วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566

พรรคการเมืองไทย ปี 2566

 พรรคการเมืองไทย ปี 2566

จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ล่าสุด ณ วันที่ 17 มีนาคม 2566 ระบุว่า มีพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น 85 พรรค ดังนี้

1.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)

  • หัวหน้าพรรค       นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 
  • เลขาธิการพรรค   นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน 
  • สมาชิกพรรค       82,648 คน
  • จำนวน ส.ส.              51  คน

2.พรรคประชากรไทย (ปชท.)

  • หัวหน้าพรรค        นายคณิศร  สมมะลวน
  • สมาชิกพรรค        13, 788 คน

3.พรรคความหวังใหม่ (ควม.)

  • หัวหน้าพรรค     นายชิงชัย มงคลธรรม
  • เลขาธิการพรรค นายวิทยา ปราบภัย
  • สมาชิกพรรค         7,498 คน

4.พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย (พนท.)

  • หัวหน้าพรรค        นายวชิร ศุภรมย์
  • เลขาธิการพรรค   นายวันชัย ปารมีกาศ 
  • สมาชิกพรรค       10,028 คน

5.พรรคเพื่อไทย (พท.)

  • หัวหน้าพรรค      นายชลน่าน ศรีแก้ว
  • เลขาธิการพรรค นายประเสริฐ จันทรรวงทอง
  • สมาชิกพรรค      66,833  คน
  • จำนวน ส.ส.            133   คน

6.พรรคชาติพัฒนากล้า (ชพก.)

  • หัวหน้าพรรค       นายกรณ์  จาติกวนิช 
  • เลขาธิการพรรค  นายเทวัญ ลิปตพัลลภ 
  • สมาชิกพรรค       15, 210 คน
  • จำนวน ส.ส.      4  คน

7.พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.)

  • หัวหน้าพรรค       นายวราวุธ ศิลปอาชา 
  • เลขาธิการพรรค   นายประภัตร โพธสุธน 
  • สมาชิกพรรค      11,433 คน
  • จำนวน ส.ส.      12 คน

8.พรรคอนาคตไทย (อท.)

  • หัวหน้าพรรค       นายประวัติ เทียนขุนทด 
  • เลขาธิการพรรค   นางภัครัตน์ มุขแก้ว 
  • สมาชิกพรรค       10,313 คน

9.พรรคภูมิใจไทย (ภท)

  • หัวหน้าพรรค       นายอนุทิน ชาญวีรกูล 
  • เลขาธิการพรรค   นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ
  • สมาชิกพรรค        61,703 คน
  • จำนวน ส.ส.                65  คน

10.พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย (ส.ป.ท.)

  • หัวหน้าพรรค       นายสาวิทย์ แก้วหวาน
  • เลขาธิการพรรค   นายสุคม ศรีนวล
  • สมาชิกพรรค      11,443 คน

11.พรรคประชาสามัคคี (ปส.)

  • หัวหน้าพรรค       นางสมพร จูมั่น
  • เลขาธิการพรรค   นายพิทักษ์ สินธุโครต 
  • สมาชิกพรรค      10,087 คน

12.พรรคประชาธิปไตยใหม่ (ปธม.)

  • หัวหน้าพรรค       นายสุรทิน พิจารณ์
  • สมาชิกพรรค     40,423 คน
  • จำนวน ส.ส.      1 คน

13.พรรคครูไทยเพื่อประชาชน (ค.พ.ช.)

  • หัวหน้าพรรค       นายปรีดา บุญเพลิง
  • เลขาธิการพรรค   นายชัยพร ธนถาวรกิจ
  • สมาชิกพรรค      18,402 คน
  • จำนวน ส.ส.      1 คน

14.พรรคพลังสหกรณ์ (พ.พส.)

  • หัวหน้าพรรค      นายอดิศักดิ์ ฟักแฟง 
  • เลขาธิการพรรค  นายนพรัต ลำเนาครุฑ 
  • สมาชิกพรรค      11,980 คน

15.พรรคพลังท้องถิ่นไท (พทท.)

  • หัวหน้าพรรค     นายชัชวาลย์ คงอุดม  
  • เลขาธิการพรรค  นายประนอม โพธิ์ดำ 
  • สมาชิกพรรค     17,278 คน
  • จำนวน ส.ส.     5  คน

16.พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล (ถกชว)

  • หัวหน้าพรรค       นางจุฑามาศ ปลอดดี
  • เลขาธิการพรรค   นายชัยอนันต์ มานะกุล 
  • สมาชิกพรรค      10,494 คน

17.พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย (รป.)

  • หัวหน้าพรรค       นายประเสริฐ อภิปุญญา
  • เลขาธิการพรรค   นายอาคม จันทนสลาช 
  • สมาชิกพรรค      11,484 คน
  • จำนวน ส.ส.          2  คน

18.พรรคคเสรีรวมไทย (สร.)

  • หัวหน้าพรรค       พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียเวส 
  • เลขาธิการพรรค   นายวัชรา ณ วังขนาย 
  • สมาชิกพรรค      46,919 คน
  • จำนวน ส.ส.      10 คน

19.พรรครักษ์ธรรม (ร.ธ.)

  • หัวหน้าพรรค   นายศักดาวุธ โกมลประเสริฐ     
  • เลขาธิการพรรค   นายธานินท์ จุ้ยมณี 
  • สมาชิกพรรค     10,339 คน

20.พรรคเพื่อชาติ (พ.พ.ช.)

  • หัวหน้าพรรค   นางสาวปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช 
  • เลขาธิการพรรค  ร.อ.จารุพล เรืองสุวรรณ 
  • สมาชิกพรรค     11,118 คน
  • จำนวน ส.ส.    6 คน

21.พรรคพลังประชาธิปไตย (พปต.)

  • หัวหน้าพรรค   นายพูนพิพัฒน์ นิลรังษี
  • เลขาธิการพรรค  น.ท.ชุมพล พุฒซ้อน 
  • สมาชิกพรรค      26, 325 คน

22.พรรคภราดรภาพ (ภดภ.)

  • หัวหน้าพรรค   นายบุญญา หลีเหลด 
  • เลขาธิการพรรค  นายสมบูรณ์ จิตตระบูรณ์ 
  • สมาชิกพรรค    10,272 คน

23.พรรคพลังไทยรักชาติ (พทรช.)

  • หัวหน้าพรรค   นายกิตติเดช เมืองอู่มงคล (รักษาการหัวหน้าพรรค)
  • เลขาธิการพรรค  นายญาณวุฒิ ทองเฟื่อง 
  • สมาชิกพรรค    11,586 คน

24.พรรคช่วยชาติ (พชช.)

  • หัวหน้าพรรค   นางสาวนงนุช บัวใหญ่
  • เลขาธิการพรรค  นายปรเมศวร์ สุขประเสริฐ 
  • สมาชิกพรรค      15,038 คน

25.พรรคก้าวไกล (ก.ก.)

