วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

พญาผายู กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์มังราย

 


พญาผายู คือกษัตริย์ปกครองอาณาจักรล้านนาองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์มังรายทรงเป็นพระราชโอรสในพญาคำฟูกษัตริย์ล้านนาองค์ที่ 4  โดยรัชสมัยของพระองค์เริ่มต้นในปี พ.ศ.1879 - พ.ศ.1898 ระยะเวลา 19 ปี ในสมัยของพระองค์เป็นสมัยที่มีความสงบสุขร่มเย็น ไม่ได้มีสงครามใหญ่ครั้งใดแถมยังเริ่มสร้างอาณาจักรล้านนาของตนให้เข้มแข็งอีกด้วย

หลังจากที่พระองค์ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งล้านนาแล้ว ไม่นานนักพระองค์ก็มีพระราชดำริที่จะย้ายราชธานีจากเมืองเชียงแสนที่เป็นเมืองหลวงของล้านนาในขณะนั้น กลับไปยังเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นราชธานีเดิมอีกครั้งนึง ซึ่งพระองค์เห็นว่าเมืองเชียงแสนนั้นไม่ค่อยมความมั่นคงที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆ และโปรดเมืองเชียงใหม่มากกว่าเชียงแสน การย้ายเมืองหลวงเป็นไปอย่างราบรื่น เมืองเชียงใหม่กลายเป็นราชธานีส่วนเมืองเชียงแสนได้กลายเป็นเมืองป้อมปราการที่แร่งที่สุดเมืองหนึ่งของล้านนา

หลังจากที่พระองค์ย้ายเมืองหลวงจากเชียงแสนไปอยู่ที่เชียงใหม่ พระองค์โปรดให้สร้างวัดเพื่อเป็นที่เก็บพระบรมอัฐิของพญาคำฟูพระราชบิดา โดยวัดที่พระองค์สร้างขึ้นนั่นก็คือวัดพระสิงห์วรมหาวิหารนั่นเอง หลังจากนั้นไม่นานพระองค์ก็อภิเษกกับพระนางจิตราเทวี ราชธิดาของเจ้าเมืองเชียงของ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างสองอาณาจักร 
มีพระราชบุตร 2 พระองค์คือ พญากือนา และท้าวมหาพรหม


ถึงแม้ประวัติที่เกี่ยวข้องในสมัยนี้จะมีไม่มาก แต่หลักฐานต่างๆที่กล่าวถึงช่วงนี้ต่างเขียนไว้ว่า พระองค์ปกครองบ้านเมืองโดยหลักทศพิธราชธรรมเป็นหลัก ศาสนาเจริญรุ่งเรือง ไม่มีสงครามใหญ่มากนัก บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข อาณาประชาราษฎร์มีความสุขสมบูรณ์ตลอดรัชสมัย

พระองค์ครองราชย์นาน 19 ปี สวรรคตในปี พ.ศ.1898 ขณะพระชนม์มายุประมาณ 57 พรรษา เหล่าขุนนางเสนาอำมาตย์ จึงยกราชสมบัติให้พระราชโอรสของพระองค์คือท้าวกือนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งล้านนาสืบต่อไป

วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

พญาคำฟู กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์มังราย

 


พญาคำฟู
หรือที่เรียกกันว่า เจ้าคำฟู หรือท้าวคำฟู เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๔ ในราชวงศ์มังรายแห่งอาณาจักรล้านนาทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๗๗ - ๑๘๗๙ รวมระยะเวลาการครองราชย์ ๒ ปี

พญาคำฟูเป็นพระราชโอรสในพญาแสนภู ตามตำนานสิบห้าราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า

"เจ้าพระญาแสนภูก็แต่งลูกตน เจ้าพ่อท้าวคำฟู อยู่รักษาเมืองเชียงใหม่ ส่วนตนเจ้าก็ไปส่งสะกาน เจ้าพระญาไชยสงครามพ่อในเมืองเชียงรายได้ ๑ เดือนบัวระมวลชุอัน ท้าวก็ลวดอยู่เสวยเมืองเชียงรายหั้นแล แล้วก็แต่งหื้ออภิเษกพ่อท้าวคำฟูลูกตนอายุได้ ๒๖ ปี หื้อเป็นพระญาในเมืองเชียงใหม่ ในปีเปิกสี ศักราชได้ ๖๙๐ ตัวปีหั้นแล"

สรุปคือ พญาคำฟู เป็นหลานของขุนคราม หรือพญาไชยสงคราม โอรสพระองค์ที่ ๒ ในพญามังราย (ขุนเครื่อง ขุนคราม และ ขุนเครือ)

หลังจากเจ้าคำฟูได้เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ พญาแสนภูก็ทรงย้ายเมืองหลวง จากเชียงใหม่ไปไว้ที่เชียงแสน ภายหลังพญาแสนภูเสด็จสวรรคตเจ้าคำฟูจึงได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ล้านนา
ระหว่าง พ.ศ.๑๘๗๗-๑๘๗๙

พญาคำฟูได้พัฒนา ปกครองนครเชียงใหม่ให้เกิดความผาสุก ร่มเย็นในรัชสมัยของพระองค์
แม้จะเป็นเวลาเพียง ๒ ปีแต่ก็เป็นช่วงเวลาที่เชียงใหม่มีความเจริญรุ่งเรือง สงบสุขไม่มีศึกสงคราม ในยุคสมัยของพญาคำฟูนี้พระองค์ทรงร่วมมือกับพญาผานองเจ้าเมืองปัว เข้าตีเมืองพะเยาและ สามารถที่จะผนวกเอารัฐพะเยาที่เป็นอิสระอยู่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของล้านนาได้


พญาคำฟูสวรรคตจากการถูกเงือก หรือ จระเข้ กัดถือเป็นการตายร้าย จึงได้รับการบูชาเป็นผีอารักษ์ ปกป้องเมืองเชียงใหม่

