วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

อิเหนา


ความเป็นมา
อิเหนา  เป็นวรรณคดีที่มีมาแต่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  มีที่มาจาก
นิทานปันหยี  ซึ่งเป็นคำสามัญที่ชาวชวาใช้เรียกวรรณคดีที่มีความสำคัญมากเรื่องหนึ่ง


มีเรื่องเล่ากันว่าพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คือ เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงได้นางข้าหลวงมาจากปัตตานี นางข้าหลวงคนนี้ได้เล่านิทานปันหยีหรือเรืองอิเหนาของชวาถวาย เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทรงนำเค้าเรื่องมาแต่งเป็นบทละครเรื่องดาหลัง (อิเหนาใหญ่) ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงแต่งเรื่องอิเหนา (อิเหนาเล็ก) ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาเป็นบทละครสำหรับใช้แสดงละครรำ ในตอนท้ายของบทพระราชนิพนธ์ได้อ้างถึงเรื่องอิเหนาในสมัยอยุธยาว่า

อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง 

สำหรับงานการฉลองกองกุศล
ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์
แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไปฯ

***********************

ดินแดนชวาโบราณมีกษัตริย์วงศ์หนึ่งเรียกว่า  วงศ์อสัญแดหวาหรือวงศ์เทวา  เพราะว่าสืบเชื้อสายมาจากเทวดา  คือ  องค์ปะตาระกาหลา  กล่าวกันว่าวงศ์นี้มีพี่น้องสี่องค์  องค์พี่ครองเมืองกุเรปัน  องค์ที่สองครองเมืองดาหา  องค์ที่สามครองเมืองกาหลัง  และองค์ที่สี่ครองเมืองสิงหัดส่าหรี  กษัตริย์วงศ์เทวามีอานุภาพยิ่งใหญ่ด้วยยศศักดิ์  ถือตัวว่าเป็นชนชั้นสูงจึงอภิเษกกันเฉพาะในวงศ์พี่น้อง  นอกจากนี้ทั้งสี่เมืองเท่านั้นที่สามารถแต่งตั้งมเหสีได้ 5 องค์  ตามลำดับตำแหน่ง  คือ  ประไหมสุหรี  มะเดหวี  มะโต  ลิกู  เหมาหราหงี  แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมืองหมันหยาซึ่งเป็นเมืองเล็กกว่า  กล่าวคือ  เจ้าเมืองนี้มีราชธิดาสามองค์  องค์โตชื่อนิหลาอระตา  ได้ไปเป็นประไหมสุหรีเมืองกุเรปัน  องค์ที่สองชื่อ  ดาหราวาตี  ได้ไปเป็นประไหมสุหรีเมืองดาหา  ส่วนองค์สุดท้องชื่อ  จินดาส่าหรี  ได้อภิเษกกับโอรสท้าวมังกัน  และได้ครองเมืองหมันหยา
          ท้าวกุเรปันมีโอรสองค์แรกกับลิกู  ชื่อว่า  กะหรัดตะปาตี  ต่อมามีโอรสกับประไหมสุหรีเป็นหนุ่มรูปงามและเก่งกล้าสามารถมาก  ชื่อ  อิเหนา  หรือ  ระเด่นมนตรี  และมีราชธิดาชื่อวิยะดา  ส่วนท้าวดาหามีราชธิดากับประไหมสุหรีชื่อ  บุษบา  และมีโอรสชื่อ  สียะตรา  บุษบามีอายุไล่เลี่ยกับอิเหนา  ท้าวกุเรปันจึงหมั้นบุษบาให้กับอิเหนา  และสียะตราก็หมั้นหมายกันไว้กับวิยะดา
          ส่วนระตูหมันหยากับประไหมสุหรีก็มีราชธิดาชื่อระเด่นจินตะหรา  อายุรุ่นราวคราวเดียวกับอิเหนา  ท้าวสิงหัดส่าหรีกับประไหมสุหรีมีโอรสชื่อระเด่นสุหรานากง  ราชธิดาชื่อระเด่นจินดาส่าหรี  ท้าวกาหลังมีราชธิดาชื่อ  ระเด่นสกาหนึ่งรัด  ซึ่งเป็นคู่ตุนาหงันของสุหรานากง
          เมื่อพระอัยยิกาที่เมืองหมันหยาสิ้นพระชนม์  ท้าวกุเรปันมอบหมายให้อิเหนาไปร่วมพิธีถวายพระเพลิงพร้อมกับกะหรัดตะปาตี  อิเหนาพบจินตะหราก็หลงรัก  จนพิธีถวายพระเพลิงเสร็จแล้วก็ยังไม่ยอมกลับกุเรปัน  ท้าวกุเรปันจึงต้องอ้างว่าประไหมสุหรีจะมีพระประสูติกาลให้กลับมาเป็นกำลังใจให้พระราชมารดา  อิเหนาจำใจต้องกลับมาประจวบกับพระราชมารดาประสูติ  พระราชธิดาหน้าตาน่ารัก  นามว่า  ระเด่นวิยะดา
          อย่างไรก็ตามอิเหนายังหาทางกลับไปเมืองหมันหยาอีก  โดยอ้างว่าจะไปประพาสป่า  แล้วปลอมตัวเป็นโจรป่าชื่อ  มิสารปันหยี  ระหว่างทางได้รบกับระตูบุศิหนา  น้องชายสุดท้องของระตูปันจะรากันและระตูปักมาหงัน  ปรากฏว่าระตูบุศสิหนาตายในที่รบ  นางดรสาซึ่งเพิ่งเข้าพิธีอภิเษกกับระตูบุศสิหนาจึงกระโดดเข้ากองไฟตายตามพระสวามี  ส่วนระตูจะรากันและระตูปักมาหงันยอมแพ้และถวายพระธิดาและพระโอรสให้อิเหนา  คือ  นางสะการะวาตี  นางมาหยารัศมี  และสังคามาระตา  เมื่ออิเหนาเข้าเมืองหมันหยาได้ก็ลักลอบเข้าหานางจินตะหรา  แล้วได้สองนางคือ  นางสะการะวาตีและนางมาหยารัศมีเป็นชายา  และรับสังคามาระตาเป็นน้องชาย
          ท้าวกุเรปันเรียกอิเหนากลับเมืองถึงสองครั้ง  พร้อมทั้งนัดวันอภิเษกระหว่างอิเหนากับบุษบา  แต่อิเหนาไม่ยอมกลับ  สั่งความตัดรอดนางบุษบา  ท้าวกุเรปันและท้าดาหาทราบเรื่องก็ขัดเคืองพระทัย  ท้าวดาหาถึงกับหลุดปากว่าถ้าใครมาขอบุษบาก้จะยกให้
          ฝ่ายจรกา  ระตูเมืองเล็กเมืองหนึ่ง  และเป็นอนุชาของท้าวล่าส่ำ (ท้าล่าส่ำผู้นี้มีธิดา  คือ  ระเด่นกุสุมา  เป็นคู่หมั้นของสังคามาระตา)  จรกาเป็นชายรูปชั่วตัวดำ  แต่อยากได้ชายารูปงาม  จึงให้ช่วงวาดไปแอบวาดภาพราชธิดาของเมืองสิงหัดส่าหร  คือ  นางจินดาส่าหรี  ครั้นทราบข่าวว่านางบุษบาสวยงามมากจึงให้ช่างวาดแอบวาดภาพนางบุษบาอีก  ช่างวาดแอบวาดภาพได้ 2 ภาพ  คือ  ตอนนางบุษบาเพิ่งตื่นบรรทบและภาพที่แต่งองค์เต็มที่  ขณะเดินทางกลับองค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้รูปนางบุษบาที่ทรงเครื่องตกหายไป  จรกาได้เห็นภาพที่เพิ่งตื่นบรรทมเท่านั้นก็หลงใหลถึงกับสลบลงทันที
          เมื่อจรกาได้ข่าวจากช่างวาดภาพว่าบุษบาร้างคู่ตุนาหงัน  จึงรีบให้ระตูล่าส่ำ  พี่ชายมาสู่ขอบุษบา  ท้าวดาหากำลังโกรธอิเหนาอยู่แม้จะรู้ว่าจรการูปชั่ว  ต่ำศักดิ์  แต่เมื่อพลั้งปากว่าใครมาขอก็จะยกให้  จึงจำใจยกนางบุษบาให้จรกาและกำหนดการวิวาห์ภายในสามเดือน

 

วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2566

พระยาพิชัยดาบหัก

พระยาพิชัยดาบหัก นับเป็นวีรชนของชาติอีกคนหนึ่งเป็นขุนนางในสมัยอยุธยาตอนปลายและธนบุรี ปรากฏชื่อในพระราชพงศาวดารเนื่องจากเป็นทหารเอกคู่พระทัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเป็นผู้มีส่วนกอบกู้เอกราชของชาติไทยหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง มีชื่อเสียงอย่างยิ่งจากความกตัญญูกตเวทีและความกล้าหาญ หนึ่ง ใน สี่ทหารเสือของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้แก่ หลวงราชเสน่หา (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท), หลวงพิชัยอาสา (พระยาพิชัยดาบหัก), พระยาเชียงเงิน (พระยาสุโขทัย), หลวงพรหมเสนา (เจ้าพระยานครสวรรค์