  • หัวหน้าพรรค   นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ 
  • เลขาธิการพรรค  นายชัยธวัช ตุลาธน 
  • สมาชิกพรรค     44,893 คน
  • จำนวน ส.ส.    51 คน

26.พรรคทางเลือกใหม่ (ทลม.)

  • หัวหน้าพรรค   นายราเชน ตระกูลเวียง 
  • เลขาธิการพรรค  นายชายประจักร์ ศิริพันธุ์ 
  • สมาชิกพรรค     33,642 คน

27.พรรคประชาภิวัฒน์ (ปชภ.)

  • หัวหน้าพรรค   นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ 
  • เลขาธิการพรรค  นางนันทนา สงฆ์ประชา 
  • สมาชิกพรรค     13,785 คน
  • จำนวน ส.ส.    1 คน

28.พรรคพลเมืองไทย (พล.)

  • หัวหน้าพรรค   นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ 
  • เลขาธิการพรรค  นางสาวศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ 
  • สมาชิกพรรค    10,726 คน
  • จำนวน ส.ส.    1 คน

29.พรรคสร้างอนาคตไทย (สอท.) เดิมชื่อพรรคพลังไทยนำไทย 

  • หัวหน้าพรรค   นายอุตตม สาวนายน 
  • เลขาธิการพรรค  นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ 
  • สมาชิกพรรค     16, 963 คน

30.พรรคพลังธรรมใหม่ (พธม.)

  • หัวหน้าพรรค   นายระวี มาศฉมาดล 
  • สมาชิกพรรค     10,151 คน
  • จำนวน ส.ส.    1 คน

31.พรรคไทยธรรม (ทธม.)

  • หัวหน้าพรรค   นายอโณทัย ดวงดารา 
  • เลขาธิการพรรค  นายผดุงวุฒิ แก้วแสงทอง 
  • สมาชิกพรรค   28,881  คน

32.พรรคไทยศรีวิไลย์ (ทศล.)

  • หัวหน้าพรรค   นายมงคลกิตต์ สุขสินธารานนท์ 
  • เลขาธิการพรรค  นายศยุน ชัยปัญญา 
  • สมาชิกพรรค     11,399 คน
  • จำนวน ส.ส.   1  คน

33.พรรครวมพลัง (รพ.)

  • หัวหน้าพรรค  นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์   
  • เลขาธิการพรรค  นางสาวพัชรินรุจา จันทโรนานนท์ 
  • สมาชิกพรรค     11,656 คน
  • จำนวน ส.ส.    5 คน

34.พรรคพลังไทรุ่งเรือง (พทร) เดิมชื่อสยามพัฒนา 

  • หัวหน้าพรรค   นายฮงค์ฑัย แซ่ตัน 
  • เลขาธิการพรรค  นายทองหล่อ พลโคตร 
  • สมาชิกพรรค    10,689 คน

35.พรรคไทยพร้อม (พทพ) 

  • หัวหน้าพรรค  นายวิทยา อินาลา  
  • สมาชิกพรรค   10,075  คน

36.พรรคพลังปวงชนไทย (พลท.)

  • หัวหน้าพรรค   นายนิคม บุญวิเศษ 
  • เลขาธิการพรรค  นายจรินทร์ เฮียงกุล 
  • สมาชิกพรรค     16,565 คน
  • จำนวน ส.ส.     1 คน

37.พรรคเพื่อชาติไทย (พ.ชต.ท.) เดิมชื่อพรรคพลังไทยรักไทย

  • หัวหน้าพรรค   นายคฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล 
  • สมาชิกพรรค     17,829 คน
  • จำนวน ส.ส.    1 คน

38.พรรครวมแผ่นดิน (รผด.) เดิมชื่อ พรรคพลังชาติไทย 

  • หัวหน้าพรรค   พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
  • เลขาธิการพรรค  นายจำลอง ครุฑขุนทด 
  • สมาชิกพรรค     22,124 คน
  • จำนวน ส.ส.    1 คน

39.พรรคประชาชาติ (ปช.)

  • หัวหน้าพรรค   นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา 
  • เลขาธิการพรรค  พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง 
  • สมาชิกพรรค    19,820  คน 
  • จำนวน ส.ส.    7 คน

40.พรรคแผ่นดินธรรม (ผธ.)

  • หัวหน้าพรรค   นายกรณ์ มีดี
  • เลขาธิการพรรค  นายพลากร เทศนำ
  • สมาชิกพรรค     10,347 คน

41.พรรคคลองไทย (คล.ท.)

  • หัวหน้าพรรค   นายสายัณห์ อินทรภักดิ์ 
  • เลขาธิการพรรค  นายธนเสฎฐ์ นิติธนากานต์ 
  • สมาชิกพรรค    35,907 คน

42.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)

  • หัวหน้าพรรค   พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ 
  • เลขาธิการพรรค  นายสันติ พร้อมพัฒน์
  • สมาชิกพรรค     58,582 คน
  • จำนวน ส.ส.    100 คน

43.พรรคเศรษฐกิจใหม่ (ศม)

  • หัวหน้าพรรค   นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ 
  • เลขาธิการพรรค  นายมนตรี สันติไชยกุล  
  • สมาชิกพรรค    11,007 คน
  • จำนวน ส.ส.    6 คน

44.พรรคพลังสังคม (พ.พ.ส.)

  • หัวหน้าพรรค  นางณฐพร ชลายนนาวิน (รักษาการหัวหน้าพรรค)
  • เลขาธิการพรรค  นางณฐพร ชลายนนาวิน
  • สมาชิกพรรค     10,123 คน

45.พรรคเพื่อราษฎร (พร.) เดิมชื่อพรรคสุจริตชน 

  • หัวหน้าพรรค   -
  • เลขาธิการพรรค  -
  • สมาชิกพรรค   10,381   คน

46.พรรคพลังศรัทธา (พลศธ.)

  • หัวหน้าพรรค   พล.อ.อนันตร์ บุญรำไพ
  • เลขาธิการพรรค  น.ส.พิศมัย เสนาวงค์ 
  • สมาชิกพรรค     5,912 คน

47.พรรคเป็นธรรม (ปธ.) เดิมชื่อพรรคกลาง 

  • หัวหน้าพรรค   นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ 
  • เลขาธิการพรรค  นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล 
  • สมาชิกพรรค    9,359  คน

48.พรรคพลังเพื่อไทย (พล.พท.)

  • หัวหน้าพรรค   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ 
  • เลขาธิการพรรค  นายกิตินันท์ หาญจิตรนภัสสร 
  • สมาชิกพรรค     10,223 คน

49.พรรคประชาไทย (ปรชท.)

  • หัวหน้าพรรค   นายบุญยงค์ จันทร์แสง 
  • เลขาธิการพรรค  นางสาววิลาสิณีร์ รองเรือง
  • สมาชิกพรรค     9,057 คน

50.พรรคกรีน (กร) 

  • หัวหน้าพรรค   นายพงศา ชูแนม
  • เลขาธิการพรรค  นายสุเทพ คงเทศ
  • สมาชิกพรรค     10,315 คน

51.พรรคสามัญชน (พ.สมช)

  • หัวหน้าพรรค   นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 
  • สมาชิกพรรค  10,186  คน

52.พรรคภาคีเครือข่ายไทย (ภคท.)

