วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ 



ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ซึ่งตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ณ พระราชวังเดิม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดา เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร โดยพระนามก่อนการมีพระราชพิธีลงสรงเฉลิมพระนามว่า "ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่"

พระองค์มีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระราชมารดา รวมทั้งสิ้น 3 พระองค์ ได้แก่ 

สมเด็จเจ้าฟ้าชาย (สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ) 

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎ 

และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณี (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) กษัตริย์องค์ที่ 2 ในรัชกาลที่ 4 พระองค์จึงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่มีพระชนม์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จขึ้นครองสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 2 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์แล้ว พระองค์ได้เสด็จเข้ามาอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่ง พ.ศ. 2355 พระองค์มีพระชนมายุได้ 9 พรรษา จึงได้จัดการพระราชพิธีลงสรงเพื่อเฉลิมพระนามเจ้าฟ้าอย่างเป็นทางการ พระราชพิธีในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชดำริว่า พระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าได้ทำเป็นอย่างมีแบบแผนอยู่แล้ว แต่การพระราชพิธีลงสรงตั้งพระนามเจ้าฟ้าครั้งกรุงศรีอยุธยายังหาได้ทำเป็นแบบอย่างลงไม่ รวมทั้ง ผู้ใหญ่ที่เคยเห็นพระราชพิธีดังกล่าวก็แก่ชราเกือบจะหมดตัวแล้ว เกรงว่าแบบแผนพระราชพิธีจะสูญไป พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิทักษมนตรีและเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด บุณยรัตพันธุ์) เป็นผู้อำนวยการพระราชพิธีลงสรงในครั้งนี้เพื่อเป็นแบบแผนของพระราชพิธีลงสรงสำหรับครั้งต่อไป พระราชพิธีในครั้งนี้จึงนับเป็นพระราชพิธีลงสรงครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่ได้รับการเฉลิมพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวาวงษ์ พงษ์อิศรกระษัตริย์ ขัติยราชกุมาร" ในปี พ.ศ. 2359 พระองค์มีพระชนมายุครบ 13 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถมีพระราชดำรัสจัดให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์ตามแบบอย่างพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าที่มีมาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยได้สร้างเขาไกรลาสจำลองไว้บริเวณหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

พระองค์ทรงศึกษาอักษรสยามในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร ตั้งแต่เมื่อครั้งยังประทับ ณ พระราชวังเดิม นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาวิชาคชกรรมกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช รวมทั้ง ทรงฝึกการใช้อาวุธต่าง ๆ ด้วย


เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 14 พรรษา จึงทรงออกผนวชเป็นสามเณร โดยมีการสมโภชที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย แล้วแห่ไปผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงษญาณ (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์และสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เป็นพระอาจารย์ หลังจากนั้นได้เสด็จไปประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ผนวชจนออกพรรษาแล้วจึงทรงลาผนวช รวมเป็นระยะเวลาประมาณ 7 เดือน เมื่อพระองค์ทรงพระเจริญวัยขึ้นแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้พระองค์เสด็จออกไปประทับ ณ พระราชวังเดิม

เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 21 พรรษา จึงจะผนวชเป็นพระภิกษุ แต่ในระหว่างนั้นช้างสำคัญของบ้านเมือง ได้แก่ พระยาเศวตไอยราและพระยาเศวตคชลักษณ์เกิดล้มลง รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดี สิ้นพระชนม์ ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยไม่สำราญพระราชหฤทัย จึงไม่ได้จัดพิธีผนวชอย่างใหญ่โต โปรดให้มีเพียงพิธีอย่างย่อเท่านั้น โดยให้ผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงษญาณ (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระองค์ได้รับพระนามฉายาว่า "วชิรญาโณ"[8] หรือ "วชิรญาณภิกขุ"[9] แล้วเสด็จไปประทับแรมที่วัดมหาธาตุ 3 วัน หลังจากนั้น จึงเสด็จไปจำพรรษาที่วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเคยประทับอยู่เมื่อผนวช

ในขณะที่ผนวชอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ พระองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะดำรงสมณเพศต่อไป ในระหว่างที่ผนวชอยู่นั้นได้เสด็จออกธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ทำให้ทรงคุ้นเคยกับสภาพความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฏร์อย่างแท้จริง พระองค์ทรงพระราชอุตสาหะวิริยะเรียนภาษาอังกฤษจนทรงเขียนได้ ตรัสได้ ทรงเป็นนักปราชญ์รอบรู้ ทำให้พระองค์ทรงมีความรอบรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ของโลกตะวันตกเป็นอย่างดี[2] พระองค์ทรงผนวชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2367 จนถึงลาผนวชเพื่อรับการขึ้นครองราชย์ เป็นเวลารวมที่บวชเป็นภิกษุทั้งสิ้น 27 พรรษา (ขณะนั้นพระชนมายุ 48 พรรษา) หมายเหตุ; เวลาที่ผนวชเป็นสามเณร 7 เดือน

คณะธรรมยุติกนิกาย หลังจากการลาผนวชของพระวชิรญาณเถระยังคงเจริญรุ่งเรืองต่อไป เพราะได้พระมหากษัตริย์เป็นผู้อุปถัมภ์ และมีผู้นำที่เข้มแข็งคือ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เป็นผู้ครองบังคับบัญชาคณะธรรมยุติกนิกาย


เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่พระมงกุฎ วชิรญาณะ จึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไปเฝ้าพระมงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร แต่พระองค์ยังไม่ทรงลาผนวชและตรัสว่าต้องอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นครองราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่ควบคุมกำลังทหารเป็นอันมากได้

