วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2565

สุภาษิตพระร่วง

      สุภาษิตพระร่วง
       ผู้แต่ง :  สันนิษฐานกันว่าพ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้พระราชนิพนธ์
       ที่มา : ตำราประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ




       ปางสมเด็จพระร่วงเจ้า                     เผ้าแผ่นภพสุโขทัย
       มลักเห็นในอนาคต                           จึงผายพจนประภาษ
      เป็นอนุสาสนกถา                             สอนคณานรชน
       ทั่วธราดลพึงเพียร                            เรียนอำรุงผดุงอาตม์
       อย่าเคลื่อนคลาดคลาถ้อย                เมื่อน้อยให้เรียนวิชา
       ให้หาสินมาเมื่อใหญ่                        อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน
       อย่าริร่านแก่ความ                            ประพฤติตามบูรพระบอบ   
       เอาแต่ชอบเสียผิด                            อย่ากอปรกิจเป็นพาล
       อย่าอวดหาญแก่เพื่อน                      เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า
       หน้าศึกอย่านอนใจ                           ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน
       การเรือนตนเร่งคิด                            อย่านั่งชิดผู้ใหญ่
       อย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์                         ที่รักอย่าดูถูก
       ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง                            สร้างกุศลอย่ารู้โรย
       อย่าโดยคำคนพลอด                         เข็นเรือทอดกลางถนน
       เป็นคนอย่าทำใหญ่                           ข้าคนไพร่อย่าไฟฟุน
       คบขุนนางอย่าโหด                            โทษตนผิดรำพึง   
       อย่าคะนึงถึงโทษท่าน                        หว่านพืชจักเอาผล
       เลี้ยงคนจักกินแรง                             อย่าขัดแข็งผู้ใหญ่
       อย่าใฝ่ตนให้เกิน                               เดินทางอย่าเดินเปลี่ยว
       น้ำเชี่ยวอย่างขวางเรือ                       ที่ซุ้มเสือจงประหยัด
       จงเร่งระมัดฟืนไฟ                              คนเป็นไทอย่าคบทาส
       อย่าประมาทท่านผู้ดี                         มีสินอย่าอวดมั่ง   
       ผู้เฒ่าสั่งจงจำความ                          ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก
       ทำรั้วเรือกไว้กับตน                           คนรักอย่าวางใจ
       ที่มีภัยพึงหลีก                                  ปลีกตนไปโดยด่วน
       ได้ส่วนอย่ามักมาก                           อย่ามีปากว่าคน
       รักตนกว่ารักทรัพย์                            อย่าไดัรับของเข็ญ
       เห็นงามตาอย่าปอง                          ของฝากท่านอย่ารับ
       ที่ทับจงมีไฟ                                      ที่ไปจงมีเพื่อน
       ทางแถวเถื่อนไคลคลา                       ครูบาสอนอย่าโกรธ
       โทษตนผิดพึงรู้                                  สู้เสียสินอย่าเสียศักดิ์
       ภักดีอย่าด่วนเคียด                           อย่าเบียดเสียดแก่มิตร
       ที่ผิดช่วยเตือนตอบ                           ที่ชอบช่วยยกยอ
       อย่าขอของรักมิตร                            ชิดชอบมักจางจาก
       พบศัตรูปากปราศรัย                         ความในอย่าไขเขา
       อย่ามัวเมาเนืองนิตย์                         คิดตรองตรึกทุกเมื่อ
       พึงผันเผื่อต่อญาติ                             รู้ที่ขลาดที่หาญ
       คนพาลอย่าพาลผิด                          อย่าผูกมิตรไมตรี
       เมื่อพาทีจึงตอบ                               จงนบนอบผู้ใหญ่
       ช้างไล่แล่นเลี้ยวหลบ                        สุวานขบอย่าขบตอบ
       อย่ากอปรจิตริษยา                           เจรจาตามคดี
       อย่าปลุกผีกลางคลอง                       อย่าปองเรียนอาถรรพ์
       พลันฉิบหายวายม้วย                        อย่ายลเยี่ยงถ้วยแตกมิติด
       จงยลเยี่ยงสัมฤทธิ์แตกมิเสีย              ลูกเมียอย่าวางใจ
       ภายในอย่านำออก                            ภายนอกอย่านำเข้า
       อาสาเจ้าจนตัวตาย                           อาสานายจงพอแรง
       ของแพงอย่ามักกิน                            อย่ายินคำคนโลภ
       โอบอ้อมเอาใจคน                             อย่ายลเหตุแต่ใกล้
       ท่านไท้อย่าหมายโทษ                       คนโหดให้เอ็นดู
       ยอครูต่อหน้า                                    ยอข้าเมื่อแล้วกิจ
       ยอมิตรเมื่อลับหลัง                            ลูกเมียยังอย่าสรรเสริญ
       เยียสะเทินจะอดสู                             อย่าชังครูชังมิตร
       ผิดอย่าเอาเอาแต่ชอบ                       นอบตนต่อผู้เฒ่า
       เข้าออกอย่าวางใจ                            ระวังระไวหน้าหลัง
       เยียวผู้ชังจะคอยโทษ                         อย่ากริ้วโกรธเนืองนิตย์
       ผิวผิดปลิดไปร้าง                              ข้างตนไว้อาวุธ
       เครื่องสรรพยุทธอย่าวางจิต               คิดทุกข์ในสงสาร
       อย่าทำการที่ผิด                                คิดขวนขวายที่ชอบ
       โต้ตอบอย่าเสียคำ                             คนขำอย่าร่วมรัก   
       พรรคพวกพึงทำนุก                            ปลุกเอาแรงทั่วตน
       ยลเยี่ยงไก่นกกระทา                         พาลูกหลานมากิน
       ระบือระบิลอย่าฟังคำ                        การทำอย่าด่วนได้
       อย่าใช้คนบังบด                                ทดแทนคุณท่านเมื่อยาก
       ฝากของรักจงพอใจ                           เฝ้าท้าวไทอย่าทรนง
       ภักดีจงอย่าเกียจ                               เจ้าเดียดอย่าเดียดตอบ
       นอบนบใจใสสุทธิ                             อย่าขุดคนด้วยปาก  
       อย่าถากคนด้วยตา                           อย่าพาผิดด้วยหู   
       อย่าเลียนครูเตือนด่า                         อย่าริกล่าวคำคด
       คนทรยศอย่าเชื่อ                              ท่านสอนอย่าสวนตอบ
       ความชอบจำใส่ใจ                             ระวังระไวที่ไปมา
       เมตตาตอบต่อมิตร                            คิดแล้วจึงเจรจา
       อย่านินทาผู้อื่น                                 อย่าตื่นคนยกยอ
       คนจนอย่าดูถูก                                 ปลูกไมตรีทั่วชน
       ตระกูลตนจงคำนับ                           อย่าจับลิ้นแก่คน   
       ท่านรักตนจงรักตอบ                         ท่านนอบตนจงนอบแทน
       ความแหนให้ประหยัด                       เผ่ากษัตริย์เพลิงงู
       อย่าดูถูกว่าน้อย                                หิ่งห้อยอย่าแข่งไฟ
       อย่าปองภัยต่อท้าว                           อย่าห้าวมักพลันแตก
       อย่าเข้าแบกงาช้าง                            อย่าออกก้างขุนนาง
       ปางมีชอบท่านช่วย                           ปางป่วยท่านชิงชัง
       ผิจะบังบังจงลับ                                ผิจะจับจับจงมั่น
       ผิจะคั้นคั้นจงตาย                             ผิจะหมายหมายจงแท้
       ผิจะแก้แก้จงกระจ่าง                         อย่ารักห่างกว่าชิด
       คิดข้างหน้าอย่าเบา                           อย่าถือเอาตื้นว่าลึก
       เมื่อเข้าศึกระวังตน                            เป็นคนเรียนความรู้
       จงยิ่งผู้ผู้มีศักดิ์                                  อย่ามักง่ายมิดี
       อย่าตีงูให้แก่กา                                 อย่าตีปลาหน้าไซ
       อย่าใจเบาจงหนัก                             อย่าตีสุนัขห้ามเห่า
       ข้าเก่าร้ายอดเอา                              อย่ารักเหากว่าผม
       อย่ารักลมกว่าน้ำ                              อย่ารักถ้ำกว่าเรือน
       อย่ารักเดือนกว่าตะวัน                      สบสิ่งสรรพโอวาท
       ผู้เป็นปราชญ์พึงสดับ                        ตรับตริตรองปฏิบัติ
       โดยอรรถอันถ่องถ้วน                         แถลงเลศเหตุเลือกล้วน
       เลิศอ้างทางธรรม แลนา ฯ

              บัณ เจิดจำแนกแจ้ง                    พิศดาร ความเฮย
       ฑิต ยุบลบรรหาร                               เหตุไว้
       พระ ปิ่นนัคราสถาน                           อุดรสุข ไทยนา
       ร่วง ราชนามนี้ได้                               กล่าวถ้อยคำสอน

- จบ สุภาษิตพระร่วง -

สุภาษิตพระร่วง

ที่มา : ตำราประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ 


ผู้แต่ง

สุภาษิตพระร่วง ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนว่าใครเป็นผู้แต่ง แต่สันนิษฐานว่า อาจแต่งขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือหลังสมัยสุโขทัยก็เป็นได้ และในปัจจุบันอาจมีการดัดแปลงหรือแต่งเติมจนคลาดเคลื่อนจากของเดิมไปบ้าง

ประวัติ

สุภาษิตพระร่วง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บัญญัติพระร่วง ปรากฏหลักฐานเก่าแก่ที่สุดคือ จารึกอยู่ที่ผนังระเบียงด้านหน้าพระมหาเจดีย์องค์เหนือของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และพิมพ์ครั้งแรกในประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณรวบรวม

ทำนองแต่ง

แต่งโดยสุภาษิต ตอนต้นแต่งด้วยร่ายสุภาพ จบแบบโคลงสองสุภาพ ตอนท้ายเป็นโคลงกระทู้หนึ่งบท

ความมุ่งหมาย

เพื่อสั่งสอนประชาชน

เรื่องย่อ

เริ่มต้นกล่าวถึงพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย ทรงมุ่งประโยชน์ในกาลภายหน้า จึงทรงบัญญัติสุภาษิตสำหรับสอนประชาชนขึ้นไว้ สุภาษิตบทแรก คือ “เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินเมื่อใหญ่” มีสุภาษิตทั้งหมด ๑๕๘ บท บทสุดท้ายเป็นโคลงกระทู้

คุณค่าของวรรณคดี

สุภาษิตพระร่วงเป็นคติโลกและคติธรรม ใช้ถ้อยคำคล้องจองกัน สำนวนกะทัดรัดจับใจจึงมีผู้จดจำไว้ได้มาก และนำไปอ้างไว้ในวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ เช่น กาพย์มหาชาติ ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน

สุภาษิตพระร่วงแสดงถึงชีวิตและค่านิยมเชิงสังคมของคนไทยไว้หลายแง่มุม เช่น ยกย่องความสำคัญของการศึกษา รักความสงบ มีมารยาทเรียบร้อย และสุภาพอ่อนน้อม

