วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2567

อาณาจักรศรีวิชัย

 อาณาจักรศรีวิชัย หรือ อาณาจักรศรีโพธิ์ ก่อตั้งโดยราชวงศ์ไศเลนทร์ ในช่วงที่อาณาจักรฟูนันล่มสลาย มีอาณาเขตครอบคลุมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีของประเทศไทยในปัจจุบัน พื้นที่อาณาจักรแบ่งได้สามส่วน คือส่วนคาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา และเกาะชวา โดยส่วนของชวาได้แยกตัวออกไปตั้งเป็นอาณาจักรมัชปาหิต ต่อมาเมื่ออาณาจักรศรีวิชัยอ่อนแอลง อาณาจักรมัชปาหิตได้ยกทัพเข้ามาตีศรีวิชัย ได้ดินแดนสุมาตราและบางส่วนของคาบสมุทรมลายูไป และทำให้ศรีวิชัยล่มสลายไปในที่สุด ส่วนพื้นที่คาบสมุทรที่เหลือ ต่อมาเชื้อพระวงศ์จากอาณาจักรเพชรบุรี ได้เสด็จมาฟื้นฟูและตั้งเป็นอาณาจักรนครศรีธรรมราช ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ได้ระบุว่า ศรีวิชัยสถาปนาในช่วงเวลาก่อนปี พ.ศ. 1225 เล็กน้อย มีการพบศิลาจารึกภาษามลายูโบราณเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยทั้งที่สุมาตรา และที่วัดเสมาเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช และพบศิลาจารึกภาษาสันสกฤต เมืองไชยา ระบุว่าศรีวิชัยเป็นเมืองท่าค้าพริก ดีปลีและพริกไทยเม็ด โดยมีต้นหมากและต้นมะพร้าวจำนวนมาก

หลวงจีนอี้จิง เคยเดินทางจากเมืองกวางตุ้ง ประเทศจีนโดยเรือของพวกอาหรับ ผ่านฟูนันมาพักที่อาณาจักรศรีวิชัยในเดือน 11 พ.ศ. 1214 เป็นเวลา 2 เดือน ก่อนที่จะเดินทางต่อผ่านเมืองไทรบุรี ผ่านหมู่เกาะคนเปลือยนิโคบาร์ ถึงเมืองท่า ตามพรลิงก์ที่อินเดีย เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา หลวงจีนอี้จิงบันทึกไว้ว่า พุทธศาสนาแบบมหายานเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักรศรีวิชัย ประชาชนทางแหลมมลายูเดิมส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา แต่ก็ได้ติดต่อกับพ่อค้าอาหรับมุสลิมที่เดินทางผ่านเพื่อไปยังประเทศจีน ดังนั้นในเวลาต่อมาศาสนาอิสลามจึงได้เผยแพร่ไปยังมะละกา กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และปัตตานี จนกลายเป็นรัฐอิสลามไป ต่อมาใน พ.ศ. 1568 อาณาจักรศรีวิชัยได้ตกอยู่ใต้อำนาจและกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมัชปาหิตของชวาใน พ.ศ. 1940 แต่มีหลักฐานจากตำนานเมืองเพชรบุรีว่า อาณาจักรศรีวิชัยได้ล่มสลายไปก่อนหน้านี้แล้ว เพราะตำนานฯ ระบุว่าก่อนพระพนมวังจะได้สถาปนาอาณาจักรนครศรีธรรมราชในปี พ.ศ. 1830 นครศรีธรรมราชมีสภาพเป็นเมืองร้างมาก่อน

 เมื่ออาณาจักรฟูนันล่มสลายลงในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ นั้น  ดินแดนทางแหลมทองได้เกิดการตั้งอาณาจักรศรีวิชัย (จีนเรียก ชิลิโฟชิ หรือ คันโทลี หรือโคยิงขึ้นภายใต้การนำของราชวงศ์ ไศเลนทร์ มีอาณาเขตครอบคลุมแหลมมลายู  เกาะชวา  เกาะสุมาตรา  ช่องแคบมะละกา  ช่องแคบซุนดา และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย  ทำให้อาณาจักรศรีวิชัยสามารถควบคุมเส้นทางค้าขายระหว่างจีนกับอินเดียรวมทั้งอาหรับ เปอร์เซีย และยุโรปได้