พระยาพิชัยดาบหัก เดิมชื่อ จ้อย เกิดในปี พ.ศ. 2284 ที่บ้านห้วยคา เมืองพิชัย จ.อุตรดิตถ์ มีพี่น้อง 4 คน แต่เสียชีวิตไป 3 คน บิดามารดาไม่ปรากฏนาม

เด็กชายจ้อยมีนิสัยชอบชกมวยมาตั้งแต่เยาว์วัย บิดาได้พร่ำสอนเสมอ ถ้าจะ ชกมวยให้เก่งต้องขยันเรียนหนังสือด้วย เมื่ออายุได้ 14 ปี บิดานำไปฝากกับท่านพระครูวัดมหาธาตุ เมืองพิชัย จ้อยสามารถอ่านออกเขียนได้จนแตกฉานเพราะเป็นคนขยันและเอาใจใส่ในตำราเรียนคอยรับใช้อาจารย์ และซ้อมมวย ไปด้วย ทั้งหมัด เข่า ศอก และสามารถเตะได้สูงถึง 4 ศอก ในขณะที่เป็นเด็กวัดนั้นเขามักจะถูกกลั่นแกล้งจากเด็กที่โตกว่าเสมอ แต่ในระยะหลังเขาก็สามารถปราบเด็กวัดได้ทุกคนด้วยชั้นเชิงมวย ต่อมาเจ้าเมืองพิชัยได้นำบุตร (ชื่อเฉิด) มาฝากที่วัดเพื่อร่ำเรียนวิชา เฉิดกับพวกมักหาทางทะเลาะวิวาทกับจ้อยเสมอ เขาจึงตัดสินใจหนีออกจากวัดขึ้นไปทางเหนือโดยมิได้บอกพ่อแม่และอาจารย์ เดินตามลำน้ำน่านไปเรื่อยๆ เมื่อเหนื่อยก็หยุดพักตามวัด ที่วัดบ้านแก่ง จ้อย ได้พบกับครูฝึกมวยคนหนึ่งชื่อ เที่ยง จึงฝากตัวเป็นศิษย์แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี ครูเที่ยงรักนายทองดีมากและมักเรียกนายทองดีว่านายทองดี ฟันขาว (เนื่องจากท่านไม่เคี้ยวหมากพลูดังคนสมัยนั้น) ด้วยความสุภาพเรียบร้อย และขยันขันแข็งเอาใจใส่การฝึกมวยช่วยการงานบ้านครูเที่ยงด้วยดีเสมอมา ทำให้ลูกหลานครูเที่ยงอิจฉานายทองดีมาก จนหาทางกลั่นแกล้งต่างๆ นานา นายทองดี ฟันขาว เห็นว่าอยู่บ้านแก่งต่อไปคงลำบาก ประกอบ ครูเที่ยงก็ถ่ายทอดวิชามวยให้จบหมดสิ้นแล้วจึงกราบลาครูขึ้นเหนือต่อไป

เมื่อเดินถึงบางโพได้เข้าพักที่วัดวังเตาหม้อ (ปัจจุบันคือวัดท่าถนน) พอดีกับมีการแสดงงิ้ว จึงอยู่ดูอยู่เจ็ดวันเจ็ดคืน นายทองดี ฟันขาว สนใจงิ้ว แสดงท่าทางหกคะเมน จึงจดจำไปฝึกหัดจนจดจำท่างิ้วได้ทั้งหมด สามารถกระโดดข้ามศีรษะคนยืนได้อย่างสบายจากนั้นก็ลาพระสงฆ์วัดวังเตาหม้อขึ้นไปท่าเสา ขอสมัครเป็นลูกศิษย์ครูเมฆ ซึ่งมีชื่อเสียงในการสอนมวยมาก ครูเมฆรักนิสัยใจคอจึงถ่ายทอดวิชาการชกมวยให้จนหมดสิ้น ขณะนั้นนายทองดี ฟันขาว อายุได้ 18 ปี ต่อมาได้มีโอกาสชกมวยในงานไหว้พระแท่นศิลาอาสน์ กับนายถึก ศิษย์เอกของครูนิล นายถึกไม่สามารถป้องกันได้ ถูกเตะสลบไปนาน ประมาณ 10 นาที ครูนิลอับอายมากจึงท้าครูเมฆชกกัน นายทองดี ฟันขาว ได้กราบอ้อนวอนขอร้อง ขอชกแทนครูเมฆ และได้ตลุยเตะต่อยจนครูนิลฟันหลุดถึง 4 ซี่ เลือดเต็มปากสลบอยู่เป็นเวลานาน ชื่อเสียงนายทองดี ฟันขาว กระฉ่อนไปทั่วเมืองทุ่งยั้ง ลับแล พิชัย และเมืองฝาง นายทองดีอยู่กับครูเมฆประมาณ 2 ปี ก็ขอลาไปศึกษา การฟันดาบ ที่เมืองสวรรคโลก ด้วยความฉลาดมีไหวพริบ เขาใช้เวลาเพียง 3 เดือน ก็เรียนฟันดาบสำเร็จเป็นที่พิศวงต่อครูผู้สอนยิ่งนัก หลังจากนั้น ก็ไปเที่ยวเมืองสุโขทัยและเมืองตากระหว่างทางได้รับศิษย์ไว้ 1 คน ชื่อบุญเกิด ครั้งที่บุญเกิดถูกเสือคาบไปนั้น ทองดีได้ช่วยบุญเกิดไว้โดยการแทงมีดที่ปากเสือ จนเป็นที่ร่ำลือไปทั่ว

เมื่อท่านเดินทางถึงเมืองตาก ขณะนั้นได้มีพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาที่วัดใหญ่เจ้าเมืองตาก (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) จัดให้มีมวยฉลองด้วย นายทองดี ฟันขาว ดีใจมากเข้าไปเปรียบมวยกับครูห้าว ซึ่งเป็นครูมวยมือดีของเจ้าเมืองตาก และมีอิทธิพลมาก นายทองดี ฟันขาว ใช้ความว่องไวใช้หมัดศอก และเตะขากรรไกรจนครูห้าวสลบไปเจ้าเมืองตากจึงถามว่าสามารถชกนักมวยอื่นอีกได้หรือไม่ นายทองดี ฟันขาว บอกว่าสามารถชกได้อีก เจ้าเมืองตากจึงให้ชกกับครูหมึกครูมวยร่างสูงใหญ่ ผิวดำ นายทองดี เตะซ้ายเตะขวา บริเวณขากรรไกร จนครูหมึกล้มลงสลบไป เจ้าเมืองตากพอใจมากให้เงิน 3 ตำลึง และชักชวนให้อยู่ด้วย นายทองดี ฟันขาว จึงได้ถวายตัวเป็นทหารของเจ้าเมืองตาก (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ตั้งแต่บัดนั้น รับใช้เป็นที่โปรดปรานมาก ได้รับยศเป็น "หลวงพิชัยอาสา" เมื่อเจ้าเมืองตากได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาวชิรปราการ ครองเมืองกำแพงเพชร หลวงพิชัยอาสาได้ติดตามไปรับใช้อย่างไกล้ชิด และเป็นเวลาเดียวที่พม่ายกทัพล้อม กรุงศรีอยุธยา พระยาวชิรปราการพร้อมด้วยหลวงพิชัยอาสาและทหารหาญ ได้เข้าปะทะต่อสู้จนชนะ ได้ช้างม้าอาหารพอสมควร ได้เข้าสู้รบกับทัพพม่าหลายคราวจนได้รับชัยชนะ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รับการต้อนรับจากประชาชนและยกย่องขึ้นเป็นผู้นำ เมื่อกอบกู้เอกราชได้แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงธนบุรีและได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงพิชัยอาสา เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถ เป็นทหารเอกราชองครักษ์ในพระองค์

ในปี พ.ศ. 2311 พม่าได้ยกทัพมาอีก 1 หมื่นคน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพร้อมด้วยหมื่นไวยวรนาถได้เข้าโจมตีจนแตกพ่าย และได้มีการสู้รบปราบก๊กต่าง ๆ อีกหลายคราว เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จกลับกรุงธนบุรี โปรดตั้งเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็น "พระยาสีหราชเดโช" มีตำแหน่งเป็นายทหารเอกราชองครักษ์ตามเดิม สุดท้ายเมื่อปราบก๊กพระเจ้าฝางได้แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบให้ทหารของพระองค์โดยทั่วหน้า ส่วนพระยาสีหราชเดโช (จ้อย หรือ ทองดี ฟันขาว) นั้น ได้โปรดเกล้าฯ บำเหน็จความชอบให้เป็นพระยาพิชัยปกครองเมืองพิชัยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนแต่เยาว์วัย