ที่มา:
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม.4 เล่ม 2 กระทรวงศึกษาธิการ



สุภาษิตพระร่วง                                                   คำแปล                                                            
ปางสมเด็จพระร่วงเจ้า เผ้าแผ่นภพสุโขทัย     ครั้งที่สมเด็จพระร่วงเจ้า หัวแผ่นดินสุโขทัยเห็นใน
มลักเห็นในอนาคต จึ่งผายพจนประภาษ        อนาคต จึงเปิดปากพูด เป็นข้อความที่เป็นกลอนสอน  เป็นอนุสาสนกถา สอนคณานรชน                 ใจประชาชน
ทั่วธราดลพึงเพียร เรียนอำรุงผดุงอาตม์           ทั่วแผ่นดินพึงเพียร เรียนรู้เอาไว้เพื่อให้ประโยชน์แก่
อย่าเคลื่อนคลาดคลาถ้อย                                 ตนเอง
 เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินเมื่อใหญ่          เมื่อเป็นเด็กให้เรียน ให้ทำงานเมื่อใหญ่ 
อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน                                        อย่าเอาเงินของคนอื่น
อย่าริระร่านแก่ความ                                        อย่าเอาเรื่องที่ไม่ดีเข้าใส่ตัว
ประพฤติตามบุรพระบอปฏิับัติ                        ควรทำทุกอย่างตามประเพณีที่เคยถือ
เอาแต่ชอบเสียผิด อย่าประกอบกิจเป็นพาล     เอาแต่ทำผิด อย่าทำงานในสิ่งที่ผิด
อย่าอวดหาญแก่เพื่อน                                       อย่าอวดเก่งกับเพื่อน 
เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า หน้าศึกอย่านอนใจ           เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า เวลามีศึกอย่านิ่งนอนใจ 
ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน การเรือนตนเร่งคิด     ไปบ้านท่านอย่าอยู่นาน การเรือนตนรีบทำ 
อย่านั่งชิดผู้ใหญ่                                                 อย่านั่งใกล้ผู้ใหญ่
อย่าใฝ่สูงให้พ้นศักดิ์                                           อย่าอวดมีอำนาจให้พ้นตนเอง
ที่รักอย่าดูถูก                                                       อย่าดูถูกคนรัก
ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง                                              ปลุกไมตรีอย่างสม่ำเสมอ
สร้างกุศลอย่ารู้โรย                                               สร้างกุศลอย่างสม่ำเสมอ
อย่าโดยคำคนพลอด                                             อย่าฟังคนที่พูดประจบสอพลอ
เข็นเรือทอดข้างถนน                       เข็นเรือวางทางถนน
เป็นคนอย่าทำใหญ่ ข้าคนไพร่อย่าไฟฟุน                        . เป็นคนอย่าอวดอำนาจ อย่าเฉี้ยวฉุนกับคนใช้
คบขุนนางอย่าโหด                                                         . ถ้าจะไปหาขุนนาง ไม่ควรไปมือเปล่า
 โทษตนผิดรำพึง อย่าคนึงถึงโทษท่าน                           . เราทำผิด อย่าโทษคนอื่น 
หว่านพืชจักเอาผล เลี้ยงคนจักกินแรง                            . หว่านพืชจะเอาผล เลี้ยงคนหวังแรงงาน
อย่าขัดแย้งผู้ใหญ่                                                            . อย่าขัดแข้ง ขัดขา ผู้ใหญ่
อย่าใฝ่ตนให้เกิน                                                             . อย่าอวดตน
 
เดินทางอย่าเดินเปลี่ยว น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ                   . เดินทางอย่าไปคนเดียว น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
ที่ซุ่มเสือจงประหยัด จงเร่งระมัดฟืนไฟ                            ที่เสือสุ้มจงหนี จงเร่งระวังฟืนไฟ
ตนเป็นไทอย่าคบทาส                                                     . อย่าคบคนที่ไม่ดี
อย่าประมาทท่านผู้ดี                                                        . อย่าประมาท
มีสินอย่าอวดมั่ง                                                               . มีสินอย่าอวดรวย
ผู้เฒ่าสั่งจงจำความ                                                          . ผู้เฒ่าสอนจงจำ
ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก                                               . ที่มีหนามอย่าเสียรองเท้า ทำรั้วไว้ป้องกันตน
ทำรั้วเรือกไว้กับตน คนรักอย่าวางใจ                                 อย่าประมาท
ที่มีภัยพึงหลีก ปลีกตนไปโดยด่วน                                  . ที่มีภัยควรหลีก หนีห่างไปโดยด่วน
ได้ส่วนอย่ามักมาก                                                           . อย่าโลภมาก
อย่ามีปากว่าคน                                                                 . อย่ามีปากไว้ด่าคน
รักตนกว่ารักทรัพย์                                                           . รักตัวเองมากกว่าทรัพย์ 
อย่าได้รับของเข็ญ เห็นงามตาอย่าปอง                              . อย่าได้รับของที่ความทุกข์มาให้ ของสวยๆอย่าเอา
ของฝากท่านอย่ารับ                                                             ไม่ควรรับของที่ผู้นำมาฝาก
ที่ทับจงมีไฟ ที่ไปจงมีเพื่อน                                              . ที่บ้านจงมีไฟ ไปที่ไหนจงมีเพื่อน 
ทางแถวเถื่อนไคลคลา                                                        แถวที่เปลี่ยวๆ 
ครูบาสอนอย่าโกรธ                                                           . อย่าโกรธคนที่สอนเรา
โทษตนผิดพึงรู้                                                                  . เราทำผิด เรารู้
สู้เสียสินอย่าเสียศักดิ์                                                          . สุ้เสียของนอกกายอย่าเสียเกียรติ์
ภักดีอย่าด่วนเคียด                                                             . อย่ารีบร้อนโกรธคนที่ภักดีต่อเรา 
อย่าเบียดเสียดแก่มิตร                                                        . อย่าเบียดเบียนมิตร
ที่ผิดช่วยเตือนตอบ ที่ชอบช่วยยกยอ                                 . ทำผิดควรห้าม ทำถูกควรส่งเสริม
อย่าขอของรักมิตร ชอบชิดมักจางจาก                              . อย่าเอาของรักของหวงของเพื่อน ของรักของเรามัก 
                                                                                             หาย                      
พบศัตรูปากปราศรัย ความในอย่าไขเขา                            . ความลับของเราอย่าบอกใคร
อย่ามัวเมาเนืองนิจ คิดตรองตรึกทุกเมื่อ                            . อย่ามัวเมาเยอะคิดตริตรองทุกครั้ง
พึงผันเผื่อต่อญาติ                                                               . แบ่งปันญาติ
รู้ที่ขลาดที่หาญ                                                                   . รู้ที่ดีและไม่ดี
คบพาลอย่าพาลผิด อย่าผูกมิตรไมตรี                                 . อย่าคบคนพาล
เมื่อพาทีพึงตอบ                                                                  . เมื่อมีเวลาควรตอบ
จงนบนอบผู้ใหญ่                                                                . เคารพผู้ใหญ่
ช้างไล่แล่นเลี่ยงหลบ                                                          . เห็นคนมีอำนาจควรหลบ
สุวานขบอย่าขบตอบ                                                           . สุนัขกัดอย่ากัดตอบ
อย่ากอปรจิตริษยา                                                               . อย่าคิดปองร้าย
เจรจาตามคดี                                                                       . พูดตามความจริง
อย่าปลุกผีกลางคลอง อย่างปองเรียนอาถรรพณ์                  . ไม่ควรรื้อฟื้นเรื่องที่ผ่านมา อย่าเรียนวิชาที่ไม่ดี
พลันฉิบหายวายม้วย                                                                เดียวซวยกันหมด
อย่ายลเยี่ยงถ้วยแตกมิติด จงยลเยี่ยงสัมฤทธิ์แตกมิเสีย          .   
ลูกเมียอย่าวางใจ
ภายในอย่านำออก ภายนอกอย่านำเข้า                                   . ความลับอย่านำออก ความลับข้างนอกอย่านำเข้า
อาสาเจ้าจนตัวตาย อาสานายจงพอแรง                                 . อาสาทำอะไรทำอย่างเต็มแรว สุดชีวิต
ของแพงอย่ามักกิน                                                                . อย่ากินของแพง 
อย่ายินคำคนโลภ                                                                   . อย่าเชื่อฟังคนโลภ
โอบอ้อมเอาใจคน                                                                  . โอบอ้อมเอาใจคน
อย่ายลเหตุแต่ใกล้                                                                  . อย่าหนีเหตุแต่ใกล้
ท่านไท้อย่าหมายโทษ คนโหดให้เอ็นดู                                  . อย่าหมายโทษกษัตริย์ คนไม่ดีให้เอ็นดู
ยอครูยอต่อหน้า ยอข้าเมื่อแล้วกิจ                                           . ชื่นชมครูต่อหน้า ชื่มชมทาสเมื่อทำงาน
ยอมิตรเมื่อลับหลัง ลูกเมียยังอย่าสรรเสริญ                                เสร็จชมเพื่อนเมื่อลับหลัง
เยียวสะเทินจะอดสู 
อย่าชังครูชังมิตร                                                                    . อย่าเกลียดครูและเพื่อน
ผิดอย่าเอาเอาแต่ชอบ                                                              . ผิดไม่เอาเอาแต่ดี
นอบตนต่อผู้เฒ่า                                                                     . เคารพผู้ใหญ่
เข้าออกอย่าวางใจ ระวังระไวหน้าหลัง                                  . อย่าไว้วางใจ ระวังตัวไว้
เยี่ยงผู้ชังจะคอยโทษ                                                                 ถ้าผู้ชังจะคอยโทษ
อย่ากิ้วโกรธเนืองนิจ ผิวผิดปลิดไป่ร้าง                                   . อย่าโกรธโดยไร้สติ ผิดแล้วลบไม่ได้ 
ข้างตนไว้อาวุธ เครื่องสรรพยุทธอย่าวางจิต                            . ข้างกายมีอาวุธ อย่าวางใจ
คิดทุกข์ในสงสาร                                                                    . รู้เท่าทันความทุกข์
อย่าทำการที่ผิด คิดขวนขวายที่ชอบ                                        . อย่าทำผิด คิดแต่สิ่งที่ดี
โต้ตอบอย่าเสียคำ                                                                     . โต้ตอบอย่างเรียบร้อย
คนขำอย่าร่วมรัก                                                                      .อย่าคบคนที่มีลับลมคมใน
พรรคพวกพึงทำนุก ปลูกเอาแรงทั่วตน                                    . ทำให้พรรคพวกมีกำลังใจมีแรงทำงาน
ยลเยี่ยงไก่นกกระทา พาลูกหลานหากิน                                      เหมือนไก่นกกระทา พาลูกหลานหากิน
ระบือระบิลอย่าฟังคำ                                                                . อย่าเชื่อฟังข่าวลือ 
การกระทำอย่าด่วนได้                                                              . อย่าทำเร็ว
อย่าใช้คนบังบด ทดแทนคุณท่านเมื่อยาก                                 . ไม่ควรใช้คนบังๆปิดๆ ทดแทนบุญคุณ
ฝากของรักจงพอใจ                                                                      ฝากของรัก
เฝ้าท้าวไทอย่าทรนง                                                                  . อย่าโกรธกษัตริย์
ภักดีจงอย่าเกียจ                                                                         . อย่าเกียจคนที่ภักดี
เจ้าเคียดอย่าเคียดตอบ นอบนบใจใสสุทธิ์                                  . อย่าโกรธมีจิตใจสะอาด
อย่าขุดคนด้วยปาก อย่าถากคนด้วยตา                                      . อย่าเชื่อเรื่องที่ไม่ดี อย่าใช้สายตาเหยียดหยาม
อย่าพาผิดด้วยหู                                                                              ผู้อื่น
อย่าเลียนครูเตือนด่า                                                                    . อย่าเลียนแบบคำพูดของผู้ใหญ่ 
อย่าริกล่าวคำคด                                                                         . อย่าพูดคำไม่ดี
คนทรยศอย่าเชื่อ                                                                          . อย่าเชื่อคนที่ไม่ซื่อ 
อย่าแผ่เผื่อความผิด                                                                      . อย่าแบ่งปันความผิด
อย่าผูกมิตรคนจร                                                                         . อย่าคบคนที่โหดเหี้ยม
 ท่านสอนอย่าสอนตอบ                                                                . อย่าเถียงท่าน
ความชอบจำใส่ใจ                                                                        . ความดีจำใส่ใจ 
ระวังระวังที่ไปมา                                                                        . ระวังเนื้อระวังตัว
เมตตาตอบต่อมิตร                                                                        . เมตตาต่อมิตร 
คิดแล้วจึงเจรจา อย่านินทาผู้อื่น อย่าตื่นยกยอตน                          . อย่าตื้นเต้นต่อคนที่พูดยอตน
คนจนอย่าดูถูก ปลูกไมตรีทั่วชน                                                 . อย่าดูถูกคนจน ปลูกไมตรีทุกคน
ตระกูลตนจงคำนับ                                                                      . เคารพตระกูลของเรา 
อย่าจับลิ้นแก่คน                                                                           . อย่าจับผิดคนอื่น
ท่านรักตนจงรักตอบ ท่านนอบตนจงนอบแทน                           . รักคนที่รักเรา เคารพคนที่เคารพตน
ความแหนให้ประหยัด                                                                  . ระวังของรักของหวงของเราให้ดี 
เผ่ากษัตริย์เพลิงงู อย่าดูถูกว่าน้อย                                                 . อย่าดูถูกคนที่ทำอันตรายแก่ผู้อื่นได้ทุกเมื่อ
หิ่งห้อยอย่าแข่งไฟ                                                                         . อย่าแข่งกับคนที่เหนือกว่า
อย่าปองภัยต่อท้าว อย่ามักห้าวพลันแตก                                        . อย่าปองร้ายกษัตริย์ จงป้องกัน
อย่าเข้าแบกงาช้าง อย่าออกก้างขุนนาง                                           ไม่ควรทำสิ่งที่เป็นอันตรายแก่ตนเอง
ปางมีชอบท่านช่วย ปางป่วยท่านชิงชัง                                        . ทำดีท่านช่วย ทำไม่ดีท่านไม่ช่วย
ผิจะบังบังจงลับ ผิจะจับจับจงมั่น                                                . ปกปิดความลับ จับอะไรจับให้มั่น
ผิจะคั้นคั้นจนตาย ผิจะหมายหมายจงแท้                                        เอาให้จงได้ ทำอย่างแท้จริง                                       
ผิจะแก้แก้จงกระจ่าง                                                                       ทำผิดแล้วแก้ให้สะอาด
อย่ารักห่างกว่าชิด                                                                          . อย่ารักคนไกลกว่าครใกล้
คิดข้างหน้าอย่าเบา                                                                         . คิดรับมือทุกเหตุการณ์ อย่าประมาท 
อย่าถือเอาตื้นกว่าลึก เมื่อเข้าศึกระวังตน                                        .  อย่ามองแค่ผิวเผ่นควรระวัง
เป็นคนเรียนความรู้ จงยิ่งผู้ผู้มีศักดิ์                                                 . คนมีความรู้ เหมือนผู้มีศักดิ์
อย่ามักง่ายมิดี                                                                                 . อย่ามักง่าย
อย่าตีงูให้แก่กา                                                                               . อย่าทำสิ่งไร้ประโยชน์อาจเกิดโทษแก่ตนได้
อย่าตีปลาหน้าไซ                                                                            . อย่าขัดขวางผลประโยขน์ของผู้อื่น
ใจอย่าเบาจงหนัก                                                                           . อย่าใจลอย
อย่าตีสุนัขห้ามเห่า                                                                          . อย่าตีสุนัขห้ามทำเหมือนสุนัข
ข้าเก่าร้ายอดเอา                                                                              . อย่าเอาผิดกับคนที่อยู่กับเรามานาน
 
