีเข้ามา ทัพที่ 4 ของเมียนวุ่น จำนวน 10,000 คน มาตั้งทัพที่ลาดหญ้า หลังจากนั้นทัพที่ 5 ของเมียนเมวุ่นจำนวน 5,000 คน จึงยกตามมาสมทบ รวมทั้งสิ้น 15,000 คนของฝ่ายพม่าที่ลาดหญ้า

ทัพที่ 6 ของเจ้าชายศิริธรรมราชาตะแคงกามะตั้งอยู่ที่ท่าดินแดง ทัพที่ 7 ของเจ้าชายสะโดเมงสอตะแคงจักกุตั้งอยู่ที่สามสบ ทัพที่ 8 ทัพหลวงของพระเจ้าปดุงตั้งอยู๋ที่ปลายลำน้ำลอนชี[6]หรือแม่น้ำรันตี[8] ซึ่งอยู่ห่างจากด่านเจดีย์สามองค์ไม่มากนัก ฝ่ายสยามส่งเชลยชาวพม่าซึ่งถูกจับมาตั้งแต่สงครามอะแซหวุ่นกี้ชื่องะกาน[8] หรือนาข่าน เป็นทูตไปเจรจากับพระเจ้าปดุงที่แม่น้ำรันตีแต่ไม่ประสบผล กองทัพฝ่ายพม่าประสบปัญหาเรื่องความขาดแคลนเสบียงและการลำเลียงสะเบียง ฝ่ายพม่าไม่สามารถค้นหาเสบียงที่เพียงพอสามารถเลี้ยงกองทัพขนาดใหญ่ได้ เสบียงที่ขนมาจากแดนไกลต้องลำเลียงไปให้แก่ทัพหน้า

การรบที่ทุ่งลาดหญ้า[แก้]


ที่ลาดหญ้าเชิงเขาบรรทัดนั้น แม่ทัพพม่าทั้งสอง ได้แก่ เมียนวุ่นและเมียนเมวุ่น มีคำสั่งให้ตั้งค่ายชักปีกกาถึงกัน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทมีพระราชบัณฑูรให้ฝ่ายไทยแม่ทัพทั้งปวงยกทัพโจมตีทัพพม่า ฝ่ายพม่าสามารถต้านทานได้ ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายพม่าต่างสร้างหอรบขนปืนใหญ่ขึ้นยิงใส่กันและกัน ได้รับความเสียหายและล้มตายกันทั้งสองฝ่าย กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทมีพระราชบัณฑูรให้สร้างครกขนาดใหญ่ขึ้นสามอัน ดำรัสว่าหากผู้ใดถอยหนีจากข้าศึกพม่ามาจะให้ใส่ครกตำเสีย[7]

กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททอดพระเนตรเห็นจุดอ่อนของฝ่ายพม่าในเรื่องเสบียง จึงมีพระราชบัณฑูรให้พระยาสีหราชเดโช พระยาท้ายน้ำ และพระยาเพชรบุรี ยกกองกำลังจำนวน 500 คน ไปซุ่มโจมตีเส้นทางลำเลียงเสบียงของฝ่ายพม่าที่ตำบลพุไคร้ ปรากฏว่าพระยาทั้งสามเกรงกลัวต่อข้าศึกไปหลบซ่อนอยู่ ขุนหมื่นในกองนั้นมาทูลฟ้องแก่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทว่าพระยาทั้งสามเกรงกลัวข้าศึก จึงมีพระราชบัณฑูรให้พระยามณเฑียรบาล (สด) ไปชำระความ หากเป็นความจริงให้ตัดศีรษะพระยาทั้งสามมาถวาย พระยามณเฑียรบาลเดินทางไปพบกันพระยาสีหราชเดโช พระยาท้ายน้ำ และพระยาเพชรบุรี พบว่าข้อกล่าวหาเป็นความจริง จึงประหารชีวิตพระยาทั้งสามตัดศีรษะใส่ชะลอมนำมาถวาย[7] จากนั้นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทมีพระราชบัณฑูรให้พระองค์เจ้าขุนเณร นำกองกำลังจำนวน 1,500 คน ไปซุ่มโจมตีเส้นทางลำเลียงเสบียงของพม่าแบบกองโจร ทำให้ฝ่ายพม่าประสบปัญหาไม่สามารถลำเลียงเสบียงไปยังลาดหญ้าได้

กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทมีพระราชบัณฑูรให้นำปืนใหญ่ลูกไม้ซึ่งใช้งานมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงธนบุรี ขึ้นหอรบยิงใส่ค่ายของพม่า ค่ายของพม่าได้รับความเสียหายมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระวิตกว่าการรบที่ลาดหญ้าจะไม่ได้ชัยชนะในเวลารวดเร็ว จึงยกทัพเสด็จออกจากกรุงเทพฯในเดือนมกราคมพ.ศ. 2329 เสด็จนำทัพจำนวน 20,000 คน มายังทุ่งลาดหญ้าทางชลมารค กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จออกมารับ กราบทูลว่าฝ่ายพม่านั้นขาดเสบียงประสบกับความอดอยาก ใกล้จะได้ชัยชนะแล้วขออย่าทรงวิตก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงยกทัพเสด็จนิวัติพระนคร

ฝ่ายพม่าเมื่อเห็นทัพหลวงยกมาจากกรุงเทพฯจำนวนมากจึงทูลพระเจ้าปดุง พระเจ้าปดุงดำริว่าเสบียงขาดแคลนและถูกฝ่ายไทยโจมตีเส้นทางลำเลียง เห็นสมควรล่าถอยแต่ให้รอดูท่าทีก่อน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทดำริกลอุบาย ให้กองกำลังลอบยกไปยังเมืองกาญจนบุรีในเวลากลางคืน และแสร้งให้กองกำลังจากกาญจนบุรียกเข้ามายังค่ายทุ่งลาดหญ้าในเวลากลางวัน เสมือนว่าฝ่ายไทยมีกองกำลังคอยเสริมตลอดเวลา ฝ่ายพม่าอ่อนกำลังและขาดเสบียง พงศาวดารพม่าระบุว่า กองทัพพม่าขาดแคลนเสบียงอย่างมาก จนต้องขุดหาเผือกมันและรากไม้กิน และฆ่าสัตว์พาหนะในกองทัพกิน[6] รวมทั้งเกิดโรคระบาดขึ้นในกองทัพฝ่ายพม่า