การที่ทรงสิ้นพระชนม์เพราะจระเข้กัดตายนั้นตามตำนานเล่าว่า เป็นเพราะพญาคำฟูเสียสัตย์สาบานกษัตริย์ราชวงศ์มังรายที่สวรรคตยังแม่น้ำคำเพราะเงือก(จระเข้)ขบ

เรื่องนี้ปรากฏในพงศาวดารโยนกและตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ได้บันทึกตรงกันว่าพญาคำฟู กษัตริย์ราชวงศ์มังรายรัชกาลที่๖ได้กระทำผิดสาบานที่ได้ให้ไว้กับสหายเศรษฐีชื่อ งัวหง
ว่าจะไม่คิดร้ายต่อกันแต่พญาคำฟูกลับเสียสัตย์ลักลอบกระทำมิจฉาจาร กับ ภรรยาของงัวหง
การกระทำครั้งนั้นเป็นเหตุให้พระองค์ต้องสวรรคตในสังคมสมัยนั้นเชื่อเรื่องลี้ลับมากดังปรากฏในพงศาวดารโยนกว่า....

“พญาได้เห็นภรรยา ของสหายนั้นทรงรูปลักษณะงามท่วงทีดี ก็มีใจปฏิพัทธ์จึงลอบลักสมัครสังวาส กระทำมิจฉาจารด้วยนางผู้เป็นภรรยาของสหายนั้นด้วยเหตุพญาได้เสียสัตย์สาบานดังนี้
อยู่มาได้เจ็ดวันพญาคำฟู ลงอาบน้ำดำเศียรในลำน้ำแม่คำ เงือกใหญ่ตัวหนึ่งออกมาจากเงื้อมผามาขบคาบสรีระพญาคำฟูพญาคำฟูก็ถึงกาลกิริยาในแม่น้ำนั้น ต่อครบเจ็ดวัน ศพพญาคำฟูจึงลอยขึ้นมาคนทังหลายจึงรู้ว่าพญาคำฟูสิ้นชีพวายชนม์แล้ว”

กู่อัฐิของพญาคำฟู เป็นกู่เล็ก ๆ ลักษณะเป็นทรงกลมเส้นรอบวงประมาณเมตรครึ่งด้านบนเป็นแผ่นศิลาทรงกลมปิดไว้อยู่ด้านหน้าพระอุโบสถทางทิศเหนือเยื้องขวา ไปประมาณ ๑๐ เมตร
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าพระธาตุหลวงเป็นที่บรรจุอัฐิของพญาคำฟู

ในปี ๒๔๖๙ ครูบาศรีวิชัย มาแผ้วถางบูรณะวัดพระสิงห์ วรมหาวิหารได้พบกู่อัฐิค้นพบข้างในมีผอบบรรจุอัฐิซ้อนกัน ๓ ใบ 
ชั้นนอกทำด้วยทองเหลืองหนัก ๒๕๔ บาท ๓ สลึง สูง ๒๓ นิ้ว
ชั้นกลางทำด้วยเงินหนัก ๑๘๕ บาท ๒ สลึง สูง ๑๘ นิ้ว
ชั้นในสุด ทำด้วยทองคำหนัก ๑๒๒ บาท ๒ สลึง สูง ๑๔ นิ้ว

และ ยังพบแผ่นทองจารึกเรื่องราวต่าง ๆสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นอัฐิของพญาคำฟู ผู้สร้างวัด
ทางราชการได้นำไปเก็บไว้ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ชั่วคราวซึ่งตั้งอยู่ที่ข่วงสิงห์และขณะนั้นเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาผอบทั้ง ๓ ใบ และจารึกตลอดถึงเครื่องราชูปโภคเหล่านั้นได้สูญหายไปในขณะเกิดสงครามซึ่งประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๔

หลังจากพญาคำฟูเสด็จสวรรคตพระราชโอรสในพญาคำฟูขึ้นครองราชย์ต่อ ออกพระนาม พญาผายู

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

พญาแสนพู กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์มังราย

 


พญาแสนพู เป็นผู้ครองนครล้านนาองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์มังรายสืบต่อจากพระราชบิดาพญาไชยสงคราม หลังจากที่พระองค์ขึ้นครองราชย์แล้วนั้นพระองค์ก็ได้เปลี่ยนเมืองหลวงอีกครั้งจากที่พระราชบิดาของพระองค์เปลี่ยนจากเชียงใหม่เป็นเมืองเชียงราย ซึ่งพญาแสนภูนั้นไม่โปรดเมืองเชียงรายจึงย้ายราชธานีไปอยู่ที่เชียงแสนแทน และประทับอยู่ที่นั่นจนสิ้นพระชนม์