ในปี พ.ศ. 2313 - 2316 ได้เกิดการสู้รบกับกองทัพพม่าอีกหลายคราว และทุกคราวที่กองทัพพม่าแตกพ่ายไป ก็สร้างความอัปยศอดสูแก่แม่ทัพนายกองเป็นทวีคูณ พอสิ้นฤดูฝนปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 โปสุพลายกกองทัพมาหมายตีเมืองพิชัยอีก "การศึกครั้งนี้พระยาพิชัยจับดาบสองมือคาดด้าย ออกไล่ฟันแทงพม่าอย่างชุลมุน ณ สมรภูมิบริเวณ วัดเอกา จนเมื่อพระยาพิชัยเสียการทรงตัว ก็ได้ใช้ดาบข้างขวาพยุงตัวไว้ จนดาบข้างขวาหักเป็นสองท่อน" กองทัพโปสุพลาก็แตกพ่ายกลับไป เมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรม 7 ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 (ตรงกับวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2316) พระยาพิชัยต่อสู้กับพม่าเมื่อครั้งศึกโปสุพลายกทัพมาตีเมืองพิชัยจนดาบคู่กายของท่านหัก

เมื่อปี พ.ศ. 2325 หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถูกสำเร็จโทษด้วยการตัดพระเศียร สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเล็งเห็นว่าพระยาพิชัยเป็นขุนนางคู่พระทัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่มีฝีมือและซื่อสัตย์ จึงชวนพระยาพิชัยเข้ารับราชการในแผ่นดินใหม่แต่พระยาพิชัยไม่ขอรับตำแหน่งด้วยท่านเป็นคนจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และถือคติที่ว่า "ข้าสองเจ้าบ่าวสองนายมิดี" จึงขอให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกสำเร็จโทษตนเป็นการถวายชีวิตตายตามสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

หลังจากท่านได้ถูกสำเร็จโทษสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเฉลิมพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระองค์จึงได้ทรงรับสั่งให้สร้างพระปรางค์นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ ณ วัดราชคฤห์วรวิหาร ซึ่งพระปรางค์นี้ก็ยังปรากฏสืบมาจนปัจจุบัน

พระยาพิชัยดาบหักได้สร้างมรดกอันควรแก่การยกย่องสรรเสริญให้สืบทอดมาถึงปัจจุบันได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที ความเด็ดเดี่ยวเฉียบขาดกล้าหาญ รวมถึงความรักชาติ ต้องการให้ชาติเจริญรุ่งเรืองมั่นคงต่อไป

วันอังคารที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2566

ดาวลูกไก่ ตอน 2 : พร ภิรมย์

 

ดาวลูกไก่ ตอน 2 : พร ภิรมย์

เนื้อเพลง : ดาวลูกไก่ ตอน 2
ศิลปิน : พร ภิรมย์

พระธุดงค์ทรงกลด ตะวันก็หมดแสงส่อง
อาศัยโคมทองจันทรา

ที่ลอยขึ้นมายอดเขา ฝ่ายว่าสองยายตา
จึงเกิดศรัทธาสงสาร พระผู้ภิกขาจารย์
จะขาดอาหารมื้อเช้า
อยู่ดงกันดารป่านนี้ หรือก็ไม่มีบ้านอื่น
ข้าวจะกล้ำน้ำจะกลืน
จะมีใครยื่นให้เล่า
พวกฟักแฟงแตงกวา
ของเราก็มาตายหมด
นึกสงสารเพราะจะอด
ทั้งสองกำสรดโศกเศร้า
สักครู่หนึ่งตาจึงเอ่ย
นี่แน่ะยายเอ๋ยตอนแจ้ง
ต้องเชือดแม่ไก่แล้วแกง
ฝ่ายยายไม่แย้งตาเฒ่า ฝ่ายแม่ไก่ได้ยิน
น้ำตารินรี่ไหล ครั้นจะรีบหนีไป
ก็คงต้องตายเปล่าๆ อนิจจาแม่ไก่
ยังมีน้ำใจรู้คุณ ที่ยายตาการุณ
คิดแทนคุณเม็ดข้าว น้ำตาไหลเรียกลูก
เข้ามาซุกซอกอก น้ำตาแม่ไก่ไหลตก
ในหัวอกปวดร้าว อ้าปากออกบอกลูก
แม่ต้องถูกตาเชือด คอยดูเลือดแม่ไหล
พรุ่งนี้ต้องตายจากเจ้า
มาเถิดลูกมาซุกอก ให้แม่กกก่อนตาย
แม่ขอจะกกเป็นครั้งสุดท้าย
แม่ต้องตายตอนเช้า
อย่าทะเลาะเบาะแว้ง
อย่าขัดแย้งเหยียดหยัน
เจ้าจงรู้จักรักกัน อย่าผลุนผลันสะเพร่า
เจ้าตัวใหญ่สายสวาท
อย่าเกรี้ยวกราดน้องน้อง
จงปกครองดูแล ให้เหมือนแม่เลี้ยงเจ้า
น่าสงสารแม่ไก่ น้ำตาไหลสอนลูก
เช้าก็ถูกตาเชือด ต้องหลั่งเลือดนองเล้า
ส่วนลูกไก่ทั้งเจ็ด เหมือนถูกเด็ดดวงใจ
จึงพากันโดดเข้ากองไฟ
ตายตามแม่ไก่ดังกล่าว
ด้วยอานิสงฆ์อันประเสริฐ
ลูกไก่ไปเกิดเป็นดาว

ดาวลูกไก่ ตอน 1 : พร ภิรมย์

 

ดาวลูกไก่ ตอน 1 : พร ภิรมย์

เนื้อเพลง : ดาวลูกไก่ ตอน 1
ศิลปิน : พร ภิรมย์


โอ้ชีวิตคิดไฉน ใครหนอใครลิขิต
ปกาศิตของศิวะ หรือของพระพรหมเจ้า
บ้างกำเนิดเกิดมา พอลืมตามองโลก
บ้างมีโชคบ้างอับโชค มีสุขโศกปนเศร้า
แต่จอมนราพิสุทธ๋ ท่านสอนพุทธบริษัท
เป็นธรรมะปรมาศ อ้างถึงอำนาจกรรมเก่า
ว่ากุศลาธรรมา มนุษย์เกิดมามีสุข
อกุศลาพาให้ทุกข์ ดังไฟที่ลุกรุมเร้า
บ้างกึ่งดีกึ่งชั่ว เพราะตัวของตัวมัววุ่น
สร้างทั้งบุญทั้งบาป เหมือนดำที่ฉาบด้วยขาว
ผมมิใช่บัณฑิต อันมีจิตเสน่หา
ที่จะเป็นนาคเทศนา มาเจรจายั่วเย้า
จึงตั้งศรัทธาสาทก เรื่องยาจกยากจน
มีตากับยายสองคน ปลูกบ้านอยู่บนเชิงเขา
แกเลี้ยงแม่ไก่อู มีลูกอยู่เจ็ดตัว
เช้าก็ออกไปริมรั้ว จิกกินเม็ดถั่วเม็ดข้าว
เวลามีเหยี่ยวเฉี่ยวโฉบ ซิแม่ก็โอบปีกอุ้ม
กางสองปีกออกคลุม พาลูกทั้งกลุ่มเข้าเล้า
แม่ไก่จะปลอบขวัญลูก เสียงกรุ๊กกรุ๊กปลุกขวัญ
ลูกตอบเจี๊ยบๆเสียงลั่น ทั้งๆที่ขวัญเขย่า
แล้วเขี่ยข้าวออกเผื่อ ต่างคุ้ยเหยื่อออกให้
ลูกไก่แม่ไก่ไร้ทุกข์ สิไม่มีสุขใดเท่า
ถึงคราวจะสิ้นชีวิต เมื่อใกล้อาทิตย์อัศดง
มีภิกษุหนึ่งองค์ เดินออกจากดงชายเขา
ธุดงค์เดียวด้นดั้น เห็นสายันห์สมัย
หยุดกางกลดพลันทันใด หลังบ้านตายายผู้เฒ่า
อยากรู้เรื่องต่อก็ต้อง เปิดหน้าสองฟังเอา

วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2566

ตำนานนางสงกรานต์ทั้ง ๗

นางสงกรานต์นั้นไม่มีตัวตนจริง เป็นเพียงคติความเชื่อที่ปรากฎอยู่ในตำนานสงกรานต์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จารึกลงในแผ่นศิลา 7 แผ่น แปะประดับไว้ที่ศาลารอบมณฑบทิศเหนือในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ โดยมีตำนานเล่าขานว่านางสงกรานต์  เป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม  หรือท้าวมหาสงกรานต์  และเป็นนางฟ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช  (สวรรค์ชั้นที่  1  ในทั้งหมด  6  ชั้น)  ซึ่งมีหน้าที่ในการรับศรีษะของท้าวกบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุในแต่ละรอบปี หรือในวันสงกรานต์นั้นเอง 

ตำนานนางสงกรานต์

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงขอบุตรต่อพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า ธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย

ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน

ทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่า ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมารก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้

ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหมก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุม พร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้นนางทุงษะก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ

จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์

โดยมีเกณฑ์ว่า วันสงกรานต์ วันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันใดก็ให้ "นางสงกรานต์" ประจำวันนั้นเป็นผู้แห่ ซึ่งนางสงกรานต์มีชื่อดังนี้

 ดังนี้

ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ

ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)

ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (หมู)

ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา) อ่านว่า คัด ทะ ระ ภะ

ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง)

ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย)

ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)


สำหรับ นางสงกรานต์ ปี 2566 คือ “กิมิทาเทวี” ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย) เป็นพาหนะ วันที่ 16 เมษายน เวลา 20 นาฬิกา 12 นาที 24 วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น 1385 ปีนี้ วันเสาร์ เป็นธงชัย, วันพุธ เป็นอธิบดี, วันศุกร์ เป็นอุบาทว์, วันศุกร์ เป็นโลกาวินาศ

ปีนี้วันจันทร์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 500 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 50 ห่า ตกในมหาสมุทร 100 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 150 ห่า ตกในเขาจักรวาล 200 ห่า นาคให้น้ำ 2 ตัว เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ 6 ชื่อ ลาภะ ข้าวกล้าในภูมินาจะได้ 9 ส่วน เสีย 1ส่วน ธัญญาหาร พลาหาร มัจฉมังษาหาร จะบริบูรณ์ อุดมสมบูรณ์ เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีปัถวี (ดิน) น้ำงามพอดี

ขอบคุณข้อมูลจาก หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 

ขอบคุณภาพจาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม และเฟซบุ๊ก Om โอมรัชเวทย์ Style


วันอังคารที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2566

ท้าวปาจิต - อรพิม



 “ปาจิต-อรพิม” เป็นนิทานเรื่องเล่าแบบมุขปาฐะซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายในท้องถิ่นอีสาน นำมาจากชาดกนอกนิบาตเรื่อง “ปาจิตตกุมารชาดก” ใน “ปัญญาสชาดก” เนื้อเรื่องแบ่งเป็นการเล่าแบบสอนศาสนาและเล่าเป็นแบบนิทานชาวบ้านผนวกการอธิบายชื่อบ้านนามเมือง “ปาจิต-อรพิม” จึงมีความสำคัญต่อการศึกษาความเป็นมาของคนในท้องถิ่นบริเวณอีสานใต้ ซึ่งใช้อธิบายที่มาของชื่อบ้านนามเมืองแถบปราสาทหินพิมายและสถานที่ในท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน

 

ท้าวปาจิต  เป็นโอรสของพระเจ้าอุทุมราช  กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองนครธม  เมื่อเจริญวัยหนุ่มพระบิดาให้เลือกคู่ครอง  โดยการให้ทหารไปประกาศเรียกสาวทั้งเมืองมาให้ท้าวปาจิตเลือก  ทั้งลูกสาวเสนาอำมาตย์  ข้าราชการ  พ่อค้า  ชาวนา  ชาวไร่   แต่ท้าวปาจิตไม่ได้คล้องพวงมาลัยให้สาวคนใด  พระเจ้าอุทุมราชจึงได้ให้โหรทำนายเนื้อคู่ให้แก่พระโอรส  เมื่อโหรหลวงตรวจดูดวงชะตาแล้วจึงกราบทูลว่าเนื้อคู่ของท้าวปาจิตยังไม่เกิด  ขณะนี้อยู่ในครรภ์หญิงชาวนาผู้หนึ่งในอำเภอพิมาย  ท้าวปาจิตยังไม่แน่ใจในคำทำนายจึงเดินทางไปหาหญิงผู้นั้น  ซึ่งสังเกตได้ง่ายว่ามีครรภ์และมีเงากลดกั้นอยู่


ท้าวปาจิตไม่รอช้าเร่งออกเดินทางตามคำทำนายของโหร  จนกระทั้งมาถึงเขตเมืองพิมาย  จึงกางแผนที่ออกดู  พื้นที่ตรงนั้นจึงเรียกว่าบ้านกางตำรา และเพี้ยนเป็นบ้านจารตำรา  ท้าวปาจิตได้ข้ามถนนเข้าในเขตเมืองพิมาย  บริเวณนั้นเรียกว่าบ้านถนน  แล้วเดินทางมาตามทางจนถึงหมู่บ้านหนึ่งที่มีต้นสนุนมาก  บริเวณนั้นจึงเรียกว่าบ้านสะนุ่น  ปัจจุบันเรียกว่าบ้านท่าหลวง  แต่ปรากฏว่าเดินผิดเส้นทางจึงเดินทางไปอีกเส้นทางหนึ่งถึงบ้านสำริต  พบหญิงครรภ์แก่ชื่อยายบัวกำลังดำนาอยู่  เหนือหัวของนางบัวมีเงาเมฆคล้ายกลดกั้นอยู่ท้าวปาจิตก็แน่ใจว่าเป็นหญิงตามคำทำนาย  จึงเข้าไปแนะนำตนเองพร้อมแจ้งจุดประสงค์ที่เดินทางมา  และตั้งใจว่าจะอยู่ช่วยยายบัวดำนาจนกว่าจะคลอดลูก  หากลูกคลอดเป็นชายจะยกย่องให้เป็นน้องชาย  แต่ถ้าหากเป็นหญิงจะมาสู่ขอเป็นมเหสี  ยายบัวก็ได้ตกลงตามที่แจ้ง

ท้าวปาจิตอาศัยอยู่กับยายบัวเรื่อยมาจนยายบัวครบกำหนดคลอด  จึงตามหมอตำแยมาทำคลอด  หมู่บ้านนั้นต่อมาจึงเรียกชื่อว่าบ้านตำแย  ทางด้านยายบัวได้คลอดลูกออกมาเป็นหญิงตรงตามคำทำนายจึงให้ชื่อว่าอรพิม  มีหน้าตางดงาม  ผิวพรรณผ่องใสเป็นที่พอใจของท้าวปาจิต  เมื่อเจริญวัยสาวก็ได้ผูกใจรักใคร่กับท้าวปาจิต  วันหนึ่งท้าวปาจิตจึงบอกให้นางอรพิมทราบว่าตนจะกลับบ้านกลับเมืองเพื่อยกขันหมากจากนครธมมาสู่ขอนางอรพิม  เพื่อไปอภิเษกสมรสที่นครธม  แล้วก็ลานางไปเมื่อมาถึงนครธมท้าวปาจิตได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระเจ้าอุทุมราช  พระเจ้าอุทุมราชจึงได้จัดขบวนขันหมาก  มีรี้พลมากมาย  ในขณะเดียวกันด้านเมืองพิมายได้เกิดเหตุร้ายขึ้นกับนางอรพิม โดยพระเจ้าพรหมทัตผู้ครองเมืองพิมายได้ทราบถึงความงามของนางอรพิมจึงได้ให้พระยารามไปนำตัวนางอรพิมมาขังไว้ในพระราชวัง    ด้านนางอรพิมขัดขืนไม่ได้จำต้องมาจึงได้ตั้งจิต อธิฐานว่าถ้าไม่ใช่ท้าวปาจิตแล้วผู้ใดแตะต้องกายนางของให้ร่างกายนางร้อนเหมือนไป  พระเจ้าพรหมทัตจึงแตะต้องไม่ได้  นางจึงได้ทูลพระองค์ว่าจะรอให้พี่ชายนางมาก่อนจึงจะยินยอมเป็นมเหสี

ทางด้านขบวนขันหมากของท้าวปาจิต  เดินทางมาหลายคืนหลายวันจนถึงลำน้ำแห่งหนึ่งจึงได้หยุดพักเพื่อให้ทหารและสัตว์พาหนะได้พัก  ชาวบ้านเห็นผู้คนในขบวนมากมายจึงเข้ามาไต่ถาม  
ทหารจึงได้ตอบว่าจะเดินทางไปบ้านสำริต  เพราะพระโอรสของกษัตริย์จากเมืองขอมจะมาสู่ขอสาวบ้านนี้  ชื่อนางอรพิม  ชาวบ้านจึงเล่าให้ฟังว่าพระเจ้าพรหมทัตได้นำตัวนางอรพิมไปไว้ในปราสาท

พระเจ้าอุทุมราชและท้าวปาจิตทราบเรื่องก็เสียพระทัยเป็นยิ่งนัก  โดยเฉพาะท้าวปาจิตโกรธมากถึงกับโยนข้าวของเครื่องใช้ขันหมากทิ้งลงแม่น้ำหมด  (ที่ตรงนั้นเรียกว่าลำมาศ)  ไหลลงสู่ลำน้ำมูลจนทุกวันนี้  ส่วนรถทรง  ก็ตีล้อดุมรถ  และกงรถจนหักทำลายหมด  ชาวบ้านนำมากองรวมกันไว้ในที่แห่งหนึ่ง (เรียกชื่อว่าบ้านกงรถ)  จากนั้นท้าวปาจิตจึงเดินทางไปตามลำพัง  พระเจ้าอุทุมราชและข้าทหารจึงเดินทางกลับนครธม