ในวันศุกร์ เดือนสามแรมสี่ค่ำ[7] (วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2329) กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททอดพระเนตรว่าฝ่ายพม่าอ่อนกำลังลงมากแล้ว จึงมีพระราชบัณฑูรให้แม่ทัพทั้งปวงยกกำลังเข้าโจมตีค่ายพม่าอีกครั้งอย่างเต็มที่ ฝ่ายพม่าต้านทานได้อยู่ตั้งแต่เช้าจนค่ำจนเหลือกำลังที่ฝ่ายพม่าจะสามาถต้านได้จึงแตกถอยร่นหนีไป การรบที่ทุ่งลาดหญ้าฝ่ายไทยจึงได้รับชัยชนะในที่สุดหลังจากการรบที่กินเวลายาวนานประมาณสองเดือน พงศาวดารพม่าระบุว่าฝ่ายพม่าสูญเสียกำลังพลไปในศึกครั้งนี้ประมาณ 6,000 คน[6] กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทมีพระราชบัณฑูรให้ยกทัพติดตามฝ่ายพม่าที่หนีจนถึงชายแดน ตามจับได้เชลยศึกและอาวุธต่างๆจำนวนมาก ฝ่ายพม่าที่หนีไปต้องเผชิญกับกองกำลังของพระองค์เจ้าขุนเณรที่คอยอยู่ ทัพที่ 6 เจ้าชายศิริธรรมราชาทรงทราบว่าทัพหน้าถูกฝ่ายไทยตีแตกพ่ายมาแล้วจึงแจ้งแก่ทัพที่ 7 เจ้าชายสะโดเมงสอจึงทูลต่อพระเจ้าปดุง พระเจ้าปดุงมีพระราชโองการให้ถอยทัพทั้งหมดกลับไปยังเมืองเมาะตะมะ ทัพฝ่ายไทยยกติดตามไปจนถึงทัพของเจ้าชายพม่าทั้งสองที่ท่าดินแดงและสามสบ

วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2566

สงคราม ๙ ทัพ ตอนเตรียมการ

 สงคราม ๙ ทัพ เป็นสงครามครั้งแรกระหว่างราชวงศ์โก้นบองของพม่ากับอาณาจักรรัตนโกสินทร์แห่งราชวงศ์จักรี เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าปดุง ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์โก้นบอง ราชวงศ์สุดท้ายของพม่า เป็นพระโอรสลำดับที่ 5 ใน 6 ของพระเจ้าอลองพญา ขึ้นครองราชย์โดยการปราบดาภิเษกในปี พ.ศ. 2325 ปีเดียวกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์  
เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระเจ้าปดุงได้ทรงทำสงครามชนะยะไข่ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันตกซึ่งพม่าไม่เคยเอาชนะมาก่อนเลย

ความขัดแย้งเรื่องอิทธิพลในหัวเมืองมอญ เมืองทวาย มะริด และตะนาวศรี และแนวคติความเป็นพระจักรพรรดิราชนำไปสู่การรุกรานอาณาจักรสยามของพม่า หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงขับอิทธิพลของพม่าออกไปและฟื้นฟูอาณาจักรสยามขึ้นอีกครั้ง ในสงครามอะแซหวุ่นกี้ การรบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในหัวเมืองเหนือ ได้แก่สวรรคโลก สุโขทัย และพิษณุโลก ทำให้หัวเมืองเหนือได้รับความเสียหายและหลงเหลือประชากรอยู่น้อย เนื่องจากสูญเสียกำลังพลไปในการรบ

ในปี พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างกรุงเทพมหานครขึ้น เพื่อให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ของสยามและทรงปราบดาภิเษกสถาปนาพระราชวงศ์จักรี ในปีเดียวกันนั้น พระเจ้าปดุง  ทรงปลดพระเจ้าหม่องหม่องออกราชราชสมบัติและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรพม่า ในรัชสมัยของพระเจ้าปดุง อาณาจักรพม่าภายใต้ราชวงศ์โก้นบองเรืองอำนาจขึ้นอีกครั้ง พระเจ้าปดุงทรงส่งพระโอรสอินแซะ มหาอุปราชยกทัพไปโจมตีเมืองธัญญวดีหรือเมืองมเยาะอู้ ซึงเป็นราชธานีของอาณาจักรยะไข่ จนสามารถผนวกอาณาจักรยะไข่เข้าเป็นส่วนหนึ่งของพม่าได้สำเร็จใน พ.ศ. 2328 หลังจากที่ทรงปราบกบฏของตะแคงแปงตะเลพระอนุชาได้สำเร็จในปีเดียวกัน ด้วยคติความเป็นพระจักรพรรดิราช พระเจ้าปดุงจึงดำริที่จะกรีฑาทัพเข้ารุกรานอาณาจักรสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ หลังจากที่สถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีได้เพียงสามปี เพื่อสร้างอาณาจักรพม่าให้มีอำนาจเกรียงไกรดังเช่นที่เคยเป็นในรัชสมัยพระเจ้าบุเรงนองและพระเจ้ามังระ

พระเจ้าปดุงต้องการแสดงให้เห็นถึงพระบารมีของพระองค์ว่า ทรงเป็นพระเจ้าช้างเผือกผู้พิชิตเอเชียอาคเนย์ได้อีกพระองค์หนึ่ง หลังจากพระเจ้าบุเรงนองแห่งราชวงศ์ตองอู และพระเจ้ามังระ พระเชษฐาของพระองค์ สามารถทำได้

การจัดเตรียมทัพฝ่ายพม่า

ในพ.ศ. 2328 พระเจ้าปดุงมีพระราชโองการให้เกณฑ์กำลังไพร่พลจำนวนมหึมารวมทั้งกำลังพลจากประเทศราชต่างๆเพื่อยกทัพเข้าโจมตีสยามจากหลายทิศทาง เอกสารฝ่ายไทยระบุว่าเป็นจำนวนเก้าทัพ จำนวนทั้งสิ้น 144,000 คน ในขณะที่พงศาวดารพม่าระบุว่าทัพที่ยกมาในครั้งนี้มีห้าเส้นทาง จำนวนทั้งสิ้น 134,000 คน โดยแบ่งการเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์ออกเป็นดังนี้;