พญาแสนภูเป็นพระราชโอรสองค์โตของพญาไชยสงครามกษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งล้านนานคร โดยพระองค์มีพระอนุชา 2 พระองค์นั่นก็คือ ท้าวน้ำท่วมและท้าวงั่ว
ในช่วงก่อนขึ้นครองราชย์นั้นพญาไชยสงครามได้แต่งตั้งพระราชพระองค์ใหญ่ ท้าวแสนภูขึ้นเป็นอุปราชของล้านนาและส่งให้ไปปกครองเมืองเชียงใหม่ซึ่งตอนนั้นเป็นเมืองลูกหลวง แต่ปกครองได้ไม่นานขุนเครือผู้มีศักดิ์เป็นน้าได้เข้ายึดเมืองเชียงใหม่ ส่วนท้าวแสนภูและครอบครัวได้อพยพไปยังเมืองเชียงราย ซึ่งขุนเครือที่ยึดเมืองเอาไว้ก็มิสามารถยึดเมืองเอาไว้ได้นานเพราะท้าวน้ำท่วมพระอนุชาของท้าวแสนภูได้ไปตีเมืองเชียงใหม่คืน และมีชัยเหนือทัพของขุนเครือและสามารถจับกุมตัวขุนเครือได้ในที่สุด ซึ่งด้วยความดีความชอบของท้าวน้ำท่วมก็ได้ทำให้พระองค์ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่แต่ว่าหลังจากนั้นไม่นานเหล่าขุนนางในราชสำนักก็ได้บอกพญาไชยสงครามว่าท้าวน้ำท่วมจะคิดขบฏ จึงนำตัวท้าวน้ำท่วมมาไต่สวนแต่ก็ไม่พบพิรุธ แต่พระองค์ก็คลางแคลงใจอยู่จึงสั่งพระองค์ไปปกครองเมืองเชียงตุงแทนและท้าวแสนภูผู้เป็นอุปราชก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่ต่ออีกครั้ง
หลังจากที่พญาไชยสงครามพระราชบิดาสวรรคตในปี พ.ศ.1868 ท้าวแสนภูผู้เป็นทั้งอุปราชและพระราชโอรสของพญาไชยสงครามได้ขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพญาแสนภูกษัตริย์แห่งล้านนาองค์ที่ 3 โดยไม่นานหลังจากที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน พระองค์ก็โปรดให้ท้าวคำฟูครองเมืองเชียงใหม่และแต่งตั้งยศอุปราชเอาไว้ให้ แล้วจากนั้นพระองค์ก็ได้สั่งให้สร้างเมืองใหม่บริเวณเมืองเงินยางเดิม ซึ่งเมืองแห่งนั้นสร้างเสร็จราวปีพ.ศ.1870 โดยพญาแสนภูได้ให้ชื่อเมืองแห่งนี้ว่า เชียงแสน และใช้เป็นราชธานีแทนเมืองเชียงรายในขณะนั้น ซึ่งการสร้างเมืองนี้ก็เพื่อป้องกันข้าศึกด้านเหนือ เพราะเชียงแสนตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและสามารถใช้แม่น้ำโขงเป็นคูเมืองตามธรรมชาติได้ ตัวเมืองมีกำแพงกว้าง 700 วา ยาว 1,500 วา มีป้อมรายล้อมเมือง 8 แห่งและอีกเหตุผลนึงก็คือพระองค์ไม่โปรดเมืองเชียงรายนั่นเอง
พญาแสนภูสวรรคตที่เมืองเชียงแสนแห่งนี้หลังจากเสวยราชย์เพียงแค่ 9 ปีเท่านั้น พระองค์สวรรคตเมื่อ พ.ศ.1877 ท้าวคำฟูพระราชโอรสที่มีสถานะเป็นอุปราชได้ขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพญาคำฟูกษัตริย์แห่งล้านนาองค์ต่อมา

พญาไชยสงคราม กษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์มังราย

 


พญาไชยสงคราม 

พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายพระองค์ที่สองแห่งอาณาจักรล้านนา


หลังการสวรรคตของพญามังราย ขุนครามพระราชโอรสของพญามังราย ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพญามังราย โดยใช้ชื่อว่าพญาไชยสงครามเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์มังรายและอาณาจักรล้านนา ในช่วงก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์ด้วยฝีมือการรบที่ยอดเยี่ยม พระองค์จึงเปรียบเสมือนกับมือขวาของพญามังรายอีกด้วย
พญาไชยสงครามเป็นพระราชโอรสของพญามังราย พระมหากษัตริย์คนแรกของล้านนา ซึ่งพญาไชยสงครามนั้นก็ถือได้ว่าเป็นกษัตริย์นักรบที่แข็งแกร่งที่สุดคนหนึ่งเลย เพราะพระองค์ได้ช่วยพระชนกนาถทำสงครามกับแคว้นเล็ก แคว้นน้อยมากมายที่ไม่ยอมเข้าร่วมต่อล้านนา ตราบจนกระทั่งขึ้นครองราชย์แล้วก็ตาม
พญาไชยสงคราม น่าจะประสูติกาลราวปี พ.ศ.1799 โดยเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 จาก3พระองค์ของพญามังราย ชื่อเดิมก่อนขึ้นครองราชย์ของพระองค์ก็คือขุนคราม เมื่อพระองค์เจริญพระชนม์พรรษามากขึ้นก็ช่วยเหลือพระบิดาของพระองค์ทำสงครามอยู่บ่อยครั้งและยังคอยช่วยเหลือและความประพฤติดีงามผิดกับพี่และน้องของพระองค์เอง ดังเช่นพี่ชายของพระองค์ขุนเครื่องได้คิดคดพยายามทรยศพระราชบิดา จึงถูกพระราชบิดาสั่งประหารชีวิต ส่วนขุนเครือผู้เป็นพระอนุชามีปัญหาขัดแย้งกับขุนครามเนื่องจากขณะที่ขุนเครือครองเมืองพร้าวอยู่นั้น ขุนเครือเกิดความรักใคร่กับชายาของขุนครามซึ่งอยู่เมืองเชียงดาว พญามังรายจึงส่งขุนเครือไปครองเมืองนายในเขตรัฐฉาน ขุนเครือจึงเป็นเชื้อสายราชวงศ์มังรายที่แยกออกไปปกครองชาวไทใหญ่ ภายหลังขุนเครือกลับมาชิงเมืองเชียงใหม่จากพญาแสนภู ผู้เป็นหลาน แต่ในที่สุดก็ถูกจับและต้องโทษขังคุก(ในบริเวณที่พำนักของท้าวเฮือง ต่อมาจึงเรียกบริเวณที่เป็นแจ่งเมืองนั้นก็คือแจ่งกู่เฮือง)และไม่นานหลังจากนั้นก็สิ้นพระชนม์ไปในที่สุด
พญามังรายได้วางใจให้ขุนครามไปปกครองเมืองเชียงราย ซึ่งเชียงรายเป็นเมืองขนาดใหญ่และมีความสำคัญ และนอกจากจะปกครองเมืองแล้วหลังจากที่พญาเบิกพยายามทำสงครามกับล้านนา ขุนครามก็อาสาออกไปสุ้ด้วยตัวเอง และทำการยุทธหัตถีกันระหว่างขุนครามกับพญาเบิกซึ่งผลก็คือพยาเบิกโดนหอกฟันได้รับบาดเจ็บ จึงสั่งถอยทัพกลับแต่ขุนครามได้บุกรุดหน้าต่อทำให้ทัพของพญาเบิกพ่ายแพ้ยับเยินและพญาเบิกก็ได้ถูกจับไปและถูกสำเร็จโทษในที่สุด(จุดบริเวณนั้นต่อมาจึงได้สร้างศาลเพื่อสดุดีแก่พญาเบิกเป็นเจ้าพ่อขุนตาล) ซึ่งหลังจากการศึกครั้งนี้เสร็จแล้วขุนครามก็ได้รับของพระราชทานแก้วแหวนเงินทอง เครื่องยศ ช้าง ม้า ชายา ข้าคน แก่ขุนคราม จากนั้นจึงโปรดให้สถาปนาขุนครามขึ้นเป็นอุปราชมีนามว่า เจ้าพญาไชยสงคราม ครองเมืองเชียงรายและเชียงดาว และเป็นคนที่พญามังรายไว้ใจที่สุดในราชสำนักอีกด้วย
หลังจากที่พญามังรายสวรรคตแล้วในปี พ.ศ.1854 ราชบัลลังก์จึงตกกับพญาไชยสงครามผู้เป็นอุปราช พญาไชยสงครามขึ้นครองราชย์ตอนมีพระชนม์มายุ 55 พรรษา โดยหลังจากขึ้นครองราชย์และประทับที่เมืองเชียงใหม่ได้ประมาณ 4 เดือนก็โปรดให้ย้ายเมืองหลวงไปยังเชียงรายเพราะพระองค์ไม่โปรดเมืองเชียงใหม่นั่นเอง โดยเมืองเชียงใหม่ที่ถูกลดบทบาทเป็นเมืองลูกหลวงได้ให้พระราชโอรสองค์โตอย่างท้าวแสนภูขึ้นครองเมืองเชียงใหม่และแต่งตั้งให้เป็นอุปราช