พระองค์ทรงลาผนวชเมื่อวันที่ 6 เมษายน ซึ่งตรงกับวันจักรี และทรงรับการบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาของปีนั้น และทรงได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยโดยย่อว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระนามเต็มตามจารึกในพระสุบรรณบัฏว่า"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว " พร้อมกันนี้ พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมีพระราชพิธีบวรราชาภิเษกเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม และทรงรับพระบวรราชโองการ ให้พระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนในฝ่ายสมณศักดิ์นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส โดยทรงตั้งพิธีมหาสมณุตมาภิเษกขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม เป็นต้น


ด้านกฎหมาย

สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ (ขวา) ยืนข้างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในเครื่องแบบทหารเรือ

ในรัชสมัยของพระองค์ มีการลดภาษีอากร ลดหย่อนค่านา ยกเลิกการเก็บอากรตลาด เปลี่ยนเป็นเก็บภาษีโรงร้านเรือนแพจากผู้ค้าขายรายใหม่ ประกาศมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา ออกพระราชบัญญัติกำหนดใช้ค่าที่ดินให้ราษฎรเมื่อมีการเวนคืน ออกประกาศเตือนราษฎรให้รอบคอบในการทำนิติกรรม ยังมีการออกกฎหมายสำคัญ คือกำหนดลักษณะของผู้ที่จะถูกขายเป็นทาสให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น โปรดเกล้า ฯ ให้ยกเลิกกฎหมายเดิมที่ให้ สิทธิบิดา มารดา และสามีในการขายบุตรและภรรยา และตราพระราชบัญญัติใหม่ให้การซื้อขายทาส เป็นไปด้วยความยินยอมของเจ้าตัวที่จะถูกขายเป็นทาสเท่านั้น[12]

ด้านวรรณคดีพุทธศาสนา

พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงเป็นอย่างดี พระราชนิพนธ์ส่วนใหญ่เป็นประเภทร้อยแก้ว บทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญ ได้แก่

  • ชุมนุมพระบรมราโชบาย 4 หมวด คือ หมวดวรรณคดี โบราณคดี ธรรมคดี และตำรา
  • ตำนานเรื่อง พระแก้วมรกต เรื่องปฐมวงศ์
  • ทรงริเริ่มให้มีการค้นคว้าศิลาจารึกในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก คือ จารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงและจารึกหลักที่ 4 ของพระยาลิไทย

ด้านพระพุทธศาสนา

พระองค์ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง โดยทรงตั้งธรรมยุตติกาวงศ์ขึ้น เป็นนิกายใหม่ในพระพุทธศาสนา ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยและระเบียบแบบแผน ด้านพระพุทธศาสนา

ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

 

ด้วยเหตุที่ทรงสนพระทัยในวิทยาการตะวันตกมาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์ จึงทรงคุ้นเคยกับชาวตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษเป็นอย่างมาก ทั้งยังเกี่ยวข้องกับเสนาบดีสกุลบุนนาคเช่นพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์นั้นก็เป็นผู้สนิทสนมและนิยมอังกฤษ เช่นนี้ในรัชสมัยของพระองค์จึงเปิดความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง มีการทำสัญญากับต่างประเทศถึง 10 ประเทศ ทรงยึดนโยบาย "ผ่อนสั้น ผ่อนยาว" มาใช้กับประเทศมหาอำนาจเป็นพระองค์แรกในสมัยรัตนโกสินทร์ อันทำให้ไทยสามารถดำรงเอกราชอยู่ได้จนทุกวันนี้ พระองค์ได้ส่งคณะทูตไทยโดยมีพระยามนตรีสุริยวงศ์เป็นราชทูต เจ้าหมื่นสรรเพ็ชภักดีเป็นอุปทูต หมื่นมณเฑียรพิทักษ์เป็นตรีทูต นำพระราชสาส์นไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษนับเป็นความคิดริเริ่มให้มีการเดินทางออกนอกประเทศได้ เนื่องจากแต่เดิมกฎหมายห้ามมิให้ เจ้านาย พระราชวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่เดินทางออกจากพระนคร เว้นเสียแต่ไปในการสงครามกับกองทัพ

พระองค์โปรดเกล้าให้ชาวต่างประเทศรับราชการเป็นกงสุลไทย เช่น เซอร์ จอห์น เบาริง อัครราชทูตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งประเทศอังกฤษ เข้ามาทำสนธิสัญญากับประเทศไทยเป็นชาติแรก เมื่อ พ.ศ. 2398 ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ" เป็นกงสุลไทยประจำกรุงลอนดอน

การรุกรานอินโดจีนของฝรั่งเศส

เมื่อราชสำนักเวียดนามตั้งตัวเป็นศัตรูต่อศาสนาคริสต์ ทำให้ฝรั่งเศสมีเหตุผลที่จะใช้กำลังทหารเข้าแทรกแทรงเวียดนามด้วยกำลังอาวุธ ท้ายที่สุดเวียดนามก็เสียภาคใต้แก่ฝรั่งเศสในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2402 รัฐบาลสยามค่อนข้างยินดีที่ฝรั่งเศสทำให้ภัยคุกคามต่อสยามจากเวียดนามกำลังจะหมดไป และปรารถนาที่กระชับไมตรีกับฝรั่งเศสในทันทีที่ฝรั่งเศสเข้าปกครองเวียดนามทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ราชสำนักเวียดนามในกรุงฮานอยได้ส่งราชทูตลับมายังกรุงเทพ เพื่อเสนอยกบางส่วนของไซ่ง่อนให้สยาม[13] แลกกับการที่สยามจะต้องให้เวียดนามเดินทัพผ่านเขมร(ซึ่งเป็นประเทศราชของสยาม)เพื่ออ้อมไปโจมตีฝรั่งเศส[13] แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะไม่เห็นด้วย แต่เนื่องจากพวกขุนนางสยามสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวทำให้พระองค์ต้องยอมตาม ดังนั้นสยามจึงยกทัพเข้าประจำชายแดนด้านตะวันออกติดกับเวียดนาม และยื่นคำขาดว่า หากเวียดนามกระทำการใดที่เป็นการรุกรานเขมรแล้ว สยามจะบุกเวียดนามทันที