  • ทัพที่ 1; นำโดยแมงยีแมงข่องจอ (Mingyi Mingaung Kyaw)  ยกทัพจำนวน 10,000 คน  แบ่งเป็นทัพบกเข้าโจมตีหัวเมืองประเทศราชทางปักษ์ใต้ตั้งแต่เมืองชุมพรจนถึงเมืองนครศรีธรรมราชและสงขลา และทัพเรือเข้าโจมตีหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งแต่ตะกั่วป่าไปจนถึงเมืองถลาง พระเจ้าปดุงมีพระราชโองการให้แมงยีแมงข่องจอยกทัพจำนวน 10,000 คน ลงมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2328  มาตั้งที่เมืองมะริด เพื่อรวบรวมเตรียมเสบียงสำหรับทัพหลวงขนาดใหญ่ที่กำลังจะยกลงมา ในเวลาต่อมาเมื่อแมงยีแมงข่องจอไม่สามารถค้นหาเสบียงได้เพียงพอสำหรับทัพหลวง พระเจ้าปดุงพิโรธให้ประหารชีวิตแมงยีแมงข่องจอเสีย  แล้วตั้งให้แกงหวุ่นแมงยี (Kinwun Mingyi) มหาสีหสุระ (Maha Thiha Thura) อรรคเสนาบดีเป็น"โบชุก"หรือแม่ทัพใหญ่ของทัพนี้แทน
  • ทัพที่ 2; นำโดย อะนอกแฝกคิดวุ่น  (Anaukpet Taik Wun) หรือเนเมียวนรธา (Nemyo Nawratha) ยกทัพจำนวน 10,000 คน มาตั้งที่เมืองทวาย เพื่อยกเข้าผ่านทางด่านบ้องตี้ (อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี) เพื่อโจมตีเมืองราชบุรีและเมืองเพชรบุรี จากนั้นจึงไปสมทบกับทัพที่ 1 ที่ชุมพร โดยแบ่งให้เจ้าเมืองทวายนำทัพจำนวน 3,000 คน เป็นทัพหน้ายกมาก่อนทางด่านเจ้าขว้าว (อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี)
  • ทัพที่ 3 นำโดยเจ้าชายสะโดศิริมหาอุจนา (Thado Thiri Maha Uzana) เจ้าเมืองตองอู ยกทัพจำนวน 30,000 คน  เข้ามาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือทางเมืองเชียงแสน ยกเข้าโจมตีเมืองลำปาง ตั้งแต่หัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาสมทบกับทัพที่ 9 ที่ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เพื่อตีเมืองตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก นครสวรรค์
  • ทัพหลวงทัพใหญ่ของพระเจ้าปดุง จำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 88,000 คน ยกมาตั้งที่เมืองเมาะตะมะ เพื่อยกทัพผ่านด่านเจดีย์สามองค์เข้าโจมตีเมืองกาญจนบุรี จากนั้นจึงรอสมทบกับทัพเหนือและใต้เพื่อเข้าโจมตีกรุงเทพฯ ประกอบด้วย;
    • ทัพที่ 4; เมียนวุ่น เป็นทัพหน้าที่หนึ่ง ยกทัพจำนวน 10,000 คน
    • ทัพที่ 5; เมียนเมวุ่น เป็นทัพหน้าที่สอง ยกทัพจำนวน 5,000 คน
    • ทัพที่ 6; เจ้าชายศิริธรรมราชา (Thiri Damayaza) หรือตะแคงกามะ พระโอรสองค์ที่สามของพระเจ้าปดุง ยกทัพจำนวน 12,000 คน เป็นทัพหน้าที่หนึ่งของทัพหลวง
    • ทัพที่ 7; เจ้าชายสะโดเมงสอ (Thado Minsaw) หรือตะแคงจักกุ พระโอรสองค์ที่สองของพระเจ้าปดุง ยกทัพจำนวน 11,000 คน เป็นทัพหน้าที่สองของทัพหลวง
    • ทัพที่ 8; ทัพหลวงของพระเจ้าปดุงเป็นจอมพล มีกำลังพลมากที่สุดถึง 50,000 คน ยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์เพื่อรอสมทบกับทัพเหนือ และใต้โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้ารบกับกรุงเทพฯ
  • ทัพที่ 9; นำโดยนรธาจอข่อง (Nawratha Kyawgaung) ยกทัพจำนวน 5,000 คน เข้ามาทางด่านแม่ละเมา แม่สอด เมืองระแหง (เมืองตาก)

การจัดเตรียมทัพฝ่ายไทย

เดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2328 กองทหารมอญลาดตระเวนพบกองทัพพม่ามาตั้งอยู่ที่เมืองสมิ จึงจับชาวพม่าสามคนส่งเข้ามาให้แก่ทางกรุงเทพฯ เชลยพม่าสามคนนั้นให้การว่า พม่ากำลังเตรียมกองทัพขนาดใหญ่เพื่อยกเข้ารุกรานพระนครจากหลายทิศทาง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทราบข่าวการศึกแล้วจึงดำรัสให้ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และบรรดาเสนาบดีทั้งหลาย ปรึกษาราชการสงคราม"เป็นหลายเวลา" ฝ่ายสยามรวบรวมกองกำลังทั้งหมดได้ประมาณ 70,000 คน จากนั้นทางกรุงเทพฯจึงออกหนังสือแจ้งเมืองต่างๆ ได้แก่ เมืองถลาง เมืองชุมพร เมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี เมืองกำแพงเพชร เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองสวรรคโลก เมืองตาก เมืองลำปาง แจ้งข้อราชการการศึกพม่าซึ่งยกมาหลายทาง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชโองการให้จัดกระบวนทัพเข้ารับศึกกับพม่าดังนี้

  • ทางกาญจนบุรี; สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าบุญมา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จพระราชดำเนินยกทัพหลวงไปตั้งรับพม่าที่กาญจนบุรี พร้อมทั้งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา พระยากลาโหมราชเสนา (พระชัยบูรณ์) และพระยาจ่าแสนยากร (ทุเรียน) รวมทั้งเจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน สนธิรัตน์) สมุหนายก คุมทัพฝ่ายพระราชวังหลวงและฝ่ายเหนือไปสบทบอีกทัพหนึ่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น 30,000 คน
  • ทางราชบุรี; เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด บุณยรัตพันธุ์) และพระยายมราช (ทองอิน) ยกทัพจำนวน 5,000 คน ไปตั้งรับพม่าที่ราชบุรี
  • ทางเหนือ; สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ และเจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ เสด็จยกทัพไปตั้งรับพม่าที่นครสวรรค์ รวมทั้งเจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) สมุหกลาโหม พระยาพระคลัง (หน) และพระยาอุไทยธรรม (บุนนาค) จำนวนทั้งสิ้น 15,000 คน

ทางกรุงเทพมหานครนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นผู้คุมทัพคอยเป็นกำลังหนุน จำนวน 20,000 คน เมื่อทัพไหนเพลี้ยงพล้ำก็จะคอยเป็นกำลังหนุน ส่วนทางแหลมมลายูทางใต้และหัวเมืองชายทะเลตะวันตกนั้น ยังไม่ได้มีการแต่งทัพออกไปสู้รบเนื่องจากศึกใกล้พระนครมีมาก รวมจำนวนกองทัพฝ่ายสยามทั้งสิ้นประมาณ 70,000 คน

 


วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2566

อยู่ไปเพื่อใคร (ผู้หญิงข้าใครอย่าแตะ)

 

อยู่ไปเพื่อใคร (ผู้หญิงข้าใครอย่าแตะ)

* จากกันไปไกลโดยไม่ทันที่จะเอ่ย
คำร่ำลา กันเลยสักคำ
เหลือทิ้งไว้ก็แต่เพียงฉัน 
กับความฝันว่าเรานั้น
จะอยู่เคียงคู่กัน
เปิดเปลือกตาโปรดมองดูฉัน 
ห้ฉันรู้ว่าเธอ ยังอยู่
ฟ้าพรากเธอจากไปไม่มีวันกลับ 
ทิ้งฉัน ให้อยู่ไปเพื่อใคร

** จดจำคืนวันความสัมพันธ์วันเก่าๆ
วันที่เราเคยมีต่อกัน
มีเธอเดินเคียงอยู่กับฉัน
ในคืนนั้นบนฟากฟ้า
ประดับไปด้วยดาว
เราต่างคนต่างแทนความรัก
ด้วยจำนวนของดาวมากมาย
ฉันขาดเธอ
ขาดคนช่วยมานับดาว
แล้วฉัน จะอยู่ไปเพื่อใคร

*** วอนให้ลมพัดพา
หยาดหยดน้ำตา
ส่งไปถึงเธอ
เพื่อให้เธอได้รู้ว่า
รักจะอยู่กับเรา นิรันดร์

( *,***,** )

วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2566

พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ มัทธิว บทที่ 28.