การแย่งชิงบัลลังก์ของขุนเครือ
ขุนเครือพระอนุชาของพญาไชยสงครามที่ถูกเนรเทศออกจากเมืองได้พยายามเข้ายึดเชียงใหม่ที่มีท้าวแสนภูครองเมืองอยู่ แต่ท้าวน้ำท่วมพระอนุชาของท้าวแสนภูได้ยึดเมืองเชียงใหม่คืนมาได้และจับกุมตัวขุนเครือมาได้ ด้วยความดีความชอบในครั้งนั้นท้าวน้ำท่วมจึงได้ปกครองเชียงใหม่อยู่ระยะเวลาหนึ่งแต่ด้วยความหวาดระแวงพระราชหฤทัยจากการที่มีขุนนางมากล่าวว่าท้าวน้ำท่วมจะคิดกบฏ แต่ไต่สวนแล้วก็ไม่ได้มีทีท่าว่าจะคิดกบฎ จึงสั่งให้ท้าวน้ำท่วมไปปกครองเชียงตุงแทน และให้ท้าวแสนภูที่เป็นอุปราชได้กลับมาปกครองเชียงใหม่อีกครั้ง
พญาไชยสงครามมีพระมเหสีหลายพระองค์แต่ไม่ปรากฏพระนามเลยแม้แต่องค์เดียว แต่มีพระราชโอรสสามพระองค์นั้นก็คือ
๑. ท้าวแสนภู ได้รับยศอุปราชปกครองเมืองเชียงใหม่
๒.ท้าวน้ำท่วม ปกครองเมืองเชียงตุง
๓.ท้าวงั่ว ปกครองเมืองเชียงของ
พญาไชยสงครามสวรรคตที่เมืองเชียงรายขณะมีพระชนม์มายุ 72 พรรษา ในปีพ.ศ.1868 ท้าวแสนภูผู้เป็นอุปราชได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา เป็นกษัตริย์แห่งล้านนาองค์ที่ 3
วัดที่สร้างโดยพญาไชยสงครามคือวัดงำเมืองสร้างเมื่อ พ.ศ.๑๘๖๐ วัดงำเมืองเดิมมีแต่ สถูป (กู่) บรรจุพระอัฐิของพญามังรายมหาราช สร้างโดยพญาไชยสงครามโอรสพญามังรายมหาราช ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หลังจากที่พญามังรายได้สวรรคตที่เมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.๑๘๖๐ พญาไชยสงครามพระราชโอรสได้ถวายพระเพลิงพระศพพญามังรายมหาราชแล้วพระองค์ทรงไม่โปรดเมืองเชียงใหม่ ได้กลับมาครองเมืองเชียงรายและอัญเชิญพระอัฐิของพญามังรายมาประดิษฐาน ณ ดอยแห่งนี้ ต่อมา พ.ศ. ๒๐๓๐ พระยาศรรัชฎาเงินทอง ได้มาบุรณะและสร้างวัดขึ้นให้ชื่อว่า "วัดงำเมือง" และใน พ.ศ. ๒๒๒๐ ได้มีการบูรณะเพิ่มเติมมีการสร้างวิหารและเสนาสนะในวัด โดยเจ้าฟ้ายอดงำเมืองโอรสเจ้าผู้ครองนครเชียงแสน

พญามังราย

 

พญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา


วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2566

รายชื่อจังหวัดในประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ 77 จังหวัด