ท้าวปาจิตเดินทางไปพบยายบัวปลอบโยนนางรับปากว่าจะช่วยนางอรพิมออกมาให้ได้  


ท้าวปาจิตปลอมเป็นชาย เมื่อนางอรพิมเห็นจึงเรียกว่า พี่มา กลายเป็นชื่อเมืองพิมายในปัจจุบัน หลังสังหารกษัตริย์พรหมทัต ทั้งสองต่างก็หลบหนีไปตามทาง ในระหว่างทางพบกับนายพรานคนหนึ่ง นายพรานลอบฆ่าท้าวปาจิตตาย นางอรพิมจึงฆ่านายพรานเสีย นางอรพิมได้รากไม้จากพระอินทร์มาจึงช่วยให้ท้าวปาจิตฟื้น เแล้วดินทางต่อจนมาพบสามเณรที่พานางอรพิมหลบหนีปาจิต นางจึงออกอุบายให้สามเณรขึ้นไปที่ต้นมะเดื่อแล้วเอาหนามสุมไฟ เณรตายไปกลายเป็นแมงหวี่ตอมผลมะเดื่อ


จากนั้นท้าวปาจิตจึงใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆจนคลี่คลายจนช่วยนางอรพิมได้ในที่สุด
(ที่มา  นายใส คำชำนิ ปราชญ์ชาวบ้าน อดีตผู้ใหญ่บ้านกงรถ)

ต่อมาผู้คนได้พากันอพยพมาตั้งถิ่นที่อยู่ทำมาหากินในบริเวณที่ได้พบ “กงล้อ กงเกวียน” หรือ “กงรถ” จึงพากันขนานนามหมู่บ้านนี้ว่า “หมู่บ้านกงรถ” และตั้งเป็นชื่อของตำบลเนื่องจากหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านที่คนอพยพมาอยู่เป็นหมู่บ้านแรก คนส่วนใหญ่ในตำบลได้อพยพมาจากมหาสารคาม อุบลราชธานี  นางรองและนครราชสีมา  เข้ามาตั้งถิ่นที่อยู่ทำกินในบริเวณแหล่งน้ำ ลำห้วยตะเคียนลำห้วยกงรถและลำน้ำมาศ

 ปัจจุบัน  “กงรถ” ดังกล่าว ทางราชการได้เก็บรักษาไว้  และบ้านกงรถยังเป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนในจังหวัดนครราชสีมา (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่ม 53 หน้า 1530   วันที่ 27 กันยายน  2479)

 

วันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2566

เจ้าหญิงแตงอ่อน

    เรื่องเจ้าหญิงแตงอ่อนจัดเป็นชาดกนอกนิบาต มีกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของ ประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคอีสาน มีโครงเรื่องและวิธีการดําเนินเรื่องเกี่ยวข้อง และสัมพันธ์กันตลอดทั้งเรื่อง

กล่าวถึงเจ้าหญิงแตงอ่อนอรดี เป็นธิดาของกษัตริย์เมืองตะนูวดีมีพี่ชายชื่อเจ้าชายสุดชฎาและมีพี่ชายต่างมารดาอันเกิดจากสนมชื่อพระไวยราช  พระไวยราชถูกมนต์สะกดของอสูรร้ายให้กระทำการชั่วต่างๆนานาทั้งยึดเมืองและต้องการได้เจ้าหญิงแตงอ่อนน้องสาวต่างมารดามาเป็นมเหสี  แต่เจ้าหญิงแตงอ่อนไม่ยินยอมจึงถูกพระไวยราชฆ่าตาย

      พระสุดชฎาผู้เป็นพี่ชายเสียใจมากจึงอุ้มศพเจ้าหญิงแตงอ่อนหนีไปจนถึงหน้าผาในป่าและตั้งใจจะกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายตามน้องสาว พระอินทร์จึงแปลงร่างลงมาขัดขวางและเกลี้ยกล่อมให้พระสุดชฎายอมรับอาหารที่ตนมอบให้ พระสุดชฎาจึงป้อนอาหารให้ศพ เจ้าหญิงแตงอ่อนจึงฟื้นขึ้นมา
         ทั้งสองจึงซัดเซพเนจรไปอาศัยอยู่ในกระท่อมเล็กๆ ชายเขตแดนเมืองโกสีซึ่งใต้ดินที่ปลูกกระท่อมนั้นมีถ้ำพญาจระเข้จำศีลอยู่เจ้าหญิงแตงอ่อนเผลอเทน้ำข้าวเดือดลงไปบนพื้นดินพญาจระเข้ที่จำศีลอยู่ถูกน้ำข้าวเดือดลวกจึงออกจากถ้ำขึ้นมาบนบึงน้ำเกล็ดจระเข้จึงกระเด็นตกลงไปในหม้อข้าว พระสุดชฎาเสวยข้าวปนเกล็ดจระเข้ลงไปทำให้กลายเป็นจระเข้จึงบอกให้เจ้าหญิงแตงอ่อนปักปิ่นลงบนศีรษะตนเพื่อจะได้เป็นที่สังเกตและแยกออกว่าจระเข้ตัวไหนเป็นพี่ชายของนาง
          กล่าวถึงเจ้าชายไพรงามแห่งเมืองโกสีออกประพาสป่ามาพบเจ้าหญิงแตงอ่อนก็หลงรักและรับนางไปเป็นชายา และพาจระเข้พระสุดชฎาเข้าไปเลี้ยงในวังด้วยพวกนางสนมของพระไพรงามอิจฉาริษยาเจ้าหญิงแตงอ่อนยิ่งนัก จึงออกอุบายให้พระไพรงามออกไปคล้องช้างเผือก ในระหว่างนั้นเองเจ้าหญิงแตงอ่อนเจ็บท้องคลอดลูกออกมา พวกนางสนมจึงสับเปลี่ยนโอรสของเจ้าหญิงแตงอ่อนที่เพิ่งประสูติกับลูกจระเข้ เมื่อพระไพรงามกลับมาพวกนางสนมจึงใส่ร้ายว่าเจ้าหญิงแตงอ่อนคบชู้กับจระเข้ พระไพรงามโกรธมากจึงขับไล่เจ้าหญิงแตงอ่อนและจระเข้พระสุดชฎาออกจากเมือง
         พระอินทร์ทราบเรื่องจึงให้เจ้าหญิงแตงอ่อนบำเพ็ญพรตเพื่อช่วยให้พระสุดชฎากลับคืนร่างเป็นมนุษย์ตามเดิม ฝ่ายโอรสของเจ้าหญิงแตงอ่อนที่ถูกนำไปฝังได้นางไม้พฤกษาช่วยชีวิตไว้และตั้งชื่อว่าเกตุทิพย์บดี เมื่อเกตุทิพย์บดีเจริญวัยจึงกลับเข้าเมืองโกสีและบอกความจริงทั้งหมดให้พระไพรงามรู้  พวกนางสนมจึงถูกเนรเทศพระไพรงามและเกตุทิพย์บดีออกตามหาเจ้าหญิงแตงอ่อนจนพบ และคืนดีกัน แต่ระหว่างเดินทางกลับเมืองเจ้าหญิงแตงอ่อนถูกพญายักษ์ลักพาตัวไป
         ที่เมืองของพญายักษ์มีกุมารีเกิดขึ้นในดอกบัวพญายักษ์ตั้งชื่อให้ว่าปทุมวดี เจ้าหญิงปทุมวดีสนิทสนมกับเจ้าหญิงแตงอ่อนมากจนเรียกนางว่าแม่ ทำให้มเหสียักษ์ไม่พอใจคิดจะทำร้ายนางพระไพรงามกับเกตุทิพย์บดีตามมาช่วยได้ทัน และพาเจ้าหญิงแตงอ่อนกับปทุมวดีกลับเมืองโกสี  ระหว่างทางได้พบพระไวยราชที่คลายจากมนต์สะกด   หลบหนีออกจากเมืองตะนูวดีอสูรร้ายตามมาจึงถูกเกตุทิพย์บดีสังหาร พระไวยราชจะคืนราชสมบัติให้พระสุดชฎาแต่พระสุดชฎาละจากโลกีย์วิสัยแล้วจึงออกบวชแสวงหาธรรมะ ในขณะที่เจ้าหญิงแตงอ่อนได้อยู่พร้อมหน้าโอรสและพระสวามีอย่างมีความสุข

วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2566

วังแม่ลูกอ่อน

 



ตำนานแสนเศร้าของลูกสาวเศรษฐีกับหนุ่มชาวนา เป็นตำนานพื้นบ้านของจังหวัดชัยนาท “วังแม่ลูกอ่อน” สถานที่ของเรื่องราวตั้งอยู่ ณ เกาะกลางแม่น้ำบริเวณตีนสะพานที่จะขึ้นไปสัญจรบนสันเขื่อนเจ้าพระยา หมู่ที่ ๔ ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท อันเป็นที่ตั้งเดียวกับโบสถ์หลวงพ่อหิน วัดกรุณา ที่นั่นมีศาลจีน รำลึกถึงตำนานวังแม่ลูกอ่อนที่ชาวบ้านสร้างขึ้น 