 

การคืนพระชนม์

28 หลังวันสะบาโตตอนรุ่งสางวันต้นสัปดาห์มารีย์ชาวมักดาลากับมารีย์อีกคนหนึ่งไปดูที่อุโมงค์

เกิดแผ่นดินไหวใหญ่เพราะทูตองค์หนึ่งขององค์พระผู้เป็นเจ้าลงมาจากสวรรค์ กลิ้งหินออกจากปากอุโมงค์แล้วนั่งบนหินนั้น ลักษณะของทูตนั้นเหมือนแสงฟ้าแลบ เสื้อผ้าขาวเหมือนหิมะ ยามที่เฝ้าอยู่กลัวทูตนั้นจนตัวสั่นและเป็นเหมือนคนตาย

ทูตนั้นกล่าวแก่หญิงทั้งสองว่า “อย่ากลัวเลยเพราะเรารู้ว่าพวกเจ้ามาหาพระเยซูผู้ถูกตรึงตายบนไม้กางเขน พระองค์ไม่ได้อยู่ที่นี่ พระองค์ทรงเป็นขึ้นแล้วดังที่พระองค์ได้ตรัสไว้ มาดูที่ซึ่งเขาวางร่างของพระองค์เถิด แล้วรีบไปบอกเหล่าสาวกของพระองค์ว่า ‘พระองค์ทรงเป็นขึ้นจากตายแล้วและกำลังเสด็จไปกาลิลีล่วงหน้าพวกท่าน พวกท่านจะเห็นพระองค์ที่นั่น’ บัดนี้เราได้บอกเจ้าแล้ว”

หญิงนั้นก็ไปจากอุโมงค์โดยเร็ว พวกนางกลัวแต่ก็ดีใจยิ่งนักและวิ่งไปบอกเหล่าสาวกของพระองค์ ทันใดนั้นพระเยซูมาพบพวกเขาและตรัสทักทายพวกเขา พวกเขาก็เข้ามากอดพระบาทของพระองค์และกราบนมัสการพระองค์ 10 แล้วพระเยซูตรัสกับพวกเขาว่า “อย่ากลัวเลย จงไปบอกพวกพี่น้องของเราให้ไปยังกาลิลี พวกเขาจะพบเราที่นั่น”

คำรายงานของยาม

11 เมื่อหญิงเหล่านั้นกำลังเดินทางไป ยามบางคนเข้าเมืองไปรายงานทุกสิ่งที่เกิดขึ้นต่อพวกหัวหน้าปุโรหิต 12 เมื่อพวกหัวหน้าปุโรหิตได้หารือและวางแผนกับเหล่าผู้อาวุโสแล้ว เขาก็มอบเงินก้อนใหญ่ให้พวกทหาร 13 พร้อมทั้งสั่งว่า “พวกเจ้าจงพูดว่า ‘ตอนกลางคืนขณะที่เรานอนหลับอยู่ เหล่าสาวกมาขโมยศพไป’ 14 หากความนี้รู้ไปถึงผู้ว่าการเราจะพูดแก้ต่างไม่ให้เจ้าเดือดร้อน” 15 ดังนั้นพวกทหารจึงรับเงินและทำตามที่พวกเขาสั่ง เรื่องนี้ลือกระฉ่อนไปในหมู่ชาวยิวจนถึงทุกวันนี้

พระมหาบัญชา

16 สาวกทั้งสิบเอ็ดคนจึงไปยังกาลิลี ไปที่ภูเขาซึ่งพระเยซูทรงบอกไว้ 17 เมื่อเห็นพระองค์พวกเขาก็กราบลงนมัสการ แต่บางคนยังสงสัยอยู่ 18 พระเยซูทรงเข้ามาหาพวกเขาและตรัสว่า “สิทธิอำนาจทั้งสิ้นในสวรรค์และในแผ่นดินโลกทรงมอบไว้แก่เราแล้ว 19 ดังนั้นจงไปสร้างสาวกจากมวลประชาชาติ ให้เขารับบัพติศมาใน[a] พระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ 20 สอนเขาให้เชื่อฟังทุกสิ่งที่เราสั่งพวกท่านไว้ และแน่นอน เราจะอยู่กับท่านทั้งหลายเสมอไปตราบจนสิ้นยุค”

Footnotes

  1. 28:19 หรือเข้าในดูกจ.8:16; 19:5 รม. 6:3;1คร.1:13; 10:2 และ กท. 3:27

พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ มัทธิว บทที่ 27.

 

ยูดาสผูกคอตาย

27 พอรุ่งเช้าบรรดาหัวหน้าปุโรหิตและผู้อาวุโสในหมู่ประชาชนได้ตกลงกันว่าจะประหารพระเยซู พวกเขามัดพระองค์พาไปมอบตัวแก่ผู้ว่าการปีลาต

เมื่อยูดาสผู้ทรยศพระเยซูเห็นว่าพระองค์ถูกตัดสินลงโทษก็รู้สึกผิดจับใจ เขาจึงนำเงินสามสิบเหรียญมาคืนแก่พวกหัวหน้าปุโรหิตและเหล่าผู้อาวุโส และกล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้ทำบาปไปแล้วด้วยการทรยศผู้บริสุทธิ์ ทำให้เขาถึงตาย”

พวกนั้นตอบว่า “แล้วเราเกี่ยวอะไรด้วย? นั่นเป็นความรับผิดชอบของเจ้า”

ดังนั้นยูดาสจึงขว้างเงินนั้นเข้าไปในพระวิหาร แล้วออกไปผูกคอตาย

พวกหัวหน้าปุโรหิตเก็บเงินมาแล้วกล่าวว่า “ผิดบทบัญญัติที่จะเก็บเงินนี้เข้าคลังพระวิหารเพราะเป็นเงินค่าโลหิต” เขาจึงตกลงกันว่าจะใช้เงินนั้นซื้อที่ดินซึ่งรู้จักกันว่า ทุ่งช่างปั้นหม้อ ไว้เป็นที่ฝังศพคนต่างด้าว ฉะนั้นทุ่งดังกล่าวจึงได้ชื่อว่า ทุ่งโลหิต มาจนถึงทุกวันนี้ แล้วก็เป็นจริงตามที่ผู้เผยพระวจนะเยเรมีย์กล่าวไว้ว่า “เขาทั้งหลายนำเงินสามสิบเหรียญซึ่งเป็นค่าตัวของเขาตามที่ชนอิสราเอลตั้งให้ 10 ไปซื้อที่ดินของช่างปั้นหม้อตามที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงบัญชาข้าพเจ้าไว้”[a]

พระเยซูต่อหน้าปีลาต

11 ขณะเดียวกันพระเยซูทรงยืนอยู่ต่อหน้าผู้ว่าการและผู้ว่าการถามว่า “ท่านเป็นกษัตริย์ของชาวยิวหรือ?”