77 จังหวัดในประเทศไทยเรียงตามพื้นที่  



 
 อันดับจังหวัดพื้นที่
(ตารางกิโลเมตร)
1นครราชสีมา20,493.964
2เชียงใหม่20,107.057
3กาญจนบุรี19,483.148
4ตาก16,406.650
5อุบลราชธานี15,774.000
6สุราษฎร์ธานี12,891.469
7ชัยภูมิ12,778.287
8แม่ฮ่องสอน12,681.259
9เพชรบูรณ์12,668.416
10ลำปาง12,533.961
11อุดรธานี11,730.302
12เชียงราย11,678.369
13น่าน11,472.072
14เลย11,424.612
15ขอนแก่น10,885.991
16พิษณุโลก10,815.854
17บุรีรัมย์10,322.885
18นครศรีธรรมราช9,942.502
19สกลนคร9,605.764
20นครสวรรค์9,597.677
21ศรีสะเกษ8,839.976
22กำแพงเพชร8,607.490
23ร้อยเอ็ด8,299.449
24สุรินทร์8,124.056
25อุตรดิตถ์7,838.592
26สงขลา7,973.894
27สระแก้ว7,195.436
28กาฬสินธุ์6,946.746
29อุทัยธานี6,730.246
30สุโขทัย6,596.092
31แพร่6,538.598
32ประจวบคีรีขันธ์6,367.620
33จันทบุรี6,338.000
34พะเยา6,335.060
35เพชรบุรี6,225.138
36ลพบุรี6,199.753
37ชุมพร6,009.849
38นครพนม5,512.668
39สุพรรณบุรี5,358.008
40ฉะเชิงเทรา5,351.000
41มหาสารคาม5,291.683
42ราชบุรี5,196.462
43ตรัง4,917.519
44ปราจีนบุรี4,762.362
45กระบี่4,708.512
46พิจิตร4,531.013
47ยะลา4,521.078
48ลำพูน4,505.882
49นราธิวาส4,475.430
50ชลบุรี4,363.000
51มุกดาหาร4,339.830
52บึงกาฬ4,305.000
53พังงา4,170.895
54ยโสธร4,161.664
55หนองบัวลำภู3,859.086
56สระบุรี3,576.486
57ระยอง3,552.000
58พัทลุง3,424.473
59ระนอง3,298.045
60อำนาจเจริญ3,161.248
61หนองคาย3,027.280
62ตราด2,819.000
63พระนครศรีอยุธยา2,556.640
64สตูล2,478.977
65ชัยนาท2,469.746
66นครปฐม2,168.327
67นครนายก2,122.000
68ปัตตานี1,940.356
69กรุงเทพมหานคร1,568.737
70ปทุมธานี1,525.856
71สมุทรปราการ1,004.092
72อ่างทอง968.372
73สมุทรสาคร872.347
74สิงห์บุรี822.478
75นนทบุรี622.303
76ภูเก็ต543.034
77สมุทรสงคราม416.707

วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ยอดเขาที่สุงที่สุดในประเทศไทย 10 อันดับ



1. ดอยอินทนนท์  ความสูง  2,600 เมตร



ดอยอินทนนท์ เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมมีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยหลวงอ่างกา" ชื่อของ ดอยอินทนนท์ เป็นชื่อของกษัตริย์พระนามว่าพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงเป็นผู้ที่ห่วงใยในป่าทางภาคเหนือและพยายามรักษาไว้ ภายหลังเสด็จพิราลัย พระอัฐิส่วนหนึ่งได้เชิญไปประดิษฐาน ณ พระสถูปบนยอดดอยหลวง และเปลี่ยนชื่อเพื่อเป็นเกียรติ

ดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาอินทนนท์ (ทิวเขาถนนธงชัยตะวันออก) เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย

สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตรยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ



2. ดอยผ้าห่มปก ความสูง 2,285 เมตร


ยอดดอยผ้าห่มปก ตั้งอยู่ในเขตของอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก จ.เชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,285 เมตร ซึ่งเป็นยอดดอยที่สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย


บริเวณโดยรอบนั้นจะมีหมอกปกคลุม และมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ทำให้ที่นี่กลายเป็นอีกจุดชมทะเลหมอก พระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตกที่สวยงามมากๆ ในการเดินทางขึ้นยอดที่ดอยฟ้าห่มปกนั้น จะต้องติดต่อขออนุญาตจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ฝางก่อนเสมอ


มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย อยู่ในพื้นที่อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย เที่ยวได้ทั้งปี ที่เที่ยวไม่ว่าจะเป็น น้ำพุร้อนฝาง โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ หมู่ที่ 15 ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย น้ำตกปู่หมื่น บ้านปู่หมื่น ไร่ชาปู่หมื่น อยู่ที่แม่อาย และม่อนดอยล่าง อยู่แม่อายเช่นกัน  



 

3. ดอยหลวงเชียงดาว ความสูง 2,195 เมตร

ดอยเชียงดาว หรือ ดอยหลวงเชียงดาว  เป็นดอยหรือยอดเขาที่มีความสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองมาจากดอยอินทนนท์และดอยผ้าห่มปก ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูง 2,275 เมตร (7,136 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล ชื่อในสมัยก่อนเรียกว่า "ดอยอ่างสลุง" ชื่อกันตามตำนานพื้นเมืองว่าเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาพร้อมพระอรหันต์ 8 รูป ทรงลงสรงน้ำในสลุงทองคำหรือบริเวณอ่างสลุง จึงเรียกดอยแห่งนี้ว่า "ดอยหลวง" เนื่องจากเป็นดอยที่มีขนาดสูงใหญ่ ("หลวง" ในภาษาเหนือ หมายถึง "ใหญ่" ) เพี้ยนเป็น "ดอยหลวงเพียงดาว" (ดอยหลวงเปียงดาวในภาษาเหนือ) จนกลายมาเป็น "ดอยหลวงเชียงดาว" หรือ "ดอยเชียงดาว" ในปัจจุบัน