  • หัวหน้าพรรค   นางสาวกฤษอนงค์ สุวรรณวงศ์
  • เลขาธิการพรรค  นายกฤษณ์ เหลืองอร่าม 
  • สมาชิกพรรค     10,727 คน

53.พรรครวมไทยยูไนเต็ด (รทย) เดิมชื่อพรรคเพื่อไทยพัฒนา

  • หัวหน้าพรรค   นายอภิรัต ศิรินาวิน
  • เลขาธิการพรรค  นายพงศ์ธร เพชรชาติ 
  • สมาชิกพรรค     10,902 คน

54.พรรคคนงานไทย (พ.ค.ง.ท.)

  • หัวหน้าพรรค   นายธีระ เจียบุญหยก
  • เลขาธิการพรรค นายสุธรรม เลิศพงษ์ประเสริฐ  
  • สมาชิกพรรค    7,977 คน

55.พรรคเพื่ออนาคตไทย (พอท)

  • หัวหน้าพรรค นายอนุวัฒน์ วิกัยพัฒน์   
  • เลขาธิการพรรค  นายประกาศิต การสอน
  • สมาชิกพรรค     9,222 คน

56.พรรคเศรษฐกิจไทย (ศท) 

  • หัวหน้าพรรค   นายเชวงศักดิ์ ใจคำ
  • เลขาธิการพรรค  นายสัจจวิทย์ ลีลาวณิชย์ 
  • สมาชิกพรรค     23,633คน
  • จำนวน ส.ส.    18 คน

57.พรรคเส้นทางใหม่ (สทม.) เดิมชื่อพรรคไทยชอบธรรม

  • หัวหน้าพรรค   นายเมธี กาญวัฒนะกิจ
  • เลขาธิการพรรค  นายศุภคุณ สุรทวีคุณ 
  • สมาชิกพรรค     6,099 คน

58.พรรคไทยรวมไทย (ทรวท.)

  • หัวหน้าพรรค   นายณัฐติพงษ์ วันทวี
  • เลขาธิการพรรค  นายธีรยุทธ พึ่งเพียร 
  • สมาชิกพรรค     10,961 คน

59.พรรคกล้า (ก.)

  • หัวหน้าพรรค   นายจีระยุทธ วีรวงศ์ 
  • เลขาธิการพรรค  นางสาวสุดารัตน์ กิ่งนอก 
  • สมาชิกพรรค     25,578 คน

60.พรรคยุทธศาสตร์ชาติ (ย.ศ.ช.)

  • หัวหน้าพรรค   นายขจรศักดิ์ ประดิษฐาน 
  • เลขาธิการพรรค  นายจตุรวิทย์ กาละมิตร์ 
  • สมาชิกพรรค     21,660 คน

61.พรรคพลังสังคมใหม่ (พ.ส.ม.)

  • หัวหน้าพรรค   นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ 
  • เลขาธิการพรรค  นายลำโขง ธารธนศักดิ์ 
  • สมาชิกพรรค     13,410 คน

62.พรรคไทยสร้างไทย (ทสท) 

  • หัวหน้าพรรค   คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 
  • เลขาธิการพรรค  น.ต.ศิธา ทิวารี 
  • สมาชิกพรรค     62,412 คน

63.พรรคมิติใหม่ (มต.)

  • หัวหน้าพรรค   นายปรีชา ไข่แก้ว 
  • เลขาธิการพรรค  นายปพน วงศ์ตระกูล 
  • สมาชิกพรรค     5,978 คน

64.พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)

  • หัวหน้าพรรค   นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
  • เลขาธิการพรรค  นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ 
  • สมาชิกพรรค      50,652 คน 

65.พรรคไทยสมาร์ท (ทสม) เดิมชื่อมวลชนสยาม

  • หัวหน้าพรรค   นายเกียรติภูมิ สิริพันธุ์ 
  • สมาชิกพรรค     11,316 คน

66.พรรคเพื่อประชาชน (พป)

  • หัวหน้าพรรค   นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข
  • เลขาธิการพรรค  นายเอกชัย มากอ้น 
  • สมาชิกพรรค      5,465 คน

67.พรรคพลังสยาม (พส.)

  • หัวหน้าพรรค   นายทรงธรรม โรจนเครือวัลย์ 
  • เลขาธิการพรรค  ว่าที่ ร.ต.อภิรักษ์ สาคร
  • สมาชิกพรรค      5,248 คน

68.พรรคไทยภักดี (ทภด)

  • หัวหน้าพรรค   นายวรงค์ เดชกิจวิกรม
  • เลขาธิการพรรค  พ.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช 
  • สมาชิกพรรค      16,547 คน

69.พรรคแนวทางใหม่ (นทม)

  • หัวหน้าพรรค   นายธวเดช ภาจิตรภิรมย์ 
  • เลขาธิการพรรค  นายณชพัฒน์ ชินวัตร
  • สมาชิกพรรค      8,240 คน

70.พรรคพเสมอภาค (สมภ.)

  • หัวหน้าพรรค   นางรฎาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ 
  • เลขาธิการพรรค  นางสางวฐิติพร ฌานวังศะ 
  • สมาชิกพรรค     6,470  คน

71.พรรคไทยชนะ (ทช)

  • หัวหน้าพรรค   นายจักรพงศ์ ชื่นดวง
  • เลขาธิการพรรค  นายฐานวัฒน์ วิบูลย์ธนสาร
  • สมาชิกพรรค     7,180 คน

72.พรรคเพื่อไทรวมพลัง (พทล.)

  • หัวหน้าพรรค   นายวสวรรธน์ พวงพรศรี 
  • เลขาธิการพรรค  นายวรเชษฐ เชิดชู 
  • สมาชิกพรรค      7,579 คน

73.พรรคไทยสร้างสรรค์ (ท.ส.ส)

  • หัวหน้าพรรค  นายธำรงค์ เรืองธุระกิจ  
  • เลขาธิการพรรค  นางสาวญาณิศา จันทร์เรือง 
  • สมาชิกพรรค      5,782 คน

74.พรรคราษฎร์วิถี (รวถ)

  • หัวหน้าพรรค   นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ 
  • เลขาธิการพรรค  พ.ต.ภรัณ กิตติวัฒน์ 
  • สมาชิกพรรค     5,871 คน

75.พรรคไทยเป็นหนึ่ง (ทปน)

  • หัวหน้าพรรค   นายนิธิพัฒน์ พัสวีดิลกภัทร์ 
  • เลขาธิการพรรค  นางสาวโชติกาญจน์ บุญพรม 
  • สมาชิกพรรค      5,851 คน

76.พรรคท้องที่ไทย (ท.)