พระเยซูตรัสว่า “ใช่อย่างที่ท่านว่า”

12 พระองค์ไม่ได้ทรงตอบข้อกล่าวหาของพวกหัวหน้าปุโรหิตและเหล่าผู้อาวุโสเลย 13 ปีลาตจึงถามว่า “ท่านไม่ได้ยินข้อหาที่พวกเขาฟ้องท่านหรือ?” 14 แต่พระองค์ไม่ตรัสตอบข้อกล่าวหาใดๆ เลยทำให้ผู้ว่าการประหลาดใจยิ่งนัก

15 ในช่วงเทศกาลเป็นธรรมเนียมที่ผู้ว่าการจะปล่อยตัวนักโทษคนหนึ่งตามที่ประชาชนเลือก 16 ครั้งนั้นมีนักโทษอุกฉกรรจ์ชื่อเยซูบารับบัส[b] 17 เมื่อประชาชนมารวมตัวกันแล้วปีลาตจึงถามว่า “พวกท่านต้องการให้เราปล่อยคนไหน เยซูบารับบัสหรือเยซูที่เรียกกันว่าพระคริสต์?” 18 เพราะปีลาตรู้ว่าพวกเขาจับพระเยซูมาด้วยความอิจฉา

19 ขณะปีลาตนั่งอยู่บนบัลลังก์พิพากษา ภรรยาของท่านส่งคนมาเรียนท่านว่า “อย่าไปเกี่ยวข้องกับผู้บริสุทธิ์คนนี้เลยเนื่องจากวันนี้ดิฉันฝันร้ายไม่สบายใจมากเพราะท่านผู้นี้”

20 แต่พวกหัวหน้าปุโรหิตและเหล่าผู้อาวุโสยุยงประชาชนว่าให้พวกเขาขอปีลาตให้ปล่อยบารับบัสและให้ประหารพระเยซู

21 ผู้ว่าการถามว่า “ท่านต้องการให้ปล่อยคนไหนในสองคนนี้?”

พวกเขาตอบว่า “บารับบัส”

22 ปีลาตถามว่า “แล้วจะให้เราทำอย่างไรกับเยซูที่เรียกกันว่าพระคริสต์?”

พวกนั้นทั้งหมดพากันร้องว่า “ตรึงเขาที่ไม้กางเขน!”

23 ปีลาตถามว่า “ทำไม? เขาทำผิดอะไร?”

แต่ทุกคนร้องตะโกนดังขึ้นอีกว่า “ตรึงเขาที่ไม้กางเขน!”

24 เมื่อปีลาตเห็นว่าไม่ได้การมีแต่จะลุกฮือขึ้น เขาจึงเอาน้ำล้างมือต่อหน้าฝูงชนและกล่าวว่า “เราไม่มีความผิดเรื่องการตายของชายผู้นี้ เป็นความรับผิดชอบของพวกท่าน!”

25 คนทั้งปวงตอบว่า “ให้เลือดของเขาตกอยู่กับเราและลูกหลานของเราเถิด!”

26 แล้วปีลาตจึงปล่อยบารับบัสให้พวกเขา แต่ให้คนโบยตีพระเยซูและมอบตัวให้ไปตรึงที่ไม้กางเขน

พวกทหารเยาะเย้ยพระเยซู

27 จากนั้นทหารของผู้ว่าการนำพระเยซูเข้าไปในศาลปรีโทเรียมและระดมทหารทั้งกองมารายล้อมพระองค์ 28 พวกเขาเปลื้องเสื้อผ้าของพระองค์ออก แล้วเอาเสื้อสีแดงเข้มมาสวมให้พระองค์ 29 จากนั้นจึงสานมงกุฎหนามสวมที่พระเศียร หยิบไม้ใส่พระหัตถ์ขวา แล้วคุกเข่าต่อหน้าพระองค์และเยาะเย้ยว่า “ข้าแต่กษัตริย์ของชาวยิว ขอจงทรงพระเจริญ!” 30 เขาถ่มน้ำลายรดพระองค์และเอาไม้นั้นตีพระเศียรครั้งแล้วครั้งเล่า 31 หลังจากเยาะเย้ยพระองค์แล้ว ก็ถอดเสื้อนั้นออก เอาเสื้อผ้าของพระองค์เองมาสวมให้ แล้วนำพระองค์ออกไปเพื่อตรึงที่ไม้กางเขน

การตรึงที่ไม้กางเขน

32 ขณะออกไปก็พบชายคนหนึ่งจากไซรีนชื่อซีโมน พวกทหารจึงเกณฑ์ให้เขาแบกไม้กางเขนนั้น 33 เมื่อพวกเขามาถึงที่ซึ่งเรียกว่า กลโกธา ซึ่งแปลว่า สถานแห่งหัวกะโหลก 34 ก็เอาเหล้าองุ่นผสมน้ำดีมีรสขมมาถวาย พระเยซูทรงชิมแล้วก็ไม่เสวย 35 เมื่อเขาตรึงพระองค์ที่ไม้กางเขนแล้ว ก็นำฉลองพระองค์มาจับฉลากแบ่งกัน[c] 36 และพวกเขานั่งเฝ้าพระองค์อยู่ที่นั่น 37 เหนือพระเศียรมีข้อหาเขียนติดไว้ว่า “นี่คือเยซูกษัตริย์ของชาวยิว” 38 โจรสองคนถูกตรึงที่ไม้กางเขนพร้อมกับพระองค์ คนหนึ่งอยู่ข้างซ้ายและอีกคนหนึ่งอยู่ข้างขวาของพระองค์ 39 ผู้คนที่ผ่านไปมาต่างส่ายหน้าพูดสบประมาทพระองค์ 40 และกล่าวว่า “เจ้าผู้จะทำลายพระวิหารแล้วสร้างขึ้นใหม่ในสามวัน จงช่วยตัวเองให้รอด! ลงมาจากกางเขนสิถ้าเจ้าเป็นพระบุตรของพระเจ้า!”

41 เช่นเดียวกันพวกหัวหน้าปุโรหิต ธรรมาจารย์ และเหล่าผู้อาวุโส ก็เยาะเย้ยพระองค์ว่า 42 “เขาช่วยคนอื่นให้รอด แต่ช่วยตัวเองให้รอดไม่ได้! เขาเป็นกษัตริย์ของอิสราเอล! ให้เขาลงมาจากกางเขนเดี๋ยวนี้สิแล้วเราจะเชื่อเขา 43 เขาวางใจในพระเจ้าก็ให้พระเจ้าช่วยเขาตอนนี้สิถ้าพระองค์ยังต้องการเขาอยู่ เพราะเขาพูดว่า ‘เราเป็นพระบุตรของพระเจ้า’ ” 44 พวกโจรที่ถูกตรึงพร้อมกับพระองค์ก็พากันพูดดูถูกดูหมิ่นพระองค์ต่างๆ นานาด้วย

พระเยซูสิ้นพระชนม์

45 แล้วเกิดความมืดมัวไปทั่วแผ่นดินตั้งแต่เที่ยงวันจนถึงบ่ายสามโมง 46 ราวบ่ายสามโมงพระเยซูทรงร้องเสียงดังว่า “เอโลอี เอโลอี[d] ลามา สะบักธานี?” ซึ่งแปลว่า “พระเจ้าของข้าพระองค์ พระเจ้าของข้าพระองค์ ทำไมทรงทอดทิ้งข้าพระองค์?”[e]

47 บางคนซึ่งยืนอยู่ที่นั่นเมื่อได้ยินก็พูดว่า “เขาร้องเรียกเอลียาห์”

48 ทันใดนั้นคนหนึ่งในพวกเขาก็วิ่งไปเอาฟองน้ำจุ่มเหล้าองุ่นเปรี้ยวเสียบไม้ส่งให้พระเยซูเสวย 49 คนอื่นๆ พูดว่า “อย่าไปยุ่งกับเขา ให้เราดูซิว่าเอลียาห์จะมาช่วยเขาหรือไม่”

50 และเมื่อพระเยซูทรงร้องเสียงดังอีกครั้ง พระองค์ก็สิ้นพระชนม์

51 ขณะนั้นเองม่านในพระวิหารก็ขาดเป็นสองส่วนตั้งแต่บนจรดล่าง เกิดแผ่นดินไหว ศิลาแตกออกจากกัน 52 อุโมงค์ฝังศพเปิดออกและร่างของวิสุทธิชนหลายคนที่ตายแล้วก็ฟื้นคืนชีวิต 53 พวกเขาออกมาจากอุโมงค์และหลังจากพระเยซูคืนพระชนม์แล้ว พวกเขาก็เข้าสู่นครบริสุทธิ์และปรากฏแก่คนเป็นอันมาก

54 ส่วนนายร้อยและทหารที่เฝ้าพระเยซูอยู่ด้วยกันเมื่อเห็นแผ่นดินไหวและทุกสิ่งที่เกิดขึ้นก็ตื่นตกใจร้องว่า “แท้จริงท่านผู้นี้เป็นพระบุตร[f]ของพระเจ้า!”

