วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ หรือพระนามเดิม พ่อขุนบางกลางหาว เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย และเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง ตามประวัติศาสตร์ไทย ทรงครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 1718 ตราบจนเสด็จสวรรคตเมื่อใดไม่ปรากฏ

พระนามต่างๆของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์

  1. บางกลางหาว
  2. พ่อขุนบางกลางหาว
  3. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
  4. พระร่วง
  5. พระอินทราชา
  6. อรุณราช
  7. ไสยรังคราช หรือไสยรังคราชา
  8. ไสยนรงคราช
  9. รังคราช หรือสุรังคราช
  10. พระร่วง หรือโรจนราช

สำหรับพระนามแรก คือ พ่อขุนบางกลางหาว นั้นเป็นพระนามดั้งเดิมเมื่อครั้งเป็น เจ้าเมืองบางยาง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พ่อขุนบางกลางหาวเป็น พระนามสมัยเป็นเจ้าเมืองบางยาง โดยแท้จริง

พระนามที่สองนั้น เป็นพระนามแบบทางการตามอย่างราชประเพณีขอม เป็นพระนามทรงใช้เมื่อเข้ารับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว พระนาม "ศรีอินทราทิตย์" มีกล่าวไว้อยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 2 วัดศรีชุมว่า "ศรีอินทรปตินทราทิตย" ซึ่งเป็นพระนามเกียรติยศที่พระเจ้าแผ่นดินขอมแต่โบราณสถาปนาให้แก่พ่อขุนผาเมืององค์รัชทายาทผู้ครองเชลียงสุกโขไทในราชวงศ์ศรีนาวนำถม ต่อมาภายหลังพ่อขุนผาเมืองทรงยกให้แก่พระสหายพ่อขุนบางกลางหาวแทน

พระราชกรณียกิจ

 พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ่อขุนบานเมือง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระยาเลอไทย
พระยางั่วนำถุม
พระมหาธรรมราชาที่ 1
พระมหาธรรมราชาที่ 2
พระมหาธรรมราชาที่ 3
พระมหาธรรมราชาที่ 4

คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลางหาวได้ร่วมมือกับพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถุม รวมกำลังพลกัน กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองบางขลงได้ และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้ ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลางหาว พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้คลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์เเละสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ส่งผลให้ราชวงศ์พระร่วงเข้ามามีอิทธิพลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป แต่เขตแดนเมืองสรลวงสองแคว ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถุมอยู่

ในกลางรัชสมัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ราวปี พ.ศ. 1800 เมืองตาก (เมืองหน้าด่านทิศตะวันตกของอาณาจักรสุโขทัย) ได้ถูกขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ยกกองทัพเข้าล้อมเมืองตากไว้ เจ้าเมืองตากจึงขอความช่วยเหลือจากกรุงสุโขทัย  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงยกกองทัพไปช่วย โดยมีพระราชโอรสองค์เล็ก ชื่อ เจ้าราม ซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 ปี ได้ติดตามไปรบในครั้งนี้ด้วย

    ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ได้ยกพลเข้าตีเมืองหลายครั้ง แต่มิอาจตีเมืองได้ จึงตั้งค่ายล้อมเมือง ถ่วงเวลาไว้ให้ไพร่พลเมืองตาก ขาดแคลนเสบียงอาหาร เมื่อทราบข่าวว่ากองทัพสุโขทัยกำลังเดินทัพมาช่วยเมืองตาก ขุนสามชนจึงได้จัดกำลังออกไปดักซุ่มโจมตีกองทัพสุโขทัยที่ "หัวขวา" แนวป่าเชิงเขา นอกเมืองตาก ซึ่งเป็นช่องเขาที่กองทัพสุโขทัยต้องเดินผ่าน แต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เห็นว่าลักษณะภูมิประเทศมีสภาพเป็นที่คับขัน จึงมิให้กองทัพเดินผ่าน แต่อ้อมไปทาง "หัวซ้าย" ขุนสามชนที่ซุ่มรออยู่นานไม่เห็นท่าว่ากองทัพสุโขทัยจะเดินผ่านมา และได้ข่าวว่ากองทัพสุโขทัยอ้อมทัพไปทาง "หัวซ้าย" จึงยกพลตามไปจนทัน 

   ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า "พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชน ขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า..." 