  • หัวหน้าพรรค   ด.ต.วีระ หมีทอง
  • เลขาธิการพรรค   นายอรรถษิธ ชื่นสงวน 
  • สมาชิกพรรค     7,037 คน

77.พรรคเปลี่ยนอนาคต (พปอ.)

  • หัวหน้าพรรค   นายอัครนันท์ อริยศรีพงษ์ 
  • สมาชิกพรรค      3,145 คน

78.พรรคใหม่ (ม) 

  • หัวหน้าพรรค   นายกฤดิทัช แสงธนโยธิน 
  • เลขาธิการพรรค   นายสุปรีย์ แสงสว่าง 
  • สมาชิกพรรค      2,794 คน

79.พรรคแรงงานสร้างชาติ (รสช.)

  • หัวหน้าพรรค   นายมนัส โกศล 
  • เลขาธิการพรรค   นายวสันต์ พานเงิน 
  • สมาชิกพรรค      3,628 คน

80.พรรคไทยก้าวหน้า (ทกน.)

  • หัวหน้าพรรค   นายวัชรพล บุษมงคล 
  • เลขาธิการพรรค   นายภูมินทร์ วรปัญญา 
  • สมาชิกพรรค      3,706 คน

81.พรรคพลัง (พ.)

  • หัวหน้าพรรค   นายชัยยพล พสุรัตน์บรรจง
  • เลขาธิการพรรค   นางสาวอัญชิสา เทพทับทิมทอง 
  • สมาชิกพรรค      1,245 คน

82.พรรคสยามพล (สย.)

  • หัวหน้าพรรค   นายสุขอนันต์ วังสุนทร 
  • เลขาธิการพรรค   นายวัชระ สระแก้ว
  • สมาชิกพรรค     1,448 คน

83.พรรคชาติรุ่งเรือง (ชรร.)

  • หัวหน้าพรรค   นางพิมไหมทอง ศักดิพัตโภคิน 
  • เลขาธิการพรรค   นายกัณตพัฒน์ เตชะกมลสุข 
  • สมาชิกพรรค      2,536 คน

84.พรรครวมใจไทย (ร.จ.ท.)

  • หัวหน้าพรรค   นายบุญรวี ยมจินดา 
  • เลขาธิการพรรค   นายอรุณ คูณคำ 

85.พรรคสัมมาธิปไตย (สธต.)

  • หัวหน้าพรรค นายใจเพชร กล้าจน
  • เลขาธิการพรรค นางนิตยาภรณ์ สุระสาย 

วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2566

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8



 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีสมเด็จพระเชษฐภคินีคือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระอนุชาคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9  และเป็นพระบรมราชปิตุลาธิบดีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

พระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 ขณะที่มีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา และประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังนั้น จึงมีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะ

พระองค์เสด็จนิวัตพระนครครั้งแรกภายหลังทรงราชย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 แต่ก่อนกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน พระองค์ก็ได้เสด็จสวรรคตด้วยทรงต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น 12 ปี

พระราชประวัติ

ขณะทรงพระเยาว์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นพระโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดิลแบร์ค สาธารณรัฐไวมาร์ (ปัจจุบันคือประเทศเยอรมนี) ขณะที่สมเด็จพระราชชนกทรงศึกษาการแพทย์ที่ประเทศเยอรมนี โดยได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล โดยสมเด็จพระราชชนนีทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า นันท  พระองค์ทรงมีสมเด็จพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระอนุชา 1 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 


เมื่อทรงพระเยาว์ได้ตามเสด็จสมเด็จพระราชชนกและสมเด็จพระราชชนนีไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งประเทศฝรั่งเศส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐ ซึ่งสมเด็จพระราชชนกทรงเข้าทรงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐ ในระหว่างปี พ.ศ. 2469 - 2471 แล้วจึงเสด็จกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อพระชนมายุได้ 3 พรรษา ประทับ ณ วังสระปทุม ในระหว่างนั้นสมเด็จพระราชชนกทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ ดังนั้น พระองค์จึงอยู่ในความดูแลของสมเด็จพระราชชนนีเพียงพระองค์เดียว 

พระองค์ทรงเริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี และเข้าทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 สมเด็จพระราชชนนีได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในการที่จะทรงนำพระโอรสและพระธิดาไปประทับที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยพระองค์ได้เข้าทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนมีเรมองต์ ต่อมาย้ายไปทรงศึกษาที่โรงเรียน "เอกอลนูแวลเดอลาซืออิสโรมองต์" และทรงศึกษาภาษาไทย ณ ที่ประทับ โดยมีพระอาจารย์ตามเสด็จไปจากกรุงเทพ

การขึ้นทรงราชย์

วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และมิได้ทรงสมมติเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นรัชทายาท ดังนั้น คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรจึงได้อัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลที่มีพระชันษาเพียง 9 ปี ซึ่งเป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ขึ้นทรงราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไปตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 และได้รับการเฉลิมพระนามใหม่เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2478 ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

ในขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมพรรษาเพียง 8 พรรษา และยังทรงประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงทำให้ต้องมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อบริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) 

เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์สิ้นพระชนม์ สภาผู้แทนราษฎรจึงได้แต่งตั้งให้นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเมื่อเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ถึงแก่อสัญกรรม จึงมีการแต่งตั้งให้ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทน หลังจากนั้น เมื่อเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) ถึงแก่อสัญกรรม รวมทั้ง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง นายปรีดี พนมยงค์ จึงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพียงผู้เดียว จนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จกลับสู่พระนคร

การเสด็จนิวัตพระนคร

รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตพระนคร เมื่อปลายปี พ.ศ. 2477 เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แต่เนื่องจากพระพลานามัยของพระองค์ไม่สมบูรณ์แข็งแรงจึงได้เลื่อนกำหนดออกไปก่อน และได้กราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จฯ อีกครั้งในปี พ.ศ. 2478 แต่ก็ทรงติดขัดเรื่องพระพลานามัยอีกเช่นกัน หลังจากนั้น รัฐบาลได้ส่งพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์) ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชชนนีที่โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตพระนครอีกครั้งในปี พ.ศ. 2479 อย่างไรก็ตาม ในระหว่างเตรียมการเสด็จนิวัตพระนครนั้น ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ คณะรัฐบาลใหม่จึงขอเลื่อนการรับเสด็จออกไปอย่างไม่มีกำหนด