อย่ารักเหากว่าผม อย่ารักลมกว่าน้ำ                                                  . อย่ารักเหากว่าผม อย่ารักลมกว่าน้ำ
อย่ารักถ้ำกว่าเรือน อย่ารักเดือนกว่าตะวัน                                       . อย่ารักที่อื่นมากกว่าที่ที่เราอยู่
สบสิ่งสรรพโอวาท ผู้เป็นปราชญ์พึงสดับ                                        . สรรพสิ่งโอวาท ผู้เป็นปราชญ์ควรฟัง
ตรับตริตรองปฏิบัติ โดยอรรถอันถ่องถ้วน                                      . ตรับตริตรองปฏิบัติ โดยอรรถอันถ่องถ้วน
แถลงเลศเหตุเลือกล้วน เลิศอ้างทางธรรม แลนาฯ                           . แถลงเหตุเลือกล้วนเลิศอ้างทางธรรม
 
บัณ เจิดจำแนกแจ้ง พิสดาร ความเอย
ฑิต ยุบลบรรหาร เหตุไว้
พระ ปิ่นนัคราสถาน อุดรสุข ไทยนา
ร่วง ราชรามนี้ได้ กล่าวถ้อยคำสอน

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ดอกดาหลา ตำนานความรัก ความพลัดพราก การรอคอย

จากบุพเพสันนิวาส 2 
เห็นพระเอกส่งดอกดาหลาให้นางเอก
ก็นึกถึงดาหลาที่บ้านค่ะ
ก่อนอื่นเราไปดูตำนานเกี่ยวกับดอกดาหลากันก่อนนะคะ


ดอกดาหลา

ตำนานความรัก ..
ความพลัดพราก การรอคอย ของหนุ่มสาวต่างเชื้อชาติ ศาสนา

มีเรื่องเล่าว่า
มีหนุ่มไทยคนหนึ่ง
ได้เดินทางไปทำงานยังประเทศมาเลเซีย
ซึ่งเป็นประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย
และที่นั่น
เขาได้พบกับหญิงสาวชาวมาเลเซียคนหนึ่ง
จนเกิดเป็นความรักขึ้นมา

แต่ด้วยความที่แตกต่างกันทางเชื้อชาติ ศาสนา
พ่อ แม่จึงไม่ให้คบหากัน
แต่ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคมาขวางกั้น
ความรักของหญิงสาวที่มีต่อชายหนุ่ม
ก็มิได้ลดน้อยถอยลงแต่อย่างได
กลับทำให้หญิงสาวรักชายหนุ่มมากยิ่งขึ้น

จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่ง
ชายหนุ่มมีเหตุจำเป็นที่จะต้องกลับเมืองไทย
ก่อนที่จะจากกัน
ชายหนุ่มได้ให้สัญญากับนางว่า
เขาจะกลับมาหานางอย่างแน่นอน

ทั้งสองจากกันที่บริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศ
หญิงสาวได้มอบดอกดาหลา
ให้แกชายคนรักด้วยน้ำตาที่อาบแก้ม
ชายหนุ่มรับดอกดาหลาไว้ เขายิ้มทั้งน้ำตา 
แล้วจากไป
หญิงสาวมองดูชายคนรักที่ค่อยๆ ห่างออกไป
จนสุดสายตา

ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
หญิงสาวก็จะมารอชายคนรักที่ชายแดนทุกวัน
วันแล้ววันเล่า
จากวันเป็นเดือน
จากเดือนเป็นปี
ที่นางเฝ้ารอชายคนรักจะกลับมา

ชาวบ้านต่างนินทา ว่าร้ายนางต่างๆ นาๆ
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
ชาวบ้านพูดว่า
ชายหนุ่มไม่มีทางจะกลับมาหานางอีกแล้ว

ถึงแม้จะมีเสียงนินทาว่าร้ายอย่างไร
หญิงสาวก็ยังมารอชายคนรักที่เดิมทุกวัน
จากที่เคยมีความหวัง
จนกระทั่งร่างกายและจิตใจนางเริ่มอ่อนล้า

สุดท้ายหญิงสาวก็ตรอมใจ
ก่อนที่หญิงสาวจะหมดลมหายใจ
นางได้อธิฐานว่า 

“หากสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีอยู่จริง 
ในชาติหน้าภพหน้า
ขอให้ลูกเกิดมาเป็นดอกดาหลา
ที่ขึ้นอยู่ตามชายแดนมาเลเซียนี้ด้วยเถิด
เพื่อรอคนรักของลูกกลับมา”



ดาหลา สัญลักษณ์แห่งการรอคอยคนรัก

 ดาหลา ดอกไม้ขนาดใหญ่รูปทรงแปลกตา สีสดใส มีกลีบซ้อนกันหลายชั้น  จะออกดอกตลอดปี และจะให้ดอกมากในฤดูร้อน  ดาหลาเป็นไม้ล้มลุก มีหน่อเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่นเหมือนพืชจำพวกขิง ข่า ใบเป็นรูปหอกยาวเรียว ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อ แทงก้านดอกจากเหง้าใต้ดิน กลีบประดับซ้อนกันหลายชั้น มีสีชมพู สีบานเย็น สีขาว สีแดง  สีแดงเข้ม และมีดอกใหญ่ กลีบที่ซ้อนกันหลายๆ ชั้น

นอกจากดาหลาดอกใหญ่ๆ ที่เคยเห็นแล้ว ยังมีดอกดาหลาป่าด้วยนะคะ ซึ่งลักษณะก็คล้ายๆ กัน แต่ดอกดาหลาป่าจะดอกเล็กกว่า

ดาหลา นอกจากจะสวยแล้วยังมาทำเป็นอาหารได้อีกด้วยนะคะ


สายพันธุ์

  • ดอกสีแดง ได้แก่ พันธุ์บัวแดงใหญ่ พันธุ์แดงอินโด พันธุ์ตรัง 3
  • ดอกสีแดงเข้ม ได้แก่ พันธุ์ตรัง 5
  • ดอกสีชมพู ได้แก่ พันธุ์บานเย็น พันธุ์ตรัง 4
  • ดอกสีขาว ได้แก่ พันธุ์ตรัง 1
  • ดอกสีบานเย็น ได้แก่ พันธุ์ตรัง 2