  “ขุนสามชนขี่ช้างศึกชื่อ ”มาศเมือง" จะเข้าชนช้างของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชโอรส ได้เห็นเช่นนั้น ก็ไสช้างเข้ารับมือไว้ " และได้ชนช้างกับขุนสามชน  

   ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "กูบ่หนี กูขี่ช้าง เนกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน" และการทำยุทธหัตถีครั้งนี้ ทำให้ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดพ่ายแพ้ ยกทัพล่าถอยกลับเมืองฉอดไป 

  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  จึงทรงพระราชทานนามแก่พระราชโอรสว่า  "พระรามคำแหง"  

   ดังปรากฏตามหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "ตนกูพู่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาศเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อ พระรามคำแหง เพือกูพู่งช้างขุนสามชน" จนถึงรัชสมัยที่พ่อขุนรามคำแหง เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ ได้ทรงทำสงครามเพื่อแผ่ขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างขวาง ด้วยการกระทำใน 3 วิธี คือ

 1. ใช้กำลังทางทหาร ดังจารึกไว้ในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า

ปราบเบื้องตะวันตก  รอดสรลวง  สองแคว  ลุม บาจาย  สคา ท้าฝั่งของ ถึง เวียงจันทน์ เวียงคำ เป็นทีแล้ว เบื้องหัวนอน รอดคุณฑี พระบาง  แพรก  สุพรรณภูมิ  ราชบุรี เพชรบุรี สรีธรรมราช ฝั่งสมุทรเป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมืองหงสาพดี  สมุทรหาเป็นแดน เบื้องตีนนอน รดเมืองแพล เมืองม่าน เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชวา เป็นที่แล้ว

 2. ใช้วิเทโศบายขยายอาณาเขต ซึ่งนับว่าเป็นวิธีสุขุมและแยบยลที่สุด เพราะไม่ต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อไพร่พล แต่อย่างใด ดังได้กล่าวไว้ในศิลาจารึก และพงศาวดารกล่าวไว้ว่า การขยายอาณาเขตด้านตะวันตก ถึงเมืองหงสาวดี ด้วยการได้ พระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) กษัตริย์มอญไว้เป็นราชบุตรเขย และในด้านทิศเหนือก็ทรงผูกมิตรไมตรีกับพระยาเม็งราย เจ้าเมืองเชียงใหม่ และ พระยางำเมือง ซึ่งเป็นไทยเชื้อสายเดียวกัน

 3. ใช้นโยบายผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศใหญ่ๆ เช่น ประเทศจีน ซึ่งในห้วงเวลานั้น กุบไลข่าน กษัตริย์จีนมีอำนาจมาก ได้แผ่อาณาเขตลงมาทางใต้ของจีน ทางด้านพม่า และเวียดนาม แต่สำหรับประเทศไม่ได้รับความกระทบกระเทือนแต่อย่างใด

ในยุคประวัติศาสตร์ชาตินิยม มีคติหนึ่งที่เชื่อกันว่า พระองค์ทรงเป็นผู้นำชาวสยามต่อสู้กับอิทธิพลขอมในสุวรรณภูมิ ทรงได้ชัยชนะและประกาศอิสรภาพตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย แต่ภายหลัง คติดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง เพราะพระองค์ไม่ได้เป็นปฐมกษัตริย์ อีกทั้งยังมีพ่อขุนศรีนาวนำถุม ครองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว

พระราชวงศ์

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 5 พระองค์ ได้แก่

  1. พระราชโอรสองค์ใหญ่ (ไม่ปรากฏพระนาม) สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
  2. พ่อขุนบานเมือง
  3. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ พ่อขุนรามราช (พระนามเดิมชื่อพระราม)
  4. พระราชธิดา (ไม่ปรากฏพระนาม)
  5. พระราชธิดา (ไม่ปรากฏพระนาม)

แม้ไม่ทราบแน่นอนว่าพระองค์เสด็จสวรรคตในปีใด แต่ภายหลังจากพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว พ่อขุนบานเมือง พระราชโอรสพระองค์รอง ได้สืบราชสมบัติแทน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เนื้อเพลง