เป็นที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว อุณหภูมิตามปกติจะถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกตลอดปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝน อากาศหนาวเย็นตลอดฤดูหนาวและฤดูฝนอากาศชุ่มชื้นมาก เป็นแหล่งที่มีพืชพรรณหลากหลายและมีหลายชนิดที่เป็นพืชถิ่นเดียวไม่พบในส่วนอื่น ๆ ของประเทศไทย มีทั้งพืชเขตร้อน, กึ่งเขตร้อนและพืชเขตอบอุ่น จึงเป็นสถานที่ ๆ พบความหลากหลายทางชีวภาพมาก เนื่องจากเป็นเขาหินปูน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย เกิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน มีอายุระหว่าง 230–250 ล้านปี เป็นหมู่หินราชบุรีของไทย ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนทะเล และซากสัตว์ที่มีหินปูน สันนิษฐานว่า พื้นที่ในบริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นท้องทะเลมาก่อนที่การตกตะกอนทับถมของซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการังและหอย เป็นแหล่งนิยมสำหรับการดูนก มีนกอาศัยอยู่ที่นี่มากกว่า 300 ชนิด รวมถึงสัตว์ป่าชนิดอื่นที่หายาก เช่น ผีเสื้อสมิงเชียงดาว, ไก่ฟ้าหางลายขวาง, กวางผา รวมถึงเลียงผา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน เป็นต้น


4. ภูสอยดาว ความสูง 2,102 เมตร


อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ในตำบลม่วงเจ็ดต้น ตำบลนาขุม ตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก มีเนื้อที่ 125,110 ไร่ หรือ 200.18 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ปกคลุมไปด้วยป่าธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ยอดสูงสุดของภูสอยดาวสูงจากระดับทะเลปานกลาง 2,102 เมตร ซึ่งสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศไทย สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ ได้แก่ - น้ำตกภูสอยดาว มีทั้งหมด 5 ชั้น แต่ละชั้นมีชื่อเรียกที่ไพเราะว่า ภูสอยดาว สกาวเดือน เหมือนฝัน กรรณิการ์ และสุภาภรณ์ มีน้ำไหลตลอดปี - น้ำตกสายทิพย์ เป็นน้ำตก 7 ชั้น ความสูงแต่ละชั้นประมาณ 5-10 เมตร สภาพป่าโดยรอบน้ำตกมีความชุ่มชื้นมาก จึงมีมอสสีเขียวขึ้นปกคลุมทั่วไปตามก้อนหินริมน้ำ - ทุ่งดอกไม้ในป่าสน ช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี จะมีดอกไม้ดินชูช่อแย่งกันออกดอกเป็นกลุ่มหนาแน่น เช่น ดอกหงอนนาค ดอกสร้อยสุวรรณา และดอกหญ้ารากหอม ในฤดูหนาวจะมีดอกกระดุมเงิน กล้วยไม้รองเท้านารี อินทนนท์ และต้นเมเปิ้ล ซึ่งใบจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสวยงามมาก - ลานสนสามใบภูสอยดาว เป็นที่ราบบนภูเขา ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,633 เมตร สภาพพื้นที่ของลานสนสามใบจะเป็นเนินสูงต่ำสลับกันไป ชั้นล่างเป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ที่สุดในประเทศ บนลานสนยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม แต่ไม่มีบ้านพักและอาหาร หากต้องการพักค้างแรมต้องเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง - หลักเขตไทย-ลาว เป็นหลักเขตที่ปักปันเขตแดนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทำขึ้นหลังสงครามบ้านร่มเกล้า การเดินทางขึ้นสู่ภูสอยดาว ต้องเดินเท้าจากน้ำตกภูสอยดาว ริมเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1268 ขึ้นสู่ยอดภูสอยดาวระยะทางประมาณ 6.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 4-6 ชั่วโมง ต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางจากอุทยานฯ ซึ่งมีบริการลูกหาบช่วยขนสัมภาระ  



5. ดอยลังกาหลวง ความสูง 2,031 เมตร


   ดอยลังกาหลวง เป็นหนึ่งในยอดดอยของ อุทยานแห่งชาติขุนแจ ซึ่งครอบคลุมรอยต่อของ 3 จังหวัดทางภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ และลำปาง ด้วยความสูงถึง 2,031 เมตร ดอยลังกาหลวง จึงถูกจัดให้เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย ลักษณะของป่าเขารอบๆ จะเป็นป่าดิบเขาที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้และสัตว์ป่ามากมายหลายชนิด อีกทั้งยังเป็นป่าต้นน้ำของ น้ำตกแม่โถ ก่อนจะไหลลงสู่ แม่น้ำลาว 

จุดเด่นของเส้นทางเดินป่าเส้นนี้คือ การเดินตามแนวสันดอยไปตลอดเส้นทางได้พบได้เห็นป่าสภาพต่างๆ มีทั้งป่าดิบเขา ป่าสน และทุ่งหญ้าบนดอยสูง ป่าที่นี่มีความหลากหลายทำให้นักเดินทางไม่รู้สึกเบื่อหน่าย  ตลอดเส้นทางเดินบนสันดอยจะมองเห็นภาพวิวที่สวยงาม ดอกไม้ก็มีมาก มีทั้งดอกกุหลาบขาวดอยลังกาที่มีลักษณะเฉพาะจะออกดอกสวยงามในฤดูหนาว ดอกหรีดมีเยอะมาก นอกจากนี้ยังมีดอกไม้สวยแปลกตาอีกหลายชนิด    



6. ดอยภูคา ความสูง 1,980 เมตร


อุทยานแห่งชาติดอยภูคามีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่ 8 อำเภอของจังหวัดน่าน ได้แก่ อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอบ่อเกลือ อำเภอสันติสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และ อำเภอแม่จริม ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 1,704 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,065,000 ไร่ จึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่าอันจะเห็นได้จากการพบพืชพรรณ และสัตว์ป่าหายากหลากหลายชนิด และนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดน่าน โดยมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่น่าสนใจคือ ดอกชมพูภูคาซึ่งเป็นพันธ์ไม้หายากและมีที่แห่งนี้ที่เดียวในประเทศไทย ต้นเต่าร้างยักษ์ ป่าดึกดำบรรพ์ น้ำตกภูฟ้า พิชิตยอดดอยภูแว ชมถ้ำยอดวิมาน และถ้ำผาฆ้อง