ตำนานวังแม่ลูกอ่อน

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ.หมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยนาทเมื่อหลายสิบปีก่อน มีเศรษฐีคนหนึ่งนามว่า “บุญมี” ภรรยานามว่า “บุญมา” เศรษฐีมีลูกสานามว่า “มารศรี” ทั้งสองตั้งใจว่าจะให้ลูกสาวได้แต่งงานกับคนมีฐานะเท่าเทียมกัน แต่มารศรีนั้นได้ตกหลุมรักกับชายหนุ่มที่ทำอาชีพชาวนา มีฐานะยากจนเป็น นามว่า “เชษฐา” จึงถูกขัดขวางจากผู้เป็นพ่อ แต่ด้วยความรักที่มีต่อกันทั้งสองจึงตกลงหนีตามกันไป แล้วปลูกกระท่อมอยู่กลางป่าหาเลี้ยงชีพด้วยการทำนาและเผาถ่านประทังชีวิตไปวัน ๆ ทั้งสองถึงจะฐานะยากจนแต่ก็มีความสุขกันตามประสา จนเวลาผ่านไปหลายปี ทั้งสองก็มีลูกคนแรกชื่อจุก และกำลังตั้งท้องลูกคนที่สอง ด้วยฐานะที่ยากจนอยู่แล้ว เมื่อมีลูกก็ยิ่งลำบากมากขึ้น บางวันไม่มีแม้แต่อาหารจะกิน มารศรีจึงปรึกษาสามีว่าจะลองกลับไปขอขมาพ่อแม่เพราะทนความลำบากไม่ไหว พ่อกับแม่อาจจะเมตตาสงสาร แล้วยกโทษให้ ในวันรุ่งขึ้นทั้งสามคนจึงออกเดินทางทันที จนถึงเวลาพลบค่ำจึงเข้าไปพักที่ใต้ต้นไทรกลางป่า มารศรีเกิดเจ็บท้องจะคลอด เชษฐาจึงออกไปหาสมุนไพรมาให้ แต่ไม่ได้ระวังตัวจึงถูกงูพิษฉกกัดจนสิ้นใจตาย

ฝ่ายมารศรีเจ็บท้องมาก รอสามีอยู่นานไม่เห็นกลับมาสักที จึงจูงมือลูกพากันออกไปตามหา จนกระทั่งไปพบศพของสามีที่ถูกงูกัดตาย นางเสียใจมาก ร้องไห้คร่ำครวญจนกระทั่งคลอดลูกออกมา ดูน่าเวทนายิ่งนักหลังจากเศร้าโศกเสียใจอยู่นาน นางจึงตัดใจกราบลาศพสามีแล้วพาลูกทั้งสองเดินทางกลับบ้านต่อไปจนถึงชายฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งน้ำเชี่ยว แต่ไม่ลึกมากจนขาหยั่งไม่ถึงพื้น มารศรีไม่สามารถพาลูกข้ามไปทีเดียวได้ทั้ง 2 คน จึงสั่งให้ลูกคนโตรออยู่ก่อน แล้วนางก็ก้าวลงน้ำอุ้มลูกคนเล็กข้ามฝั่งไป เมื่อไปถึงฝั่งนางก็วางลูกคนเล็กไว้ที่ฝั่งแล้วเดินลุยน้ำกลับมาอีกฝั่งหนึ่งเพื่อจะกลับไปรับลูกคนโต แต่พอนางถึงกลางแม่น้ำมีเหยี่ยวใหญ่ตัวหนึ่งโฉบลูกคนเล็กของนางไป ด้วยความตกใจนางจึงโบกมือไล่เหยี่ยวใหญ่ ลูกคนโตเห็นแม่โบกไม้โบมือก็คิดว่าแม่เรียกตน จึงก้าวลงไปในน้ำและจมน้ำเสียชีวิตทันที มารศรีร้องไห้ แทบขาดใจเมื่อเห็นลูกจากไปต่อหน้าต่อตาทั้งสองคน นางรู้สึกว่านางไม่เหลืออะไรอีกแล้ว นางจึงตัดสินใจจบชีวิตตัวเองในน้ำตามลูกของนางไป 

วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566

พรรคการเมืองไทย ปี 2566

 พรรคการเมืองไทย ปี 2566

จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ล่าสุด ณ วันที่ 17 มีนาคม 2566 ระบุว่า มีพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น 85 พรรค ดังนี้

1.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)

  • หัวหน้าพรรค       นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 
  • เลขาธิการพรรค   นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน 
  • สมาชิกพรรค       82,648 คน
  • จำนวน ส.ส.              51  คน

2.พรรคประชากรไทย (ปชท.)

  • หัวหน้าพรรค        นายคณิศร  สมมะลวน
  • สมาชิกพรรค        13, 788 คน

3.พรรคความหวังใหม่ (ควม.)

  • หัวหน้าพรรค     นายชิงชัย มงคลธรรม
  • เลขาธิการพรรค นายวิทยา ปราบภัย
  • สมาชิกพรรค         7,498 คน

4.พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย (พนท.)

  • หัวหน้าพรรค        นายวชิร ศุภรมย์
  • เลขาธิการพรรค   นายวันชัย ปารมีกาศ 
  • สมาชิกพรรค       10,028 คน

5.พรรคเพื่อไทย (พท.)

  • หัวหน้าพรรค      นายชลน่าน ศรีแก้ว
  • เลขาธิการพรรค นายประเสริฐ จันทรรวงทอง
  • สมาชิกพรรค      66,833  คน
  • จำนวน ส.ส.            133   คน

6.พรรคชาติพัฒนากล้า (ชพก.)

  • หัวหน้าพรรค       นายกรณ์  จาติกวนิช 
  • เลขาธิการพรรค  นายเทวัญ ลิปตพัลลภ 
  • สมาชิกพรรค       15, 210 คน
  • จำนวน ส.ส.      4  คน

7.พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.)

  • หัวหน้าพรรค       นายวราวุธ ศิลปอาชา 
  • เลขาธิการพรรค   นายประภัตร โพธสุธน 
  • สมาชิกพรรค      11,433 คน
  • จำนวน ส.ส.      12 คน

8.พรรคอนาคตไทย (อท.)

  • หัวหน้าพรรค       นายประวัติ เทียนขุนทด 
  • เลขาธิการพรรค   นางภัครัตน์ มุขแก้ว 
  • สมาชิกพรรค       10,313 คน

9.พรรคภูมิใจไทย (ภท)

  • หัวหน้าพรรค       นายอนุทิน ชาญวีรกูล 
  • เลขาธิการพรรค   นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ
  • สมาชิกพรรค        61,703 คน
  • จำนวน ส.ส.                65  คน

10.พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย (ส.ป.ท.)

  • หัวหน้าพรรค       นายสาวิทย์ แก้วหวาน
  • เลขาธิการพรรค   นายสุคม ศรีนวล
  • สมาชิกพรรค      11,443 คน

11.พรรคประชาสามัคคี (ปส.)

  • หัวหน้าพรรค       นางสมพร จูมั่น
  • เลขาธิการพรรค   นายพิทักษ์ สินธุโครต 
  • สมาชิกพรรค      10,087 คน

12.พรรคประชาธิปไตยใหม่ (ปธม.)

  • หัวหน้าพรรค       นายสุรทิน พิจารณ์
  • สมาชิกพรรค     40,423 คน
  • จำนวน ส.ส.      1 คน

13.พรรคครูไทยเพื่อประชาชน (ค.พ.ช.)

  • หัวหน้าพรรค       นายปรีดา บุญเพลิง
  • เลขาธิการพรรค   นายชัยพร ธนถาวรกิจ
  • สมาชิกพรรค      18,402 คน
  • จำนวน ส.ส.      1 คน

14.พรรคพลังสหกรณ์ (พ.พส.)

  • หัวหน้าพรรค      นายอดิศักดิ์ ฟักแฟง 
  • เลขาธิการพรรค  นายนพรัต ลำเนาครุฑ 
  • สมาชิกพรรค      11,980 คน

15.พรรคพลังท้องถิ่นไท (พทท.)

  • หัวหน้าพรรค     นายชัชวาลย์ คงอุดม  
  • เลขาธิการพรรค  นายประนอม โพธิ์ดำ 
  • สมาชิกพรรค     17,278 คน
  • จำนวน ส.ส.     5  คน

16.พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล (ถกชว)

  • หัวหน้าพรรค       นางจุฑามาศ ปลอดดี
  • เลขาธิการพรรค   นายชัยอนันต์ มานะกุล 
  • สมาชิกพรรค      10,494 คน

17.พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย (รป.)

  • หัวหน้าพรรค       นายประเสริฐ อภิปุญญา
  • เลขาธิการพรรค   นายอาคม จันทนสลาช 
  • สมาชิกพรรค      11,484 คน
  • จำนวน ส.ส.          2  คน

18.พรรคคเสรีรวมไทย (สร.)

  • หัวหน้าพรรค       พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียเวส 
  • เลขาธิการพรรค   นายวัชรา ณ วังขนาย 
  • สมาชิกพรรค      46,919 คน
  • จำนวน ส.ส.      10 คน

19.พรรครักษ์ธรรม (ร.ธ.)