 

รัฐบาลฝรั่งเศสมองว่าการกระทำดังกล่าวเป็น "นโยบายเหยียบเรือสองแคม" ของสยาม[14] คือวางตัวเป็นกลางระหว่างเวียดนามและฝรั่งเศส ส่วนกงสุลฝรั่งเศสก็เรียกร้องต่อรัฐบาลสยามเพื่อขอทำสนธิสัญญากับเขมรโดยตรง เนื่องจากเขมรมีพรมแดนร่วมกับไซ่ง่อนซึ่งอยู่ในบังคับของฝรั่งเศสแล้ว ขณะเดียวกัน สหรัฐอเมริกาและอังกฤษก็พยายามยุแยงให้สยามไม่ไว้วางใจฝรั่งเศส การที่รัฐบาลสยามเอาแน่เอานอนไม่ได้เช่นนี้ ทำให้รัฐบาลฝรั่งเศสมีความเห็นว่าฝรั่งเศสควรจะแสดงบทบาทเป็นผู้อารักขาอินโดจีนเสียเลย ดังนั้นรัฐบาลฝรั่งเศสจึงมีโทรเลขถึงรัฐบาลสยาม เรียกร้องสิทธิของฝรั่งเศสเหนือเขมรและเรียกร้องขอทำสนธิสัญญาโดยตรงกับเขมร โดยอ้างชัยชนะของตนในเวียดนามใต้ รัฐบาลสยามปฏิเสธในทันที เรียกร้องให้มีการเจรจากันที่กรุงเทพ[14] ในระหว่างนี้สยามได้ชิงตัดหน้าฝรั่งเศสทำสนธิสัญญากับเขมรอย่างลับ ๆ ใน พ.ศ. 2406 มีเนื้อหาระบุว่าเขมรยอมรับอธิปไตยของสยามเหนือเขมร

...ถ้าหากเราพบบ่อทองในประเทศของเราพอที่จะซื้อเรือรบจำนวนร้อย ๆ ลำก็ตาม เราก็คงไม่สามารถจะสู้กับพวกนี้ได้ เพราะเราจะต้องซื้อเรือรบและอาวุธจากประเทศเหล่านี้ พวกนี้จะหยุดขายให้เราเมื่อไหร่ก็ได้ อาวุธชนิดเดียวที่จะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงต่อเราในอนาคตคือวาจาและหัวใจของเราอันกอปรด้วยสติและปัญญา[15]

— มงกุฎ ป.ร.

ในปีพ.ศ. 2410 รัฐบาลสยามทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส โดยสยามยกดินแดน 123,050 ตร.กม. พร้อมเกาะ 6 เกาะให้เป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส และฝรั่งเศสก็รับรองว่าดินเขมรส่วนใน อันประกอบด้วย พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เป็นดินแดนในอธิปไตยของสยาม

ด้านการศึกษาศิลปวิทยา


  

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักดาราศาสตร์ไทย ทรงการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ล่วงหน้า 2 ปี[16] และได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมเชิญทูตฝรั่งเศสและสิงคโปร์ทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนั้น นอกจากนี้ พระปรีชาสามารถของพระองค์ในด้านวิทยาศาสตร์นั้น ยังทำให้พระองค์ได้รับการยกย่องเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสัตววิทยาสมาคมแห่งสหราชาอาณาจักรอีกด้วย[17] วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประกาศยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" และอนุมัติให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ทรงใส่พระทัยกวดขันคนไทยให้ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ทรงสนับสนุนโรงเรียนของหมอสอนศาสนาที่เข้ามาเปิดกิจการในประเทศไทยเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ภาษา อรรถคดี และวิทยาการของชาติตะวันตก ทรงพระกรุณาส่งข้าราชการระดับบริหารไปศึกษางานที่จำเป็น สำหรับราชการไทย ณ ต่างประเทศ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ จัดตั้งโรงอักษรพิมพการขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ผลิตข่าวสารของทางราชการเผยแพร่ให้ราษฎรได้ทราบทั่วถึงกัน ใช้ชื่อว่า ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งยังคงพิมพ์มาจนถึงปัจจุบัน

ด้านโหราศาสตร์


  

นอกจากนี้แล้ว ยังทรงเป็นนักโหราศาสตร์อีกด้วย ทรงแต่งตำราทางโหราศาสตร์ที่เรียกว่า "เศษพระจอมเกล้า" ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตำราที่ได้รับการยอมรับว่าแม่นยำ [18] และทรงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติว่าทรงเป็น "พระบิดาแห่งโหราศาสตร์ไทย" [19]