55 ผู้หญิงหลายคนอยู่ที่นั่นเฝ้าดูอยู่ห่างๆ พวกเขาติดตามพระเยซูมาจากกาลิลีเพื่อคอยปรนนิบัติพระองค์ 56 ในพวกนั้นมีมารีย์ชาวมักดาลา มารีย์มารดาของยากอบกับโยเซฟ[g] และมารดาของบุตรเศเบดี

การฝังพระศพพระเยซู

57 เมื่อเวลาเย็นใกล้เข้ามาเศรษฐีคนหนึ่งมาจากอาริมาเธียชื่อโยเซฟ เขาเองก็เป็นสาวกของพระเยซู 58 เขาไปพบปีลาตเพื่อขอพระศพพระเยซูและปีลาตก็สั่งให้มอบพระศพแก่เขา 59 โยเซฟเชิญพระศพมา เอาผ้าลินินสะอาดพันพระศพ 60 แล้วนำไปวางไว้ในอุโมงค์ใหม่ของตนซึ่งสกัดไว้ในศิลาและกลิ้งหินใหญ่ปิดทางเข้าอุโมงค์ แล้วเขาก็ไป 61 มารีย์ชาวมักดาลากับมารีย์อีกคนหนึ่งนั่งอยู่ที่นั่นตรงข้ามอุโมงค์

ทหารยามที่อุโมงค์

62 วันรุ่งขึ้นถัดจากวันเตรียมพวกหัวหน้าปุโรหิตและพวกฟาริสีไปพบปีลาต 63 และเรียนว่า “ใต้เท้าขอรับ พวกข้าพเจ้าจำได้ว่าขณะที่เจ้านักล่อลวงคนนั้นยังมีชีวิตอยู่พูดว่า ‘หลังจากสามวันเราจะเป็นขึ้นมาอีก’ 64 ฉะนั้นขอให้ใต้เท้าสั่งให้คนเฝ้าอุโมงค์อย่างแน่นหนาจนถึงวันที่สาม มิฉะนั้นแล้วสาวกของเขาอาจจะมาลักศพไปและบอกประชาชนว่าเขาเป็นขึ้นจากตายแล้ว การล่อลวงครั้งนี้จะเลวร้ายยิ่งกว่าครั้งแรก”

65 ปีลาตบอกว่า “เอายามไปเถิด คอยเฝ้าอุโมงค์อย่างแน่นหนาตามที่พวกท่านทำได้” 66 ดังนั้นพวกเขาจึงไปดูแลอุโมงค์ให้แน่นหนาโดยการประทับตราที่หินและวางยามประจำอยู่

Footnotes

  1. 27:10 ศคย. 11:12,13ยรม.19:1-13; 32:6-9
  2. 27:16 สำเนาต้นฉบับบางสำเนาไม่มีคำว่าเยซูเช่นเดียวกับข้อ 17
  3. 27:35 สำเนาต้นฉบับบางสำเนาว่าแบ่งกัน ซึ่งเป็นจริงตามคำที่ผู้เผยพระวจนะได้กล่าวไว้ว่า “เสื้อผ้าของข้าพระองค์ เขาทั้งหลายเอามาจับฉลากแบ่งกัน” (สดด.22:18)
  4. 27:46 สำเนาต้นฉบับบางสำเนาว่าเอลี เอลี
  5. 27:46 สดด.22:1
  6. 27:54 หรือบุตรคนหนึ่ง
  7. 27:56 หรือ โยเสส

พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ มัทธิว บทที่ 26.

 

แผนกำจัดพระเยซู

26 เมื่อจบคำอุปมาทั้งปวงนี้แล้ว พระเยซูก็ตรัสกับเหล่าสาวกของพระองค์ว่า “พวกท่านก็รู้ว่าอีกสองวันจะถึงเทศกาลปัสกาและบุตรมนุษย์จะถูกมอบให้เขาตรึงตายที่ไม้กางเขน”

ครั้งนั้นพวกหัวหน้าปุโรหิตและเหล่าผู้อาวุโสในหมู่ประชาชนมาประชุมกันที่คฤหาสน์ของมหาปุโรหิตชื่อคายาฟาส และพวกเขาคบคิดกันหาอุบายที่จะจับพระเยซูมาฆ่าเสีย เขาพูดกันว่า “แต่อย่าลงมือในช่วงเทศกาลเลย มิฉะนั้นจะเกิดจลาจลในหมู่ประชาชน”

พระเยซูทรงรับการชโลมที่เบธานี

ที่หมู่บ้านเบธานี ขณะพระเยซูประทับอยู่ในบ้านของซีโมนคนโรคเรื้อน หญิงคนหนึ่งถือผอบน้ำมันหอมราคาแพงมากเข้ามารินรดพระเศียรขณะที่พระองค์ทรงนั่งรับประทานอาหารอยู่ที่โต๊ะอาหาร

เมื่อเหล่าสาวกเห็นดังนั้นก็ไม่พอใจจึงกล่าวว่า “ทำไมทำให้เสียของเปล่าๆ? น้ำมันหอมนี้ถ้าขายจะได้ราคาดี เอาเงินให้คนยากจนได้”

10 พระเยซูทรงทราบจึงตรัสกับพวกเขาว่า “ไปกวนใจหญิงนี้ทำไม? นางได้ทำสิ่งดีงามให้แก่เรา 11 ท่านจะมีคนยากจนอยู่กับท่านเสมอ แต่เราจะไม่ได้อยู่กับท่านเสมอไป 12 ที่นางรินน้ำหอมนี้บนกายเราก็เพื่อเตรียมตัวเราสำหรับการฝังศพ 13 เราบอกความจริงแก่ท่านว่าไม่ว่าข่าวประเสริฐจะเผยแผ่ไปที่ใดๆ ทั่วโลก เขาจะเล่าขานถึงสิ่งที่หญิงนี้ได้ทำเพื่อเป็นการระลึกถึงนาง”

ยูดาสตกลงใจจะทรยศพระเยซู

14 แล้วยูดาสอิสคาริโอท หนึ่งในสาวกสิบสองคน ไปพบพวกหัวหน้าปุโรหิต 15 ถามว่า “พวกท่านจะให้อะไรแก่ข้าพเจ้าถ้าข้าพเจ้ามอบพระองค์ให้แก่ท่าน?” พวกเขาจึงนับเหรียญเงินสามสิบเหรียญส่งให้ยูดาส 16 นับตั้งแต่นั้นยูดาสก็จ้องหาโอกาสที่จะมอบพระเยซูให้แก่คนเหล่านั้น

พระเยซูเสวยปัสกากับเหล่าสาวก

17 วันแรกของเทศกาลขนมปังไม่ใส่เชื้อเหล่าสาวกมาทูลถามพระเยซูว่า “พระองค์ทรงประสงค์จะให้เราจัดเตรียมปัสกาให้พระองค์เสวยที่ไหน?”