ส่วนนี่เป็นดาหลาที่บ้านค่ะ เพื่อนส่งมาให้ตั้งแต่ สิงหาคม 2564
ผ่านมา 1 ปีแล้วต้นขึ้นสูงเกือบเท่าคนปลูกเลย
แต่ยังไม่ออกดอกเลยค่ะ
เพราะว่าปลูกในกระถาง ที่อยู่ปัจจุบันเป็นอาคารพาณิชย์
ก็เลยไม่มีพื้นที่ให้ปลูก
ดาหลาถ้าจะให้ดีต้องปลูกลงดินนะคะ
จะต้นใหญ่ โตไว แล้วก็แข็งแรงค่ะ
ตอนนี้ก็ได้แต่รอว่าเมื่อไหร่จะออกดอกให้ชมสักทีนะคะ 









 
 


 

 

 
 
 
 

 
 
 

 
 





วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

รศ.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่า กรุงเทพมหานคร คนที่ 17



ผู้ว่ากรุงเทพมหานครคนใหม่ 
รศ.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระหมายเลข 8 จากผู้สมัครทั้งสิ้น 31 คน  
ผลการนับคะแนน เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.(ไม่เป็นทางการ) 
เมื่อเวลา 00.45 น.  (23.พ.ค.) คิดเป็น 100 %

  • อันดับ 1 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ สมัครในนามอิสระ 1,386,769 คะแนน
  • อันดับ 2  นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ พรรคประชาธิปัตย์ 254,723คะแนน
  • อันดับ 3 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร พรรคก้าวไกล 253,938 คะแนน




ใช้ชื่อการรณรงค์หาเสียงว่า "กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน" 

โดยมีนโยบายสำคัญ อาทิ การสร้างเครือข่ายแผนที่จุดเสี่ยงอาชญากรรม พัฒนาระบบขนส่งมวลชน สร้างกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองแห่งศิลปะและการเรียนรู้ เป็นต้น

ประวัติ

รองศาสตราจารย์ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (เกิด 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2509) ชื่อเล่น ทริป นักการเมือง อาจารย์ และวิศวกรชาวไทย 

อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 

อดีตผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)  

เขามีสมญานามที่ประชาชนตั้งให้ว่า บุรุษที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี จากภาพหิ้วถุงอาหารในปีพ.ศ. 2556 และทำให้เขาได้รับชื่อเสียงมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะบนสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีการนำภาพไปทำเป็นอินเทอร์เน็ตมีมในรูปแบบต่างๆ

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นบุตรของพลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) กับจิตต์จรุง สิทธิพันธุ์ (สกุลเดิม: กุลละวณิชย์) มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา สองคนคือ

  1. รศ.ดร.ปรีชญา สิทธิพันธุ์ - อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. รศ.ดร.นายแพทย์ ฉันชาย สิทธิพันธุ์ - กรรมการแพทยสภาวาระ พ.ศ. 2562-2564 คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ทัวร์-พี่ฝาแฝด) 

ชัชชาติสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สำเร็จปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ 

และวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2530

ชัชชาติสมรสกับ ปิยดา (สกลุเดิม: อัศวฤทธิภูมิ) พนักงานการบินไทย มีบุตรชายหนึ่งคน คือ แสนปิติ สิทธิพันธุ์ ซึ่งแสนปิติเป็นผู้พิการทางการได้ยินตั้งแต่กำเนิด โดยได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมเมื่อปี พ.ศ. 2545

ประวัติการศึกษาและการอบรม

  • ปริญญาเอก วิศวกรรมโยธา (โครงสร้าง) มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาโท วิศวกรรมโยธา (โครงสร้าง) สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาโท บริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปริญญาตรี วิศวกรรมโยธา (เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติการอบรมหลักสูตรกรรมการ 

  • หลักสูตร Risk Management Program for Corporate Leaders
  • หลักสูตร Directors Certification Program (DCP)
  • หลักสูตร Finance for Non-Finance Directors (FND)

ประวัติการอบรมอื่น ๆ 

  • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง (มหานคร รุ่นที่ 4) วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท. รุ่นที่ 22)

การทำงาน

ชัชชาติเคยทำงานเป็นวิศวกรโครงสร้างในบริษัทเอกชน 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายจัดการทรัพย์สิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2555 นอกจากนั้นยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง อาทิ บริษัทขนส่ง จำกัด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และในปี พ.ศ. 2551 - เดือน มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นกรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

ชัชชาติในฐานะนักวิชาการ ได้มีโอกาสเข้ามาช่วยงานและให้คำปรึกษาแก่กระทรวงคมนาคมในสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 และรัฐบาลสมัคร โดยที่ไม่ได้มีตำแหน่งใด ๆ จนกระทั่ง พ.ศ. 2555 เขาได้รับการทาบทามทางโทรศัพท์ จากนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม แม้ทางมารดาจะไม่เห็นด้วย แต่เขาก็ตกลงเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 จากการที่เขาเข้ามารับงานทางการเมืองเป็นครั้งแรก ทำให้ในช่วงแรกในตำแหน่งรัฐมนตรี เขากลายเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จักมากที่สุด และจากการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งต่อมา เขาก็ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555


วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ชัชชาติเป็นหนึ่งในตัวแทนฝ่ายรัฐบาลที่เข้าร่วมประชุมกับบรรดาแกนนำและตัวแทนฝ่ายต่าง ๆ เพื่อหาทางออกประเทศ ที่จัดขึ้นโดยกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ในเดือนสิงหาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2557 เขาเป็นกรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ในปี 2558 - 2561 กรรมการ บมจ. โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ และวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560 รัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ตั้งเขาเป็นกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ชัชชาติชี้แจงว่าไม่ทราบเรื่องมาก่อน และยื่นใบลาออกจากตำแหน่งกรรมการในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560

 

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

เครื่องพิมพ์ดีดกระเป๋าหิ้ว ของเก่าสะสม / ประวัติเครื่องพิมพ์ดีด

 




วันนี้เป็นสาวออฟฟิศ ใช้เครื่องพิมพ์ดีดสักวันนะคะ ..
รุ่นนี้เป็นเครื่องพิมพ์ดีด Marathon แบบกระเป๋าหิ้ว ่ภาษาไทย ขนาดกระทัดรัดไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป ตอนซื้อมาใหม่ๆ จะเป็นสีนวลๆ แต่ตอนนี้กลายเป็นสีเหลือแล้วค่ะ สีก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่สภาพทั่วไปก็ยังคงใช้งานได้อยู่นะคะ เพียงแต่ต้องหาผ้าหมึกมาเปลี่ยนใหม่ ผ้าหมึกที่มีอยู่นี้สีจางจนแทบมองไม่เห็นแล้วค่ะ ..

ไหนๆ ก็พูดถึงเครื่องพิมพ์ดีแล้ว 
เราไปฟังประวัติความเป็นมากันหน่อยนะคะ ..

เครื่องพิมพ์ดีดเครื่องแรกเป็นแบบภาษาอังกฤษจดทะเบียนสิทธิบัตรเมื่อปีพ.ศ.2257 ณประเทศอังกฤษโดยวิศวกรชื่อเฮนรี่มิลโดยใช้ชื่อว่า Writing Machine 

ต่อจากนั้นนายวิลเลี่ยมออสตินเบิทชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เครื่องเขียนหนังสือใช้ชื่อว่า Typographer เครื่องมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมทำด้วยไม้ทั้งสิ้น


พ.ศ. 2376  ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องเขียนหนังสือสำหรับคนตาบอด เครื่องนี้ประกอบด้วยที่รวมของแป้นอักษรเมื่อเคาะลงไปบนแป้นอักษรจะดีดก้านอักษรตีไปที่จุดศูนย์กลาง

พ.ศ.2416 มีการผลิตเครื่องพิมพ์ดีดแบบมาตรฐานออกสู่ตลาดในสหรัฐอเมริกา มีหลายต่อหลายยี่ห้อ มีเครื่องพิมพ์ดีดที่ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายเพียง 4-5 ยี่ห้อคือรอยัลเรมิงตันไอบีเอ็มสมิธโคโรน่าและอันเดอร์วูด

ส่วนในยุโรปมีนักประดิษฐ์ทำเครื่องพิมพ์ดีดออกจำหน่ายหลายยี่ห้อเช่นกัน ในเยอรมันนีมีโอลิมเปียแอดเลอร์ออบติม่านอิตาลีมีโอลิวิตตี้ในฮอลแลนด์มีเฮร์เมสเป็นต้น

ในประเทศไทย
นายเอดวินแมคฟาร์แลนด์เลขานุการส่วนพระองค์ของสมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงธรรมการเดินทางไปสหรัฐอเมริกามีแนวความคิดที่จะดัดแปลงเครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษเป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย ต้องใช้เครื่องพิมพ์ดีดที่มีแป้นอักษรมากกว่าชนิดอื่นในที่สุดก็เลือกได้ยี่ห้อสมิทฟรีเมียร์
เมื่อพ.ศ 2438 นายเอดวินแมคฟาร์แลนด์ก็ถึงแก่กรรมแต่ในขณะที่ป่วยอยู่ได้มอบหมายให้หมอยอร์ชบีแมคฟาร์แลนด์ (พระอาจวิทยาคม) น้องชายหาวิธีแก้ไขปรับปรุงและแพร่เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยให้กว้างขวางต่อไปพระอาจวิทยาคม ๆ มีประชาชนและข้าราชการที่ไปทำฟันได้พบเห็นและได้รับคำแนะนำจำนวนมากต่อมาหน่วยราชการต่างก็สั่งซื้อจำนวนมากโดยท่านได้สั่งให้โรงงานสมิทฟรีเมียร์ในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตและส่งมาถึงเมืองไทยรุ่นแรกพศ. 2440


ต่อมาในปีพ.ศ 2467 พระอาจวิทยาคมได้ปรึกษาและทำการค้นคว้ากับพนักงานบริษัท 2 คนคือนายสวัสดิ์มากประยูรและนายสุวรรณประเสริฐ (กิมเฮง) เกษมณีโดยนายสวัสดิ์มากประยูรเป็นวิศวกรออกแบบประดิษฐ์ตัวอักษรนายสุวรรณประเสริฐ (กิมเฮง) ทำหน้าที่ฝ่ายวิชาการใช้เวลา 7 ปีก็วางแป้นอักษรใหม่สำเร็จและเห็นว่าเหมาะสมที่สุดในพศ. 2474 สามารถพิมพ์ได้ถนัดที่สุดและรวดเร็วที่สุดให้ชื่อว่าแบบ “เกษมณี” และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

ต่อมาได้มีผู้วิจัยพบว่าเครื่องพิมพ์ดีดแบบเกษมณียังมีข้อบกพร่องและคิดวางแป้นอักษรใหม่ใช้ชื่อว่าและสภาวิจัยแห่งชาติตรวจสอบแล้วเห็นว่าเครื่องพิมพ์ดีดแบบปัตตะโชติ “ปัตตะโชติ” 258% ในระหว่างปีพ.ศ 2508-2516 ทำให้วงการใช้เครื่องพิมพ์ดีดเกิดความสับสนคณะรัฐมนตรีลงมติให้หน่วยราชการที่ได้รับงบประมาณค่าเครื่องพิมพ์ดีดจัดซื้อเครื่องพิมพ์ดีดไทยแบบปัตตะโชติหลังวันที่ 16 ตุลาคม 2516