หลังจากนั้น รัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จนิวัตพระนครอีกครั้ง ในครั้งนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วย สมเด็จพระราชชนนี, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินจากเมืองโลซานที่ประทับโดยทางรถไฟมายังเมืองมาเชลล์ เพื่อประทับเรือเมโอเนีย ในการเสด็จพระราชดำเนินกลับสู่ประเทศไทย และเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 เรือพระที่นั่งได้เทียบจอดทอดสมอที่เกาะสีชัง รัฐบาลได้จัดเรือหลวงศรีอยุธยาออกไปรับเสด็จมายังจังหวัดสมุทรปราการ ณ ที่นั้น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้เสด็จไปคอยรับพระราชนัดดาและพระสุนิสาด้วย หลังจากนั้น จึงได้เสด็จโดยเรือหลวงศรีอยุธยาเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และทรงประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งนับเป็นการเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลังจากเสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ทรงใช้เวลาอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลาประมาณ 2 เดือน จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง พระองค์จึงเสด็จนิวัตพระนครอีกครั้ง พร้อมด้วยสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช แต่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา มิได้ตามเสด็จด้วย เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ซึ่งการเสด็จนิวัตประเทศในครั้งนี้ ทางราชการได้จัดพระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ และเนื่องจากพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงสามารถบริหารราชการแผ่นดินได้โดยไม่ต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอีก

ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง


เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ร่วมกับเหตุการณ์การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ กองทัพญี่ปุ่นเข้ารุกรานและเข้ายึดครองประเทศไทย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้เสด็จออกนอกประเทศ และเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และนาย ปรีดี พนมยงค์ เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2485 ไทยที่ถูกยึดครองได้กลายเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของจักรวรรดิญี่ปุ่นและเป็นสมาชิกของฝ่ายอักษะ ภายใต้การนำโดยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ไทยได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ผู้สำเร็จราชการได้ปฏิเสธที่จะลงนามในปฏิญญาฉบับนี้จึงทำให้ตกเป็นโมฆะตามกฎหมาย สมาชิกจำนวนมากของรัฐบาลไทย รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูตไทยในญี่ปุ่น ได้ทำหน้าที่เป็นสายลับโดยพฤตินัยในขบวนการใต้ดินเสรีไทยที่เข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร ได้คอยส่งข้อมูลลับไปยังหน่วยข่าวกรองบริติช และสำนักบริการด้านยุทธศาสตร์ของสหรัฐ ใน พ.ศ. 2487 ได้ปรากฏเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าญี่ปุ่นกำลังจะพ่ายแพ้สงคราม กรุงเทพมหานครถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักโดยฝ่ายสัมพันธมิตร บวกเข้ากับความยากลำบากทางเศรษฐกิจทำให้สงครามและรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามไม่เป็นที่นิยมอย่างมาก ในเดือนกรกฎาคม จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกขับไล่โดยรัฐบาลไทยที่ถูกเสรีไทยเข้าแทรกซึม รัฐสภาไทยได้เรียกการประชุมและแต่งตั้งให้ทนายความฝ่ายเสรีนิยม นาย ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ญี่ปุ่นได้ยอมจำนน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และความรับผิดชอบทางทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรสำหรับประเทศไทยได้ตกเป็นของบริติช

หลังสงครามโลก

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลงทำให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตพระนคร นี่จึงเป็นการเสด็จนิวัตพระนครครั้งที่สองในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2488 พร้อมกับปริญญาด้านนิติศาสตร์ แม้ว่าพระองค์จะยังทรงพระเยาว์และไร้ประสบการณ์ แต่กลับเอาชนะใจของปวงชนชาวไทยอย่างรวดเร็ว ซึ่งยังคงให้ความเคารพเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดช่วงยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2473 และ พ.ศ. 2483 ชาวไทยรู้สึกยินดีปรีดาที่มีพระเจ้าอยู่หัวมาอยู่ท่ามกลางพวกเขาอีกครั้ง พระราชกรณียกิจซึ่งเป็นที่จดจำได้เป็นอย่างดีของพระองค์คือ การเสด็จเยือนย่านสำเพ็ง(ซอยสำเพ็ง) ไชนาทาวน์ในกรุงเทพ ซึ่งพระองค์ได้รับการต้อนรับเสด็จอย่างล้นหลาม โดยมีพระราชประสงค์เพื่อคลี่คลายความตึงเครียดหลังสงครามที่ดูอ้อยอิ่งระหว่างชาวไทยและชาวจีนในกรุงเทพ

เหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้ชาวไทยตระหนักถึงเกียรติภูมิของชาติว่าจำเป็นต้องรักษา คือ ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเทน แห่งกองทัพอังกฤษ ผู้บัญชาการทหารฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เข้ามาในพระนครและมีการตรวจพลสวนสนามกองฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2489 พระบามสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ได้เสด็จออกทรงรับการตรวจพลสวนสนามในฐานะองค์พระประมุขของประเทศพร้อมกับ ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเทน เป็นการเสด็จออกอย่างสง่างามสมพระเกียรติ ในฉลองพระองค์จอมทัพไทย ส่งผลให้ความขัดข้องในจิตใจคนไทยว่าเมืองไทยจะอยู่ในฐานะถูกยึดครองนั้นหมดไปทันที และมีกำลังใจในการต่อสู้กับความทุกข์ยากอันเกิดจากผลของสงครามมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตการณ์ต่างประเทศ เชื่อกันว่าอานันทมหิดลทรงไม่ต้องการที่จะเป็นพระเจ้าอยู่หัวและทรงมีพระราชฤทัยว่าการครองราชย์ของพระองค์คงจะอยู่ได้ไม่นาน หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า ผู้บัญชาการกองทัพบริติชในเอเชียตะวันออกได้เยือนสู่กรุงเทพในเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 และได้พรรณาถึงพระเจ้าอยู่หัวว่า "ทรงเป็นเด็กผู้ชายที่มีสายตาสั้นที่ดูขวัญอ่อน ไหล่ที่ลาดเอียงและหน้าอกบอบบางซึ่งประดับด้วยเครื่องประดับเพชรที่สวยงาม รูปร่างที่น่าสงสารและอ้างว้าง" ในงานสาธารณะ เมานต์แบ็ตเทนได้เขียนว่า 'ด้วยความวิตกกังวลของเขาได้เพิ่มมากขึ้นจนน่าตกใจ เมื่อข้าพเจ้าได้เข้าใกล้ชิดเพื่อสนับสนุนเขาในกรณีที่พระองค์เกิดหมดพระสติ"

การเฉลิมพระปรมาภิไธย


ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2489 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย

หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ในโอกาสมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นพระปรมาภิไธยอันวิเศษตามแบบแผนโบราณราชประเพณีว่า

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม จักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรศรามาธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร 

นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขานพระปรมาภิไธยอย่างมัธยมว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร และอย่างสังเขปว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

พระราชกรณียกิจ

การปกครอง

พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 และเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ และทรงเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สำเพ็ง พระนคร พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนจนเกือบเกิดสงครามกลางเมือง เมื่อพระองค์ทรงทราบเรื่อง มีพระราชดำริว่า หากปล่อยความขุ่นข้องบาดหมางไว้เช่นนี้ จะเป็นผลร้ายตลอดไป จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็ง ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง และพระองค์ทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาทเป็นระยะประมาณ 3 กิโลเมตร การเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็งในครั้งนี้จึงเป็นการประสานรอยร้าวที่เกิดขึ้นให้หมดไป