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน พื้นที่ราบอยู่ตามบริเวณโดยรอบ มียอดดอยภูคาเป็ยยอดเขาที่สูงที่สุดใน จังหวัดน่าน โดยมีความสูง 1,980 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่ปัจจุบันยอดดอยภูคา มีความสูง 1,910 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะทั่วไปเป็นภูเขาหิน และหินปนทราย โดยในพื้นที่ป่าแห่งนี้ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น 1 A อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่านและแม่น้ำลำธารสาขาหลายสาย

สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และยังมีป่าสนเขากลุ่มเล็กๆ อยู่บริเวณทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ใกล้กับดอยภูหวด นอกจากนี้ยังมีทุ่งหญ้าปกคลุมบนภูเขาเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งเป็นผลจากการแผ้วถางป่าของชาวบ้านเมื่อก่อนที่จะมีการประกาศให้ดอยภูคาเป็นพื้นที่อนุรักษ์ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ก่อ ยาง ตะเคียน จำปีป่า ประดู่ แดง สัก เต็ง รัง เหียง พลวง พะยอม รวมทั้งปาล์มขนาดใหญ่ หวาย ผักกูด ไผ่ และหญ้าเพ็ก เป็นต้น พันธุ์ไม้หายาก เช่น ชมพูภูคา ก่วมภูคา จำปีป่า ไข่นกคุ้ม ค้อเชียงดาว โลดทะนงเหลือง ขาวละมุน เทียนดอย เสี้ยวเครือ มะลิหลวง สาสี่หนุ่ม เหลืองละมุน ประทัดน้อยภูคา กระโถนพระฤาษี กุหลาบแดง กุหลาบขาวเชียงดาว พันธุ์ไม้เฉพาะถิ่น ได้แก่ เต่าร้างยักษ์ หมักอินทร์ คัดเค้าภูคา ประดับหินดาว หญ้าแพรกหิน นมตำเลีย และรางจืดต้นภูคา

สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่มีอย่างชุกชุม ได้แก่ ช้างป่า วัวแดง กระทิง กวางป่า เก้ง หมูป่า เลียงผา ลิง ชะนี ค่าง หมี อีเห็น กระจง นาก ไก่ป่า ไก่ฟ้า เหยี่ยวรุ้ง นกมูม นกพญาไฟใหญ่ ฯลฯ มีนกหายาก 2 ชนิด ซึ่งพบที่ดอยภูคา ได้แก่ นกมุ่นรกคอแดง (และนกพงใหญ่พันธุ์อินเดีย 




7. ดอยช้าง ความสูง 1,962 เมตร 

ดอยช้าง เป็นดอยหนึ่งที่อยู่ในส่วนของอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ซึ่งหากมองในมุมสูงจะมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับช้าง 2 เชือก ที่อยู่ด้วยกันแม่ลูก เป็นเหตุให้ชาวบ้านตั้งชื่อดอยนี้ว่า “ดอยช้าง”

  ดอยช้าง จุดสูงที่สุดจะอยู่ที่ผาหัวช้าง เป็นแหล่งต้นน้ำ ที่รายล้อมไปด้วยป่าเขาอุดมสมบูรณ์ ทำให้ดอยช้างมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี สามารถปลูกพืชเมืองหนาวต่างๆ ได้ดี ทั้ง กาแฟ แมคคาเดเมีย ไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ จัดว่าเป็นแหล่งปลูกกาแฟอาราบิก้า ได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทยเลย

ดอยช้าง ตั้งอยู่บ้านดอยช้าง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3  ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นยอดดอยสูงในเทือก ดอยวาวี เป็นแหล่งต้นน้ำแม่กรณ์ มีชาวเขาเผ่าต่างๆ มาอาศัยอยู่ จัดตั้งเป็นสถานีทดลองเกษตรที่สูง เพื่อส่งเสริม การปลูกพันธุ์ไม้เมืองหนาว ลดการทำไร่เลื่อนลอย ต่อมาเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นศูนย์บริการวิชาการด้าน พืชและปัจจัยการผลิต

 ชื่อ “บ้านดอยช้าง” ตั้งขึ้นตามลักษณะของภูเขาที่มีรูปร่างเหมือนช้างแม่ลูกสองเชือก หันหน้าไปทาง ทิศเหนือ (ตัวจังหวัดเชียงราย) สามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่บริเวณโรงเรียนบ้านดอยช้าง มี ผาหัวช้าง สูง 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นสถานที่ชมทิวทัศน์ที่สวยงาม อากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียส ดอยช้างมีชื่อเสียงในเรื่องของเป็นแหล่งปลูกกาแฟที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มาเที่ยวที่นี่ นักท่องเที่ยว จะได้ชมสวนกาแฟที่สุกอร่ามเต็มดอย พร้อมๆกับชมดอกซากุระหรือนางพญาเสือโคร่งที่กำลังบาน สีสันสดใส ชมพู อีกทั้งเพลินตา กับศิลปะวิถีชาวบ้าน




8. ยอดเขาโมโกจู ความสูง 1,950 เมตร


เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และสูงที่สุดในผืนป่าตะวันตกห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 27 กิโลเมตร  คำว่า “โมโกจู” เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า เหมือนฝนจะตก เนื่องจาก บนยอดเขามักถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกและมีอากาศหนาวเย็นตลอดเวลา 
 ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด คือ กำแพงเพชรและนครสวรรค์ และในพื้นที่อุทยานฯ แห่งนี้ เป็นที่ตั้งของ “ยอดเขาโมโกจู” ยอดเขาที่ได้ขึ้นชื่อว่าสูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ด้วยความสูง 1,964 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ของทุกปี


9. ม่อนจอง ความสูง 1,929 เมตร

  ดอยม่อนจอง ตั้งอยู่บนทิวเขาถนนธงชัยตอนกลาง ปัจจุบันตั้งอยู่ใน อ.นันทบุรี เดิมตั้งอยู่ใน ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยอยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ไม่ได้เปิดใช้เที่ยวชมกันตลอดทั้งปี เพราะต้องระวังภัยเรื่องช้างป่าที่ออกมาหากิน รวมถึงสภาพอากาศที่แห้ง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าได้ง่าย โดยปรกติแล้วจะเปิดให้ขึ้นประมาณวันที่ 1 พฤศจิกายน - 28 กุมภาพันธ์