 

แป้นพิมพ์เกษมณี


แป้นพิมพ์ปัตตะโชติ

จะสังเกตุเห็นว่าแป้นพิมพ์ไม่มี  ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) คงเนื่องมาจจากก้านอักษรมีไม่พอกับจำนวนสระพยัญชนะและวรรณยุกต์ในภาษาไทย จึงต้องตัดคำบางคำ หรือเครื่องหมายบางตัวออกไปบ้าง




วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2565

สายตาโกหก เนื้อเพลง

โปรดทำใจเป็นกลางฟังฉัน
และใคร่ครวญทบทวนดูใหม่

คิดดูว่ามีใครที่ไหน

ห่วงใยจริงใจอย่างฉัน

อย่าปิดบังไปเลยคนดี

ก็ตาเธอฟ้องใจเธอนั่น

ว่าใจเธอมีใครผูกพัน

เพิ่มเติมมาอีกคน

จะฟูมฟายร้องไห้ครวญคร่ำทำไม

รักใครก็พูดออกไปไม่ต้องปิดบัง

ใครที่เธอรักและมีใจให้กัน

นั้นคือคนใดบอกได้ไหม

หากใจเธอรักเขาก็โปรดลืมฉัน

มิต้องมาห่วงใยกันฉันพร้อมจากไป

เพียงเพื่อเธออย่างไรฉันยอมเสมอ

อย่าปิดบังไปเลยคนดี
ก็ดวงตาฟ้องใจเธอนั่น
ว่าเธอกำลังโกหกฉัน
สายตาเธอส่อแวว

จะฟูมฟายร้องไห้ครวญคร่ำทำไม

รักใครก็พูดออกไปไม่ต้องปิดบัง

ใครที่เธอรักและมีใจให้กัน

นั้นคือคนใดบอกได้ไหม

หากใจเธอรักเขาก็โปรดลืมฉัน

มิต้องมาห่วงใยกันฉันพร้อมจากไป

เพียงเพื่อเธออย่างไรฉันยอมเสมอ

อย่าปิดบังไปเลยคนดี
ก็ดวงตาฟ้องใจเธอนั่น
ว่าเธอกำลังโกหกฉัน
สายตาเธอส่อแวว

***

โน้ตเพลง Broken heart Woman ท่อน 1 - ร - ม - ซ - ซ ซ - - ล - ท - - - - - ท รํ มํ มํ - ฟํ# - - มํ รํ - ท - - - - รํ - ล - - - ล ซ ม ร ม - - - - - ร - ซ - - - ซ - ล - ล - - - ร - ม - ซ - ซ ซ - - ล - ท - - - - - ท รํ มํ มํ - ฟํ# - - มํ รํ - ท - - - - รํ - ล - - - ล ซ ม ร ม - - - - - ซ - ฟ# - - - ม - ร - ม - - ท่อน 2 - ซ - ล - ท - รํ - ท ล ซ ล ท - มํ - ท ล ซ ล ท ฟํ# - - - ท รํ มํ - - - มํ - รํ - มํ - รํ มํ - - รํ - ท - - - - - รํ - ล - - - ซ - ล - ท - - - - ซ - ล - ท - รํ - ท ล ซ ล ท - มํ - ท ล ซ ล ท ฟํ# - - - ท รํ มํ - - - มํ - รํ - มํ - - - - - ซํ - ซํ - ซํ มํ - รํ ท - รํ - - - - - - - - - ร - ม - ซ - ซ ซ - - ล - ท - - - - - ท รํ มํ มํ - ฟํ# - - มํ รํ - ท - - - - รํ - ล - - - ล ซ ม ร ม - - - - - ซ - ฟ# - - - ม - ร - ม - -


วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2565

หนองหาร ทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ อันดับ 2 ของประเทศไทย รองจากบึงบระเพ็ด

และอันดับ 1 ในภาคอีสาน มีเนื้อที่กว่า 77,000 ไร่

ความลึกเฉลี่ยประมาณ 2.0-10.0 เมตร มีเกาะน้อยใหญ่ เกือบ 30 เกาะ
ความเชื่อเรื่องราวเกี่ยวกับพญานาคมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ

 
มีตำนานมากมายเกี่ยวกับพญานาคหนึ่งในนั้นคือ
" ตำนานผาแดง นางไอ่"

      ครั้งหนึ่งยังมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อ นครเอกชะทีตา มีพระยาขอมเป็นกษัตริย์ ปกครองเมืองด้วยความร่มเย็น พระยาขอมมีพระธิดาสาวสวยนามว่า "นางไอ่คำ" ซึ่งเป็นที่รักและหวงแหนมาก พระยาขอมจึงสร้างปราสาท 7 ชั้นให้อยู่ พร้อมเหล่าสนม นางกำนัล ให้คอยดูแลนางอย่างดี

ความงามของนางเป็นที่เลืองลือไปทั่ว เป็นที่หมายปองของบรรดาเจ้าชายเมืองต่างๆ มากมาย

ขณะเดียวกันยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อ เมืองผาโพง มีเจ้าชายนามว่า ท้าวผาแดง เป็นกษัตริย์ ปกครองอยู่ ท้าวผาแดงได้ยิน กิตติศัพท์ความงามของธิดาไอ่คำก็ใคร่อยากจะเห็นหน้า จึงปลอมตัวเป็นพ่อค้า พเนจรมาจนถึงนครเอกชะทีตา ก็ให้มหาดเล็กนำของขวัญลอบ เข้าไป ให้นางไอ่คำ เมื่อมหาดเล็กนำสิ่งของไปมอบให้และเล่าถึงความงามของท้าวผาแดงให้นางไอ่คำฟัง นางก็เกิดความพึงพอใจ และฝากเครื่องบรรณาการไปให้ท้าวผาแดงเป็นการตอบแทนด้วยเช่นกัน ก่อนที่มหาดเล็กจะเดินทางกลับ นางไอ่คำได้ฝากคำกล่าวเชิญท้าวผาแดงซึ่งรออยู่นอกเมืองให้เข้าไปในเมืองขอมเพื่อพบกับนางด้วย ทันทีที่ทั้งสองได้พบกันก็เกิดเป็นความรักขึ้นมา

            กล่าวถึง “ท้าวพังคี โอรสของ “ท้าวสุทโธนาคราช เจ้าผู้ครองเมืองบาดาล ท้าวพังคีก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ใฝ่ฝันอยากเห็นความงามของนางไอ่คำ ด้วยเช่นกัน 

อาจจะเป็นเพราะผลกรรมที่ทำร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อนก็เป็นได้ ด้วยท้าวพังคีได้เคยเกิดเป็นชายหนุ่มหน้าตาอัปลักษณ์ยากจนและเป็นใบ้ เขาเดินขอทานไปตามหมู่บ้านต่างๆ จนมาถึงบ้านของเศรษฐีคนหนึ่ง จึงได้ไปขออาศัยอยู่และช่วยเศรษฐีทำงานโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย เศรษฐีพอใจและรักใคร่เป็นอย่างมากถึงกับยกลูกสาวคนหนึ่งให้แต่งงานเป็นภรรยา ซึ่งก็คือนางไอ่คำในชาติปัจจุบัน เมื่อแต่งงานแล้วชายหนุ่มแทนที่จะดูแลรักใคร่ภรรยาของตน เขากลับไม่สนใจใยดีนางเลยแม้แต่น้อย ไม่เคยหลับนอนด้วยแม้แต่ครั้งเดียว ส่วนภรรยาก็ไม่เคยปริปากบอกใครเฝ้าปรนนิบัติสามีด้วยดีเสมอมา

            กระทั่งวันหนึ่งชายหนุ่มเกิดคิดถึงบ้าน จึงขอพาภรรยาเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านของตน เศรษฐีจึงให้บ่าวไพร่เตรียมเสบียงอาหารให้ในการเดินทาง ตลอดทางชายหนุ่มไม่สนใจดูแลนางอีกเช่นเคย และด้วยระยะทางที่ไกลมาก ทำให้เสบียงที่เตรียมมาหมดลงกลางทาง ทั้งสองรู้สึกหิวมาก ขณะนั้นเองเขาก็เห็นต้นมะเดื่อต้นหนึ่งมีผลสุกเต็มต้นเขาจึงปีนขึ้นไปเก็บกินด้วยความหิว โดยไม่คิดจะเก็บลงมาแบ่งให้นางบ้าง เมื่อสามีปีนลงมาจากต้นมะเดื่อ นางจึงตัดสินใจปีนขึ้นไปเก็บกินเอง เมื่อกินอิ่มแล้วนางก็ปีนกลับลงมาจากต้นมะเดื่อ แต่ทว่านางกลับไม่พบสามีเสียแล้ว นางรู้สึกทุกข์ทรมานใจเป็นอย่างยิ่ง นางจึงเดินไปเพียงลำพัง พอเดินมาถึงต้นไทรริมฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง นางจึงลงไปอาบน้ำและดื่มกินจนรู้สดชื่น การที่สามีทำกับนางเช่นนี้นางรู้สึกเสียใจมาก นางจึงตั้งจิตอธิษฐานว่า “ชาติหน้าเมื่อเขาเกิดมา ขอให้นอนตายอยู่บนกิ่งไม้ อย่าได้เป็นสามีภรรยากันอีกเลย ด้วยแรงอธิษฐานของนาง ในชาติต่อมาสามีของนางจึงเกิดมาเป็นท้าวพังคี ส่วนนางได้เกิดมาเป็นนางไอ่คำ

เมื่อนางไอ่คำเติบโตเป็นสาว พระยาขอมผู้เป็นบิดาได้มีประกาศแจ้งข่าวไปตามหัวเมืองน้อยใหญ่ให้จัดบั้งไฟมาจุดแข่งขันกันเพื่อบูชาพระยาแถนให้บันดาลฝนตกลงมาตามฤดูกาล และหากบั้งไฟของผู้ใดขึ้นสูงกว่า คนๆ นั้นจะได้แต่งงานกีบนางไอ่คำ โดยกำหนดวันขึ้น 15 เดือน 6 เป็นวันงาน ในวันงานมีเจ้าชายจากเมืองน้อยใหญ่ส่งบั้งไฟมาแข่งกันมากมาย มีผู้คนทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลมาร่วมงานกันอย่างคึกคัก 
ท้าวผาแดงก็ได้นำบั้งไฟมาร่วมด้วย พระยาขอมให้การต้อนรับท้าวผาแดงเป็นอย่างดี ฝ่ายท้าวพังคีโอรสเจ้าเมืองบาดาล รู้ข่าวอยากมาร่วมงานที่เมืองมนุษย์ด้วย ท้าวบาดาลผู้เป็นบิดาห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง ก่อนเดินทางมาถึงเมืองเอกชะทีตา ท้าวพังคีสั่งให้บริวารแปลงร่างเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง ส่วนตนเองแปลงร่างเป็นกระรอกเผือก ออกติดตามชมความงามของนางไอ่คำในขบวนแห่ของเจ้าเมืองไปอย่างหลงใหล