การศาสนา

ในการเสด็จนิวัตพระนครครั้งแรกนั้น พระองค์ได้ประกอบพิธีทรงปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ท่ามกลางมณฑลสงฆ์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธรูปในพระอารามที่สำคัญ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยเฉพาะที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารนั้น พระองค์เคยมีพระราชดำรัสกล่าวว่า "ที่นี่สงบเงียบน่าอยู่จริง" ดังนั้น เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต จึงได้นำพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้

พระองค์ยังทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะผนวชในพระพุทธศาสนา โดยได้มีพระราชหัตเลขาถึงสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2489 ทรงขอสังฆราชานุเคราะห์ในการศึกษาตำราทางพระพุทธศาสนาเพื่อใช้ในการเตรียมพระองค์ในการที่จะอุปสมบท แต่ก็มิได้ผนวชตามที่ตั้งพระราชหฤทัยไว้ นอกจากนี้ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์บำรุงวัดวาอาราม กับพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนาอื่นตามสมควร

การศึกษา


ในการเสด็จนิวัตพระนครในครั้งที่ 2 พระองค์ทรงได้ประกอบพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประเทศ โดยเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจการของหอสมุดแห่งชาติ รวมทั้ง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมสถานศึกษาหลายแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ทรงศึกษาขณะทรงพระเยาว์ นอกจากนี้ พระองค์ยังได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกของพระองค์ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 และอีกครั้งที่ หอประชุมราชแพทยาลัย ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยในการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้ มีพระราชปรารภให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน โรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 จึงได้ถือกำเนิดขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งในปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลังจากนั้น ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงหว่านข้าว ณ แปลงสาธิต ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งถือเป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย ก่อนเสด็จสวรรคต

สวรรคต


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงตั้งพระทัยจะทรงศึกษาปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์จนเรียบร้อยแล้วจึงจะเสด็จนิวัตพระนครเป็นการถาวรและจะทรงรับการบรมราชาภิเษกในภายหลัง แต่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อนด้วยพระแสงปืนในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9 นาฬิกา ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง ก่อนกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน คณะแพทย์ผู้ชันสูตรกว่าสามในสี่ลงความเห็นว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ และเป็นสมมุติฐานที่ได้รับการยอมรับในคำพิพากษาศาลฎีกา สิริพระชนมพรรษา 21 พรรษา  ครองราชสมบัติ 11 ปี


หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต ได้อัญเชิญพระบรมศพมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง และจัดให้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในระหว่างวันที่ 28 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2493 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง วันรุ่งขึ้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเก็บพระบรมอัฐิ และอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิประดิษฐานที่บุษบกเหนือพระแท่นแว่นฟ้าทองภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มุขตะวันตก และจัดให้มีการพระราชกุศลพระบรมอัฐิขึ้น หลังจากนั้น ได้อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมานทองกลาง ชั้นบนสุดของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินอัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ไปยังวัดสุทัศน์เทพวราราม และอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารบรรจุลงในหีบ พร้อมทั้งเคลื่อนหีบพระบรมราชสรีรางคารเข้าสู่พระพุทธบัลลังก์ พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566

แนวทางสะสมเลขสวย

 

นางอุทัยเทวี

 




อุทัยเทวี เป็นนิทานพื้นบ้านของไทยเรื่องหนึ่ง โดยตัวละครเอกของเรื่องนี้คือ นางอุทัยเทวี หญิงสาวชาวบ้านที่มีเชื้อชาติเป็นพญานาค ต่อมาได้อภิเษกกับ เจ้าชายสุทธราช โอรสกษัตริย์แห่งการพนคร โดยมีบันทึกในลักษณะกลอนสวด (ประพันธ์ด้วยกาพย์สุรางคนาค์ 28 - กาพย์ยานี 11) ซึ่งได้รับความนิยมมากในอดีต แต่ในภายหลังก็มีการแต่งให้มีการเพิ่มเติมเนื้อเรื่องให้มีความวิจิตรพิศดารขึ้น เช่น การกลับชาติมาเกิด ฯลฯ เพื่อให้เหมาะกับการเล่าแบบนิทานชาดก
 

 เรื่อง อุทัยเทวี      
           กล่าวถึงนครบาดาลอันเป็นเขตปกครองของ พญานาคราช พระองค์ทรงมีพระมเหสีทรงพระนามว่าวิมาลา มีพระธิดาผู้มีสิริโฉมงดงามองค์หนึ่งนามว่า สมุทมาลา ซึ่งเป็นที่รักดังดวงตาดวงใจ 
เมื่อพระธิดาสมทมาลาเจริญวัยขึ้นถึงคราวจะได้คู่ครอง ธิดาพญานาคเกิดนึกอยากจะขึ้นไปเที่ยวเล่นบนเมืองมนุษย์ พญานาคและพระมเหสีจะทัดทานอย่างไรก็ไม่ยอมเชื่อฟัง เนื่องด้วยเกรงว่าจะถูกพญาครุฑที่เป็นศัตรูเก่าจับตัวไป พญานาคราชจึงสั่งให้เหล่านางนาคพี่เลี้ยงคอยดูแลพระธิดาอย่าให้คลาดสายตา แต่ด้วยความดื้อรั้นในที่สุดนางสมุทมาลาก็แอบหนีขึ้นไปบนโลกพิภพจนได้แล้วแปลงตัวเป็นหญิงสาวสวย ขณะที่ธิดาพญานาคราชซึ่งแปลงร่างเป็นหญิงสาวกำลังเดินเล่นเที่ยวอยู่ในป่าตามลำพัง รุกขเทวดาเห็นความงามของนาง ก็มี ใจปฏิพัทธ์ จึงจำแลงกายเป็นมานพรูปงามลงมาหาแล้วเกี้ยวพาราสีจนได้นางเป็นชายา ครั้นพระอินทร์ทราบเรื่องเห็นว่ารุกขเทวดาเอาแต่มัวเมาในความรักไม่ทำหน้าที่พิทักษ์ป่าตามที่ได้รับมอบหมาย จึงเรียกตัวไปสอบสวนและลงโทษให้ไปอยู่นอกฟ้าป่าหิมพานต์ ส่วนธิดาพญานาคเมื่ออยู่คนเดียวตามลำพังนางก็เกิดความหวั่นกลัว ครั้นจะกลับไปยังเมืองบาดาลก็เกรงว่าพระบิดาจะลงโทษเพราะบัดนี้ตนกำลังตั้งครรภ์อยู่ นางจึงตัดสินใจสำรอกลูกในท้องออกมาเป็นไข่ฟองหนึ่ง พร้อมพ่นพิษนาคคุ้มครองไว้ไม่ให้ไข่ถูกทำลาย แล้วใช้ผ้าสไบของตนห่อไข่ไว้พร้อมกับนำไปซุกไว้ในพงหญ้าริมหนองน้ำโดยถอดแหวนวิเศษไว้ให้ลูกในห่อนั้นด้วย ครั้นรออยู่อีกระยะหนึ่งเห็นว่ารุกขเทวดาไม่กลับมาหาตนแน่ นางจึงกลับไปอยู่ในบาดาลตามเดิม


