วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ชวน หลีกภัย

 

ชวน หลีกภัย

นายกรัฐมนตรีคนที่ 20 ของประเทศไทย   ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ในอดีตเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีหลายกระทรวง และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ประวัติและครอบครัว

นายชวน หลีกภัย เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ที่ตำบลท้ายพรุ (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลทับเที่ยง) อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 9 คน ของนายนิยม กับแม่ถ้วน หลีกภัย เมื่อยังเด็ก ชวนมีชื่อเรียกในครอบครัวว่า "เอียด" หมายถึง เล็ก เนื่องจากเป็นคนรูปร่างเล็ก

ชวนจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษมูลนิธิ และโรงเรียนศิลปศึกษาเตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร และนิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2505 มีบุตรชายกับภักดิพร สุจริตกุล หนึ่งคน คือ สุรบถ หลีกภัย

ในเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์พร้อมกับรัฐมนตรีในพรรคประชาธิปัตย์อีก 2 คน คือ ดำรง ลัทธพิพัฒน์ และสุรินทร์ มาศดิตถ์

การทำงาน

ชวนเริ่มทำงานเป็นทนายความ ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์สมัยแรกในปี 2512 

พ.ศ. 2512 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยแรก) 

พ.ศ. 2518 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สอง) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม

พ.ศ. 2519 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สาม) เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม  

พ.ศ. 2522 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สี่) 

พ.ศ. 2523 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 

พ.ศ. 2524 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 

พ.ศ. 2525-2526 รัฐมนตรว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

พ.ศ. 2526 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่ห้า) 

พ.ศ. 2529 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่หก) 

พ.ศ. 2529-2531 ประธานสภาผู้แทนราษฎร 

พ.ศ. 2531 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่เจ็ด) 

พ.ศ. 2531-2532 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 

พ.ศ. 2532 - 26 ส.ค.2533 รองนายกรัฐมนตรี 

พ.ศ. 2533 (ส.ค.- ธ.ค.2533) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

26 ม.ค.2534 - 4 พ.ค. 2546 หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  

พ.ศ. 2535 (22 มี.ค.2535) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่แปด) 

พ.ศ. 2535 (13 ก.ย.2535) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่เก้า) 


นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2535 (23 ก.ย.2535 - 20 ก.ค.2538)

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบ) พ.ศ. 2538 (2 ก.ค.2538)

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538 (4 ส.ค.2538)

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบเอ็ด) พ.ศ. 2539 (17 พ.ย.2539)

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 (21 ธ.ค.2539)


นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2540 (9 พ.ย.2540 - 8 ก.พ.2544)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2540 (14 พ.ย.2540-18 ก.พ.2544)

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบสอง) พ.ศ. 2544 (6 ม.ค.2544)

ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 (11 มี.ค.2544)

ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)

และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในหลายรัฐบาล ชวนขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในปี 2534


นายกรัฐมนตรีสมัยแรก

การเลือกตั้งเมื่อเดือนกันยายน 2535 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พรรคประชาธิปัตย์ชนะได้ที่นั่งมากที่สุดในสภา โดยได้ ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 79 ที่นั่ง ชนะพรรคชาติไทยที่ได้ 77 ที่นั่ง ชวนตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคความหวังใหม่และพรรคเอกภาพ 

ในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก (23 กันยายน พ.ศ. 2535 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538) รัฐบาลชวน 1 มีนโยบายที่โดดเด่น อาทิ การเร่งรัดการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การขยายช่องทางจราจรหลักเป็น 4 ช่องจราจรทั่วทั้งประเทศ สร้างรางรถไฟรางคู่ในพื้นที่ที่มีความพร้อม เริ่มศึกษาการใช้รถไฟฟ้าในประเทศไทย โครงการนมโรงเรียน ริเริ่มกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) ส่งเสริมการกระจายอำนาจโดยผลักดันพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นทั่วประเทศ และจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นครั้งแรก

ในปี 2537 พรรคพลังธรรมเข้าร่วมคณะรัฐมนตรีหลังพรรคความหวังใหม่ ออกจากรัฐบาล

รัฐบาลชวนสมัยแรกได้มาถึงจุดสิ้นสุด เมื่อสมาชิกคณะรัฐมนตรีไปมีส่วนในเอกสารโครงการปฏิรูปที่ดิน สปก. 4-01 ซึ่งมีการจำหน่ายในจังหวัดภูเก็ต เกิดการวิจารณ์จากสาธารณะและสื่ออย่างหนัก จึงเป็นประเด็นที่ฝ่ายค้านนำโดย นายบรรหาร ศิลปอาชา ผู้นำฝ่ายค้าน หยิบเป็นประเด็นหลักในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลและได้กำหนดวันลงมติคือวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ปรากฏว่าพรรคพลังธรรมซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเห็นว่ารัฐบาลตอบคำถามในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคลุมเครือไม่ชัดเจน ทางพรรคจึงได้มีมติงดออกเสียงให้รัฐบาล ทำให้ผลการประชุมของพรรคร่วมรัฐบาลที่เหลืออยู่จึงเห็นตรงกันให้มีการยุบสภา นายชวนในฐานะนายกรัฐมนตรีจึงประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2538

ผลการเลือกตั้ง นายบรรหาร ศิลปอาชาได้เป็นนายกรัฐมตรีต่อเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ถึง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 แล้วยุบสภา

นายกรัฐมนตรีคนต่อมาคือ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ถึง 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ลาออกเนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ


นายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง

ดำรงตำแหน่งระหว่าง วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 

และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.เมื่อวันที่ 14 พ.ย.2540 

ชวน หลีกภัย ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง โดยรับช่วงต่อหลังจากพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเกิดปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนักจนต้องลอยตัวค่าเงินบาท ชวนได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือจนได้รับความเชื่อถือและเห็นชอบจากสถาบันการเงินนานาชาติและสหรัฐอเมริกา มุ่งไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อีกทั้งรัฐบาลผสมก็เอาชนะความพยายามของฝ่ายค้านในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แม้ชวนจะไม่ใช่นักการเมืองที่น่าดึงดูดใจ แต่ก็ได้รับการสนับสนุนและไว้วางใจ เพราะถูกมองว่าซื่อสัตย์ มุ่งปฏิรูประบอบประชาธิปไตยและขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เคารพกติกาประชาธิปไตย เนื่องจากรัฐบาลจัดตั้งขึ้น โดยกลุ่มของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลเดิมสนับสนุนให้พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ดำรงตำแหน่งแทน โดยการสนับสนุนของพรรคความหวังใหม่ (125 คน) พรรคชาติพัฒนา (52 คน) พรรคประชากรไทย (18 คน) และ พรรคมวลชน (2 คน) รวม 197 เสียง ส่วนฝ่ายค้านเดิมนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ (123 คน) ร่วมกับพรรคชาติไทย (39 คน) พรรคเอกภาพ (8 คน) พรรคพลังธรรม (1 คน) พรรคไท (1 คน) และพรรคร่วมรัฐบาลเดิม ได้แก่ พรรคกิจสังคม (20 คน) และพรรคเสรีธรรม (4 คน) สนับสนุนชวน หลีกภัย ด้วยเสียงทั้งสิ้นรวม 196 เสียง ซึ่งน้อยกว่าฝ่ายรัฐบาล 1 เสียง

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของชวน หลีกภัย ก่อให้เกิดกลุ่มการเมืองชื่อ กลุ่มงูเห่า หมายถึง สมาชิกพรรคประชากรไทย 12 คนที่สนับสนุนรัฐบาลโดยคำชวนของพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ จนถูกพรรคประชากรไทยขับออกจากการเป็นสมาชิกพรรค และส่งผลให้สิ้นสุดสถานภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามกฎหมาย กลุ่มงูเห่าทั้ง 12 คน ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามติดังกล่าวเป็นมติที่ไม่ชอบ ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 12 คน ยังคงสถานภาพ และหาพรรคใหม่สังกัด

นอกจากกรณีกลุ่มงูเห่าแล้ว ยังมีกรณีรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลที่ได้รับการตัดสินว่ามีความผิดทางการเมืองอีก 2 ท่าน 

แม้ว่าชวนจะได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่มือสะอาด จนได้รับฉายา Mr. Clean (นายสะอาด)  แต่รัฐบาลเขาเต็มไปด้วยกรณีอื้อฉาวและข่าวลือการฉ้อราษฎร์บังหลวง โดยรักเกียรติ สุขธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ถูกตั้งข้อหาว่ารับสินบน 5 ล้านบาทจากบริษัทยาแห่งหนึ่งและบังคับให้โรงพยาบาลของรัฐซื้อยาราคาสูงเกินจริง, สุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและการสื่อสาร ซึ่งถูกเชื่อมโยงกับการละเมิดกองทุนตั้งสหกรณ์ในจังหวัดสถราษฎร์ธานี, กรณีอื้อฉาวเมล็ดพันธุ์ "รั้วกินได้" ซึ่งมีการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์เกินราคามหาศาลแก่พื้นที่ชนบท จนทำให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรต้องลาออก, กรณีอื้อฉาวการตัดไม้สาละวิน ซึ่งไม้บางส่วนไปปรากฏในสำนักงานพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดพิจิตร และสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะรัฐมนตรีอื่นอีก8 คนถูกพบว่าปกปิดการแจ้งบัญชีทรัพย์สิน

นอกจากนี้ การอนุมัติแต่งตั้ง จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2542 ท่ามกลางกระแสไม่พอใจของสังคม สื่อมวลชน และโดยเฉพาะญาติของผู้เสียชีวิต/สูญหายในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19

หลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ชวน หลีกภัยกลับมาเป็นผู้นำฝ่ายค้านอีกครั้งหลังการเลือกตั้งในปี 2554 เขาก้าวลงจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในปี 2546 ผู้มารับช่วงต่อจากเขาคือบัญญัติ บรรทัดฐาน อย่างไรก็ตาม เมื่อพรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้การเลือกตั้งในปี พ.ศ.2548 นายบัญญัติจึงลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคฯ นายชวนจึงผลักดันให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน นายชวน หลีกภัเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการนำพรรคประชาธิปัตย์การเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2549

ในปี 2556-2557 นายชวนเคยชุมนุมร่วมกับกปปส. เพื่อต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ภายหลังการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ชวน หลีกภัยได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร

วาทะของนายชวน หลีกภัย

นายชวน หลีกภัย ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่มีคารมคมคาย โดยเฉพาะในแบบเชือดเฉือน จนได้ฉายาว่า "ใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง" ตัวอย่างวาทะเด็ดของ นายชวน หลีกภัย เช่น

ยังไม่ได้รับรายงาน ..

เราไม่อาจทำให้คนทุกคนร่ำรวยเท่าเทียมกันได้ แต่เราสามารถทำให้ทุกคนอยู่ใต้กฎหมายเดียวกันได้ ..

ยอมให้คนโง่ที่คนรอบข้างซื่อสัตย์ปกครองประเทศ ดีกว่าปล่อยให้คนซื่อแต่คนรอบข้างโกงกินปกครองประเทศ ..


ปัจจุบันนายชวน หลีกภัย อายุ 83 ปี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เนื้อเพลง