         การแข่งขันบั้งไฟเป็นไปด้วยความสนุกสนาน ซึ่งการแข่งขันบั้งไฟครั้งนั้น พระยาขอมประกาศว่า ถ้าบั้งไฟของใครชนะบั้งไฟของพระยาขอมได้ พระยาขอมจะยกนางไอ่คำให้เป็นคู่ครอง ผลการแข่งขันปรากฏว่าไม่มีบั้งไฟของใครชนะพระยาขอมได้เลย  ส่วนบั้งไฟของท้าวผาแดง จุดไม่ขึ้นพ่นควันดำอยู่ 3 วัน 3 คืน จึงระเบิดออกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้ความหวังท้าวผาแดงหมดสิ้นลง การแข่งขันเพื่อได้นางไอ่คำเป็นรางวัลจึงต้องล้มเลิกไป

            เมื่องานบุญบั้งไฟเสร็จสิ้นแล้ว ท้าวผาแดงและท้าวพังคีต่างฝ่ายต่างกลับบ้านเมืองของตน ในที่สุดท้าวพังคีทนอยู่ในเมืองบาดาลไม่ได้ เพราะหลงใหลในความงามของนางไอ่คำจึงพาบริวารกลับมายังเมืองมนุษย์อีกโดยแปลงร่างเป็นกระรอกเผือกอีกครั้งและแขวนกระดิ่งทองไว่ที่คอไว้ เมื่อกระโดดไปเกาะอยู่บนกิ่งไม้ใกล้หน้าต่างห้องนอนของนางไอ่ กระดิ่งทองมีเสียงดังกังวาลขึ้น นางไอ่ได้ยินเสียงก็เกิดความสงสัยเปิดหน้าต่างออกไปเห็นกระรอกเผือกและเกิดอยากได้ นางจึงสั่งให้นายพรานฝีมือดีตามจับกระรอกเผือกตัวนั้นให้ได้ ไม่ว่าจะจับเป็นหรือจับตาย นายพรานออกติดตามกระรอกเผือกตามไปติดๆ แต่ยังจับไม่ได้สักที จึงไล่ตามไปเรื่อยๆ จนมาถึงต้นมะเดื่อที่มีผลสุกเต็มต้น กระรอกเผือกก้มหน้าก้มตากินผลมะเดื่อด้วยความหิว และด้วยกรรมในชาติปางก่อน ในที่สุดพรานจึงได้โอกาสยิ่งกระรอกด้วยหน้าไม้ซึ่งมีลูกดอกอาบยาพิษ

            เวลานั้นท้าวพังคีในร่างของกระรอกเผือกรู้ตัวว่าตนเองต้องตายแน่ๆ จึงสั่งให้บริวารนำความไปแจ้งให้บิดาทราบก่อนตาย และตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอให้เนื้อของตนมีมากมายถึงแปดพันเล่มเกวียนพอเลี้ยงคนทั้งเมืองได้ทั่วถึง เมื่อกระรอกเผือกสิ้นใจตายร่างของกระรอกเผือกก็ใหญ่โตขึ้น นายพรานได้ชำแหละเนื้อกระรอกเผือกแจกจ่ายไปให้ผู้คนในหมู่บ้านใกล้เคียงกินโดยทั่วกัน ยกเว้นเหล่าแม่ม่ายที่ชาวบ้านรังเกียจไม่ให้เนื้อกระรอกกิน เมื่อบริวารไปบอกท้าวสุทโธนาคราช เจ้าผู้ครองเมืองบาดาล ก็ทรงโกรธแค้นมาก จึ่งสั่งบ่าวไพร่จัดพลขึ้นไปอาละวาดเมืองพระยาขอมให้ถล่มทลายด้วยความแค้น ใครที่กินเนื้อกระรอกให้ฆ่าเสียให้หมด ขณะที่พญานาคออกอาละวาดทำลายบ้านเมืองอยู่นั้น ท้าวผาแดงกำลังขี่ม้า “บักสาม” มุ่งหน้าไปหานางไอ่คำ ระหว่างทางเห็นพญานาคเต็มไปหมด และเล่าเรื่องที่พบเห็นให้นางไอ่คำฟัง แต่นางไม่สนใจและนำอาหารที่มีกลิ่นหอมเป็นพิเศษมาให้ท้าวผาแดงกิน ท้าวผาแดงจึงถามว่าเนื้ออะไร นางตอบว่า เป็นเนื้อกระรอกเผือก ท้าวผาแดงจึงไม่ยอมกิน

พอตกกลางคืนเหตุการณ์ที่ใครๆ ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น จู่ๆ แผ่นดินเมืองเอกชะทีตาก็ถล่มทลายลง  ท้าวผาแดงทราบได้ทันทีว่าเป็นการกระทำของพวกพญานาคจึงคว้าแขนนางไอ่คำขึ้นหลังม้าบักสามควบหนีออกจากเมืองเพื่อให้ปลอดภัย แต่เนื่องจากนางไอ่คำกินเนื้อกระรอกเผือกเข้าไป แม้จะหนีไปทางไหนก็ถูกพวกพญานาคติดตามไปอย่างไม่ลดละในที่สุดนางไอ่ก็ถูกพญานาคใช้หางฟาดตกจากหลังม้าและจมหายไปในพื้นดินทันทีนางไอ่จมดินหายไปต่อหน้าต่อตา 

ส่วนท้าวผาแดงเมื่อกลับถึงเมืองผาโพง เกิดตรอมใจคิดถึงนางไอ่คำตลอดเวลา จนล้มป่วยตรอมใจตายตามนางไอ่คำไป 

เมื่อท้าวผาแดงตายไปเป็นผี มีความอาฆาตพยาบาทต่อพญานาคอยู่ไม่วาย ครั้นมีโอกาสเหมาะ ผีท้าวผาแดงได้รวบรวมบริวารกองทัพผีเป็นแสนๆ ไปรบกับพญานาคให้หายแค้น โดยล้อมเมืองบาดาลไว้รอบด้าน ผีท้าวผาแดงและท้าวสุทโธนาคราชเจ้าเมืองบาดาล ต่างฝ่ายต่างใช้อิทธิฤทธิ์รบกันนานถึงเจ็ดวันเจ็ดคืนไม่มีใครแพ้ใครชนะ ฝ่ายเจ้าเมืองบาดาล ซึ่งแก่ชรามากแล้วไม่อยากทำบาปทำกรรมต่อไป เพราะต้องการไปเกิดในภพของพระศรีอาริยเมตไตรย จึงไปขอร้อง ท้าวเวสสุวัณ ผู้เป็นใหญ่ให้มาตัดสินให้ ท้าวเวสสุวัณทราบว่าเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องของกรรมเก่า จึงขอให้ทั้งสองฝ่ายเลิกราต่อกัน อโหสิกรรมให้กัน เมื่อผีท้าวผาแดงและพญานาคราชได้ฟังคำสั่งสอนของท้าวเวสสุวัณก็เข้าใจ เหตุการณ์ทั้งหมดจึงยุติลงนับแต่นั้นมา

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2565

โสนน้อยเรือนงาม

     

     กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ. นครแก้วนพรัตน์ เป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งซึ่งปกครองโดยท้าวกาลศึกและพระมเหสีประไพลักษณา  ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสรูปงาม  พระนามว่า พระวิจิตรจินดา ครั้นพระวิจิตรจินดาเจริญวัยขึ้นเป็นหนุ่นได้ขออนุญาตพระบิดาและพระมารดาไปประพาสป่า

    พระวิจิตรจินดาชมนกชมไม้  จนกระทั่งเดินมาถึงต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง  จึงสั่งให้เสนาอำมาตย์และทหารหยุดพัก  ส่วนพระองค์ไปนั่งพักบนแท่นศิลาใต้ต้นไทร  ทันใดนั้นพระองค์ก็ล้มลงและสิ้นพระชนม์ทันที

   เหล่าทหารต่างตกใจรีบพากันเข้าไปช่วยนวดเฟ้นแต่ก็ไม่สามารถทำให้พระวิจิตรจินดารู้สึกพระองค์เสนาอำมาตย์จึงสั่งให้ทหารกลับไปแจ้งข่าวร้ายให้พระราชาและพระมเหสีทราบ  ทั้งสองพระองค์ฟังเรื่องราวด้วยความโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก

   ท้าวกาลศึกสั่งให้ขุนนางผู้ใหญ่จัดขบวนไปอัญเชิญพระศพกลับพระนคร  เมื่อมาถึง  ท้าวกาลศึกเห็นพระศพและแปลกใจที่พระโอรสสิ้นพระชนม์โดยไม่ทราบสาเหตุ  จึงให้โหรหลวงทำนายดวงชะตาของพระโอรส

   โหรหลวงกราบทูลว่า   เมื่อชาติปางก่อน  พระโอรสเคยฆ่าพญานาคตาย พญานาคคิดอาฆาตพยาบาท  จึงมาคายพิษไว้บนแท่งศิลาเพื่อรอเวลาแก้แค้น  เมื่อพระโอรสประทับบนแท่นศิลาจึกถูกพิษร้ายของพญานาค  ทำให้สิ้นพระชนม์  ซึ่งถือเป็นการชดใช้หนี้กรรมเก่าที่พระองค์ได้กระทำไว้

   โหรหลวงกราบทูบต่อว่าพระโอรสมีโอกาสฟื้นโดยจากนี้ไปอีกเจ็ดปี  จะมีพระธิดาจากต่างเมืองมาช่วยชุบชีวิต   กษัตริย์ทั้งสองจึงนำพระศพของพระโอรสตั้งไว้บนพลับพลาในพระราชอุทยานเพื่อรอคอยพระธิดาจากต่างเมืองมาช่วย

   กล่าวถึงนครโรมวิสัย  มีพระราชาปกครองนคร  พระนามว่า ท้าวหัสวิชัยและพระมเหสีคู่พระทัยพระนามว่า เกศิณี ต่อมานางได้ให้กำเนิดพระธิดาพร้อมมีเรือนไม้โสนติดมาด้วย  ท้าวหัสวิชัยจึงประทานนามให้ว่า โสนน้อยเรือนงาม

   ต่อมาเมื่อพระธิดาโสนน้อยเจริญวัยได้สิบห้าปีบ้านเมืองเกิดข้าวยากหมากแพง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล  ท้าวหัสวิชัยให้โหรหลวงทำนาย พบว่าบัดนี้ดวงชะตาพระธิดาเป็นกาลกิณีต่อบ้านเมืองหากให้อยู่ในพระนครต่อไปราษฎรจะได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส   กษัตริษย์ทั้งสองตกใจมากแต่ไม่มีทางเลือกอื่นใด  เพื่อหพระธิดาโสนน้อยเห็นแก่บ้านเมืองและราษฎร   จึงให้ออกจากพระนครไปก่อน

   พระธิดาโสนน้อยแต่งเป็นหญิงชาวบ้านพร้อมนำเครื่องทรงห่อผ้าออกเดินทางเข้าป่าเพียงลำพัง           กล่าวถึงพระอินทร์บนสวรรค์ เห็นว่าพระธิดาโสนน้อยกำลังตกระกำลำบาก  จึงแปลงกายเป็นชีปะขาวลงมาช่วยและมอบยาวิเศษที่สามารถชุบชีวิตคนตายให้ฟี้นขึ้นมาได้