18 พระองค์ตรัสว่า “จงเข้าไปหาคนหนึ่งในเมือง บอกเขาว่า ‘พระอาจารย์ตรัสดังนี้ว่าใกล้จะถึงกำหนดเวลาของเราแล้ว เราจะฉลองปัสการ่วมกับเหล่าสาวกของเราที่บ้านของท่าน’ ” 19 ดังนั้นเหล่าสาวกจึงไปทำตามที่พระเยซูทรงบัญชาและจัดเตรียมปัสกา

20 พอพลบค่ำพระเยซูทรงนั่งรับประทานอาหารที่โต๊ะอาหารร่วมกับสาวกสิบสองคน 21 ระหว่างรับประทานอาหารกันอยู่นั้นพระองค์ตรัสว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านว่าคนหนึ่งในพวกท่านจะทรยศเรา”

22 เหล่าสาวกเสียใจมากต่างทูลพระองค์ว่า “พระองค์เจ้าข้า ไม่ใช่ข้าพระองค์แน่ใช่ไหม?”

23 พระเยซูตรัสตอบว่า “ผู้ที่หยิบอาหารจุ่มในชามเดียวกับเราคือผู้ที่จะทรยศเรา 24 บุตรมนุษย์จะไปตามที่เขียนไว้ แต่วิบัติแก่ผู้นั้นที่ทรยศบุตรมนุษย์! ถ้าเขาไม่ได้เกิดมาเลยยังจะดีกับตัวเขามากกว่า”

25 แล้วยูดาสผู้ที่จะทรยศต่อพระองค์ทูลว่า “รับบี ไม่ใช่ข้าพระองค์แน่ใช่ไหม?”

พระเยซูตรัสตอบว่า “คือท่านเอง”[a]

พิธีมหาสนิท

26 ขณะรับประทานอาหารพระเยซูทรงหยิบขนมปัง ทรงขอบพระคุณพระเจ้า แล้วหักส่งให้เหล่าสาวกและตรัสว่า “จงรับไปรับประทานเถิด นี่เป็นกายของเรา”

27 แล้วพระองค์ทรงหยิบถ้วย ทรงขอบพระคุณพระเจ้า แล้วยื่นให้กับพวกเขาและตรัสว่า “ท่านทุกคนจงรับไปดื่มเถิด 28 นี่คือโลหิตของเราอันเป็นโลหิตแห่งพันธสัญญา[b]ซึ่งหลั่งรินเพื่ออภัยโทษบาปแก่คนเป็นอันมาก 29 เราบอกท่านว่าเราจะไม่ดื่มน้ำจากผลองุ่นนี้อีกตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะถึงวันนั้นที่เราดื่มร่วมกับท่านใหม่ในอาณาจักรของพระบิดาของเรา”

30 เมื่อร้องเพลงสรรเสริญแล้วพวกเขาก็ออกไปยังภูเขามะกอกเทศ

พระเยซูทรงทำนายว่าเปโตรจะปฏิเสธพระองค์

31 แล้วพระเยซูตรัสแก่เหล่าสาวกว่า “ในคืนวันนี้เองพวกท่านจะทิ้งเราไปกันหมด เพราะมีเขียนไว้ว่า

“ ‘เราจะฟาดฟันคนเลี้ยงแกะ
และฝูงแกะจะกระจัดกระจายไป’[c]

32 แต่หลังจากที่เราเป็นขึ้น เราจะไปยังกาลิลีก่อนหน้าท่าน”

33 เปโตรทูลตอบว่า “ถึงใครๆ ทิ้งพระองค์ไปหมด ข้าพระองค์ก็จะไม่มีวันทิ้งพระองค์”

34 พระเยซูตรัสตอบว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านว่าในคืนนี้เองก่อนไก่ขันท่านจะปฏิเสธเราถึงสามครั้ง”

35 แต่เปโตรประกาศว่า “ถึงแม้ข้าพระองค์ต้องตายกับพระองค์ ข้าพระองค์จะไม่มีวันปฏิเสธพระองค์” แล้วสาวกที่เหลือก็พูดแบบเดียวกัน

เกทเสมนี

36 แล้วพระเยซูกับเหล่าสาวกของพระองค์มายังที่แห่งหนึ่งเรียกว่า เกทเสมนี พระองค์ตรัสกับพวกเขาว่า “จงนั่งอยู่ที่นี่ขณะที่เราไปอธิษฐานที่นั่น” 37 พระองค์ทรงพาเปโตรกับบุตรชายทั้งสองคนของเศเบดีไปกับพระองค์ด้วย พระองค์ทรงโศกเศร้าและเป็นทุกข์ยิ่งนัก 38 จึงตรัสกับพวกเขาว่า “จิตวิญญาณของเราท่วมท้นด้วยความทุกข์โศกแทบจะตาย จงเฝ้าระวังอยู่กับเราที่นี่”

39 พระองค์ทรงดำเนินไปได้สักหน่อยก็ทรงซบพระพักตร์ลงที่พื้นและทรงอธิษฐานว่า “ข้าแต่พระบิดา หากเป็นไปได้ขอให้ถ้วยนี้พ้นไปจากข้าพระองค์เถิด อย่างไรก็ตามอย่าให้เป็นไปตามใจของข้าพระองค์ แต่ขอให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์”

40 แล้วพระองค์ทรงกลับมาหาสาวกของพระองค์ และพบว่าพวกเขากำลังนอนหลับอยู่จึงตรัสถามเปโตรว่า “พวกท่านจะคอยเฝ้าอยู่กับเราสักชั่วโมงเดียวก็มิได้หรือ? 41 จงเฝ้าระวังและอธิษฐานเพื่อท่านจะไม่ตกเข้าไปอยู่ในการทดลอง จิตวิญญาณพร้อมแล้วก็จริงแต่กายยังอ่อนกำลัง”

42 พระองค์เสด็จไปอธิษฐานเป็นครั้งที่สองว่า “ข้าแต่พระบิดา หากถ้วยนี้ไม่อาจพ้นไปและข้าพระองค์ต้องดื่ม ก็ขอให้สำเร็จดังพระประสงค์ของพระองค์”

43 เมื่อพระองค์ทรงกลับมาก็ทรงพบว่าพวกเขายังคงหลับอยู่เพราะพวกเขาง่วงมากจนลืมตาไม่ขึ้น 44 พระองค์จึงทรงละพวกเขาไว้ แล้วเสด็จไปอธิษฐานเป็นครั้งที่สามและอธิษฐานเรื่องเดิม

45 จากนั้นพระองค์ทรงกลับมาหาเหล่าสาวกและตรัสว่า “พวกท่านยังนอนหลับพักผ่อนอยู่อีกหรือ? ดูเถิด ใกล้จะถึงเวลาแล้วและบุตรมนุษย์ถูกทรยศให้ตกอยู่ในมือของคนบาป 46 ลุกขึ้นไปกันเถิด! ผู้ทรยศเรามาแล้ว!”