  • หัวหน้าพรรค   นายศักดาวุธ โกมลประเสริฐ     
  • เลขาธิการพรรค   นายธานินท์ จุ้ยมณี 
  • สมาชิกพรรค     10,339 คน

20.พรรคเพื่อชาติ (พ.พ.ช.)

  • หัวหน้าพรรค   นางสาวปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช 
  • เลขาธิการพรรค  ร.อ.จารุพล เรืองสุวรรณ 
  • สมาชิกพรรค     11,118 คน
  • จำนวน ส.ส.    6 คน

21.พรรคพลังประชาธิปไตย (พปต.)

  • หัวหน้าพรรค   นายพูนพิพัฒน์ นิลรังษี
  • เลขาธิการพรรค  น.ท.ชุมพล พุฒซ้อน 
  • สมาชิกพรรค      26, 325 คน

22.พรรคภราดรภาพ (ภดภ.)

  • หัวหน้าพรรค   นายบุญญา หลีเหลด 
  • เลขาธิการพรรค  นายสมบูรณ์ จิตตระบูรณ์ 
  • สมาชิกพรรค    10,272 คน

23.พรรคพลังไทยรักชาติ (พทรช.)

  • หัวหน้าพรรค   นายกิตติเดช เมืองอู่มงคล (รักษาการหัวหน้าพรรค)
  • เลขาธิการพรรค  นายญาณวุฒิ ทองเฟื่อง 
  • สมาชิกพรรค    11,586 คน

24.พรรคช่วยชาติ (พชช.)

  • หัวหน้าพรรค   นางสาวนงนุช บัวใหญ่
  • เลขาธิการพรรค  นายปรเมศวร์ สุขประเสริฐ 
  • สมาชิกพรรค      15,038 คน

25.พรรคก้าวไกล (ก.ก.)

  • หัวหน้าพรรค   นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ 
  • เลขาธิการพรรค  นายชัยธวัช ตุลาธน 
  • สมาชิกพรรค     44,893 คน
  • จำนวน ส.ส.    51 คน

26.พรรคทางเลือกใหม่ (ทลม.)

  • หัวหน้าพรรค   นายราเชน ตระกูลเวียง 
  • เลขาธิการพรรค  นายชายประจักร์ ศิริพันธุ์ 
  • สมาชิกพรรค     33,642 คน

27.พรรคประชาภิวัฒน์ (ปชภ.)

  • หัวหน้าพรรค   นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ 
  • เลขาธิการพรรค  นางนันทนา สงฆ์ประชา 
  • สมาชิกพรรค     13,785 คน
  • จำนวน ส.ส.    1 คน

28.พรรคพลเมืองไทย (พล.)

  • หัวหน้าพรรค   นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ 
  • เลขาธิการพรรค  นางสาวศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ 
  • สมาชิกพรรค    10,726 คน
  • จำนวน ส.ส.    1 คน

29.พรรคสร้างอนาคตไทย (สอท.) เดิมชื่อพรรคพลังไทยนำไทย 

  • หัวหน้าพรรค   นายอุตตม สาวนายน 
  • เลขาธิการพรรค  นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ 
  • สมาชิกพรรค     16, 963 คน

30.พรรคพลังธรรมใหม่ (พธม.)

  • หัวหน้าพรรค   นายระวี มาศฉมาดล 
  • สมาชิกพรรค     10,151 คน
  • จำนวน ส.ส.    1 คน

31.พรรคไทยธรรม (ทธม.)

  • หัวหน้าพรรค   นายอโณทัย ดวงดารา 
  • เลขาธิการพรรค  นายผดุงวุฒิ แก้วแสงทอง 
  • สมาชิกพรรค   28,881  คน

32.พรรคไทยศรีวิไลย์ (ทศล.)

  • หัวหน้าพรรค   นายมงคลกิตต์ สุขสินธารานนท์ 
  • เลขาธิการพรรค  นายศยุน ชัยปัญญา 
  • สมาชิกพรรค     11,399 คน
  • จำนวน ส.ส.   1  คน

33.พรรครวมพลัง (รพ.)

  • หัวหน้าพรรค  นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์   
  • เลขาธิการพรรค  นางสาวพัชรินรุจา จันทโรนานนท์ 
  • สมาชิกพรรค     11,656 คน
  • จำนวน ส.ส.    5 คน

34.พรรคพลังไทรุ่งเรือง (พทร) เดิมชื่อสยามพัฒนา 

  • หัวหน้าพรรค   นายฮงค์ฑัย แซ่ตัน 
  • เลขาธิการพรรค  นายทองหล่อ พลโคตร 
  • สมาชิกพรรค    10,689 คน

35.พรรคไทยพร้อม (พทพ) 

  • หัวหน้าพรรค  นายวิทยา อินาลา  
  • สมาชิกพรรค   10,075  คน

36.พรรคพลังปวงชนไทย (พลท.)

  • หัวหน้าพรรค   นายนิคม บุญวิเศษ 
  • เลขาธิการพรรค  นายจรินทร์ เฮียงกุล 
  • สมาชิกพรรค     16,565 คน
  • จำนวน ส.ส.     1 คน

37.พรรคเพื่อชาติไทย (พ.ชต.ท.) เดิมชื่อพรรคพลังไทยรักไทย

  • หัวหน้าพรรค   นายคฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล 
  • สมาชิกพรรค     17,829 คน
  • จำนวน ส.ส.    1 คน

38.พรรครวมแผ่นดิน (รผด.) เดิมชื่อ พรรคพลังชาติไทย 

  • หัวหน้าพรรค   พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
  • เลขาธิการพรรค  นายจำลอง ครุฑขุนทด 
  • สมาชิกพรรค     22,124 คน
  • จำนวน ส.ส.    1 คน

39.พรรคประชาชาติ (ปช.)

  • หัวหน้าพรรค   นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา 
  • เลขาธิการพรรค  พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง 
  • สมาชิกพรรค    19,820  คน 
  • จำนวน ส.ส.    7 คน

40.พรรคแผ่นดินธรรม (ผธ.)

  • หัวหน้าพรรค   นายกรณ์ มีดี
  • เลขาธิการพรรค  นายพลากร เทศนำ
  • สมาชิกพรรค     10,347 คน

41.พรรคคลองไทย (คล.ท.)

  • หัวหน้าพรรค   นายสายัณห์ อินทรภักดิ์ 
  • เลขาธิการพรรค  นายธนเสฎฐ์ นิติธนากานต์ 
  • สมาชิกพรรค    35,907 คน

42.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)

  • หัวหน้าพรรค   พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ 
  • เลขาธิการพรรค  นายสันติ พร้อมพัฒน์
  • สมาชิกพรรค     58,582 คน
  • จำนวน ส.ส.    100 คน

43.พรรคเศรษฐกิจใหม่ (ศม)

  • หัวหน้าพรรค   นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ 
  • เลขาธิการพรรค  นายมนตรี สันติไชยกุล  
  • สมาชิกพรรค    11,007 คน
  • จำนวน ส.ส.    6 คน

44.พรรคพลังสังคม (พ.พ.ส.)

  • หัวหน้าพรรค  นางณฐพร ชลายนนาวิน (รักษาการหัวหน้าพรรค)
  • เลขาธิการพรรค  นางณฐพร ชลายนนาวิน
  • สมาชิกพรรค     10,123 คน

45.พรรคเพื่อราษฎร (พร.) เดิมชื่อพรรคสุจริตชน 

  • หัวหน้าพรรค   -
  • เลขาธิการพรรค  -
  • สมาชิกพรรค   10,381   คน

46.พรรคพลังศรัทธา (พลศธ.)

  • หัวหน้าพรรค   พล.อ.อนันตร์ บุญรำไพ
  • เลขาธิการพรรค  น.ส.พิศมัย เสนาวงค์ 
  • สมาชิกพรรค     5,912 คน

47.พรรคเป็นธรรม (ปธ.) เดิมชื่อพรรคกลาง 

  • หัวหน้าพรรค   นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ 
  • เลขาธิการพรรค  นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล 
  • สมาชิกพรรค    9,359  คน

48.พรรคพลังเพื่อไทย (พล.พท.)

  • หัวหน้าพรรค   นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ 
  • เลขาธิการพรรค  นายกิตินันท์ หาญจิตรนภัสสร 
  • สมาชิกพรรค     10,223 คน

49.พรรคประชาไทย (ปรชท.)

  • หัวหน้าพรรค   นายบุญยงค์ จันทร์แสง 
  • เลขาธิการพรรค  นางสาววิลาสิณีร์ รองเรือง
  • สมาชิกพรรค     9,057 คน

50.พรรคกรีน (กร) 

  • หัวหน้าพรรค   นายพงศา ชูแนม
  • เลขาธิการพรรค  นายสุเทพ คงเทศ
  • สมาชิกพรรค     10,315 คน

51.พรรคสามัญชน (พ.สมช)

  • หัวหน้าพรรค   นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 
  • สมาชิกพรรค  10,186  คน

52.พรรคภาคีเครือข่ายไทย (ภคท.)