สวรรคต


เมื่อ พ.ศ. 2411 พระองค์ทรงคำนวณว่าจะสามารถเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ในประเทศสยาม ณ หมู่บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระองค์จึงโปรดให้ตั้งพลับพลาเพื่อเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่พระองค์ทรงคำนวณก็เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงดังที่ทรงได้คำนวณไว้ พระองค์เสด็จประทับอยู่ที่หว้ากอเป็นระยะเวลาประมาณ 9 วัน จึงเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร ภายหลังการเสด็จกลับมายังพระนคร พระองค์เริ่มมีพระอาการประชวรจับไข้และทรงทราบว่าพระอาการประชวรของพระองค์ในครั้งนี้คงจะไม่หาย 

วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2411 พระองค์มีพระบรมราชโองการให้หา พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ที่มีพระชนมายุมากกว่าพระองค์อื่น ๆ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ในราชการ และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) อัครเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม หัวหน้าข้าราชการทั้งปวง เข้าเฝ้าพร้อมกันที่พระแท่นบรรทม โดยพระองค์มีพระบรมราชโองการมอบพระราชกิจในการดูแลพระนครแก่ทั้ง 3 ท่าน

หลังจากนั้น ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสสั่งให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และเจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) ที่สมุหนายก เข้าเฝ้าฯ และมีพระราชดำรัสว่า

ท่านทั้ง 3 กับพระองค์ได้ทำนุบำรุงประคับประคองกันมา บัดนี้กาละจะถึงพระองค์แล้ว ขอลาท่านทั้งหลายในวันนี้ ขอฝากพระราชโอรสธิดาอย่าให้มีภัยอันตราย หรือเป็นที่กีดขวางในการแผ่นดิน ถ้ามีผิดสิ่งไรเป็นข้อใหญ่ ขอแต่ชีวิตไว้ ให้เป็นแต่โทษเนรเทศ ขอให้ท่านทั้ง 3 จงเป็นที่พึ่งแก่พระราชโอรสธิดาต่อไปด้วยเถิด

— พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว '1 ตุลาคม พ.ศ. 2411

พระองค์ตรัสขอให้ผู้ใหญ่ทั้ง 3 ท่านได้ช่วยกันดูแลบ้านเมืองต่อไป ให้ทูลพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่เอาธุระรับฎีกาของราษฎรผู้มีทุกข์ร้อนดังที่พระองค์เคยปฏิบัติมา โดยไม่ทรงเอ่ยว่าจะให้ผู้ใดขึ้นครองราชย์แทนพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์รับสั่งว่าเมื่อพระองค์ผนวชอยู่นั้น ทรงออกอุทานวาจาว่าวันใดเป็นวันพระราชสมภพก็อยากสวรรคตในวันนั้น โดยพระองค์พระราชสมภพในวันเพ็ญเดือน 11 ซึ่งเป็นวันมหาปวารณา เมื่อพระองค์จะสวรรคตก็ขอให้สวรรคตท่ามกลางสงฆ์ขณะที่พระสงฆ์กระทำวินัยกรรมมหาปวารณา[11] ในเวลา 20.06 นาฬิกา พระองค์ทรงภาวนาอรหังสัมมาสัมพุทโธแล้วผ่อนอัสสาสะปัสสาสะ (ลมหายใจเข้า-ออก) เป็นครั้งคราว จนกระทั่ง เวลา 21.05 นาฬิกา เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ ภายในพระบรมมหาราชวัง สิริพระชนมพรรษา 64 พรรษา






พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี

 

 พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี
King Buddha Yodfa Chulaloke.jpgพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
King Buddha Loetla Nabhalai.jpgพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
King Nangklao.jpgพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
Thomson, King Mongkut of Siam (crop).jpgพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Chulalongkorn portrait photograph.jpgพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Vajiravudh (Rama VI) of Siam uncropped.jpgพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Prajadhipok portrait photograph.jpgพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Ananda Mahidol portrait photograph.jpgพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร
Anefo 911-6993 Aankomst Koning (cropped).jpgพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร
King Rama X official (crop).pngพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
 

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

เจ้าหญิงนกกระจาบ

 

เจ้าหญิงนกกระจาบ






เรื่องเจ้าหญิงนกกระจาบเป็นนิทานไทยโบราณที่มีเค้าเรื่องปรากฏในสรรพสิทธิชาดก  กวีหลายคนได้นำมาแต่งเป็นร้อยกรอง โดยเฉพาะนกกระจาบกลอนสวดที่แต่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้นมีหลายสำนวน
























 

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

พระสุวรรณหงส์

 


"พระสุวรรณหงส์" เจ้าชายรูปงามผู้มีเรือหงส์วิเศษ ที่ได้ตั้งจิตอธิษฐานเสี่ยงทายปล่อยว่าวจุฬาหาคู่ครอง ด้วยบุพเพสันนิวาสทำให้ได้พบกับพระธิดาแห่งเมืองยักษ์ แต่หลงกลถูกหอกยนต์ลั่นเสียบอกเสียก่อน เราไปฟังการผจญภัยของเจ้าชายสุวรรณหงส์ กับเรือวิเศษกันนะคะ ..