   ระหว่างทาง   พระธิดาโสนน้อยได้พบหญิงชาวป่าคนหนึ่งถูกงูกัดนอนตายอยู่  พระธิดาเกิดความสงสารจำนำยาวิเศษชโลมที่บาดแผลทำให้หญิงสาวฟื้นขึ้นมา  นางขอบใจพระธิดาโสนน้อยที่ช่วยชีวิตตนไว้และขอติดตามเป็นทาสรับใช้และแนะนำตนเองว่าชื่อ  กุลา

  แล้วทั้งสองก็ออกเดินทางจนกระทั่งถึงเมืองแก้วนพรัตน์และได้ทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระวิจิตรจินดา  พระธิดาโสนน้อยจึงขออาสารักษาพระโอรส ทหารจึงพาหญิงสาวทั้งสองเข้าเฝ้าพระราชและพระมเหสี  พระธิดาโสนน้อยกราบทูลว่านางเป็นธิดากษัตริย์แห่งนครโรมวิสัยชื่อโสนน้อยเรือนงามและกุลาเป็นสาวใช้ผู้ติดตาม

   ก่อนเริ่มพิธี  พระธิดาโสนน้อยนำเครื่องทรงมาสวมใส่แล้วนำยาวิเศษไปชโลมตัวพระวิจิตรจินดาเมื่อยาออกฤทธิ์   พิษของพญานาคก็เป็นไอออกมา  พระธิดาโสนน้อยรู้สึกร้อนไปทั่วกายจึกถอดเครื่องทรงและฝากผอบยาไว้กับกุลาแล้วออกไปอาบน้ำ

   ฝ่านกุลาเห็นพระวิจิตรจินดารูปงามก็เกิดหลงรักจึงคิดแผนร้ายปลอมเป็นพระธิดาโสนน้อย       เมื่อพระธิดาโสนน้อยชำระร่างกายเสร็จแล้วกลับเข้าไปเห็นกุลาแต่งเครื่องทรง  จึงถามกุลาว่าทำไมเอาเปาเสื้อผ้าของนางมาใส่  กุลากลัวพระวิจตรจินดารู้ความจริง  จึงด่าว่าพระธิดาโสนน้อยว่านางเป็นเพียงททาวรับใช้ชื่อกุลา  พระธิดารู้สึกเสียทีกุลาแล้วจำต้องนิ่งเงียบ

   พระวิจิตรจินดาและพระบิดาและพระมารดาก็ยังมีความสงสัยในนางกุลา จึงให้นางเย็บกระทงใบตองถวาย นางกุลาทำไม่ได้โยนใบตองทิ้งไป โสนน้อยเรือนงามเก็บใบตองมาเย็บเป็นกระทงสวยงาม นางกุลาก็แย้งไปถวายพระราชบิดามารดาของพระวิจิตรจินดา พระวิจิตรจินดาไม่อยากอภิเษกกับนางกุลาจึงขอลาพระบิดาพระมารดาไปเที่ยวทางทะเล พระบิดาพระมารดาให้นางกุลาย้อมผ้าผูกเรือ นางกุลาก็ทำไม่เป็น โยนผ้าและสีทิ้ง โสนน้อยเรือนงามเก็บผ้าและสีไปย้อมได้สีงดงาม นางกุลาก็แย้งนำไปถวายพระบิดาพระมารดาอีก
    เมื่อพระวิจิตรจินดาจะออกเรือก็ปรากฎว่าเรือไม่เคลื่อนที่พระวิจิตรจินดาทรงคิดว่าคงมีผู้มีบุญในวังต้องการฝากซื้อของ เรือจึงไม่เคลื่อนที่จึงให้ทหารมาถามรายการของที่คนในวังจะฝากซื้อ ทุกคนก็ได้มีโอกาสฝากซื้อ แต่โสนน้อยเรือนงามอยู่ใต้ถุนถึงไม่มีใครไปถาม เรือก็ยังไม่เคลื่อนที่ พระวิจิตรจินดาจึงให้ทหารกลับไปค้นหาคนในวังที่ยังไม่ได้ฝากซื้อของ ทหารจึงได้ไปค้นหานางโสนน้อยเรือนงามได้ นางจึงฝากซื้อ " โสนน้อยเรือนงาม " เมือพระวิจิตรจินดาเดินทางไป ลมก็บันดาลให้พัดไปยังเมืองโรมวิสัยของพระบิดาของโสนน้อยเรือนงาม พระวิจิตรจินดาซื้อของฝากได้จนครบทุกคน ยกเว้นโสนน้อยเรื่อนงาม พระวิจิตรจินดาจึงสอบถามจากชาวเมือง ชาวเมืองบอกว่าโสนน้อยเรือนงามมีอยู่แต่ในวังเท่านั้น พระวิจิตรจินดาจึงเข้าไปในวังและทูลขอซื้อโสนน้อยเรือนงามไปให้นางข้าทาส พระบิดาของโสนน้อยเรือนงามทรงถามถึงรูปร่างหน้าตาของนางทาส ก็ทรงทราบว่าเป็นพระธิดา จึงมอบโสนน้อนเรือนงามให้พระวิจิตรจินดาและให้ทหารตามมาสองคน.
    เมื่อพระวิจิตรจินดากลับถึงบ้านเมือง ทหารสองคนก็ไปทำความเคารพนางโสนน้อยเรือนงาม และเรือนวิเศษก็ขยายเป็นเรือนใหญ่มีข้าวของเครื่องใช้พระธิดาครบถ้วน โสนน้อยเรือนงามก็เข้าไปอยู่ในเรือนนั้น พระวิจิตรจินดาจึงแน่ใจว่าโสนน้อยเรือนงามเป็นพระราชธิดาที่รักษาตน จึงจะฆ่านางกุลาแต่โสนน้อยเรือนงามขอชีวิตไว้ พระวิจิตรจินดาก็ได้อภิเษกกับนางโสนน้อยเรือนงาม ชาวเมืองทุกคนต่างร่วมแสดงความยินดีกับทั้งสองพระองค์


    หลายเดือนผ่านไป  พระวิจิตรจินดาพาพระธิดาโสนน้อยกลับไปเยี่ยมพระบิดาและพระมารดาที่นครโรมวิสัยโดยทางเรือ  ระหว่างทางเกิดพายุอย่างแรงทำให้เรือถล่ม  พระวิจิตรจินดาและพระธิดาโสนน้อยถูกกระแสน้ำพัดไปคนละทิศละทาง   พระธิดาโสนน้อยถูกพัดขึ้นชายฝั่งเขตชาตแดนเมืองยักษ์ที่มีท้าวจตุรพักตร์และพระมเหสีสร้องทองปกครอง นางออกตามหาพระสวามีจนเจอกับเงาะหญิงที่กำลังร่ำไห้กับศพของเงาะชายผู้เป็นสามี  จึงเข้ามาช่วยชุบชีวิตเงาะชายให้ฟื้นเงาะทั้งสองดีใจมากขอเป็นทาสรับใช้และช่วยตามหาพระวิจิตรจินดา

      วันหนึ่ง  ท้าวจตุรพักตร์ออกมาหาอาหารจได้เจอพระธิดาโสนน้อยและเงาะทั้งสอง   จึงจับทั้งสามไปขังไว้  ท้าวจตุรพักตร์เห็นความงามของพระธิดาโสนน้อยก็เกิดหลงรัก  จึงจับนางไปขังไว้ในปราสาท ขณะที่ท้าวจตุรพักตร์พูดหว่านล้อมให้พระธิดาโสนน้อยยอมเป็นพระชายา  และหมายจะแตะเนื้อต้องตัวพระธิดา แต่พระธิดาโสนน้อยไม่ยอมจึงทำให้ท้าวจตุรพักตร์โกรธมากที่ทำอะไรไม่ได้  จึงสั่งทหารให้นำเอาพระธิดาโสนน้อย   ไปขังไว้บนหอคอย

      กล่าวถึงพระวิจิตรจินดา ซึ่งถูกพัดไปยังเกาะแห่งหนึ่ง ขณะที่ออกตามหาพระธิดาโสนน้อยได้เจอกับพระฤๅษี พระฤๅษีทราบเรื่องทั้งหมดด้วยญาณวิเศษ จึงบอกให้พระวิจิตรจินดารีบไปช่วยพระธิดาโสนน้อยซึ่งกำลังตกอยู่ในอันตรายที่เมืองจตุรพักตร์แล้วพระฤๅษีก็ช่วยชี้ทางไปเมืองยักษ์  พระวิจิตรจินดาเดินทางมาถึงเมืองจตุรพักตร์เกิดการต่อสู้กับเหล่าทหารยักษ์  ซึ่งสู่พระวิจิตจินดาไม่ได้ ล้มตายเป็นจำนวนมาก หนึ่งในทหารหนีรอดไปรายงานท้าวจุตรพักตร์ ท้าวจุตรพักตร์โกรธมาก จึงออกมาสู้กับพระวิจิตรจินดา แต่พลาดท่าเสียทีถูกพระวิจิตรจินดาใช้พระขรรค์แทงตาย

     หลังจากนั้น  พระวิจิตรจินดาเข้าไปช่วยพระธิดาโสนน้อยและเงาะทั้งสอง  ก่อนออกเดินทางพระธิดาโสนน้อยได้ใช้ยาวิเศษช่วยชุบชีวิตของท้าวจตุรพักตร์ให้ฟื้นขึ้นมา  พระวิจิตรจินดาและพระธิดาโสนน้อยก็ออกเดินทางไปยังนครโรมวิสัย  ส่วนเงาะทั้งสองก็แยกกลับเข้าไปอยู่ในป่าพระวิจิตรจินดาพาพระธิดาโสนน้อยมาถึงเมืองโรมวิสัยและพักผ่อนได้ระยะหนึ่ง  ทั้งสองก็ทูลลากลับนครแก้วนพรัตน์

    พระวิตรจินดาและพระธิดาโสนน้อยครองรักกันอย่างมีความสุข  จนกระทั่งวันหนึ่ง กลาได้คิดแผนให่พระวิจิตรจินดาเข้าใจพระธิดาโสนน้อยผิด  จึงจับงูพิษมาใส่กล่องไม้จันทน์หอมแล้วนำเอามาให้พระธิดาโสนน้อยพร้อมบอกว่ากล่องนี้มีของวิเศษ ให้นำถวายพระวิจิตรจินดา     พระธิดาโสนน้อยหลงเชื่อกุลา  เมื่อถึงเวลาเข้าบรรทม  จึงมอบกล่องเห็นเป็นงูพิษคิดว่านางต้องการฆ่าตน  จึงเนรเทศพระธิดาโสนน้อยและกุลาให้ออกจากพระนคร  แม้ว่านางว่าอธิบายความจริงให้ฟังอย่างไร พระองค์ก็ไม่เชื่อ

     พระธิดาโสนน้อยจำต้องออกจากพระนครพร้อมลูกในครรภ์โดนมีกุลาติดตามไปด้วย  ทั้งสองเดินทางมาจนพบพระฤๅษีปู่เจ้า  จึงขอนั่งพักเหนื่อยระหว่างนั้น  กุลาเดินไปพบบ่อน้ำสองบ่อ ซึ่งเป็นน้ำสีเหลืองและสีดำ นางสงสัยเลยเอานิ้วจุ่มลงในบ่ปรากฎว่าเอามือจุ่มลงน้ำสีดำเกิดเป็นแผลออกร้อน ต่อมานางเอามือไปจุ่มลงน้ำสีเหลืองนิ้วนางกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม

     ขณะนั้นความคิดชั่วร้ายก็เกิดขึ้น  กุลาจึงไปเรียกพระธิดาโสนน้อยมาดูบ่อน้ำวิเศษ  เมื่อกุลากระโดดลงไปบ่อน้ำสีทองพอกลับขึ้นมาด้วยหน้าตาที่สวยงาม รูปร่างอรชรอ้อนแอ้นจากนั้นกุลาเดินไปใกล้ๆ พระธิดาโสนน้อยที่ยืนอยู่ปากบ่อน้ำสีดำ เมื่อนางเผลอกุลาจึงผลักตกลงในบ่อน้ำสีดำพระธิดาโสนน้อยกลายเป็นหญิงอัปลักษณ์ มีแผลเต็มตัว  เช้าวันต่อมา ทั้งสองกราบลาพระฤๅษีปู่เจ้าแล้วออกเดินทางมาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเขตชายแดนเมืองโรมวิสัย  ทั้งสองได้พักอาศัยบ้านสองตายายคู่หนึ่ง พระธิดาโสนน้อยช่วยสองตายายทำงานแต่กุลาไม่ช่วยอะไรเลยเที่ยวอวดความงามของตน

    วันหนึ่ง กุลาได้เจอกับลูกเศรษฐีรูปหล่อประจำหมู่บ้านชื่อวิไล ทั้งสองต่างถูกใจกัน วิไลชวนกุลาไปอยู่ด้วย กุลานึกถึงแก้วแหวนเงินทองและความสุขสบายจึงตกลงไปอยู่ด้วยพร้อมเอาพระธิดาโสนน้อยไปเป็นทาสรับใช้  หลายเดือนพาไปครรภ์ของพระธิดาโสนน้อยใหญ่ขึ้น กุลาคิดที่จะกำจัดลูกของนาง เมื่อครบกำหนดครอด พระธิดาโสนน้อยให้กำเนิดบุตรชายและสลบไปด้วยความอ่อนเพลีย หมอตำแยนำผ้ามาห่อพระกุมารแล้วส่งให้บ่าวรับใช้ใส่ตะกร้านำพระกุมารไปโยนทิ้งลงแม่น้ำ กล่าวถึงพระกุมาร ด้วยความเป็นผู้มีบุญญาธิการเกิดปาฏิหาริย์ ตะกร้าไม่จมน้ำแต่ลอยไปถึงเกาะแห่งหนึ่งและได้รับการช่วยเหลือจากพระฤๅษีจึงนำพระกุมารมาเลี้ยงและตั้งชื่อว่า ไพรวัลย์ พระฤๅษีเลี้งดูไพรวัลย์จนเติบใหญ่พร้อมสอนวิชาป้องกันตัวให้กับไพรวัลย์

    พระวิจิตรจินดารอนแรมตามหาพระธิดาโสนน้อยด้วยความมุ่งมั่น จนกระทั่งวันหนึ่งพระองค์ได้เจอกับไพรวัลย์ที่กำลังเล่ากวางป่า จึงถามว่าเป็นลูกใคร  ไพรวัลย์จึงบอกว่าตนเองอาศัยอยู่กับพระฤๅษี  พระวิจิตรจินดาแปลกใจและหลุดพูดออกมาว่า พระฤๅษีมีลูกได้อย่างไรคำพูดของพระวิจิตรจินดาสร้างความไม่พอใจให้กับไพรวัลย์ เพราะคิดว่าพระวิจิตรจินดาพูดจาลบหลู่พระฤๅษีไพรวัลย์จึงแผลงศรไปยังพระวิจิตรจินดาแต่ศรกลายเป็นดอกไม้ร่วงหล่นลงตรงหน้าพระวิจิตรจินดา ไพรวัลย์จึงลองแผลงศรอีกครั้ง ปรากฏว่าเปลี่ยนทิศเหินขึ้นฟ้า พระฤๅษีจึงรีบออกมาห้ามและบอกไพรวัลย์ว่าชายผู้นี้เป็นพ่อของไพรวัลย์ ชื่อว่า วิจิตรจินดา พระวิจิตรจินดากราบขอบพระคุณพระฤๅษีที่ได้ช่วยชีวิตไพรวัลย์และเลี้ยงดูเป็นอย่างดี

     พระวิจิตรจินดา ไพรวัลย์ และทหารเดินทางจนเข้าเขตเมืองโรมวิสัย  พระวิจิตรจินดาสังให้ทหารไปสืบหาพระธิดาโสนน้อย แต่กลับเจอแต่พระธิดาโสนน้อยที่แสนจะอัปลักษณ์และกุลาแสนสวย หนึ่งในทหารจำได้ว่าหญิงอัปลักษณ์ก็คือพระธิดาโสนน้อยพระวิจิตรจินดาจึให้นำนางมาเข้าเฝ้านางเล่าเรื่องราวในอดีตตั่งแต่เคยช่วยพระองค์จนถึงเรื่องที่พระวิจิตรจินดาเข้าใจผิดเรื่องงูพิษได้อย่างถูกต้อง

 

    เมื่อเรื่องราวทุกอย่างผ่านไปเรียบร้อยแล้วพระวิจิตรดาพาพระธิดาโสนน้อยไปหาพระฤๅษีปู่เจ้าเพื่อให้ท่านช่วย พระฤๅษีได้ให้พระธิดาโสนน้อยลงไปชุบตัวในบ่อน้ำสีเหลือง นางก็กลับมางดงามเหมือนเดิมทางไปยังนครโรมวิสัย รัลไพรวัลย์เดินทางไปยังนครแก้วนพรัตน์และอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2565

สอยดาว สาวเดือน

 

เรื่องย่อ

เรื่องของความรักและความใฝ่ฝัน ระคนการต่อสู้อันยิ่งใหญ่

บ้านลานเท พระนครศรีอยุธยา สมิง (ชนะ ศรีอุบล) ชายหนุ่มเลือดนักสู้ฆ่าโจรตายเพื่อชำระแค้นให้กับพ่อแม่ตัวเอง แต่สมิงก็ได้รับบาดเจ็บและหลบหนีเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านกำนันธง (จำรูญ หนวดจิ๋ม) ศรีนวล (เพชรา เชาวราษฎร์) ลูกสาวเพียงคนเดียวของกำนันธง ที่เก่งการร้องลำตัดจนมีชื่อเสียงลือเลื่อง สมิงปองรักศรีนวลอยู่ แต่ศรีนวลรักสมิงเหมือนพี่ชายเท่านั้น

เลอสรร (มิตร ชัยบัญชา) ลูกชายเพียงคนเดียวของท่านข้าหลวงเมืองอยุธยา (ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร) จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เดินทางมาที่ลานเทเพื่อหาประสบการณ์ เลอสรรได้พบศรีนวลก็เกิดความรักใคร่กัน จนกระทั่งทั้งคู่ลักลอบได้เสียกัน เลอสรรสัญญาว่าเมื่อกลับไปถึงกรุงเทพฯแล้วจะกลับมาแต่งงานกับศรีนวล แต่ทว่าเมื่อกลับถึงกรุงเทพฯ แม่ของเลอสรรกลับไม่ยินยอม พร้อมกับบีบบังคับให้แต่งงานกับสร้อยเพชร (ชฎาพร วชิรปราณี) ลูกสาวของเพื่อนสนิทตัวเอง ศรีนวลตั้งท้องและคลอดออกมาเป็นผู้หญิงชื่อ สอยดาว โดยสมิงรับเป็นพ่อบุญธรรม ขณะที่เลอสรรก็มีลูกสาวกับสร้อยเพชร ชื่อ สาวเดือน และลูกชายชื่อ เกียรติกล้า

20 ปีผ่านไป เลอสรรได้เลื่อนตำแหน่งเป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ และได้รับคำสั่งจากกรมตำรวจให้เดินทางไปลานเท เพื่อปราบปรามเหล่าโจรที่อาละวาดสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านอย่างหนัก คุณยายของเลอสรรได้เดินทางมาพ้กผ่อนที่บ้านในจังหวัดอยุธยาด้วย คุณยายได้พบกับสอยดาว (โสภา สถาพร) ที่โตเป็นสาวก็รู้สึกถูกชะตาเป็นอย่างมากโดยไม่ทราบว่าสอยดาวคือเหลนของตนเอง ท่านเข้าใจว่าสอยดาวเป็นลูกของชาวบ้านยากจนจึงต้องการจะอุปการะ จึงให้เลอสรรและท่านข้าหลวงไปเจรจากับพ่อแม่ของสอยดาวเพื่อขอรับสอยดาวไปอุปการะ

เมื่อตามสอยดาวมาจนถึงบ้านทำให้เลอสรรทราบว่าแท้จริงแล้ว สอยดาวคือลูกของตนเอง เลอสรรอ้อนวอนขอโทษจนศรีนวลและกำนันธงใจอ่อน ท่านข้าหลวงจึงเจรจาขอรับสอยดาวไปให้คุณแม่ของท่านอุปการะ แต่เมื่อสอยดาวมาอยู่กรุงเทพฯ ก็ถูกกลั่นแกล้งจากสร้อยเพชร (ชฎาพร วชิรปราณี) และเกียรติกล้า (จีระศักดิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ลูกชาย แต่สาวเดือน (วิภาวดี ตรียะกุล) กลับรักสอยดาวเหมือนพี่น้อง

สร้อยเพชรและเกียรติกล้าหาทางกลั่นแกล้งสอยดาว ด้วยการจ้างคนเข้ามาปลุกปล้ำสอยดาวแต่กลับพลาดพลั้งทำให้คุณยายเสียชีวิต สร้อยเพชรใส่ร้ายว่าสอยดาวนัดแนะผู้ชายให้เข้าไปหาและทำให้คุณยายเสียชีวิต เลอสรรโกรธมากจึงไล่สอยดาวออกจากบ้าน สมิงทราบเรื่องก็โกรธแค้นมากจึงนำสมุนเข้ามาปล้นสร้อยเพชรและเพชรกล้า แต่สมุนของสมิงพลั้งมือฆ่าสร้อยเพชรตาย เลอสรรได้ทราบความจริงเรื่องสร้อยเพชรคิดร้ายต่อสอยดาวก็รู้สึกเสียใจ

เลอสรรนำกำลังตำรวจเข้าปราบปรามชุมโจรของสมิง โดยมีศรีนวลติดตามไปด้วยเพื่อเกลี้ยกล่อมสมิงให้ยอมมอบตัว แต่ขณะที่เลอสรรกำลังจะถูกสมุนโจรลอบยิง สมิงกลับยอมสละชีวิตตนเองเพื่อปกป้องเลอสรร เพื่อชดใช้ความผิดทั้งหลายที่ได้ทำมา และเพื่อศรีนวลและสอยดาวหญิงสองคนที่สมิงรักยิ่งจะได้มีครอบครัวที่พร้อมหน้าพ่อแม่ลูก

เนื้อเพลง