             ขณะนั้นมีคางคกใหญ่ตัวหนึ่งกำลังหิวจนตาลาย ครั้นเห็นฟองไข่ของธิดาพญานาคด้วยความหิวคางคกก็รีบกินแล้วกลืนลงท้องทันที พิษของพญานาคทำให้คางคกตัวนั้นถึงแก่ความตาย เป็นเวลาเดียวกับที่ไข่ครบกำหนดคลอดพอดี พอเปลือกไข่แตกออกภายในก็มีเด็กผู้หญิงหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดูคนหนึ่งออกมา เด็กน้อยจึงอาศัยอยู่ในซากคางคกตัวนั้น ด้วยเข้าใจว่าเป็นแม่ของตน ที่ชายป่าใกล้หนองน้ำแห่งนั้นมีกระท่อมปลูกอยู่หลังหนึ่ง เจ้าของเป็นชายชราชื่อว่า ตาโถถาด มีภรรยาชื่อว่า ยายกาวัล ทั้งสองมีฐานะยากจนไร้บุตรหลานคอยดูแล ต้องเก็บผักหักฟืนหาปูหาปลาเลี้ยงชีวิตกันตามลำพัง
              วันหนึ่งสองตายายมาช่วยกันหาปลาในหนองน้ำนั้น หากันตั้งแต่เช้าจรดเย็นไม่พบปลาสักตัวพบแต่ซากคางคกตัวเดียวเท่านั้น จึงจะโยนทิ้งแต่ซากคางคกนั้นกลับพูดขึ้นเป็นเสียงเด็กผู้หญิงบอกกับสองตายายว่า "ตาจ๋ายายจ๋าได้โปรดเมตตาสงสารหนู พาหนูไปอยู่ด้วยนะจ๊ะ" 
 สองตายายเกิดเมตตาสงสารเห็นว่าซากคางคกนั้นพูดภาษาคนได้ก็นำกลับบ้านไปด้วย วันนั้นสองตายายไม่มีอาหารเย็นเลย เพราะว่าจับปลาไม่ได้สักตัว จึงชวนกันไปเก็บผักจากข้างรั้วหมายจะนำมาทำอาหารกินกันตามมีตามเกิด เด็กหญิงลูกธิดาพญานาคจึงออกจากซากคางคก ใช้แหวนวิเศษที่แม่ทิ้งไว้ให้เนรมิตข้าวปลาอาหารล้วนแต่ของดีๆ ขึ้นมามากมาย แล้วรีบกลับเข้าไปหลบอยู่ในซากคางคกอย่างเดิม สองตายายกลับมาก็นึกแปลกใจว่าใครกันนะนำอาหารมาให้ วันรุ่งขึ้นสองตายายจึงได้แกล้งทำทีออกไปหาผักหาปลา แล้วย่องกลับมาแอบดูจึงรู้ความจริง จึงช่วยกันอ้อนวอนให้เด็กหญิงออกจากซากคางคกมาอยู่ข้างนอก่เสีย แต่เด็กหญิงลูกธิดาพญานาคยังอาลัยซากคางคกอยู่ จึงขอกลับไปอาศัยอยู่อย่างเดิม ตายายก็ตามใจ 