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีนครใหญ่และเจริญรุ่งเรืองอยู่ชื่อ "นครไอยรัตน์" ปกครองโดยพระราชาทรงพระนามว่า "ท้าวสุทันนุราช" พระองค์มีพระมเหสีทรงพระนามว่า "พระนางศรีสุวรรณ" ทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรสพระนามว่า "สุวรรณหงส์" บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองและสงบสุขมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งโหรหลวงได้กล่าวคำทำนายไว้ว่าในไม่ช้าจะเกิดเรื่องยุ่งยากขึ้นในพระนคร

เมื่อทราบคำนายเช่นนั้นพระราชาและเหล่าพสกนิกรต่าง ๆ ก็ทุกข์ร้อนใจมากและสงสัยว่าจะเกิดเรื่องยุ่งยากประเภทใดกันแน่เนื่องจากโหรไม่ได้ระ
บุประเภทลงไป แต่ละคนจึงคิดกันไปต่าง ๆ นานาเป็นต้นว่า ข้าวยากหมากแพงบ้าง ข้าศึกรุกรานบ้าง และภัยพิบัติทางธรรมชาติบ้าง ฯลฯ แล้วก็รอให้เหตุการณ์ที่มองไม่เห็นนี้เกิดขึ้นด้วยความตื่นเต้นเป็นอย่างมาก
เมื่อเจ้าชายสุวรรณหงส์ทรงเจริญวัยสมควรที่จะได้ศึกษาหาความรู้ เพื่อประโยชน์แก่การขึ้นครองราชย์ในอนาคต พระราชาก็ส่งพระองค์ไปศึกษาเล่าเรียนกับพระฤาษีในป่า และในขณะที่อยู่กับพระฤาษีนั้น เจ้าชายสวรรณหงส์ก็ได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาในหลายแขนงด้วยกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิ
ชาฟันดาบและเรียนรู้ภาษาของสัตว์ หลังจากจบแล้วก็กราบลาพระฤาษีเสด็จกลับพระนคร
หลังจากเสด็จกลับมาแล้ว เจ้าชายก็ช่วยแบ่งเบาพระราชภารกิจของพระบิดาในเกือบทุกเรื่อง พระราชาทรงปลื้มปิติกับพระโอรสยิ่งนัก แต่ก็ทรงนึกถึงคำทำนายของโหรอยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงดำริว่าคำทำนายของโหรมีความคลาดเคลื่อนอย่างแน่นอน จึงไม่จำเป็นที่พระองค์จะต้องทรงวิตกกังวลอีกต่อไป
วันหนึ่ง ในขณะที่พระสุวรรณหงส์เสด็จไปสรงน้ำที่ธารน้ำ ก็ทอดพระเนตรเห็นผอบทองที่พระธิกาพญายักษ์ลอยน้ำเสี่ยงทายมา เมื่อเปิดผอบก็พบพวงมาลัยดอกไม้สดกลิ่นหอมหวานยิ่งนักจึงนำมาเก็บไว้ในพระราชวังด้วย
เป็นที่น่าประหลาดใจก็ตรงที่ว่าแม้จะล่วงเลยไปเป็นเวลา 3 วันแล้ว พวงมาลัยดอกไม้สดนั้นก็ยังคงสดและมีกลิ่นหอมอยู่อย่างนั้น
คืนหนึ่ง เจ้าชายก็ทรงสุบินว่า ได้พบกับสาวสวยเจ้าของพวงมาลับดอกไม้นั้น ครั้งตืนจากบรรทมก็ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนึกถึงนางและคิดหาหนทางที่จะได้พบนาง พระองค์ทรงตกหลุมรักของหญิงสาวในสุบินเสียแล้ว
อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่พระสุวรรณหงส์ระทมทุกข์ถึงนางในฝันอยู่นั้น ได้มีนายช่างผู้มีความสามารถสองคนมาขอเข้าเฝ้า ทั้งสองได้ทูบให้พระองค์ทราบว่าพวกเขามีความสามารถพิเศษซึ่งสามารถประดิษฐ์ของวิเศษใ
ห้พระองค์ได้หากพระองค์ทรงอนุญาต พวกเขาก็พร้อมที่จะเริ่มงานในทันที เมื่อถูกถามถึงความชำนาญพิเศษทั้งคู่ก็ทูลว่าเขาคนหนึ่งเป็นช่างไม้มีความชำนาญพิเศษ
ในการต่อเรือ ในขณะที่อีกคนหนึ่งเป็นช่างเครื่องสามารถประดิษฐ์เครื่องยนต์ให้เรือบินไปได้อย่างพญานก
และแล้วนายช่างทั้งสองก็เริ่มประดิษฐ์ผลงานชิ้นเอกซึ่งก็เป็นเรือหงส์เหาะได้ แล้วก็นำไปถวายพระโอรสซึ่งก็เป็นที่พอพระทัยยิ่งนักที่ได้เห็นสิ่งประดิษฐ์อันสวยงาม