 อาณาจักรศรีวิชัยนี้มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองปาเล็มบังในเกาะสุมาตราของ อินโดนีเซียขึ้นมาถึงบริเวณแหลมโพธิ์  ตำบลพุมเรียง  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี     และเมืองท่า(ตามพรลิงค์หรือตำพะลิงค์)ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช     มีการพบศิลาจารึกภาษามาเลย์เกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยนี้ที่วัดเสมาเมือง   จังหวัดนครศรีธรรมราช  ส่วน เมืองครหิ ในสมัยศรีวิชัยนั้นเป็นเมืองท่าค้าพริก ดีปลีและพริกไทยเม็ด  โดยมีต้นหมากต้นมะพร้าวอยู่มาก  แต่ก็ยังมีความเชื่ออยู่ว่าเมืองครหินั้นไม่น่าจะใช่เมืองไชยา  กล่าวคือ ในหนังสือจู ฝาน จีน ของจีนเจา จู เกวาะ ได้ระบุชื่อเมืองต่างๆที่ขึ้นแก่อาณาจักรซัมฮุดซี หรือชาวกะ  มีชื่อเมืองเกียโลหิ   ซึ่งยุติชื่อว่าเป็นเมืองครหิ ตรงกับคำที่จารึก(ภาษาเขมร)ครหิที่อยู่บนฐานพระพุทธรูปนาคปรกสำริดองค์ใหญ่ ซึ่งพบอยู่ใกล้วัดเวียง เมืองไชยา ซึ่งเป็นสถานที่แห่งเดียวที่สุมาตราที่สั่งขึ้นมาให้อำมาตย์คลาไน ผู้ครองเมืองครหิจัดการหล่อขึ้นเมื่อพ..๑๗๒๖ ตรงกับมหาศักราช ๑๑๐๕    จึงมีข้อถกเถียงถึงว่า ครหิ นั้นเป็นการแสดงอำนาจทางเขมรหรือเกาะสุมาตรา  ซึ่งน่าจะเป็น ครหิ ที่เกิดขึ้นหลังจาก อาณาจักรศรีวิชัยล่มสลายลงแล้วหรือไปขึ้นอยู่กับเมืองตามพรลิงค์ในพ..๑๗๐๐ ดังนั้นเมืองไชยานั้นคงจะไม่ใช่เมืองครหิและน่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยเสียมากกว่าเมืองปาเล็มบัง                

เมืองไชยานั้น ได้มีการสร้างเจดีย์แบบมหายาน ให้องค์เจดีย์เป็นรูปสีขระ แปลว่า แบบภูเขา คือเจดีย์ที่มียอดจำนวนมาก ตามคติให้มีพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ เช่น พระพุทธเจ้าพุทธะ  พระมัญชุศรี พุทธะ   พระญาณิพุทธะ   เป็นต้น  ซึ่งตรงกับเรื่องราวที่ว่า พระเจ้ากรุงศรีวิชัยให้สร้างไอษฎิเคหะ คือ เรือนอิฐหรือปราสาทอิฐขึ้น ๓ หลัง สำหรับประดิษฐานพระปฏิมาของ ปัทมปาณี  วัชรปาณี และมารวิชัย    ในพื้นที่เมืองไชยาแห่งนี้ พบว่านอกจากจะสร้างเจดีย์ที่พระบรมธาตุแห่งนี้แล้วยังมี เจดีย์ที่วัดแก้ว ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าแต่ชำรุด  และเจดีย์ที่วัดหลง  เดิมนั้นเหลือแต่ฐานที่อิฐที่มีลักษณะเดียวกัน     พระบรมธาตุไชยาองค์ปัจจุบันนี้ได้รับการบูรณะใหม่  เดิมนั้นเป็นเจดีย์ตั้งอยู่บนอุโมงค์ที่บรรจุหีบศิลาใบใหญ่ใส่พระบรมธาตุและสิ่งของต่างๆ เดิมที่พื้นมีรูระบายอากาศขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ ซม ๒ แห่งต่อมาได้อุดเสีย       ต่อมาแม่น้ำพาเอาดินมาถมบริเวณหมู่บ้านเวียงสูงประมาณ ๓ เมตรหรือ ๖ ศอก ส่วนพระเจดีย์นี้จมลงไปในดินประมาณเมตรครึ่ง   ต้องขุดแต่งกัน     เมืองครหิแห่งนี้หลังจากอาณาจักรศรีวิชัยหมดอำนาจลงก็ถูกทิ้งร้างมาจนถึงสมัยอยุธยา  พุทธศาสนาจึงได้ฟื้นฟูขึ้นโดยมีการสร้างพระพุทธรูปศิลาทึบขนาดใหญ่จากหินที่เขานางเอ อยู่หลังสวนโมกข์   มีอยู่ประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ องค์    

สำหรับคำว่า ไชยา นั้นน่าจะนำมาจากคำว่า ศรีวิชัย ซึ่งขุดพบศิลาจารึกพ..๑๓๑๘ ที่ระบุชื่อ พระยาศรีวิชัยนั้นว่า ศรีวิชเยนทรราชา,ศรีวิชเยศวรภูบดี และศรีวิชยนฤบดี  ที่หมายถึง พระเจ้าแผ่นดินเมืองศรีวิชัย

