วันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2567

พญาแก้ว พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๑ ในราชวงศ์มังราย แห่งอาณาจักรล้านนา



พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิ หรือพญาแก้ว (พระเมืองแก้ว) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๑ ในราชวงศ์มังราย แห่งอาณาจักรล้านนา

ทรงครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๐๓๘ -๒๐๖๘

พญาแก้ว มีพระนามที่เรียกกันต่างๆ คือ พระเมืองแก้ว หรือพ่อท้าวแก้ว หรือเจ้ารัตนราชกุมาร หรือพญาแก้วภูตาธิปติราช หรือ พระเจ้าติลกปนัดดาธิราช ทรงเป็นพระปนัดดาของพระเจ้าติโลกราช และเป็นราชบุตรของพญายอดเชียงรายกับพระนางสิริยสวดี (เทวีปงน้อย) ประสูติในปีขาล ได้รับราชาภิเษกเมื่อชนมายุ ๑๓ ปี ในวันเพ็ญเดือน ๙ พ.ศ. ๒๐๓๙

ด้านการสงคราม ทรงรบกับอยุธยาที่ชายแดน พ.ศ.๒๐๕๐ ทรงส่งกองทัพไปตีสุโขทัยแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๐๕๘ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๗๒) แห่งอยุธยาขึ้นมาตีลำปางแตก แล้วกวาดต้อนผู้คนกลับไป
ด้านทำนุบำรุงบ้านเมือง ทรงให้ก่อกำแพงเมืองลำพูนด้วยอิฐ ปี พ.ศ. ๒๐๖๐ เพื่อป้องกันข้าศึก จากนั้นจึงก่อกำแพงเมืองเชียงใหม่ให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการยิงด้วยปืนใหญ่ และ พ.ศ.๒๐๖๑ ให้สร้างสะพานใหญ่ข้ามแม่น้ำปิงที่ท่าสถานหลวง
ด้านการทำนุบำรุงศาสนา พญาแก้ว ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนาและบำเพ็ญทานเป็นเอนก ทรงสร้างปูชนียสถานและถาวรวัตถุต่างๆ มากมาย เช่น สร้างวัดปุพพาราม ในปีมะโรง พ.ศ.๒๐๔๐ ต่อมาปีมะเมียทรงสร้างปราสาทในวัดนั้น ปีระกาทรงฉลองพระไตรปิฏกฉบับลงทอง และหอพระมณเฑียรธรรมที่โปรดให้สร้างไว้ ณ วัดปุพพาราม
นับตั้งแต่พระองค์ได้รับราชาภิเษกมา 1 ปี คือปีมะโรง เดือน 5 แรม 7 ค่ำ วันอังคาร จุลศักราช 855 พ.ศ.2036 พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช พระองค์ได้ทรงรับสั่งให้สร้างพระอารามๆ หนึ่งไว้ ณ ที่พระราชอุทยาน ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าติโลกราช ผู้เป็นพระอัยกา(เจ้าปู่)และเป็นที่ประทับของพระราชบิดา พระองค์จึงขนานนามของวัดว่า “วัดบุพพาราม” ทั้งนี้เพราะถือเอานิมิตว่าได้ตั้งอยู่ทางทิศบูรพาแห่งนับพิสิราชธานี (นครพิงค์เชียงใหม่) ต่อมาเมื่อพระองค์สร้างวัดบุพพารามแล้ว ได้ 3 ปี คือ ปีมะเมีย พระองค์ทรงสร้างปราสาทไว้ ณ ท่ามกลางมหาวิหารอีก 1 หลัง เพื่อประดิษฐานพระพุทธปฏิมากร หล่อด้วยทองแดงล้วน มีสนธิ 8 แห่ง น้ำหนัก 1 โกฏิ (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังใหญ่) ต่อมาอีก 4 ปี ในปีระกา พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราชได้รับสั่งให้สร้างหอมณเฑียรธรรมอีก 1 หลัง สำหรับประดิษฐานพระไตรปิฏกฉบับลงทองของล้านนาไทย ศิลปหัตถกรรมล้านนาประดับตกแต่งอย่างปราณีตสวยงามเหมือนเวชยันตปราสาท ในปี พ.ศ.2439 จ.ศ.1358 จำเดิมแต่การสร้างวัดมา มีอายุได้ 502 ปีหมายเหตุ ส่วนอาณาเขตของวัด ประวัติ (ตำนาน) ไม่ได้กล่าวไว้ในสมัยนั้น ว่ามีเนื้อที่กว้างยาวเท่าไหร่ ได้ความจากผู้เฒ่าผู้แก่เพียงว่า วัดอุปาหรือวัดอุปาราม (บุพพาราม) มีเนื้อที่กว้างยาวมาก ทิศตะวันออกจรดถึงคลองแม่ข่า ทิศตะวันตกจรดถึงวัดมหาวัน ความจริงจะกว้างยาวเท่าไหร่นั้น ก็ไม่ทราบได้ แต่น่าจะพิสูจน์จากคำสันนิษฐานผู้สูงอายุตรงที่บ้านของพ่อหนานมังคละ แม่หมูปวรธิสรรค์ ถนนท่าแพ ขณะนี้ยังมีมูลอิฐปรากฏเป็นหลักฐาน บางคนก็อ้างว่าเป็นฐานของอุโบสถวัดอุปาราม คือเป็นอารามที่มีอาณาเขต กว้าง ยาว มากนั่นเอง ปัจจุบันมีเนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา คือทิศเหนือติดกับถนนท่าแพ มี 2 เส้น 13 วา ทิศใต้ติดกับบ้าน มี 2 เสิน 4 วา ติดตะวันตกติดกับถนนท่าแพซอย 2 ร่มโพธิ์ มี 2 เส้น 19 วา ตามที่ได้สำรวจแล้ว ก็มีในบริเวณกำแพงล้อมรอบวัดเท่านั้น ถือเอาตามความเป็นจริงในปัจจุบันเพียงเท่านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เนื้อเพลง