เช่นนั้น พระองค์ได้ประทานรางวัลให้ทั้งคู่อย่างงาม ขณะที่ทรงชื่นชมความงามอยู่นั้นก็ทรงเห็นอักขระแปลกประหลาดจารึกอยู่บนเรือนั้น พระองค์จึงตรัสถามหาความหมาย แต่ทั้งสองนายช่างไม่เข้าใจความหมายพวกเขาทูลว่าพวกเขาคัดลอกมาจากคัมภีร์พระเวทย์ซึ
่งเป็นภาษาของพญาครุฑ ดังนั้นผู้ที่อ่านอักขระเหล่านี้ออกก็จะสามารถบังคับเรือให้บินไปได้เหมือนนก
เนื่องจากพระสวรรณหงส์เรียนภาษาสัตว์จากพระฤาษีพระองค์จึงอ่านอักขระเหล่านั้นได้หมด
และสั่งให้เรือบินไปได้ตามใจชอบ ชาวเมืองนครไอยรัตน์ต่างพากันชื่นชมพระบารมีของพระโอรสที่ทรงสามารถท่องเที่ยวไปด้วยยานมหัศจรรย์
ในเวลาต่อมา พระสุวรรณหงส์ได้เสี่ยงทายปล่อยว่าวเพื่อทำนายโชคชะตาของบ้านเมือง ในขณะที่ปล่อยว่าวขึ้นสู่ท้องฟ้านั้นพระองค์ก็ตั้งอธิษฐษนว่า "ถ้าว่าวติดลมดีก็หมายถึงในปีนี้บ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรืองกว่าปีก่อน" แต่ก็น่าแปลกที่ว่าแทนที่ว่าวจะลอยอยู่ในพระนคร ว่าวก็ลอยไปยังเมืองของพวกยักษ์มีชื่อว่า "นครมัตตัง" ปกครองโดยพญายักษ์นามว่า "สุวรรณวิก" ผู้ซึ่งมีธิดาผู้เลอโฉมนามว่า "เกศสุริยง" พญายักษ์รักธิดามากจังกำชับให้พี่เลี้ยงทั้ง 5 คนดูแลธิดาของตนเป็นอย่างดี
ในขณะเดียวกัน พระสุวรรณหงส์ก็เสด็จออกตามหาว่าวที่ลอยไปพันยอดปราสาทขององค์หญิงเกศสุริยงพอดี อาศัยมนต์วิเศษที่มีพระองค์ก็ทรงไต่ตามสายป่านว่าวขึ้นไปพบเจ้าหญิงผู้เลอโฉมได้ ทันทีที่ได้พบนาง พระองค์ก็ทรงทราบทันทีว่าสตรีผู้นี้คือเจ้าของพวกมาลัยดอกไม้สดและเป็นนางในฝันของพร
ะองค์จึงเปิดเผยตัวเองให้เจ้าหญิงทรงทราบ แล้วทั้งคู่ก็ตกหลุมรักของกันและกันในบัดดล ทั้งสองแอบใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยาอย่างลับ ๆ และนับแต่นั้นมาเจ้าชายสุวรรณหงส์ก็จะไต่สายป่ายว่าวของพระองค์ไปพบเจ้าหญิงเกศสุริย
งอย่างลับ ๆ อยู่เป็นประจำ
อย่างไรก็ตาม ชีวิตรักของทั้งคู่ก็ไม่อาจจะเก็บไว้ได้นาน เมื่อพี่เลี้ยงทั้งห้าพบสายป่านว่าวและชายหนุ่มอยู่กับองค์หญิงของพวกตา พวกนางมีความวิตกกังวลและเกรงกลัวความผิดที่ไม่ปกป้องเจ้านายของพวกตนตามที่พญายักษ์
สั่งไว้ จึงคิดหาทางกำจัดผู้บุกรุกเพื่อไม่ให้นำความเดือดร้อนมาให้พวกตนได้อีกต่อไป
ก่อนหน้าที่จะมาหาองค์หญิงในวันต่อมา พระสุวรรณหงส์ก็ทรงสุบินร้ายในคืนนั้น พระองค์ทรงสุบินว่าตกลงจาภูเขาและติดอยู่ในความมืดสนิท เมื่อตื่นจากบรรทมก็ได้หลับต่อและทรงสุบินร้ายอีก แต่คราวนี้พระองค์สุบินว่า มีหอกพุ่งเข้าแทงตรงหัวใจทำให้พระองค์สิ้นพระชนม์ในทันที
หลังจากชำระล้างพระวรกายแล้ว ก็เสด็จขึ้นเรือวิเศษบินไปยังเมืองมัตตัง แล้วก็ไต่สายป่านว่าวขึ้นไปพบเจ้าหญิงเหมือนเช่นเคย แต่โชคร้ายที่ว่าคราวนี้ไม่ง่ายเหมือนอย่างแต่ก่อน เพราะพี่เลี้ยงทั้งห้าได้ทำกับดักไว้ที่หน้าต่างในทันทีที่พระสุวรรณหงส์ปรากฏพระองคขึ้นที่หน้าต่างหอกยนต์ก็ลั่นเสียบพระอุระทันที เจ้าชายได้รับบาดเจ็บแต่ก็สามารถหนีขึ้นเรือกลับมาสิ้นพระชนม์ที่พระนครของตนเอง แต่ก่อนจะสิ้นลมหายใจเฮือกสุดท้ายพระองค์ก็ทรงสาบานว่าจะขอล้างแค้นองค์หญิงทุก ๆ ชาติไป ด้วยเหตุที่พระองค์ไม่ทราบว่าใครเป็นคนคิดร้ายต่อพระองค์ เจ้าชายดิ้นทุรนทุรายและสิ้นพระชนม์ด้วยความเจ็บปวด
ในขณะเดียวกัน ถึงแม้ว่าองค์หญิงเกศสุริยงจะเป็นธิดาของพญายักษ์ผู้โหดร้าย แต่นางก็มีจิตใจดีและอ่อนโยน นางเฝ้าคอยพระสุวรรณหงส์อยู่เป็นเวลาหลายวันแต่ก็ไม่พบว่าพระองค์จะเสด็จมานางจึงมอง