  • หัวหน้าพรรค   นางสาวกฤษอนงค์ สุวรรณวงศ์
  • เลขาธิการพรรค  นายกฤษณ์ เหลืองอร่าม 
  • สมาชิกพรรค     10,727 คน

53.พรรครวมไทยยูไนเต็ด (รทย) เดิมชื่อพรรคเพื่อไทยพัฒนา

  • หัวหน้าพรรค   นายอภิรัต ศิรินาวิน
  • เลขาธิการพรรค  นายพงศ์ธร เพชรชาติ 
  • สมาชิกพรรค     10,902 คน

54.พรรคคนงานไทย (พ.ค.ง.ท.)

  • หัวหน้าพรรค   นายธีระ เจียบุญหยก
  • เลขาธิการพรรค นายสุธรรม เลิศพงษ์ประเสริฐ  
  • สมาชิกพรรค    7,977 คน

55.พรรคเพื่ออนาคตไทย (พอท)

  • หัวหน้าพรรค นายอนุวัฒน์ วิกัยพัฒน์   
  • เลขาธิการพรรค  นายประกาศิต การสอน
  • สมาชิกพรรค     9,222 คน

56.พรรคเศรษฐกิจไทย (ศท) 

  • หัวหน้าพรรค   นายเชวงศักดิ์ ใจคำ
  • เลขาธิการพรรค  นายสัจจวิทย์ ลีลาวณิชย์ 
  • สมาชิกพรรค     23,633คน
  • จำนวน ส.ส.    18 คน

57.พรรคเส้นทางใหม่ (สทม.) เดิมชื่อพรรคไทยชอบธรรม

  • หัวหน้าพรรค   นายเมธี กาญวัฒนะกิจ
  • เลขาธิการพรรค  นายศุภคุณ สุรทวีคุณ 
  • สมาชิกพรรค     6,099 คน

58.พรรคไทยรวมไทย (ทรวท.)

  • หัวหน้าพรรค   นายณัฐติพงษ์ วันทวี
  • เลขาธิการพรรค  นายธีรยุทธ พึ่งเพียร 
  • สมาชิกพรรค     10,961 คน

59.พรรคกล้า (ก.)

  • หัวหน้าพรรค   นายจีระยุทธ วีรวงศ์ 
  • เลขาธิการพรรค  นางสาวสุดารัตน์ กิ่งนอก 
  • สมาชิกพรรค     25,578 คน

60.พรรคยุทธศาสตร์ชาติ (ย.ศ.ช.)

  • หัวหน้าพรรค   นายขจรศักดิ์ ประดิษฐาน 
  • เลขาธิการพรรค  นายจตุรวิทย์ กาละมิตร์ 
  • สมาชิกพรรค     21,660 คน

61.พรรคพลังสังคมใหม่ (พ.ส.ม.)

  • หัวหน้าพรรค   นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ 
  • เลขาธิการพรรค  นายลำโขง ธารธนศักดิ์ 
  • สมาชิกพรรค     13,410 คน

62.พรรคไทยสร้างไทย (ทสท) 

  • หัวหน้าพรรค   คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 
  • เลขาธิการพรรค  น.ต.ศิธา ทิวารี 
  • สมาชิกพรรค     62,412 คน

63.พรรคมิติใหม่ (มต.)

  • หัวหน้าพรรค   นายปรีชา ไข่แก้ว 
  • เลขาธิการพรรค  นายปพน วงศ์ตระกูล 
  • สมาชิกพรรค     5,978 คน

64.พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)

  • หัวหน้าพรรค   นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
  • เลขาธิการพรรค  นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ 
  • สมาชิกพรรค      50,652 คน 

65.พรรคไทยสมาร์ท (ทสม) เดิมชื่อมวลชนสยาม

  • หัวหน้าพรรค   นายเกียรติภูมิ สิริพันธุ์ 
  • สมาชิกพรรค     11,316 คน

66.พรรคเพื่อประชาชน (พป)

  • หัวหน้าพรรค   นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข
  • เลขาธิการพรรค  นายเอกชัย มากอ้น 
  • สมาชิกพรรค      5,465 คน

67.พรรคพลังสยาม (พส.)

  • หัวหน้าพรรค   นายทรงธรรม โรจนเครือวัลย์ 
  • เลขาธิการพรรค  ว่าที่ ร.ต.อภิรักษ์ สาคร
  • สมาชิกพรรค      5,248 คน

68.พรรคไทยภักดี (ทภด)

  • หัวหน้าพรรค   นายวรงค์ เดชกิจวิกรม
  • เลขาธิการพรรค  พ.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช 
  • สมาชิกพรรค      16,547 คน

69.พรรคแนวทางใหม่ (นทม)

  • หัวหน้าพรรค   นายธวเดช ภาจิตรภิรมย์ 
  • เลขาธิการพรรค  นายณชพัฒน์ ชินวัตร
  • สมาชิกพรรค      8,240 คน

70.พรรคพเสมอภาค (สมภ.)

  • หัวหน้าพรรค   นางรฎาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ 
  • เลขาธิการพรรค  นางสางวฐิติพร ฌานวังศะ 
  • สมาชิกพรรค     6,470  คน

71.พรรคไทยชนะ (ทช)

  • หัวหน้าพรรค   นายจักรพงศ์ ชื่นดวง
  • เลขาธิการพรรค  นายฐานวัฒน์ วิบูลย์ธนสาร
  • สมาชิกพรรค     7,180 คน

72.พรรคเพื่อไทรวมพลัง (พทล.)

  • หัวหน้าพรรค   นายวสวรรธน์ พวงพรศรี 
  • เลขาธิการพรรค  นายวรเชษฐ เชิดชู 
  • สมาชิกพรรค      7,579 คน

73.พรรคไทยสร้างสรรค์ (ท.ส.ส)

  • หัวหน้าพรรค  นายธำรงค์ เรืองธุระกิจ  
  • เลขาธิการพรรค  นางสาวญาณิศา จันทร์เรือง 
  • สมาชิกพรรค      5,782 คน

74.พรรคราษฎร์วิถี (รวถ)

  • หัวหน้าพรรค   นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ 
  • เลขาธิการพรรค  พ.ต.ภรัณ กิตติวัฒน์ 
  • สมาชิกพรรค     5,871 คน

75.พรรคไทยเป็นหนึ่ง (ทปน)

  • หัวหน้าพรรค   นายนิธิพัฒน์ พัสวีดิลกภัทร์ 
  • เลขาธิการพรรค  นางสาวโชติกาญจน์ บุญพรม 
  • สมาชิกพรรค      5,851 คน

76.พรรคท้องที่ไทย (ท.)

  • หัวหน้าพรรค   ด.ต.วีระ หมีทอง
  • เลขาธิการพรรค   นายอรรถษิธ ชื่นสงวน 
  • สมาชิกพรรค     7,037 คน

77.พรรคเปลี่ยนอนาคต (พปอ.)

  • หัวหน้าพรรค   นายอัครนันท์ อริยศรีพงษ์ 
  • สมาชิกพรรค      3,145 คน

78.พรรคใหม่ (ม) 

  • หัวหน้าพรรค   นายกฤดิทัช แสงธนโยธิน 
  • เลขาธิการพรรค   นายสุปรีย์ แสงสว่าง 
  • สมาชิกพรรค      2,794 คน

79.พรรคแรงงานสร้างชาติ (รสช.)

  • หัวหน้าพรรค   นายมนัส โกศล 
  • เลขาธิการพรรค   นายวสันต์ พานเงิน 
  • สมาชิกพรรค      3,628 คน

80.พรรคไทยก้าวหน้า (ทกน.)

  • หัวหน้าพรรค   นายวัชรพล บุษมงคล 
  • เลขาธิการพรรค   นายภูมินทร์ วรปัญญา 
  • สมาชิกพรรค      3,706 คน

81.พรรคพลัง (พ.)

  • หัวหน้าพรรค   นายชัยยพล พสุรัตน์บรรจง
  • เลขาธิการพรรค   นางสาวอัญชิสา เทพทับทิมทอง 
  • สมาชิกพรรค      1,245 คน

82.พรรคสยามพล (สย.)

  • หัวหน้าพรรค   นายสุขอนันต์ วังสุนทร 
  • เลขาธิการพรรค   นายวัชระ สระแก้ว
  • สมาชิกพรรค     1,448 คน

83.พรรคชาติรุ่งเรือง (ชรร.)

  • หัวหน้าพรรค   นางพิมไหมทอง ศักดิพัตโภคิน 
  • เลขาธิการพรรค   นายกัณตพัฒน์ เตชะกมลสุข 
  • สมาชิกพรรค      2,536 คน

84.พรรครวมใจไทย (ร.จ.ท.)

  • หัวหน้าพรรค   นายบุญรวี ยมจินดา 
  • เลขาธิการพรรค   นายอรุณ คูณคำ 

85.พรรคสัมมาธิปไตย (สธต.)

  • หัวหน้าพรรค นายใจเพชร กล้าจน
  • เลขาธิการพรรค นางนิตยาภรณ์ สุระสาย 

เนื้อเพลง