     สำหรับที่มาของคำว่า ม่อนจอง นั้น คำว่า ม่อน เป็นภาษาคำเมืองที่แปลว่า ดอยหรือเนินเขา ส่วนคำว่า จอง ก็เป็นภาษาคำเมือง แต่จะออกเสียงว่า จ๋อง หมายถึง ลักษณะจั่ว สามเหลี่ยมที่อยู่สูงที่สุด

สิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องไพรมายังดอยม่อนจองก็คือ กวางผาหรือม้าเทวดาซึ่งมีถิ่นอาศัยอยู่ที่นี่ และทิวทัศน์ที่สวยงามของทิวเขา และถ้ามาในช่วงเดือน ธ.ค.-ม.ค.จะได้พบดอกกุหลาบพันปีที่กำลังบาน ว่ากันว่าต้นนี้เป็นต้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เทือกดอยที่ขึ้นกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อยแห่งนี้ มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยผืนป่าบริสุทธิ์ และเต็มไปด้วยสัตว์หายากนานาชนิดมากมาย โดยดอยม่อนจองนั้น ครอบคลุมพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ทั้งนี้ คำว่า ม่อน เป็นภาษาคำเมือง หมายถึง ดอยหรือเนินเขา ส่วนคำว่า จอง ก็เป็นภาษาคำเมืองจะออกเสียงว่า จ๋อง หมายถึง ลักษณะจั่ว สามเหลี่ยมที่อยู่สูงที่สุด และยิ่งกว่านั้น ดอยม่อนจองแห่งนี้ ติดอันดับ 1 ใน 10 ของยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย โดยจุดสูงสุดของดอยม่อนจองมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,929 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งมีชื่อเรียกว่า หัวสิงห์ เพราะมีลักษณะคล้ายหัวสิงโต ในอดีตดอยม่อนจองเป็นดินแดนแห่งสรรพสัตว์ ที่ใช้ชีวิตอาศัยอยู่อย่างอิสระเสรี เช่นกวางผา หรือ ม้าเทวดาและเลียงผารวมทั้งโขลงช้างป่า แต่ปัจจุบันยังมีอยู่แต่หาชมได้ยากมาก และถ้าใครมีโอกาสได้พบสัตว์เหล่านี้แล้ว ถือว่าโชคดีมากเลยทีเดียว ไฮไลท์แห่งยอดดอย - ชมภูเขาสูงสลับซับซ้อนที่จะมาพร้อมภาพของทุ่งหญ้าแปรเปลี่ยนเป็นสีทองในช่วงหน้าหนาวงดงามมาก นอกจากนี้ ดอยม่อนจองยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกที่จะทำให้คุณลืมวินาทีนั้นไม่ลงอีกด้วย - ชมดอกกุหลาบพันปี ซึ่งจะบานในช่วงเดือนธันวาคมจนถึงเดือนมกราคม ว่ากันว่าต้นกุหลาบพันปีบนดอยม่อนจองต้นนี้ เป็นต้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย - ชมนกหายากหลายชนิด เช่น เหยี่ยวนกเขาท้องขาว นกอินทรีแถบปีกดำ นกอินทรีเล็ก นกเปล้าท้องขาว นกมุ่นรกคอแดง นกเดินดงคอดำ เป็นต้น - เดินป่าชมธรรมชาติขึ้นสู่ยอดดอย การเดินขึ้นดอยม่อนจองสามารถไปเช้าเย็นกลับได้ แต่ถ้าไม่อยากเหนื่อยเกินไปนัก ควรใช้เวลา 2 วัน 1 คืน โดยต้องติดต่อขอนุญาตจาก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย หน่วยมูเซอ ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการเขตรักษาพันธุ์ฯ ฤดูท่องเที่ยว ดอยม่อนจองเปิดให้ท่องเที่ยวในช่วงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึง 15 กุมภาพันธ์ของทุกปี



10. ยอดเขาหลวง ความสูง 1,835 เมตร

 

เขาอุทยานแห่งชาติเขาหลวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอลานสกา อำเภอเมืองฯ อำเภอฉวาง อำเภอพิปูน อำเภอพรหมคีรี อำเภอช้างกลาง และอำเภอนบพิตำ พื้นที่อุทยานแห่งชาติครอบคลุมเทือกเขานครศรีธรรมราชตอนกลาง ประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนทอดยาวเหนือจรดใต้ขนานไปกับชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ยอดเขาสูงที่สุดของอุทยานฯ คือยอดเขาหลวง และยังเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในภาคใต้ สูงจากระดับทะเลปานกลาง 1,835 เมตร เป็นต้นกำเนิดของต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง คลองกรุงชิง คลองเขาแก้ว พื้นที่บริเวณอุทยานฯ มีฝนตกตลอดปี สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น ด้วยศักยภาพทั้งทางชีวภาพและกายภาพ อุทยานแห่งชาติเขาหลวงจึงได้รับการขนานนามว่า “หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้” เส้นทางสู่ยอดเขาหลวง ต้องเดินเท้าไปกลับ ใช้เวลาอย่างน้อย 3 วัน 2 คืน ระหว่างทางจะได้พบกับสภาพป่าครบทุกประเภท พรรณไม้ที่แปลกตาหายาก เช่น ต้นมหาสดำ เป็นพืชเด่นที่ขึ้นอยู่ตามหุบเขาที่มีลำธารน้ำไหลผ่าน กล้วยไม้สิงโตอาจารย์เต็ม สิงโตใบพัดสีเหลือง กุหลาบพันปี เฟิร์นบัวแฉกใหญ่ และบัวแฉกใบมน เป็นต้น

เนื้อเพลง