นั่นหมายถึงศุนย์กลางอำนาจของพวกไศเรนทร(ราชาแห่งจอมเขา)อยู่ที่บริเวณเมืองไชยา ซึ่งเหมาะสมที่จะติดต่อกับอินเดียโดยเฉพาะที่เบ็งคอล  และเป็นเหตุให้พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ที่เป็นฝีมือของช่างแบบปาละแท้เดินทางมาประดิษฐานที่เมืองไชยาได้   โดยเฉพาะการติดต่อมหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยพุทธศาสนามหายานในเบ็งคอล  จนมีความปรากฏในจารึกแผ่นทองแดงพบที่นาลันทาเมื่อพ..๑๓๙๒ ว่า ด้วยการที่ไศเรนทรอุปถัมภ์มหาวิทยาลัยแห่งนั้นไปจากไชยา   ในบริเวณเมืองไชยานั้นมีเขาน้ำร้อนเป็นภูเขาประจำวงศ์ไศเรนทรสำหรับใช้ประดิาฐานพระเป็นเจ้าตามลัทธิพราหมณ์ แม้จะมีการนับถือพุทธศาสนาแล้วก็ยังยึดถือเป็นประเพณีการอาบน้ำร้อนที่ออกมาจากพุบนเขานั้นถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีการจัดทำสระน้ำสำหรับอาบของพระราชาตามประเพณีของอินเดีย   เรื่องนี้หากรวมไปถึงบริเวณเขานางเอ แล้วจะพบว่าหน้าถ้ำนั้นมีสระบัวขนาดใหญ่สองสระ  น่าจะมีบริเวณที่เหมาะสมให้ราชาแห่งไศเรนทรสร้างวังประทับร้อนอยู่บนเนินที่เขานี้ เพราะมองเห็นสระน้ำได้สวยงาม และหากจะทิ้งทองประจำวันลงสระตามตำนานราชาแห่งซาบากก็ทำได้

เมืองไชยาโบราณนี้เดิมเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่าเมืองตามพรลิงค์(เมืองนครศรีธรรมราช)ซึ่งมีชุมชนเมืองเก่า และสร้างเจดีย์พระบรมธาตุไชยา  เจดีย์ที่วัดแก้ว  เจดีย์ที่วัดเวียง  เจดีย์ที่วัดหลง และพระอวโลกติเกศวรอย่างชวาอยู่จำนวนมากโดยเฉพาะพระอวโลกิเตศวรขนาดเท่าคนที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดี    เส้นทางติดต่อนั้นมีแม่น้ำหลวง(แม่น้ำตาปี)ไหลผ่านเมื่อสำรวจเส้นทางน้ำพบว่าไปได้ถึงคีรีรัฐซึ่งมีทางข้ามไปลงที่แม่น้ำตะกั่วป่าได้อย่างสบาย น่าจะเป็นเส้นทางเดินของชาวอินเดียทางหนึ่ง   สำหรับเมืองตามพรลิงค์นั้นมีพระมหาธาตุองค์เดียว เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นในสมัยหลังและมีหาดทรายแก้วกับลุ่มแม่น้ำน้อย   ประการสำคัญอ่าวบ้านดอนนั้นเป็นแหล่งที่เรือสินค้าจากจีนใช้เป็นท่าจอดเรือในสมัยโบราณได้และรอบอ่าวบ้านดอนนั้นก็เป็นแหล่งเกษตรกรรมสำคัญ ในจารึกพ..๑๗๗๓ ระบุว่า พระเจ้าจันทภาณุยังมีอำนาจอยู่เหนือดินแดนรอบอ่านบ้านดอน

สำหรับเมืองครหินั้นน่าจะอยู่แถวใต้เขมรลงมาทางญวน หรือแถวคอคอดกระ

พุทธศาสนาแบบมหายานเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักรศรีวิชัย หลวงจีนอี้จิง เคยเดินทางจากเมืองกวางตุ้งประเทศจีนทางเรือของอาหรับผ่านฟูนัน    มาพักที่อาณาจักรศรีวิชัยนี้  ในเดือน ๑๑ พ.๑๒๑๔ เป็นเวลาสองเดือน ก่อนที่จะเดินทางต่อผ่านเมืองไทรบุรี    ผ่านหมู่เกาะคนเปลือยนิโคบาร์      ถึงเมืองท่าตามรลิปติที่อินเดีย เพื่อสืบพระพุทธศาสนา หลวงจีนอี้จิงบันทึกไว้ว่า ประชาชนทางใต้ของแหลมมลายูส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งได้อิทธิพลมาจากพ่อค้ามุสลิมอาหรับ ที่เดินทางผ่านเพื่อไปยังประเทศจีน  ศาสนาอิสลามได้เผยแผ่ไปยัง  มะละกา  กลันตัน ตรังกานู  ปาหัง และปัตตานีจนกลายเป็นรัฐอิสลามไป 

ต่อมาในพ..๑๕๖๘(.. 1025) อาณาจักรศรีวิชัยถูกอาณาจักรโจฬะ  จากอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ ยกทัพเรือเข้าโจมตีทำให้อ่อนกำลังลง หลังจากนั้นในพ.ศ.๑๙๔๐ อาณาจักรศรีวิชัยได้ตกอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรมัชปาหิต  ที่มีอำนาจจากชวา

อาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงนั้นได้แผ่อำนาจลงมายังหัวเมืองต่างๆตลอดแหลมมาลายู และมีเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองสำคัญที่คอยดูแลหัวเมืองทางใต้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เนื้อเพลง