             15 ปีผ่านไป เด็กหญิงเติบโตเป็นสาว มีรูปร่างหน้าตางดงาม ผิวขาวเหมือนแสงอาทิตย์ยามอุทัย ตายายจึงได้ตั้งชื่อให้ว่า อุทัยเทวี 
วันหนึ่งถึงคราวที่จะได้พบเนื้อคู่ นางอุทัยเทวีนึกอยากไปทำบุญที่วัดจึงเนรมิตดอกไม้ธูปเทียนแล้วให้ตายายพาไป ความงามของนางเป็นที่ร่ำลือของผู้ที่ได้พบเห็นโดยเฉพาะหนุ่มๆ ในครั้งนั้นเผอิญ เจ้าชายสุทราชกุมาร โอรสท้าวการพ และ พระนางกาวิล ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองเมือง ได้มาเที่ยวงานบุญที่วัดด้วยเช่นกัน เมื่อเจ้าชายทอดพระเนตรเห็นนางอุทัยเกิดมีใจรักใคร่เสน่หา จึงสั่งให้ข้าราชบริพารไปสืบเรื่องราวของหญิงสาวที่พบ ครั้นนางอุทัยเทวีเห็นมีคนตามมาถึงบ้านนางก็รีบเข้าไปซ่อนตัวในซากคางคก ทหารคนสนิทของเจ้าชายสุทราชกุมารสอบถามตายายว่า "นางที่ไปวัดกับตายายนางเป็นใครอยู่ที่ไหนหรือ" ตายายไม่ยอมบอกความจริง ทหารคนสนิทของเจ้าชายสุทราชกุมารจึงได้ข่มขู่ตายาย ว่าเจ้าชายต้องการตัวหลานสาวไปเป็นชายา ตายายได้ฟังดังนั้นก็โกรธที่ทหารของเจ้าชายมาแสดงอำนาจจึงบอกว่าจะยอมยกนางให้ก็ต่อเมื่อเจ้าชายสามารถสร้างสะพานเงินสะพานทองจากวังมาสู่ขอที่บ้านของตนเท่านั้น
        เมื่อพระเจ้าการพเจ้าเมืองฯ ทราบเรื่องทรงพิโรธยิ่งนักสั่งให้ทหารไปจับตัวสองตายายมาลงโทษฐานลบหลู่พระเกียรติยศ แต่พระนางกาวิลทูลคัดค้านเพราะเกรงว่าจะเป็นที่ครหา ด้วยไปขอลูกหลานชาวบ้านแต่เขาไม่ยกให้แล้วพาลหาเรื่องประหารเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง พระเจ้าการพ เลยแก้เผ็ดด้วยการมีรับสั่งให้ตายายสร้างตำหนักเงินตำหนักทองรอรับเสด็จเจ้าชายภายใน 7 วัน หากสร้างเสร็จไม่ทันต้องมีโทษ นางอุทัยเทวีเห็นว่าสองตายายต้องมาเดือดร้อนเพราะตน เที่ยงคืนคืนนั้นจึงออกมาจากซากคางคกใช้แหวนวิเศษของธิดาพญานาคผู้เป็นมารดา เนรมิตปราสาทเงินปราสาททองที่พระเจ้าการพต้องการแล้วเสร็จในชั่วพริบตา 
      ฝ่ายเจ้าชายสุทราชกุมารด้วยความรักที่มีต่อนางอุทัยเทวีจึงอธิษฐานขอให้พระอินทร์มาช่วยเนรมิตสะพานเงินสะพานให้ พระอินทร์เล็งญาณวิเศษเห็นว่าทั้งสองคนเป็นเนื้อคู่กัน สร้างสมบุญร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อนจึงเนรมิตสะพานเงินสะพานทองให้ พระเจ้าการพเห็นว่าทั้งสองต่างเป็นผู้มีบุญญาธิการเสมอกัน จึงจัดพิธีอภิเษกสมรสให้นางอุทัยเทวีเป็นราชเทวีของเจ้าชายสุทราชกุมารอย่างสมพระเกียรติ นางอุทัยเทวีได้เนรมิตสระน้ำไว้ริมพระราชวังเพื่อใช้เป็นที่สรงน้ำ เนื่องจากนางชอบเล่นน้ำตามเชื้อสายนาคราช  
กล่าวฝ่ายพระเจ้ากัญจาราช และพระนางสันตา แห่งจุโลมนคร พระธิดาของพระองค์คือเจ้าหญิงฉันนา เป็นคู่หมั้นกับเจ้าชายสุทราชกุมาร ด้วยพระเจ้าการพเคยให้สัญญากับพระเจ้ากัญจาราชไว้ว่า เมื่อพระราชบุตรและพระราชธิดาของทั้งสองถึงวัยครองเรือนก็จะให้อภิเษกสมรสกัน แต่เหตุการณ์ผ่านมาเนิ่นนานถึง 15 ปี จนพระเจ้าการพทรงลืมเลือน 
        พระเจ้ากัญจาราชจึงมีราชสาสน์มาทวงถาม พระเจ้าการพขอให้เจ้าชายสุทราชกุมารไปอภิเษกกับเจ้าหญิงฉันนาคู่หมั้นเดิม ด้วยเกรงว่าหากผิดใจกับพระเจ้ากัญจาราชอาจเกิดศึกสงครามขึ้นได้ ซึ่งเมืองการพเป็นเมืองเล็กกว่าย่อมเสียเปรียบ เจ้าชายสุทราชกุมารเกรงอาณาประชาราษฎร์จะเดือดร้อนจึงรีบนำความไปปรึกษากับนางอุทัยเทวี นางอุทัยเทวีเชื่อในน้ำพระทัยของเจ้าชายสุทราชกุมารและเห็นแก่บ้านเมืองก็อนุญาตให้พระสวามีไปอภิเษกสมรสตามข้อผูกมัด เจ้าชายสุทราชกุมารจึงได้ให้ช่างปั้นรูปเหมือนของตนไว้ให้นางอุทัยเทวี และนำรูปเหมือนของพระชายาไปยังจุโลมนครด้วยเพื่อเป็นที่ระลึก พร้อมรับสั่งว่าอีกไม่นานจะกลับมาหานางเช่นเดิม 
        หลังจากอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงฉันนาด้วยความจำเป็นแล้ว เจ้าชายสุทราชกุมารก็ไม่ได้สนใจไยดี ด้วยมีใจรักคงมั่นต่อนางอุทัยเทวีเท่านั้น เจ้าหญิงฉันนาเกิดความน้อยพระทัยเมื่อทราบความจริงจากข้าหลวงคนสนิทก็คิดริษยา จึงสั่งให้นำรูปนางอุทัยเทวีไปทิ้งน้ำเสีย แต่แทนที่เจ้าชายสุทราชกุมารจะลืมเลือนนางอันเป็นที่รัก กลับยิ่งเฝ้าเพ้อคร่ำครวญถึงแต่นางอุทัยเทวีไม่สร่างซา มิหนำซ้ำยังพลอยโกรธเคืองเจ้าหญิงฉันนาทำให้หมางเมินยิ่งกว่าแต่ก่อนเข้าไปอีก เจ้าหญิงฉันนายังไม่ยอมสำนึกตัวหันมาสร้างความดีเอาชนะใจเจ้าชาย กลับเชื่อแรงยุยงของข้าหลวงคนสนิท นางทำการว่าจ้างสองตายายผู้วิเศษให้ไปลวงจับเอานางอุทัยเทวีมากักขังไว้สองตายายขี่เรือพยนต์เหาะมาหานางอุทัยเทวีถึงเมืองการพแล้วลวงว่าเจ้าชายสุทราชกุมารให้มารับไปอยู่ด้วยกัน นางอุทัยเทวีหลงเชื่อจึงนั่งเรือไปกับสองตายาย นางจึงตกอยู่ในเงื้อมมือของเจ้าหญิงฉันนา ด้วยความแค้นเจ้าหญิงฉันนาสั่งให้เฆี่ยนนางอุทัยเทวีจนสลบ แล้วให้สองตายายเจ้าเล่ห์นำไปทิ้งแม่น้ำเพราะเข้าใจว่านางอุทัยเทวีนั้นสิ้นชีวิตไปแล้ว นางอุทัยเทวีมีเชื้อสายนาคราชพอร่างถูกน้ำนางก็ฟื้นขึ้นมา 
        ขณะนั้นเองแม่ค้าขายขนมพายเรือผ่านมาพบจึงช่วยเอาไว้ และพาไปเลี้ยงไว้ที่บ้านของตนซึ่งตั้งอยู่ริมน้ำ นางอุทัยเทวีอาสาพายเรือขายขนมแทนแม่ค้าโดยแปลงกายเป็นหญิงชราแต่มีผมดำสนิท แล้วพายเรือไปขายแถวท่าน้ำพระราชวังที่เจ้าชายสุทราชกุมารประทับอยู่ ส่วนเจ้าหญิงฉันนานั้นผลกรรมได้ตามสนองทำให้ผมหงอกขาวโพลนหมดทั้งศีรษะ นางข้าหลวงคนสนิทเห็นหญิงชราพายเรือมาขายขนมแต่มีผมดำสนิท จึงพาหญิงชรามาเฝ้าเจ้าหญิงฉันนาเพื่อให้ช่วยรักษาผมที่หงอกขาวให้ หญิงชราจึงโกนผมเจ้าหญิงฉันนาและเอาปลาร้าพอกจนทั่วแล้วใช้หม้อดินครอบเอาไว้ บอกว่าเป็นยาวิเศษอีก 7 วัน จะมาเอาหม้อที่ครอบไว้ออก ในที่สุดแผลที่ถูกมีดโกนผมบาดทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจนเจ้าหญิงฉันนาสิ้นใจในเวลาต่อมาเพราะหมอหลวงทำการรักษาไม่ทัน 
เจ้าชายสุทราชกุมารบวชอุทิศส่วนกุศลให้เจ้าหญิงฉันนา เมื่อสึกแล้วจึงลาพระเจ้ากัญจาราชกลับไปยังเมืองการพของตนตามเดิม พระเจ้าการพได้มอบราชสมบัติให้เจ้าชายสุทราชกุมารและนางอุทัยเทวีครอบครอง บ้านเมืองก็สงบสุขเจริญรุ่งเรืองนับแต่นั้นมา 

เนื้อเพลง