พระเยซูถูกจับกุม

47 พระองค์ตรัสยังไม่ทันขาดคำ ยูดาสหนึ่งในสาวกสิบสองคนก็มาถึงพร้อมกับคนหมู่ใหญ่ซึ่งถือดาบถือกระบอง คนเหล่านี้เป็นพวกที่บรรดาหัวหน้าปุโรหิตและเหล่าผู้อาวุโสของประชาชนส่งมา 48 ผู้ทรยศได้กำหนดอาณัติสัญญาณกับพวกเขาว่า “คนที่เราจูบคือผู้นั้น จงจับกุมเขา” 49 ยูดาสตรงเข้ามาหาพระเยซูและทูลว่า “ขอคำนับรับบี!” แล้วจูบพระองค์

50 พระเยซูตรัสว่า “เพื่อนเอ๋ย จะมาทำอะไรก็ทำเถิด”[d]

แล้วคนเหล่านั้นก็ตรงเข้าจับกุมพระเยซู 51 คนหนึ่งในพวกที่อยู่กับพระองค์เอื้อมมือคว้าดาบชักออกมาฟันหูบ่าวของมหาปุโรหิตขาด

52 พระเยซูตรัสกับเขาว่า “เก็บดาบเสียเถิดเพราะคนทั้งปวงที่ชักดาบจะตายด้วยดาบ 53 ท่านคิดว่าเราไม่อาจทูลขอพระบิดาหรือ? พระองค์จะให้ทูตสวรรค์กว่าสิบสองกองแก่เราทันที 54 แต่ถ้าเช่นนั้นจะเป็นจริงตามที่พระคัมภีร์กล่าวไว้หรือว่าต้องเป็นไปตามนี้?”

55 แล้วพระองค์ตรัสกับคนกลุ่มนั้นว่า “เราก่อการกบฏหรือ? พวกท่านจึงได้ถือดาบถือกระบองมาจับเรา เรานั่งสอนอยู่ในลานพระวิหารทุกวันและท่านก็ไม่ได้จับกุมเรา 56 แต่ทั้งหมดนี้เป็นไปตามที่ผู้เผยพระวจนะได้เขียนไว้” แล้วสาวกทั้งหมดก็ละทิ้งพระองค์แล้วหนีไป

ต่อหน้าสภาแซนเฮดริน

57 ผู้ที่จับพระเยซูนำพระองค์มาพบมหาปุโรหิตคายาฟาสในที่ซึ่งพวกธรรมาจารย์และผู้อาวุโสมาชุมนุมกัน 58 ฝ่ายเปโตรตามพระองค์มาห่างๆ จนถึงลานบ้านของมหาปุโรหิต เขาเข้าไปนั่งกับพวกยามเพื่อคอยดูผลที่จะเกิดขึ้น

59 พวกหัวหน้าปุโรหิตและทั้งสภาแซนเฮดรินค้นหาหลักฐานเท็จมามัดตัวพระเยซูเพื่อจะได้ประหารพระองค์ 60 แต่ก็ไม่พบอะไรเลยแม้จะมีพยานเท็จหลายคนมากล่าวหาพระองค์ ในที่สุดมีสองคนออกมา 61 ให้การว่า “คนนี้พูดว่า ‘ข้าพเจ้าสามารถทำลายพระวิหารของพระเจ้าและสร้างขึ้นใหม่ได้ภายในสามวัน’”

62 แล้วมหาปุโรหิตจึงยืนขึ้นกล่าวกับพระเยซูว่า “ท่านจะไม่ตอบอะไรหรือ? คำให้การที่คนเหล่านี้กล่าวหาท่านเป็นเรื่องอะไรกัน?” 63 แต่พระเยซูทรงนิ่งอยู่

มหาปุโรหิตจึงกล่าวกับพระองค์ว่า “ภายใต้คำสาบานโดยอ้างพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่ เราสั่งท่านว่าถ้าท่านคือพระคริสต์[e]พระบุตรของพระเจ้าก็จงบอกเรามา”

64 พระเยซูตรัสว่า “ใช่อย่างที่ท่านพูด เราขอบอกท่านทุกคนว่าในอนาคตท่านจะเห็นบุตรมนุษย์นั่งอยู่เบื้องขวาพระหัตถ์ขององค์ทรงฤทธิ์และเสด็จมาบนหมู่เมฆแห่งฟ้าสวรรค์”

65 มหาปุโรหิตจึงฉีกเสื้อของตนและพูดว่า “เขาได้พูดหมิ่นประมาทพระเจ้า! เราจะต้องหาพยานอีกทำไม? ดูเถิด บัดนี้ท่านทั้งหลายได้ยินคำหมิ่นประมาทแล้ว 66 ท่านคิดเห็นอย่างไร?”

พวกนั้นตอบว่า “เขาสมควรตาย”

67 แล้วพวกเขาถ่มน้ำลายใส่พระพักตร์และต่อยพระองค์ คนอื่นๆ ก็ตบพระองค์ 68 และว่า “เจ้าพระคริสต์ ทำนายให้เราฟังสิ ใครตบเจ้า?”

เปโตรปฏิเสธพระเยซู

69 ฝ่ายเปโตรนั่งอยู่ที่ลานบ้าน สาวใช้คนหนึ่งมาพูดกับเปโตรว่า “เจ้าก็อยู่กับเยซูแห่งกาลิลีด้วย”

70 แต่เปโตรปฏิเสธต่อหน้าคนทั้งปวงว่า “เจ้าพูดอะไร? ข้าไม่รู้เรื่อง”

71 แล้วเปโตรออกไปที่ประตูรั้ว สาวใช้อีกคนหนึ่งเห็นเขาก็พูดกับคนที่นั่นว่า “คนนี้อยู่กับเยซูชาวนาซาเร็ธ”

72 เปโตรปฏิเสธอีกพร้อมทั้งสาบานว่า “ข้าไม่รู้จักคนนั้น!”

73 สักครู่ผู้คนที่อยู่แถวนั้นมาพูดกับเปโตรว่า “ใช่แน่ๆ เจ้าเป็นคนหนึ่งในพวกนั้น ฟังจากสำเนียงของเจ้าก็รู้”

74 แล้วเปโตรจึงสบถสาบานเป็นการใหญ่ว่า “ข้าไม่รู้จักคนนั้น!”

ทันใดนั้นไก่ก็ขัน 75 เปโตรจึงนึกขึ้นได้ถึงสิ่งที่พระเยซูตรัสไว้ว่า “ก่อนไก่ขันท่านจะปฏิเสธเราถึงสามครั้ง” เขาจึงออกไปข้างนอกและร้องไห้อย่างขมขื่น

Footnotes

  1. 26:25 หรือ“ท่านได้พูดเองแล้ว”
  2. 26:28 สำเนาต้นฉบับบางสำเนาว่าพันธสัญญาใหม่
  3. 26:31 ศคย. 13:7
  4. 26:50 หรือ“เพื่อนเอ๋ย ท่านมาทำไม?”
  5. 26:63 หรือพระเมสสิยาห์เช่นเดียวกับข้อ 68

เนื้อเพลง