ออกไปนอกหน้าต่าง และก็ต้องแปลกใจที่พบรอยเลือด นางเกิดความสงสัยจึงตามรอยเลือดไปจนถึงป่าซึ่งลึกเขาไปจนไม่อาจจะผ่านไปได้อีกแล้ว นางมีความเศร้าโศก และเสียใจมากจนหมดสติอยู่ในป่านั้นเอง พระอินทร์ทรงรู้สึกสงสารจึงช่วยให้ฟื้นคืนสติ
และพระอินทร์ก็ทรงช่วยแปลงร่างให้นางเป็นชาย และให้ปลอมตัวเป็นพราหมณ์หนุ่มเพื่อที่จะได้เดินทางไปตามลำพังได้อย่างปลอดภัย และพระองค์ยังได้ประทานน้ำมันทิพย์บรรจุขวดเล็ก ๆ และศรวิเศษให้พราหมณ์แปลงอีกด้วย น้ำมันนี้สามารถใช้ชุบชีวิตคนตายให้ฟื้นขึ้นมาได้ ก่อนเสด็จกลับสวรรค์ พระองค์ยังได้ทรงแปลงร่างอีกส่วนของเจ้าหญิงเกศสุริยงให้เป็นร่างเกศสุริยงอยู่ในปราสาท เพื่อไม่ให้พญายักษ์สงสัยต่อการหายไปของธิดาเพื่อตามหาสามี
พราหมณ์สุริยงในร่างแปลง ก็ออกเดินทางตามลำพังและมาถึงศาลาของยักษ์นามว่า "กุมภัณฑ์" เมื่อยักษ์กุมภัณฑ์เห็นผู้บุกรุกก็เกิดความโกรธและต้องการจะกินนาง แต่นางก็ต่อสู้และสามารถฆ่ายักษ์ได้สำเร็จ ด้วยความสงสารนางจึงใช้น้ำมันทิพย์ชุบชีวิตยักษ์ให้ฟื้นคืนชีพ หลังจากฟื้นแล้วยักษ์กุมภัณฑ์ก้อ้อนวอนขออภัยและสาบานว่าจะเป็นทาสผู้ซื่อสัตย์ของนา
งตลอดไปนางก็ยินดีและแล้วทั้งนายและบ่าวก้ออกเดินทางไปด้วยกัน เพื่อมห้ถึงเมองไอยรัตน์โดยเร็ว ยักษ์กุมภัณฑ์จึงให้นายของตนนั่งบนบ่าแล้วก็เดินทางมาจนถึงพระนคร เกศสุริยงในร่างพราหมณ์จึงบอกให้ยักษ์แปลงร่างเป็นพราหมณ์เหมือนกับตน เพื่อไม่ให้ใครสงสัย
เมื่อมาถึงพระนคร ทั้งคู่ก็เห็นความสง่างามของเมือง แต่ผู้คนดูเศร้าโศกกันไปหมดแล้วก็บอกข่าวสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายของพวกเขา ดังนั้นพราหมณ์เกศสุริยงจึงอาสาช่วยให้เจ้าชายฟื้นพระชนม์ชีพอีกครั้ง และด้วยอำนาจของน้ำมันทิพย์พระสุวรรณหงส์ก็ทรงฟื้นคืนชีพได้อีก ทั้งพระราชาและเหล่าพสกนิกรต่างก็ปลื้มปิติยินดีเป็นล้นพ้น มีการจัดงานฉลองอย่างเอิกเกริกเป็นเวลาหลายวัน
นับแต่นั้นมา เกศสุริยงในร่างแปลงของพราหมณ์หนุ่มโดยใช้ชื่อว่า อัมพร ก็กลายเป็นที่โปรดปรานของพระราชาและพระราชินี เพราะเขาได้ชุบชีวิตพระโอรสให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งในขณะเดียวกันพระสุวรรณหงส์ ก็มีความสงสัยในตัวพราหมณ์หนุ่มเพราะเขาดูคล้ายเจ้าหญิงเกศสุริยงมาก พระองค์จึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อพิสูจน์ธาตุแท้ของพราหมณ์ผู้นี้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ในที่สุดก็ต้องใช้แผนสุดท้าย โดยการเรียกหญิงงามที่สุดเข้ามายังพระนคร ทำทีเป็นว่าเป็นคนรักใหม่ของพระองค์ คราวนี้ปรากฏว่าเกศสุริยงในร่างพราหมณ์อัมพรเกิดอาการโกรธและอิจฉาสตรีผู้นั้น ด้วยความรู้สึกว่าตนเองถูกทรยศ จึงหนีออกจาเมืองและทิ้งพวงมาลัยดอกไม้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของนางไว้เบื้องหลัง เมื่อทอดพระเนตรเห็นพวงมาลัย เจ้าชายก็ทรงทราบทันทีว่าพราหมณ์อัมพรนั้นแท้ที่จริงก็คือองค์หญิงเกศสุริยงปลอมมนั่นเอง
ด้วยความรู้สึกที่ทั้งดีใจและแค้นใจพอ ๆ กัน พระสุวรรณหงส์เสด็จขึ้นเรือวิเศษแล้วบินไปยังเมืองมัตตังแล้วก็ได้เผชิญหน้ากับพญายักษ์บิดาขององค์หญิงเกศสุริยง ทั้งคู่เกิดต่อสู้กันอย่างดุเดือด และในที่สุดพระสุวรรณหงส์ก็เป็นฝ่ายชนะพญายักษ์ พระองค์รีบเสด็จตรงไปหาองค์หญิงเกศสุริยงเพื่อล้างแค้น
พระองค์เสด็จเข้าไปในห้อง ในขณะที่องค์หญิงเกศสุริยงและพี่เลี้ยงทั้งห้ากำลังหลับอยู่ ก่อนจะฆ่านางพระองค์ได้อธิษฐานว่า ถ้าหากว่ารักพระองค์จริงและมีความซื่อสัตย์ต่อพระองค์แล้วไซร้ ขอให้โลหิตของนางมีรสหวานแต่ถ้าเป็นไปในทางกลับกัน ก็ขอให้โลหิตของนางมีรสขม หลังจากจบคำอธิษฐาน พระองค์ก็ตัดาคอนางด้วยดาบแล้วชิมโลหิตของนางดู ปรากฏว่ามีรสหวาน เจ้าชายผู้เศร้าโศกก็ทรุดลงกับพื้นแล้วร่ำไห้คร่ำครวญเสียงดังทำให้พี่เลี้ยงสะดุ้งตื่นและก็ต้องตกใจเมื่อพบว่าเจ้านายของตนเสียชีวิตไปแล้ว ทั้งห้านางรู้สึกเสียใจแล้วก็สารภาพผิดต่อเจ้าชาย
ข่าวการจากไปอย่างกระทันหันแพร่ไปถึงทาสผู้ซื่อสัตย์ของนาง ซึ่งก็ไม่ใช่ใครอื่นนอกจากยักษ์กุมภัณฑ์ ยักษ์กุมภัณฑ์รับไปทูลให้เจ้าชายใช้น้ำมันทิพย์ซึ่งพระอินทร์ประทานให้กับนายของตนไว้และก็เป็นไปได้อย่างเหลือเชื่อ เมื่อน้ำมันทิพย์ถูกร่างขององค์หญิง ก็ทำให้นางฟื้นคืนชีพมาอีกครั้ง ท่ามกลางความตื่นเต้นดีใจของเจ้าชายและบ่าวผู้ซื่อสัตย์ขององค์หญิงเกศสุริยง ทั้งคู่กลับมาใช้ชีวิตคู่กันอีกครั้ง และคราวนี้จะอยู่ด้วยกันตลอดไป เจ้าชายจึงนำพระชายากลับสู่พระนครของพระองค์เอง
ในระหว่างไปพระนครของพระองค์นั้น เจ้าชายไม่ได้ทรงใช้เรือสุวรรณหงส์แต่ทรงเดินทางด้วยม้าและทั้งคู่ก้มาพบยักษ์มีนามว่าวิรุณเมฆ ซึ่งเกือบจะทำร้ายพระสุวรรณหงส์อยู่แล้วถ้าหากยักษ์กุมภัณฑ์ไม่เข้ามาขัดขวาง หลังจากฆ่ายักษ์วิรุณเมฆได้สำเร็จแล้ว ยักษ์กุมภัณฑ์ต้องการเดินทางไปกับนายของตนเพื่อจะได้ช่วยปกป้องทั้งสองพระองค์ได้ แต่องค์หญิงเกศสุริยงสั้งให้เขากลับไปดูแลเมืองมัตตัง
และแล้วทั้งสองพระองค์ก็ออกเดินทางต่อ เมื่อรู้สึกเหนื่อยก็ทรงหยุดพักและเผลอหลับไป มีนางยักษ์ตนหนึ่งผ่านมาพบทั้งคู่เข้า ทันใดนั้นนางยักษ์เกิดนึกรักพระสุวรรณหงส์ผู้มีรูปร่างงามขึ้นมาทันที และผลักองค์หญิงเกศสุริยงตกลงไปในแม่น้ำ แล้วก็แปลงร่างเป็นองค์หญิงแทน โดยบรรทมเคียงคู่กับพระสวามี หลังจากตื่นบรรทม เจ้าชายก็ไม่ได้ทรงสงสัยอะไรนอกจากได้กลิ่นแปลกประหลาดจากเรือนร่างของพระชายาตน พระองค์ก็ไม่ได้บ่นเกี่ยวกับเรื่องกลิ่นนี้ เพียงแต่แปลกพระทัยว่าโดยปกติชายาของตนไม่มีกลิ่นตัว ถึงแม้ว่านางจะเป็นธิดาของยักษ์ก็ตาม
เมื่อเสด็จมาถึงพระนครของพระองค์ เจ้าชายก็พาพระชายาออกชมรอบ ๆ เมืองและเพลิดเพลินกับการชมวิวทิวทัศน์ ทั้งสองพระองค์อยู่ร่วมกันระยะหนึ่งก็ไม่เห็นมีสิ่งประหลาดอะไรเกิดขึ้น นางยักษ์ปลอมเป็นองค์หญิงพยายามซ่อนความลับว่าตนเป็นยักษ์ไว้ นางจึงกินอาหารเหมือนมนุษย์ทั่วไป อย่างไรก็ตามโดยธรรมชาติของยักษ์ก็ย่อมจะชอบกินเนื้อดิบคราวละมาก ๆ ดังนั้นกลางคืนองค์หญิงปลอมจึงแอบออกมานอกพระนครเพื่อออกจับสัวต์ป่ากินเป็นอาหาร
ในขณะเดียวกัน ยักษ์กุมภัณฑ์ก็นำม้าของพระสุวรรณหงส์มากินน้ำที่แม่น้ำ ก็มาพบกับองค์หญิงเกศสุริยงเข้าโดยบังเอิญ จึงรีบน้ำนายของตนตรงไปยังเมืองไอยรัตน์ซึ่ง ณ ที่นั้นเองที่เกิดการเผชิญหน้ากันขึ้นระหว่างองค์หญิงตัวจริงและตัวปลอม ท่ามกลางความสับสนอลหม่านของผู้คนนั้นเอง องค์หญิงปลอมก็หนีออกจากพระนครไปแต่ก็ถูกยักษ์กุมภัณฑ์สกัดจับไว้ได้แล้วก็ฆ่านางเสียในระหว่างการต่อสู้กัน
และแล้วทั้งสองพระองค์ก็ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและตอนนี้พระนครไอยรัตน์ก็สงบสุขปราศจากเรื่องราวร้ายแรงทั้งปวง

เนื้อเพลง